วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562

เกาหลีใต้กำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 รุ่นใหม่เล็งตลาด ASEAN



T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli, Royal Thai Air Force

KAI Developing Smarter FA-50 Golden Eagle
The KAI final assembly facility at Sacheon, South Korea, with T/FA-50s in build with Surion helicopters behind. (photo: Chen Chuanren)
https://www.ainonline.com/aviation-news/defense/2019-01-22/kai-developing-smarter-fa-50-golden-eagle

KAI FA-50 enhanced weapons stations loadout capability(bemil.chosun.com)

ครบรอบ 1 ปี “อินทรีทอง” ที่ล้อของเครื่องแรกสัมผัสพื้นสนามบินตาคลี
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2417765398253036

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีใต้เริ่มต้นการพัฒนารุ่นปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบาไอพ่น FA-50 Golden Eagle ของตน
โดยในรุ่นปรับปรุงเพิ่มขีดความสามารถการใช้อาวุธอากาศสู่พื้น FA-50 Block 10 จะบูรณาการติดตั้งกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod เพื่อให้เครื่องสามารถกำหนดเป้าหมายและใช้อาวุธนำวิถี Laser ได้ด้วยตนเอง

ผู้จัดการอาวุโสของ KAI เกาหลีใต้กล่าวกับ AIN ในการให้สัมภาษณ์พิเศษว่า งานพัฒนาดังกล่าวได้เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2018 และโครงการดังกล่าวตั้งเป้าที่จะเสร็จสิ้นได้ภายในไม่เกินปี 2021
เขายังเสริมว่าผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 ในปัจจุบันยังสามารถที่ใช้ประโยชน์จากการปรับปรุงชุดคำสั่งใหม่ และไม่จำเป็นที่จะต้องมีการดัดแปลงเครื่องทางกายภาพต่อตัวเครื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใหม่ดังกล่าว

"ลำดับความสำคัญในปัจจุบันของเราคือการประชาสัมพันธ์เครื่องรุ่นปรับปรุง Block 10 แก่ผู้ใช้งานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังมองหาเครื่องบินรบไอพ่นเพิ่มมากขึ้น" ผู้จัดการ KAI กล่าว
เขาเสริมว่า KAI เกาหลีใต้ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการกับบรรดากองทัพอากาศชาติที่กล่าวไป และพบว่าชาติเหล่านั้นกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงเพิ่มขีดความสามารถระบบอาวุธอากาศสู่พื้นของ FA-50 ของตน

ปัจจุบันในกลุ่มชาติ ASEAN มีสามประเทศที่จัดหาเครื่องบินรบไอพ่นตระกูล T-50 Golden Eagle จากเกาหลีใต้คือ อินโดนีเซียรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50I ที่ปัจจุบันมี ๑๕เครื่อง ฟิลิปปินส์รุ่นเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/fa-50ph.html)
และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) รุ่นเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ชุดแรก ๔เครื่อง และกำลังจัดหาชุดที่สอง ๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)

เจ้าหน้าที่ KAI เสริมว่าจำนวนของผู้ใช้เหล่านี้ยังจะมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงอื่นๆ เช่น Lockheed Martin F-16V Block 70/72 Viper สหรัฐฯ และ Saab Gripen สวีเดน
และ KAI เกาหลีใต้หวังว่า ด้วยการปรับปรุงความทันสมัยให้กับ FA-50 บริษัทจะสามารถเจาะตลาดในประเทศเหล่านี้ โดยการเสนอเครื่องบินในจำนวนมากกว่าในราคาเฉลี่ยต่อเครื่องที่ต่ำกว่า

KAI เกาหลีใต้ประมาณการณ์ว่าตลาดเครื่องบินรบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถมีความต้องการเครื่องบินรบไอพ่นตระกูล Golden Eagle เพิ่มเติมกว่า 60เครื่องรวมถึงทางเลือกจัดหาเพิ่มอีก
นี่ยังรวมถึงความเป็นได้ที่จะได้รับการสั่งจัดหาตามมาจากลูกค้าใหม่ เช่น โครงการเครื่องบินรบเบา/เครื่องบินขับไล่ฝึก LCA/FLIT(Light Combat Aircraft/Fighter Lead-In Trainer) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_11.html)

บริษัท KAI เกาหลีใต้ได้รับเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) จากมาเลเซียเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2019 และ AIN เข้าใจว่ามาเลเซียต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่เบาใหม่ 12เครื่องโดยมีตัวเลือกจัดหาเพิ่มอีก 24เครื่อง
ผู้จัดการ KAI กล่าวว่าเขาคาดว่าจะมีการออกเอกสาร RFI ที่มีรายละเอียดมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากที่มาเลเซียมีภาพที่ชัดเจนกว่านี้ในความต้องการของตนบนพื้นฐานของ RFI ฉบับแรก(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)

"เครื่องบินรบเบาเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว มันจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากระหว่างเครื่องบินแบบต่างๆ เช่น Tejas อินเดีย, JF-17 ปากีสถาน-จีน(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html) และ L-15 จีน
แต่หวังที่จะลับคมขอบเขตของเราผ่านการบันทึกเส้นทางที่แข็งแรงกับผู้ใช้ในระดับนานาชาติ เช่นเดียวกับบริการหลังการขายที่ดี" เขาเสริม

ผู้จัดการ KAI ยังเปิดเผยอีกว่าเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Block 20 อยู่ในการทำงานและการพัฒนาจะเริ่มต้นในปี 2019 นี้ โดยเครื่องรุ่น Block 20 จะทำให้เครื่องสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond-Visual-Range Air-to-Air Missile)
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile) ได้ จากเดิมที่ FA-50 ติดตั้งได้เฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ตระกูล Raytheon AIM-9 Sidewinder

เช่นเดียวกับเครื่องรุ่น Block 10 การปรับปรุงเป็นรุ่น Block 20 ไม่จำเป็นต้องมีการดัดแปลง Radar ของ FA-50 แต่อย่างใด ในขั้นต่อไปกำลังจะมีการศึกษาว่าจะเพิ่มกำลังของ Radar และขยายเพิ่มระยะตรวจจับของ Radar ได้อย่างไรด้วย
โดย Radar ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50PH ฟิลิปปินส์ และ บ.ขฝ.๒ T-50TH กองทัพอากาศไทยคือ Israel Aerospace Industries(IAI) Elta EL/M-2032 อิสราเอลครับ