วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2562

เรือฟริเกตเรือหลวงท่าจีนได้รับพระราชทานชื่อใหม่เป็นเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชเดินทางถึงกองทัพเรือไทยแล้ว

Thailand’s first South Korean-made frigate heads home
https://www.janes.com/article/85531/thailand-s-first-south-korean-made-frigate-heads-home








Royal Thai Navy's new Frigate FFG-471 HTMS Tachin was entering into Thai waters in 5 January 2019, HTMS Tachin has renamed to HTMS Bhumibol Adulyadej


Royal Thai Navy's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej and FFG-422 HTMS Taksin frigates




Royal Thai Navy's FFG-422 HTMS Taksin frigate and FS-441 HTMS Ratanakosin corvette



Royal Thai Navy's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej and FFG-421 HTMS Naresuan frigates

Royal Thai Navy's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej FFG-421 HTMS Naresuan, FFG-422 HTMS Taksin and FS-441 HTMS Ratanakosin


Clip: Royal Thai Navy's new frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej was entering into Thai waters to welcome formation by two Naresuan-class frigate FFG-421 HTMS Naresuan FFG-422 HTMS Taksin and Ratanakosin class corvette FS-441 HTMS Ratanakosin 
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/videos/1664781257000934/

กองทัพเรือ จัดกระบวนเรือต้อนรับเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ประกอบไปด้วย เรือหลวงนเรศวร, เรือหลวงตากสิน, และเรือหลวงรัตนโกสินทร์ โดยประกอบกำลังแปรกระบวนเพื่อบันทึกภาพทางอากาศ
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชเป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ต่อจาก DSME.-DAEWOO Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) เกาหลีใต้ เป็นการพัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) 
โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลีใต้ในการต่อเรือ สามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ ทั้งผิวน้ำ ใต้น้ำ และทางอากาศ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อใหม่ให้เรือหลวงท่าจีนเป็น "เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช"
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/

ยินดีต้อนรับ ร.ล. ภูมิพลอดุลยเดช...ภาพทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ขณะที่ ร.ล. ภูมิพลอดุลยเดช เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำใหม่ล่าสุดของทร.ไทย กำลังแล่นอยู่กลางทะเลเพื่อมุ่งหน้าสู่อ่าวสัตหีบ เมื่อเวลา 16.30 น. ของวันที่ 5 ม.ค. 2562 
โดยมี ร.ล.นเรศวร ร.ล.ตากสิน และ ร.ล.รัตนโกสินทร์ ออกไปต้อนรับ พร้อมกับมีการแปรขบวนแล่นคู่ขนานกันของเรือรบทั้ง 4 ลำ เพื่อการถ่ายรูป หลังจากนั้นจึงแล่นเข้าสู่ฝั่งในช่วงค่ำ 
โดยในวันจันทร์ที่ 7 ม.ค. 2562 นี้จะมีพิธีต้อนรับ ร.ล. ภูมิพลอดุลยเดช ที่ท่าเรือจุกเสม็ด เวลา 16.00-18.00 น. Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1516773888425717

เรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรกของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) เรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) ได้เดินทางจากสาธารณรัฐเกาหลีมาถึงประเทศไทยแล้ว ตามข้อมูลจาก IHS Markit AISLive เรือได้ออกเดินทางจากเกาหลีใต้ในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ต่อมาเดินทางมาถึง Hong Kong สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ ต่อมาออกเดินทางมาถึง Da Nang สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ และออกเดินเรือในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) จนเข้าสู่น่านน้ำไทยในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒
ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ได้ทำพิธีรับมอบเรือ ณ อู่ต่อเรือ Okpo-Dong ของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) ใน Geoje, South Gyeongsang, Busan สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/blog-post_16.html)

ในวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๒ กองทัพเรือไทยได้จัดกระบวนเรือต้อนรับ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ประกอบด้วย เรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ทั้งสองลำคือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน และเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ หนึ่งลำคือ ร.ล.รัตนโกสินทร์
ล่าสุด เรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) ได้รับพระราชทานชื่อเรือใหม่เป็น เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช โดยได้มีการจัดทำป้ายชื่อเรือใหม่ที่จะติดตั้งที่ท้ายเรือแทนชื่อเรือเดิม รวมถึงแถบชื่อเรือที่หมวกกลาสีของกำลังพลประจำเรือ นับเป็นมหามงคลอย่างยิ่งอันหาที่สุดมิได้แก่กำลังพลชุดรับเรือและกองทัพเรือไทย
ตามกำหนดการ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้เดินทางมาถึงฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยทำการจอดเทียบท่าที่ท่าเรือจุกเสม็ด ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ และจะมีการจัดพิธีต้อนรับเรือและขึ้นระวางประจำการในวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ

การโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อใหม่นี้ทำย้อนให้นึกถึงการพระราชทานชื่อเรือฟริเกต เรือหลวงมกุฎราชกุมาร เป็นเรือฟริเกตที่ต่อโดยบริษัท Yarrow สหราชอาณาจักร ที่เดิมจะได้รับชื่อเรือว่า เรือหลวงเจ้าพระยา
เนื่องจากปีที่เรือกำลังสร้างคือ พ.ศ.๒๕๑๕(1972) ได้มีการจัดพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร(ในสมัยรัชกาลที่๙) กองทัพเรือจึงได้ขอพระราชานุญาตเปลี่ยนชื่อเรือเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติ
ร.ล.มกุฎราชกุมาร ได้ขึ้นระวางประจำการในวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๖(1973) ปัจจุบันประจำการในกองเรือฟริเกตที่๑ นั้นก็เป็นเรือลำที่๒ ที่ใช้ชื่อนี้ โดย ร.ล.มกุฎราชกุมาร ลำที่๑ เป็นเรือสมัยรัชกาลที่๕ เคยรบกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาทปากน้ำวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒(1893) มาแล้ว
(ต่อมากองทัพเรือไทยจึงได้มีการจัดหาเรือฟริเกต ร.ล.เจ้าพระยา ชั้น Type 053HT จากจีน ที่ปัจจุบันสังกัดกองเรือฟริเกตที่๒ ซึ่ง ร.ล.เจ้าพระยา เองก็เป็นเรือลำที่๒ ที่ใช้ชื่อนี้ โดย ร.ล.เจ้าพระยา ลำที่๑ เป็นเรือสลุปสมัยรัชกาลที่๖)

หลักการตั้งชื่อเรือหลวงของกองทัพเรือไทยนั้น เรือพิฆาตจะตั้งตามชื่อตัว, ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษ เรือฟริเกตจะตั้งชื่อตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ ที่ผ่านมามีเรือรบผิวน้ำในประจำการหรือเพิ่งปลดประจำการของกองทัพเรือไทยหลายลำที่ตั้งชื่อตามหลักเกณฑ์ในกลุ่มเรือพิฆาต
เช่น เรือหลวงปิ่นเกล้า(DE-413 HTMS Pin Klao) เดิมเป็นเรือพิฆาตคุ้มกัน(Destroyer Escort) ชั้น Cannon กองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) ชื่อ DE-746 USS Hemminger ซึ่งเรือรบประเภทเรือพิฆาตคุ้มกันของสหรัฐฯสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ กองทัพเรือบางประเทศจะกำหนดประเภทเป็นเรือฟริเกต
เรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือ เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html) และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย(https://aagth1.blogspot.com/2015/04/blog-post_17.html) เดิมเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox กองทัพเรือสหรัฐฯชื่อ FF-1095 USS Truett และ FF-1077 USS Ouellet ตามลำดับ ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯเคยจัดประเภทเรือชั้นนี้เป็นเรือพิฆาตคุ้มกัน(DE) มาก่อนจะเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต(FF)

ชุดเรือหลวงนเรศวร ทั้งสองลำเป็นเรือฟริเกตแบบ F25T สร้างโดย China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของจีน ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ระบบอาวุธและอุปกรณ์จากตะวันตกที่ทันสมัยมากในสมัยที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) จึงถูกพิจารณาใช้ชื่อตามแบบเรือพิฆาต
ในกรณีของ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช นั้นนอกจากจะเป็นพระราชวินิจฉัยแล้ว แบบเรือฟริเกต DW3000H มีพื้นฐานพัฒนาจากเรือพิฆาตชั้น Gwanggaeto the Great โครงการ KDX-I กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) จึงสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเรือพิฆาตได้เช่นกัน
ทั้งนี้บริษัท DSME เกาหลีใต้ยังคงรอที่จะได้รับสัญญาจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองจากกองทัพเรือไทยที่จะมีการถ่ายทอด Technology การสร้างในไทย ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ในอนาคตครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/blog-post_8.html)