วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562

กองทัพเรือไทยจัดพิธีต้อนรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช




Royal Thai Navy's welcome ceremony of new frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej at Chuk Samet pier, Sattahip Port, Sattahip Naval Base, Sattahip District, Chonburi Province, Thailand, 7 January 2019


Clip: welcoming and commissioning ceremony for Royal Thai Navy's new frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej
Live (วันที่ 7 ม.ค.62) พิธีต้อนรับ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และขึ้นระวางเรือประจำการ โดย ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธี ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ล้ำสุดในอาเซียน พร้อมปฏิบัติภารกิจตามที่กองทัพเรือ มอบหมายต่อไป
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/337198513545960/

Welcome Back!
บรรยากาศต้อนรับกำลังพลเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/1166670133514880/

กองทัพเรือจัดพิธีต้อนรับเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือฟริเกตสมรรถนะสูงต่อจากสาธารณรัฐเกาหลี ในวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๗๑๕ ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี
กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือลำนี้ว่า เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีความหมายของ ภูมิพล หมายถึง “พลังแห่งแผ่นดิน” อดุลยเดช หมายถึง “อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้” 
ครั้งนี้ นับเป็นสิริมงคลและยังความปลาบปลื้มมาสู่กองทัพเรือและกำลังพลทุกคน อย่างหาที่สุดมิได้ 
โดยเรือฟริเกตลำนี้เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเทียบเท่าชั้นเรือพิฆาต ที่ได้มีการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลัก ภายใต้ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พุทธศักราช ๒๕๕๑ – ๒๕๖๐ 
แบบของเรือจึงได้รับการพัฒนามาจากแบบเรือพิฆาต ชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) และสร้างโดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลีใต้ 
จึงถือได้ว่าเป็นเรือฟริเกตที่มีความทันสมัยและเป็นเรือที่มีคุณค่าทางยุทธการสูงซึ่งจะเป็นกำลังรบทางเรือที่สำคัญตามยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือดังกล่าว






เรือฟริเกต คือ เรือรบที่มีความเร็วสูง ที่มีหลายประเภทตามอาวุธประจำเรือ มีระวางขับน้ำประมาณ ๑๕๐๐–๓๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยานเรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์ เป็นต้น และสำหรับ เรือฟริเกตที่ได้จะเข้ามาประจำการใหม่นี้เป็นการจัดหาเพื่อทดแทนเรือที่ปลดระวางประจำการออกไป ซึ่งจัดเป็นเรือฟริเกตขีดสมรรถนะสูง มีศักยภาพทางการรบสูง จัดได้ว่าเป็นเรือรบที่มีศักยภาพในการทำการรบและความทันสมัยระดับนำของชาติอาเซียน
เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ กองทัพเรือได้ลงนามกับบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. (DSME) จำกัด สาธารณรัฐเกาหลี สร้างเรือฟริเกตที่มีโครงสร้างเรือแข็งแรง 
มีโอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบและการปนเปื้อนทางนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ ๖ ขึ้นไป พร้อมระบบ อุปกรณ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
โดยมีระวางขับน้ำสูงสุด ๓,๗๐๐ ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ๓๐ น็อต ระยะปฏิบัติการประมาณ ๔,๐๐๐ ไมล์ทะเล กำลังพล ๑๔๑ นาย ในวงเงิน ๑๔,๖๐๐ ล้านบาท กำหนดส่งมอบเรือใน ๑,๙๖๓ วัน หรือภายใน ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ 
ออกแบบเรือโดยใช้ Stealth Technology สามารถปฏิบัติการรบได้ ๓ มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ สามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำด้วยตอร์ปิโด และอาวุธระยะไกล 
การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ ใช้เรดาร์ตรวจการณ์ ๓ มิติระยะไกล และระยะปานกลางในการค้นหา ตรวจจับ และติดตามเป้าข้าศึก รวมทั้งแลกเปลี่ยนและประสานการปฏิบัติกับเรือและอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติการ 
แล้วโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ แบบ ESSM และอาวุธปืนของเรือ และการปฏิบัติการสงครามเรือผิวน้ำ โดยมีระบบการรบ (Combat System) ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ในลักษณะกองเรือ (Battle Group) 
รวมทั้งปฏิบัติการรบร่วมกับ เครื่องบินขับไล่ ของกองทัพอากาศเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถโจมตีเป้าพื้นน้ำและใต้น้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ 
ในส่วนการป้องกันตนเองประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี ปืนใหญ่เรือ และปืนรองต่อสู้อากาศยาน ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด (CIWS) หรือที่รู้จักในชื่อฟาลังซ์ 
ระบบลวงทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายแบบรวมการที่สั่งการได้จากศูนย์กลางหรือแยกสั่งการ มีระบบควบคุมการแพร่สัญญาณออกจากตัวเรือ อีกทั้งสามารถตรวจจับ ดักรับ วิเคราะห์ และก่อกวนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าของเป้าหมายได้ 



ด้วยขีดสมรรถนะที่ล้ำสมัยของเรือฟริเกตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ณ ขณะนี้ กองทัพเรือจะนำไปใช้ในภารกิจเพื่อป้องกันอธิปไตยทางทะเลของชาติ ดูแลรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล 
พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ 
โดยเรือจะเข้าประจำการที่ กองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ และจะได้ขอพระราชทานขอพระมหากรุณาธิคุณให้มีพิธีขึ้นระวางเรือ และเจิมเรือ ขึ้นอีกครั้ง ในห้วงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป



รายละเอียดสมรรถนะที่สำคัญของเรือฟริเกตลำนี้
ขนาดของเรือ
- ความยาวตลอดลำ ๑๒๔.๑ เมตร
- ความกว้างกลางลำ ๑๔.๔๐ เมตร
- ความลึก ๘.๐ เมตร
- ระวางขับน้ำ ๓,๗๐๐ ตัน
ระบบขับเคลื่อน
- แบบ Combine Diesel and Gas turbine (CODAG)
- เครื่องจักรใหญ่ดีเซล ตราอักษร MTU รุ่น 16V1163 M94 5,920 kW จำนวน ๒ ชุดเครื่อง
- เครื่อง Gas Turbine ตราอักษร GE รุ่น LM 2500 21,600 kW จำนวน ๑ ชุดเครื่อง
ขีดความสามารถ
- ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๓๐ นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่
- ระยะปฏิบัติการ ๔,๐๐๐ ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วมัธยัสถ์ (๑๘ นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่
- มีดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ พร้อมโรงเก็บอากาศยาน สามารถรองรับ S-70B/Sea Hawk และ MH-60S/Knight Hawk
- มีระบบป้องกันสงครามนิวเคลียร์/เคมี/ชีวะ (NBC Protection)
- โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์จำนวน ๑ โรง สำหรับเก็บ ฮ. S-70b
- ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์รองรับอากาศยานหนัก ๑๐ ตัน พร้อมระบบชักลาก ฮ.
- ขีดความสามารถการปฏิบัติการร่วมกับ ฮ. ระดับ Level 2 class 2A
- ติดตั้งระบบ Visual Landing Aid (VLA) สามารถรับส่งอากาศยานได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
- มีระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้อากาศยาน พร้อมถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ระบบอาวุธ
- ปืนหลัก 76/62 Oto-melera แบบ SR MF (V) จำนวน ๑ แท่น สามารถยิงลูกปืน Vulcano ได้
- ปืนรอง ๓๐ มม. MSI จำนวน ๒ แท่น
- ปืนกลขนาด .๕๐ นิ้ว จำนวน ๒ แท่น
- เครื่องยิงตอร์ปิโดจำนวน ๒ แท่น แท่นละ ๓ ท่อยิง สามารถยิงลูกตอร์ปิโดแบบ MK54
- เครื่องยิงอาวุธปล่อยนำวิถีทางตั้ง (Vertical Launch System : Mk 41) สามารถยิงลูกอาวุธนำวิถีแบบอากาศสู่อากาศ แบบ ESSM ได้
- เครื่องยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบพื้นสู่พื้นฮาร์พูน แบบ Advance Harpoon Weapon Control System : AHWCS จำนวน ๒ แท่น แท่นละ ๔ ท่อยิง สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูนแบบ Block 2 ได้
- ปืนกลป้องกันตนเองระยะประชิด (CIWS) แบบ Phalanx Block 2B
- ระบบอำนวยการรบ ตราอักษร Saab แบบ 9LV Mk4
- เรดาร์ควบคุมการยิงแบบ CEROS 200
- ระบบนำวิถี CWI สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี ESSM
- Electro-Optical Director แบบ EOS500
- ระบบ Target Designation Sight รุ่น Bridge Pointer
ระบบตรวจการณ์
- เรดาร์ตรวจการณ์อากาศระยะไกล ๓ มิติ แบบ Sea Giraffe AMB ER
- เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ ระยะกลาง ๓ มิติ แบบ Sea Giraffe AMB EP with Radome and Dual TWT
- มีโซนาร์
- มีระบบหมายรู้พิสูจน์ฝ่า
- มีระบบนำทางอากาศยาน
- ระบบกล้องตรวจการณ์กลางคืน
- ระบบ Communication ESM (CESM)
- ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์
- ระบบ Communication ESM
- ระบบเครื่องยิงเป้าลวง ตลอดจนเป้าลวงตอร์ปิโดแบบ ระบบเดินเรือแบบรวมการ (Integrated Bridge System : IBS)
- บริษัท Naval Group เป็นผู้บูรณาการระบบ IBS โดยใช้อุปกรณ์ของบริษัท Wartsila เชื่อมต่อกับเครื่องมือเดินเรืออื่นๆ แบบ Ethernet Network มีฟังก์ชั่นการใช้งานและระบบสำรองตามมาตรฐาน IMO ได้รับการรับรองจาก DNVGL สามารถส่งเป้า และสัญญาณ Radar Video ให้ระบบ CMS และสามารถแสดงค่าระบบขับเคลื่อน (รอบเครื่อง และพิทช์ใบจักร) ได้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ และเครื่องมือเดินเรือดังนี้
- เรดาร์เดินเรือ X
- เรดาร์เดินเรือ S แบบ IP Radar
- จอแสดงภาพแบบ Multi Function Display
- ระบบ Warship Electronic Chart and Display System (WECDIS)
- Echo Sounder
ใช้เทคโนโลยีในการออกแบบเพื่อลดค่าอิทธิพลตัวเรือ ได้แก่
- ลดค่า Radar Cross Section, Under Water Radiated Noise
ลดค่า Infra-Red ด้วยการลดความร้อนจากท่อแก๊สเสีย, ลดค่า Magnetic Signature ด้วยการติดตั้งระบบ Degaussing ตราอักษร SAM Electronic
- มีระบบ IPMS
- สามารถทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร ระบบขับเคลื่อน ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันความเสียหาย ระบบดับไฟอัตโนมัติ และป้องกันสงครามนิวเคลียเคมีชีวะ (NBC)
Firefighting system
- Damage control system –IPMS (Integrated Platform Management System)
- ติดตั้งระบบ NBC protection ตราอักษร Bruker และระบบชำระล้าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติการในพื้นที่สงครามนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ได้
ระบบสื่อสาร
- เป็นแบบรวมการ (Integrated Communication System : ICS)
ระบบถือท้าย
- เป็นแบบ Rotary Vane Type มีจำนวน ๒ ระบบ ซ้าย และขวา มอเตอร์ไฮโดรลิก, ระบบถือท้ายเป็นแบบ Rudder Roll Stabilizer ( RRS) ทำหน้าที่เป็นระบบกันโคลงในเวลาเดียวกัน
- ระบบถือท้ายแบบอัตโนมัติ
- สามารถใช้งานได้แบบ Emergency, Non Follow up, Follow up, Couse Control, Heading Control และ Heli Ops mode
ระบบรับส่งสิ่งของ และรับส่งน้ำมันในทะเล (RAS & FAS)
- มีสถานีรับส่งสิ่งของในทะเล ทำการรับส่งสิ่งของได้ด้วยวิธี Manila Highline และ Stream STAR Method
- มีสถานีรับน้ำมันในทะเล (FAS) จำนวน ๒ สถานี และสามารถรับส่งสิ่งของทางดิ่ง (VERTREP) ได้

นาวาเอก สมิทนัท คุณวัฒน์ ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
กำลังพลประจำเรือ ๑๔๑ นาย จะเข้าประจำการใน กองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ

กองประชาสัมพันธ์ สำนักจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/2457576647603171
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/2241830252534985

เรือฟริเกตสมรรถนะสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช หรือเดิมคือเรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) ได้ทำพิธีรับมอบเรือ ณ อู่ต่อเรือ Okpo-Dong ของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) ใน Geoje, South Gyeongsang, Busan สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/blog-post_16.html)
ออกเดินทางจากเกาหลีใต้ไปถึง Hong Kong จีนเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ ต่อมาเดินทางถึง Da Nang เวียดนามเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ และออกเดินเรือในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) จนเข้าสู่น่านน้ำไทยในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒
ในวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๒ กองทัพเรือไทยได้จัดกระบวนเรือต้อนรับ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วย เรือฟริเกตชุดสองลำคือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน และเรือคอร์เวตหนึ่งลำคือ ร.ล.รัตนโกสินทร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/blog-post_6.html)

ระหว่างการลอยลำในทะเลนอกฐานทัพเรือสัตหีบเรือฟริเกต ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้รับการเปลี่ยนป้ายชื่อเรือที่ท้ายเรือและข้างสะพานเดินเรือ รวมถึงแถบชื่อเรือบนหมวกกลาสีของกำลังพลประจำเรือ
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชจะเข้าประจำการที่ กองเรือฟริเกตที่๑ กองเรือยุทธการ โดยมี นาวาเอก สมิทนัท คุณวัฒน์ เป็นผู้บังคับการเรือท่านแรก พร้อมกำลังพลชุดรับเรือรวมทั้งสิ้น ๑๔๑นาย เป็นเรือฟริเกตชุดใหม่ล่าสุดที่เข้าประจำการในกองทัพเรือไทย
ทั้งนี้บริษัท DSME เกาหลีใต้ยังหวังที่จะได้รับสัญญาจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองจากกองทัพเรือไทยที่จะมีการถ่ายทอด Technology การสร้างในไทย ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ โดยเร็วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/blog-post_8.html)