วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑-๘

Royal Thai Army has displayed Ukrainian T--84M Oplot-T Main Battle Tank in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-oplot-m60a3.html


"Ukroboronprom" has completed a contract for 6 last batch of 49 "Oplot-T" Main Battle Tanks and 2 "Atlet" Armoured Recovery Vehicles (ARV) that all delivered to Thailand.

2 of 4 KrAZ–6322 maintenance support truck Royal Thai Army
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1348790025224105

ตามที่ Ukroboronprom ยูเครนได้ประกาศว่าได้เสร็จสิ้นสัญญาการส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ๔๙คัน และรถเกราะกู้ซ่อม Atlet ๒คัน แก่กองทัพบกไทยแล้วนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/oplot-t.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/04/atlet.html)
ได้มีรายงานล่าสุดว่าเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ยูเครนได้ส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ชุดสุดท้ายจำนวน ๖คัน และรถเกราะกู้ซ่อม Atlet ๒คัน มาถึงไทยและถูกขนส่งถึง กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ แล้ว
ทำให้ ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ.มี ถ.หลัก Oplot ครบอัตราจัด ซึ่งมีรวมกับรถที่อยู่ในส่วนฝึกศึกษาคือ กองพันทหารม้าที่๒๒ โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า ทำให้กองทัพบกไทยมีรถถังหลัก Oplot พร้อมรถเกราะกู้ซ่อม Atlet ครบจำนวนตามสัญญารวมทั้งหมด ๕๑คัน รวมถึงรถซ่อมบำรุง ๔คัน

มีข้อมูลว่ากองทัพบกไทยจะดำเนินการทดสอบรถถังหลัก Oplot ชุดสุดท้ายในราวเดือนกันยายน ๒๕๖๑ โดยก่อนหน้านี้ก็มีการส่งคณะกรรมการไปตรวจรับมอบรถที่ยูเครนแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/oplot-t.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/02/oplot-t.html)
ซึ่งเมื่อมีการรับมอบรถเข้าประจำการอย่างเป็นทางการจะเป็นการสิ้นสุดสัญญาโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T ๔๙คันและรถเกราะกู้ซ่อม Atlet ๒คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million) จากยูเครนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ที่มีความล่าช้าในการผลิตและส่งมอบให้ไทยมานานหลายปี
แม้ว่ายูเครนและไทยจะกำลังพิจารณาการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกัน(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/blog-post_18.html) แต่ความล่าช้าในการส่งมอบรถที่ผ่านมาอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับโอกาสของอาวุธยูเครนในอนาคตกับกองทัพไทยครับ


8th Cavalry Battalion, 7th Cavalry Regiment, 3rd Cavalry Division had phased out M41A3 Light Tanks in 16 August 2018


34 of M48A5 Main Battle Tank former 2nd Cavalry Battalion, 2nd Infantry Division Royal Guard was transfer to 8th Cavalry Battalion, 7th Cavalry Regiment, 3rd Cavalry Division in 16 August 2018

ปิดตำนานรถถังเอ็ม41 ที่อยู่คู่กับหน่วยมายาวนานถึง 56 ปี
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561 กองพันทหารม้าที่ 8 กรมทหารม้าที่ 7 ได้ดำเนินการรับรถถัง เอ็ม.48 เอ.5 จาก กองพันทหารม้าที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จำนวน 7 คัน จากจำนวน 34 คัน 
โดยมี กองพันทหารขนส่งที่ 2 (ผสม) กรมทหารขนส่งรักษาพระองค์ เป็นหน่วย ดำเนินการเคลื่อนย้าย
https://www.facebook.com/CGSC90132/posts/1599330006839244, https://www.facebook.com/CGSC90132/posts/1597597797012465

เมื่อ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ได้รับรถถังหลัก Oplot-T ครบตามอัตรา รถถังหลัก M48A5 จำนวน ๓๔คันที่เคยประจำการในหน่วยก็ได้ถูกโอนย้ายไป กองพันทหารม้าที่๘ กรมทหารม้าที่๗ กองพลทหารม้าที่๓
โดยรถถังเบา M41A3 ที่เคยประจำการใน ม.พัน.๘ จะถูกส่งไป กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพวุธ กรมสรรพวุธทหารบก ตามแผนการปลดประจำการต่อไป
ม.๗ พล.ม๓ นั้นมีหน่วยขึ้นตรงประกอบด้วย กองพันทหารม้าที่๘ เป็นกองพันทหารม้ารถถังใช้ ถ.หลัก M48A5 และ กองพันทหารม้าที่๑๔ เป็นกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะใช้รถสายพานลำเลียง รสพ.M113

อีกกรมคือ กรมทหารม้าที่๖ พล.ม.๓ มีหน่วยขึ้นตรงประกอบด้วย กองพันทหารม้าที่๖ เป็นกองพันทหารม้ารถถังเดิมใช้รถถังเบา ถ.เบา ๓๒ Stingray ปัจจุบันกำลังรับมอบรถถังหลัก VT4 และ กองพันทหารม้าที่๒๑ เป็นกองพันทหารม้ารถถังเดิมใช้ ถ.หลัก M48A5 จะได้รับมอบ ถ.หลัก VT4 ต่อไป
กรมทหารม้าหน่วยขึ้นตรงของ พล.ม.๓ มีขนาดเพียงกรมละสองกองพัน และ กองพันทหารม้าแต่ละกองพันมีรถถังหลัก ๓๔คัน ซึ่งน้อยกว่าอัตราจัดปกติปัจจุบันที่ กองพลทหารม้าจะมี ๓กรม และแต่ละกรมมี ๓กองพัน โดย พัน.ม.ถ.จะมีรถถัง ๔๔คัน จากเดิม ๔๙คัน (อจย.ใหม่ ๑หมวดรถถังมี ๔คัน, ๑กองร้อยรถถังมี ๓xมว.ถ.+รถรอง ผบ.มว.+รถ ผบ.มว. รวม ๑๔คัน, ๑กองพันรถถังมี ๓xร้อย.ถ.+รถรอง ผบ.พัน.+รถ ผบ.พัน รวม ๔๔คัน)
ตามแผนที่วางไว้ ถ.หลัก M48A5 ของ ม.พัน.๒๑ จะโอนไป กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ แทน ถ.เบา M41A3 ส่วน ถ.เบา.๓๒ Stingray ม.พัน.๖ จะถูกโอนไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ แทน ถ.เบา M41A3 ซึ่งจะปลดประจำการลง เช่นเดียวกันครับ

China North Industries Corporation or NORINCO has showcased Model of VN1 8x8 Armoured Personnel Carrier with new Unmaned Remote Weapon Station Turret for Royal Thai Army
at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)

ด้านความคืบหน้าของโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง NORINCO VN1 8x8 ระยะที่๑ จำนวน ๓๔คันวงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) จากจีนของกองทัพบกไทยนั้น
ล่าสุดมีรายงานเล็กน้อยว่ากองทัพบกไทยได้มีการส่งคณะกรรมการไปตรวจรับยานเกราะล้อยาง VN1 ที่จีนแล้ว และเตรียมส่งกำลังพลชุดแรกไปฝึกที่จีนในเดือนกันยายน(2018) และกำหนดการส่งมอบรถมาไทย
นับว่าขีดความสามารถในการผลิตรถของจีนให้กับไทยนั้นมีความรวดเร็วมากเช่นเดียวกับรถถังหลัก VT4 ที่สามารถส่งมอบได้ก่อนกำหนดในสัญญา(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/vt4-ah-1f.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/07/vt4-norinco.html)

คาดว่า VN1 จะถูกนำเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๑๐ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เป็นหน่วยแรก ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ที่ได้รับมอบมาก่อนหน้าน่าจะถูกโอนไปยัง กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ หรือ กรมทหารราบที่๑๒ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ 
ให้มีรถครบตามอัตราจัดในการแปรสภาพเป็นหน่วยทหารราบยานเกราะที่สมบูรณ์ต่อไป
กองพันทหารม้าลาดตระเวนหน่วยขึ้นตรงของ ม.๒ พล.ม.๑ ที่เหลือคือ กองพันทหารม้าที่๗ และกองพันทหารม้าที่๑๒ นั้นคาดว่าจะมีการจัดหา VN1 ในระยะต่อไปโดยนำเข้าประจำการแบบคู่ขนาดกับ ม.พัน.๑๐ เพื่อทดแทนยานเกราะล้อยาง V-150 4x4
ตามที่รายงานไทยและจีนมีแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงสนับสนุนระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จีนที่ใช้กองทัพบกไทยที่ขอนแก่นครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/vt4-vn1.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html







Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, July-August 2018

Model of Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel at 3rd Ship Technology for the Next Decade 3-4 March 2016 (My Own Photo)

เมื่อราชนาวีต่อเรือ
คืบหน้าไปอีกนิด กับ โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง) ซึ่งจากเดิมระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่าง2558-2561 แต่คาดการณ์ได้ว่า เรืออาจจะส่งมอบให้กองทัพเรือได้ในห้วงกลางปี 2562
สิ่งหนึ่งที่ประชาชนมักจะเข้าใจผิดคือ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เป็นผู้ต่อเรือ ตกก. ลำนี้ แต่ตามจริงแล้ว บรษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เป็นผู้เสนอแบบ และ จัดหาวัสดุในการต่อเรือ โดยผู้ต่อเรือคือ อู่ราชนาวีมหิดลฯ กรมอู่ทหารเรือ 

ขยันขันแข็ง
ภาพเจ้าหน้าที่บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด และ ช่างอู่มหิดลอดุลยเดชฯ กำลังเตรียมพร้อมเริ่มงานในช่วงเช้ากับภารกิจอันยิ่งใหญ่ เมื่อราชนาวีไทย ต่อเรือ
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ประชาชนชาวไทยควรภาคภูมิใจ ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า
1 เรากำลังพัฒนาการต่อเรือไปอีกหนึ่งขั้น ทำให้เพิ่มศักยภาพในขีดความสามารถด้านการต่อเรือ ทั้ง กองทัพเรือ และ ภาคเอกชน
2 การต่อเรือลำนี้ ไม่ใช่เฉพาะ อู่กรุงเทพฯ ที่ได้รับประโยชน์ ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการใช้ Subcontrator มากมายในการร่วมมือกัน ยกตัวอย่างเช่น เสากระโดงเรือที่ต่อมาจากโรงงานในจังหวัดขอนแก่น และนำส่งมาที่ อรม. 
ทำให้เกิดการกระจายรายได้ จากงบประมาณแผ่นดินลงสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 1000 อัตรา
ถึงแม้ว่า เรือจะต้องเลื่อนกำหนดการส่งมอบออกไปในห้วงกลางปี 62 ก็ตาม แต่คุณภาพของเนื้องานสามารถยืนยันได้ว่า ทุกๆ ขั้นตอน มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มข้นครับ

ความคืบหน้าการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ คือ เรือหลวงตรัง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ช่วงในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้นมีความก้าวหน้าไปมาก
จะเห็นได้ว่าตัวเรือส่วนหลักได้มีการประกอบเป็นรูปร่างใกล้จะสมบูรณ์เต็มลำเรือมากขึ้น โดยมีการติดป้ายชื่อเรือที่ท้ายเรือแล้ว เป็นที่เข้าใจว่าอาจจะมีการปล่อยเรือลงน้ำในราวเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑ หรือหลังจากนั้น
แม้ว่าการก่อสร้างเรือที่อู่มหิดลจะมีความรวดเร็วจากประสบการณ์ในการสร้าง ร.ล.กระบี่ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามในภาพรวมของโครงการยังนับว่าล่าช้าอยู่จากหลายๆเหตุผล ซึ่งการต่อ ร.ล.ตรัง เดิมควรจะส่งมอบเรือได้ในปี ๒๕๖๑ แต่ต้องเลื่อนไปเป็นปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ช้ากว่าที่ควร ๑ปี

ที่จริงถ้าภาคอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือเอกชนของไทยจะหันมาลงทุนในด้านวิทยาการและโรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างเรือมากขึ้น ก็น่าจะเป็นผลดีต่อโครงการต่อเรือภายในประเทศสำหรับกองทัพเรือไทย
แต่ในความเป็นจริงหลายๆบริษัทอู่ต่อเรือของไทยไม่กล้าที่จะลงทุนในส่วนของตนมากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ก็เนื่องจากกองทัพเรือเองไม่สามารถจะรับประกันได้ว่าจะมีงานมาป้อนให้อู่ต่อเรือที่ลงทุนไปแล้วได้ตลอดในระดับที่คุ้มทุน
ซึ่งในกรณีของโครงการสร้างเรือ ตกก. ร.ล.ตรัง เองแม้จะเป็นการแสดงศักยภาพว่าไทยเราต่อเรือขนาดนี้ได้เอง แต่เมื่อลงมาดูในรายละเอียดหลายๆอย่าก็จะพบว่าไทยเราต้องมีการพัฒนาอีกมากถ้าจะต่อเรือที่มีสมรรถนะสูงกว่านี้หรือรวดเร็วกว่านี้หรือต่อในจำนวนมากว่านี้ใช้เองครับ

การจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ยังสอดคล้องกับการปลดประจำการเรือเร็วโจมตีสองชุดที่ประจำการมาหลายสิบปีและไม่สอดคล้องกับหลักนิยมการใช้กำลังเรือผิวน้ำในปัจจุบันของกองทัพเรือไทยแล้ว
ที่มีข้อมูลล่าสุด เรือเร็วโจมตีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ทั้ง ๓ลำคือ ร.ล.ปราบปรปักษ์ 311, ร.ล.หาญหักศัตรู 312 และ ร.ล.สู้ไพรินทร์ 313 นั้น ร.ล.ปราบปรปักษ์ ถูกปลดประจำการแล้ว โดยเป็นเรือ รจอ.ลำแรกของกองทัพเรือไทยที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๙(1976) 
ส่วนเรือเร็วโจมตีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ คือ ร.ล.ราชฤทธิ์ 321, ร.ล.วิทยาคม 322 และ ร.ล.อุดมเดช 323 นั้น ร.ล.วิทยาคม และ ร.ล.อุดมเดช ถูกปลดประจำการแล้วทั้งสองลำ เป็นไปตามแผนการปลดประจำการที่มีออกมาก่อนหน้า(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_19.html)

นั่นทำให้ กองเรือตรวจอ่าว มีความต้องการเรือ ตกก.ใหม่อีก ๒ลำ ที่สามารถติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำได้เพื่อเสริมเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ทั้งสองลำ คือ ร.ล.ปัตตานี 511 และ ร.ล.นราธิวาส 512
และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำคือ ร.ล.กระบี่ 551 และ ร.ล.ตรัง 552 ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในข้างต้นซึ่งเมื่อถึงช่วงที่ส่งมอบเรือแบบเรือ 90m OPV ของ BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัท อู่กรุงเทพ ไทยซื้อสิทธิบัตรมาก็จะหมดอายุสัญญา ๑๐ปีพอดี
ดังนั้นกองทัพเรือไทยอาจจะพิจารณาที่จะมองหาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแบบใหม่จากบริษัทอื่นซึ่งก็มีการนำเสนอข้อมูลแก่กองทัพเรือมาบ้างหลายแบบตามที่ได้เคยรายงานครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/tkms-meko-100-bae-systems-type-31.html)













40th Anniversary Ceremony of Royal Thai Navy Bell 212 in 22 August 2018


ในโอกาสฉลองครบรอบ 40 ปี เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 2 (Bell-212) ฝูงบิน 202 โดย น.ท.โสภณ เกตุมะยูร ผบ.ฝูงบิน 202 ท่านปัจจุบัน ได้จัดทำ วิดีโอ "SQDN 202 History" เพื่อเป็นการแนะนำให้ท่านรู้จัก ฝูงบิน 202 มากขึ้น
ขอบคุณที่สนับสนุนและเป็นกำลังใจให้เราตลอดมา ฝูงบินกระเบน จะขอยืนหยัดอยู่เคียงข้างประชาชน ให้สมดังเจตนารมณ์ของกองทัพเรือ ที่ต้องการให้กองทัพเรือเป็น "กองทัพเรือเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง"

ภาพบรรยากาศงาน 40th Anniversary Bell-212 Royal Thai Navy บริเวณโรงเก็บอากาศยานฝูงบิน 202 ใน 22 ส.ค.61

ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทยได้จัดพิธีครบรอบ ๔๐ปีการเข้าประจำการของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๒ Bell 212 ซึ่งได้จัดหามาในปี พ.ศ.๒๕๒๑ จำนวน ๘เครื่อง เพื่อใช้การลำเลียง สนับสนุนกำลังนาวิกโยธิน และช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ปัจจุบัน ฝูงบิน๒๐๒ กบร.ได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ Airbus Helicopters H145M จำนวน ๕เครื่องที่เข้าประจำการไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙ นั้น(http://aagth1.blogspot.com/2016/11/h145m.html) จะเสริมการทำงานและทดแทน Bell 212 ได้ในอนาคต
แต่ทั้งนี้ กบร.ยังคงมีความต้องการจัดหา ฮ.แบบต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก เช่น เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือฟริเกตใหม่เพิ่มเติมจาก ฮ.ตผ.๑ Leonardo Helicopters Super Lynx 300 ที่มี ๒เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงใหม่เพิ่มเติมจาก ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk ที่มี ๒เครื่องเป็นต้นครับ

Royal Thai Air Force signed contract with Spanish company Indra for new Royal Thai Air Defense System's Radar

3D LANZA Radar family
https://www.indracompany.com/sites/default/files/lanza3d_radar_v19_0.pdf

กองทัพอากาศลงนามซื้อเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศ กับบริษัท Indra S.A ราชอาณาจักรสเปน
พลอากาศโท ศิริพล ศิริทรัพย์ รองเสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะประธานกรรมการซื้อเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศ
โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ ระยะที่ ๔ ได้ลงนามในสัญญาซื้อเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศ กับบริษัท Indra S.A เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ บริษัท Indra S.A ราชอาณาจักรสเปน
http://www.rtaf.mi.th/th/RTAFNews/Pages/A20180728-4.aspx

ตามที่กองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหา Radar ป้องกันภัยทางอากาศจากบริษัท Indra สเปนวงเงินประมาณ ๕๓๐ล้านบาท($15.9 million) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงความทันสมัยของเครือข่ายระบบป้องกันภัยทางอากาศ RTADS(Royal Thai Air Defense System)
แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลที่ระบบุชัดเจนถึงแบบ Radar ที่จัดหา แต่เป็นที่เข้าใจว่าน่าจะเป็น Radar ตรวจการณ์สามมิติในตระกูล LANZA ของ Indra สเปนในรุ่นสถานีประจำที่(Fixed Ground Base) สำหรับฐาน Radar ภาคพื้นดิน
โดยก่อนหน้านี้ก็มีหลายบริษัทจากหลายประเทศที่ให้ความสนใจเสนอแบบ Radar ของตนแก่กองทัพอากาศไทย เช่น บริษัท Mitsubishi Electric Corporation ญี่ปุ่นครับ(http://aagth1.blogspot.com/2016/12/radar.html)






10,000 Flight Hour of Saab Gripen C/D 701 Squadron, Wing 7, Royal Thai Air Force in exercise Pitch Black 2018 at Australia, 13 August 2018

10,000 ชั่วโมงบิน กริเพนกองทัพอากาศไทยเหนือ น่านฟ้าออสเตรเลียระหว่างการฝึก PITCH BLACK 2018
"ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ก็เนื่องมาจากความรัก สมัครสมาน สามัคคี ของผู้บังคับบัญชา นักบิน ตลอดจนผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ที่ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ตั้งใจทุ่มเท เสียสละ ทั้งพลังกาย พลังใจ และสติปัญญา นับเป็นความภาคภูมิใจ ของ กองทัพอากาศเป็นอย่างยิ่ง การบินครบ 1 หมื่นชั่วโมงบิน เป็นตัวชี้วัด ที่บ่งบอกความสำเร็จดังกล่าว ได้เป็นอย่างดี ผมขอแสดงความยินดี และขอชื่นชมทุกท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง”
(โดย พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ระหว่างการตรวจเยี่ยมกองกำลัง ทอ. ที่เข้าร่วมการฝึกผสม PITCH BLACK 2018, 14 ส.ค.61)

Gripen 39 C/D หรือ เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก เป็นเครื่องบินขับไล่ที่กองทัพอากาศจัดหาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนากองทัพอากาศ ตามวิสัยทัศน์ “กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค” ภายใต้ชื่อโครงการ “PEACE SUVARNABHUMI” 
โดยโครงการระยะที่ 1 เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก จำนวน 6 เครื่องแรก ได้มาถึงกองบิน 7 เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2554 หลังจากผ่านขั้นตอนการตรวจรับ ได้ขึ้นทำการบินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มี.ค.2554 
ได้มีพิธีบรรจุเข้าประจำการ ณ กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2554 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นประธาน และเครื่องบิน 3 เครื่องสุดท้าย ตามโครงการจัดซื้อระยะที่ 2 ได้มาถึงกองบิน 7 เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2556 
ซึ่งเครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก ของ ฝูง 701 กองบิน 7 ได้ปฏิบัติภารกิจการบินครบ 1 หมื่นชั่วโมงบิน เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2561

การฝึกผสม PITCH BLACK 2018
เป็นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศผสม โดยมีกองทัพอากาศออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ และมีกองทัพอากาศจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม ได้แก่ ประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมัน,อินเดีย ,อินโดนีเซีย,ญี่ปุ่น,เกาหลี,มาเลเซีย, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์,ฟิลิปปินส์,สิงคโปร์, สหรัฐฯ และ ไทย 
กำหนดจัดการฝึกฯ ระหว่างวันที่ 23 ก.ค. - 23 ส.ค.61 โดยวางกำลัง ณ ฐานทัพอากาศ Darwin, Tindal และ Townsville รัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ใช้พื้นที่การฝึกภาคสนาม Bradshaw สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศ Delmere 
และพื้นที่ทางตอนเหนือของออสเตรเลียเป็นพื้นที่การฝึก เพื่อฝึกการวางแผนการปฏิบัติการส่งกำลังบำรุงในการวางกำลัง สำหรับการปฏิบัติการทางอากาศ
การฝึกผสม PITCH BLACK 2018 นับเป็นการเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ให้กับนักบิน และเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการทางอากาศได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักนิยม ยุทธวิธีการรบ ระบบอาวุธสมัยใหม่ และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศมิตรประเทศ 
นอกจากจะเสริมสร้างภาพลักษณ์ในระดับสากลแล้ว ยังช่วยการกระชับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วย

การปรับปรุงที่เกี่ยวข้องยังรวมถึงการปรับปรุงระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ(ACCS: Air Command and Control System) ของกองทัพอากาศไทยโดยบริษัท Saab สวีเดน(http://aagth1.blogspot.com/2018/08/saab.html)
โดยระบบ ACCS ของกองทัพอากาศไทยมีพื้นฐานจากระบบ Saab 9AIR C4I และได้ถูกนำมาใช้ปฏิบัติการโดยกองทัพอากาศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๓(2010) ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี
แม้ว่ากองทัพอากาศไทยจะมี Gripen C/D เพียง ๑๑เครื่อง แต่ก็เป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีอัตราพร้อมรบสูงสุดที่รวม ๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบิน เห็นได้จากการส่งไปทำการฝึกร่วมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2018 ที่ออสเตรเลียเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ๖เครื่องเกินของครึ่งฝูงบิน๗๐๑ ครับ