วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

ญี่ปุ่นจะยุติสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ในประเทศ

Japan to cease in-country assembly of F-35 jets
AX-5, the first Japanese-assembled F-35A was unveiled in Nagoya Japan on 5 June 2017. The aircraft was built at Mitsubishi Heavy Industries (MHI) F-35 Final Assembly and Check Out (FACO) facility.

Lt. Col. Nakano, of the Japan Air Self-Defense Force, sits in the cockpit of an F-35 before departing on his first solo sortie at Luke Air Force Base, Ariz. (Tech. Sgt. Louis Vega Jr./U.S. Air Force)
https://www.defensenews.com/industry/2019/01/17/japan-to-cease-in-country-assembly-of-f-35-jets/

ญี่ปุ่นได้ยืนยันว่าตนจะไม่ใช้สายการผลิตประกอบเครื่อง FACO(Final Assembly and Check Out) ในประเทศ สำหรับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ชุดต่อไปที่จะสั่งจัดหา
โฆษกของสำนักงานการจัดซื้อจัดจ้าง, เทคโนโลยี และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology and Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Defense News ว่าจะมีการทดแทนด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่นำเข้าจากต่างประเทศสำหรับสัญญาในปีงบประมาณ 2019 ที่จะถึง

โฆษกของ ATLA ญี่ปุ่นได้อ้างถึงกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเมื่อ Defense News ถามว่าทำไมญี่ปุ่นถึงตัดสินใจยุติสายการผลิตประกอบ FACO สำหรับ F-35 ของตนในประเทศ ทางกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังไม่ได้ตอบสนองต่อข้อซักถามนี้
อย่างไรก็ตามในแนวทางและแผนกลาโหม 5ปีที่รัฐบาลญีปุ่นเผยแพร่ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2018 ระบุว่าญี่ปุ่นต้องการจะ"จัดหายุทโธปกรณ์สมรรถนะสูงในราคาที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่เป็นไปได้" และ "ทบทวนหรือยกเลิกโครงการที่มีประสิทธิผลต่ำต่อค่าใช้จ่าย"

ก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม 2018 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณกลาโหมซึ่งรวมวงเงิน $612.35 million สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II จำนวน 6เครื่องในงบประมาณปี 2019 ที่จะเริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2019 ถึง 31 มีนาคม 2020
งบประมาณยังอนุมัติวงเงินเพิ่มเติมอีก $366.12 million สำหรับ "รายจ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง" ซึ่งรวมอุปกรณ์การซ่อมบำรุงที่ผูกพันกับโครงการ F-35 ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นได้เริ่มตั้งสายการผลิตประกอบ FACO ตั้งแต่ปี 2013 สำหรับการประกอบเครื่องขั้นสุดท้ายของเครื่องบินขับไล่ F-35A ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ที่สั่งจัดหาไปก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
ตามที่โฆษก ATLA ญี่ปุ่นกล่าว โรงงานอากาศยานของบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) จะยังคงดำเนินงานสายการผลิตประกอบ FACO ไปจนถึงปีงบประมาณ 2022 เพื่อเติมเต็มสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ญี่ปุ่นที่ลงนามในปีงบประมาณ 2015-2018

ญี่ปุ่นได้พยายามดิ้นรนที่จะคงรักษาฐานอุตสาหกรรมความมั่นคงในประเทศของตน โดยแผนแนวทางกลาโหมล่าสุดที่เผยแพร่ออกมาเป็นที่ยอมรับว่ามันจำเป็นที่จะต้องเอาชนะ
"ความท้าทาย เช่น ค่าใช้จ่ายด้านราคาที่สูงเนื่องจากมีปริมาณการผลิตน้อย, การผลิตแบบผสมสูง(high-mix production) และการขาดความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติระหว่างประเทศ”

ตามเอกสารงบประมาณของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเห็นชอบที่จะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 24เครื่อง โดยแต่ละเครื่องมีราคาเฉลี่ยที่ $144.2 million แม้ว่าราคาต่อเครื่องได้มีแนวโน้มที่ลดลง
โดย F-35A ในชุดปีงบประมาณ 2018 มีราคาต่อเครื่องที่ $119.7 million(ตัวเลขราคาเครื่องทั้งสองค่านี้จะขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน และไม่ได้คำนึงถึงความผันผวนของการแปลงค่าสกุลเงิน)

เพิ่มเติมจากเครื่องบินขับไล่ F-35A ที่สั่งจัดหาไปแล้ว 42เครื่อง ญี่ปุ่นตั้งใจที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 เพิ่มอีกรวม 105เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/izumo-f-35.html) ซึ่งรวมเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II จำนวน 42เครื่อง
แผนกลาโหมญี่ปุ่นจะมีการจัดหา F-35 จำนวน 45เครื่องในอีก 5ปีข้างหน้าจะประกอบด้วย F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) 27เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) 18เครื่อง

โดยที่เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) คือ DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga จะถูกปรับเปลี่อนเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพหุบทบาทซึ่ง F-35B สามารถปฏิบัติการได้(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/f-35b-izumo.html)
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL 63เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL 42เครื่อง จะทำให้ญี่ปุ่นมีเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II รวมเป็นจำนวนถึง 147เครื่อง นับเป็นผู้ใช้งานรายใหญ่อันดับสามของโลก รองจากอันดับหนึ่งสหรัฐฯ และอันดับสองสหราชอาณาจักรครับ