วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

สรุปความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑



FFG-471 HTMS Tachin at Da Nang, Vietnam in 31 December 2018
https://baohaiquanvietnam.vn/tin-tuc/tau-hai-quan-thai-lan-tham-thanh-pho-da-nang-4568-4568-4568




Delivery Ceremony of Royal Thai Navy's new Frigate FFG-471 HTMS Tachin at Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) Okpo-Dong shipyard, Geoje, South Gyeongsang, Busan, Republic of Korea, 14 December 2018
https://aagth1.blogspot.com/2018/12/blog-post_16.html


Brahmin being install Royal Garuda the national emblem of Kingdom of Thailand and invite the guardian goddess of Ship in FFG-471 HTMS Tachin delivery ceremony

"การที่เราไม่รู้ไม่เห็นในสิ่งที่มองด้วยตาเนื้อแล้วบอกว่าสิ่งนั้นไม่มีวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ว่าจะพิสูจน์หรือถูกต้องทั้งหมด การทำพิธีบวงสรวงของไทยเรามีมานานคู่กับคนไทยไม่ว่าทำอะไรต้องมีความเชื่อก่อนเราขึ้นบ้านใหม่ปลูกบ้าน สร้างเมืองซื้อรถเราก็ต้องมีพิธีเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์แม่ย่านางรถกัน 
ใครที่บอกว่าไม่ต้องทำพิธีแม่ย่านางเรือก็มีนั่นคิดผิดรับรองอย่างไรก็ไม่มีเพราะเป็นเหล็กที่ต่อขึ้นมาไม่ใช่ต้นไม้ที่มีจิตวิญญาณอยู่แล้วเรายังต้องทำพิธีก่อนเลย และที่สำคัญขวัญและกำลังใจของกำลังพลเวลาผจญภัยกับคลื่นลมและการสู้รบ จึงทำให้มีพิธีเชิญจิตเทพนารีลงมาประจำเรือ 
เรือไหนไม่เคยทำผมบอกได้เลยว่าไม่มีแม่ย่านางลงแน่นอนเพราะเทพมักถือองค์และไม่ทำพิธีก็ลงไม่ได้ และทำไม่ถูกพิธีก็ไม่ลงครับ" เรือเอก จิรศิษฏ์ แสงวิลัย(https://www.facebook.com/people/จิรศิษฏ์-แสงวิลัย/100001825214786)

ผบ.กฟก.๑ เข้าร่วมพิธีรับมอบ ร.ล.ท่าจีน
พลเรือตรี กำจร เจริญเกียรติ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ   เข้าร่วมพิธีรับมอบ ร.ล.ท่าจีน ณ สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
http://www.frigate1.com/index.php/th/news/668-2018-12-17-04-11-26

ตามที่กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีรับมอบเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) ณ อู่ต่อเรือ Okpo-Dong บริษัท DSME(Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ใน Geoje, South Gyeongsang, Busan สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
โดยมี พลเรือเอก พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย เป็นประธานในพิธีแทนผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ร่วมกับ พลเรือตรี กำจร เจริญเกียรติ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่๑ กำลังพลชุดรับเรือฟริเกตใหม่ เจ้าหน้าที่บริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี และฝ่ายไทยร่วมงาน
ตามข้อมูลล่าสุดมีรายงานว่าเรือฟริเกต ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ได้ออกเดินเรือจากเกาหลีใต้มาถึงฮ่องกงเมื่อ ๒๕-๒๖ ธันวาคม 2018 โดยจะเดินทางถึงไทยในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และมีพิธีต้อนรับเรือในวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๒ ซึ่งเมื่อขึ้นระวางประจำการจะเป็นเรือฟริเกตชุดใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือไทย

ก่อนหน้าโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงคือ ร.ล.ท่าจีน ลำนี้ กองทัพเรือไทยไม่ได้สั่งต่อเรือรบผิวน้ำหลักจากต่างประเทศมานานมากแล้ว โดยประเภทเรือฟริเกตที่สั่งต่อใหม่ก่อนหน้าคือเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร จากจีนทั้ง ๒ลำ ลำแรกก็เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗ คือราว ๒๔ปีมาแล้ว
ในภาพพิธีรับมอบที่มีการเผยแพร่จากกำลังพลชุดรับเรือของไทยใน Facebook สาธารณะ จะเห็นถึงการทำพิธีของพราหมณ์ เพื่ออัญเชิญตราครุฑติดหน้าเรือเป็นเครื่องหมายของการเป็นเรือหลวง และบวงสรวงแม่ย่านางเรือ เป็นการนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตกับเรือเพื่อเป็นสิริมงคลแก่กำลังพลประจำเรือ
ทั้งนี้ทาง DSME เกาหลีใต้ยังมุ่งหวังที่จะได้รับการลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ท่าจีน ลำที่๒ จากกองทัพเรือไทยโดยเร็ว ซึ่งจะมีการถ่ายทอด Technology ในการสร้างที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ในไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/blog-post_8.html)

Royal Thai Air Force U1 Unmanned Aerial System(UAS) base on Sky Scout Tactical UAS by Thai company RV Connex(My Own Photos)


Royal Thai Navy has awarded RV CONNEX's UNMANNED AIRCRAFT SYSTEM for Long Range Maritime Surveillance development program(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)

กองทัพเรือไทยได้ประกาศให้ บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (RV Connex) ประเทศไทยเป็นผู้ชนะการคัดเลือกการจัดซื้อระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV) สำหรับโครงการพัฒนาการตรวจการณ์ทางทะเลระยะไกล วงเงิน ๑๐๙,๙๙๘,๐๐๐บาท($3,355,654)
ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ RTAF U-1 UAV จำนวน ๑๗เครื่อง พร้อมระบบสถานีควบคุมภาคพื้นดิน ซึ่งมีพื้นฐานจากระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Sky Scout ของบริษัท RV Connex ไทย
นับเป็นหนึ่งในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของกองทัพเรือไทยอีกโครงการ โดยกองทัพเรือไทยได้มีการพัฒนาและจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ UAS หลายรูปแบบที่พัฒนาภายในประเทศไทยมาประจำการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องครับ

Royal Thai Navy's Lockheed P-3T Orion serial 1205, 102 Sqaudron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division at Hat Yai International Airport, Songkhla province, Thailand, 17 July 2010(https://www.facebook.com/people/Na-Nuk/100002917501906)


Royal Thai Navy's retired Lockheed UP-3T serial 1206, 102 Sqaudron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division on static display at Royal Thai Naval Air Division Museum Park (Unknow Photos Source)

เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ข Lockheed P-3T Orion หมายเลข 1204(Bu152142) และ 1205(Bu152143) ในภารกิจตรวจการณ์ทางทะเล และ บ.ตผ.๒ก UT-3T หมายเลข 1206(Bu152184) ในภารกิจลำเลียง ที่มีพื้นฐานจาก P-3A เก่าที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)
บ.ตผ.๒ก P-3T/บ.ตผ.๒ขUT-3T ทั้ง ๓เครื่องที่เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ ในปี พ.ศ.๒๕๓๖(1993) และ พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ตามลำดับ โดยต่อมาได้มีการจัดหา P-3A ๒เครื่อง(Bu152163 และ Bu152177) และ UP-3T(Bu152185) ๑เครื่อง เพื่อใช้เป็นอะไหล่
P-3T หมายเลข 1204 ได้ถูกใช้เป็นอะไหล่ จนกระทั้ง บ.ตผ.๒ P-3T/UP-3T หมายเลข 1205 และ 1206 ถูกปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ทำให้กองทัพเรือไทยขาดเครื่องบินตรวจการณ์ที่มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนปราบเรือดำน้ำมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว
กองทัพเรือไทยจึงมีความต้องการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่จำนวน ๓เครื่องเพื่อทดแทน บ.ตผ.๒ P-3T Orion โดยล่าสุดมีสี่บริษัทที่สนใจเสนอแบบอากาศยานของตนแก่กองทัพเรือไทยแล้วคือ

PT Dirgantara Indonesia(PTDI) อินโดนีเซียที่เสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ตามที่มีการเจรจาขั้นต้นไปในเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/cn-235-220-mpa.html)
บริษัท Airbus Defence & Space สาขาสเปนที่เสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล C2295 MSA(Maritime Surveillance Aircraft)/MPA ที่เคยนำเครื่องของกองทัพอากาศบราซิล(SC-105A) มาแสดงในไทยเมื่อปี พศ.๒๕๖๐(2017)(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/airbus-c295.html)
บริษัท Leonardo อิตาลีที่น่าจะเสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล ATR 72MP เช่นเดียวกับที่เสนอกองทัพอากาศมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_22.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html)
และบริษัท Lockheed Martin ที่น่าจะเสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล SC-130J Sea Hercules ที่พัฒนาจากเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C-130J แทน P-3 Orion ที่ปิดสายการผลิตไปแล้วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/lockheed-martin-c-130j.html)

Royal Thai Navy's Sikorsky SH-60B Seahawk (S-70B) helicopter serial 3202, 2 Sqaudron, Chakri Naruebet Wing, Royal Thai Naval Air Division on wrapped to prepare transport probably to be upgrade

มีภาพปรากฎออกมาให้เห็นถึงเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B Seahawk (S-70B) หมายเลข 3202 ฝูงบิน๒ หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย ถูกห่อหุ้มในลักษณะเตรียทเดินทางขนส่ง เข้าใจว่าจะเป็นการส่งไปปรับปรุงความทันสมัยที่ต่างประเทศ
กองทัพเรือไทยได้จัดหา ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk จำนวน ๖เครื่อง เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) ประกอบด้วยเครื่องหมายเลข 3201, 3202, 3203, 3204, 30205 และ 3206 โดยเป็นอากาศยานหลักที่ปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร
ฮ.ปด.๑ SH-60B กองทัพเรือไทยได้รับการติดตั้ง Radar ตรวจการณ์พื้นน้ำ,HELRAS Dipping Sonar ตรวจจับเรือดำน้ำ และ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Mark 46(https://aagth1.blogspot.com/2016/05/guardian-sea-2016.html) โดยมีภารกิจรองในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลครับ





Royal Thai Army's Rapid Deployment Force, L119 105mm howitzer battery of 31st Field Artilery Battalion King's Guard, 1st 1st Field Artilery Regiment King's Guard was carrying by two Sikorsky UH-60M Black Hawk and two Mil Mi-17V5

Clip: Royal Thai Army's L119 105mm howitzer battery carry by two UH-60M and two Mi-17V5
ความยิ่งใหญ่ ของ การยกหิ้วปืนใหญ่ด้วยอากาศยานทั้งกองร้อย
https://www.facebook.com/948668558494375/videos/723438971361291/

ป.1 พัน.31 รอ. เมื่อ 241000 - 241700 ธ.ค.61 พ.ท.ณัฏฐานันธ์ ปรีชาภัฏสกุล ผบ.ป.1 พัน.31 รอ. ทำการยกหิ้วปืนใหญ่ด้วยอากาศยาน ทั้งกองร้อย ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของกองทัพบก 
โดยทำการยกหิ้ว ด้วย MI17 2 ลำ และ Black Hawk 2 ลำ เข้าที่ตั้งยิง และ ทำการยิงตามแผนการยิงเร่งด่วน ณ สนามยิงปืนใหญ่กระสุนต่อระยะ ศป. ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยครับ

แม้ว่าการปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook จะทำให้ศูนย์การบินทหารบกขาดขีดความสามารถในการเคลื่อนย้ายทางอากาศด้วย ฮ.ลำเลียงหนัก เช่น การหิ้วปืนใหญ่ลากจูง 155mm หรือรถถังเบา ถ.เบา.๒๑ Scorpion(https://aagth1.blogspot.com/2015/03/ch-47d-scorpion.html)
แต่ในการฝึกของ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๓๑ รักษาพระองค์ กรมทหารปืนใหญ่ที่๑ รักษาพระองค์ ที่ใช้ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๔๙ L119 105mm เคลื่อนย้ายทางอากาศทั้งกองร้อยด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60M Black Hawk ๒เครื่องและเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 ๒เครื่องนั้น
ก็แสดงถึงความพร้อมของกองกำลังพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว(RDF: Rapid Deployment Force) ในการวางกำลังปืนใหญ่ลากจูงของเหล่าทหารปืนใหญ่กองทัพบกไทย ที่ล่าสุดได้รับมอบ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 รัสเซียชุดใหม่ ๒เครื่องแล้วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/mi-17v5.html)

Royal Thai Army's NORINCO VT4 Main Battle Tanks during exercise.
https://aagth1.blogspot.com/2018/12/vt4.html

NORINCO VT4 Main Battle Tank Royal Thai Army Promotional

ที่ผ่านมาการจัดตั้ง กองพลทหารม้าที่๓ ที่เป็นกำลังรบของเหล่าทหารม้าเพื่อรับผิดชอบการป้องกันในส่วนกองทัพภาคที่๒ นั้น ได้ถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาติโจมตีว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณจากภาษีประชาชนอย่างไร้ความจำเป็น รวมถึงการโจมตีที่ตัวบุคคลที่ทหารม้าไทยเคารพนับถือ
แต่จากการเสริมกำลังรบของประเทศเพื่อนบ้านทางพรมแดนภาคอีสานของไทย ด้วยการจัดหารถถังหลักใหม่ทั้งรถถังหลัก T-90S กองทัพประชาชนเวียดนาม(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/t-90s-yak-130-6.html) และรถถังหลัก T-72B1MS กองทัพประชาชนลาว(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t-72b1ms.html) นั้น
ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ากองทัพบกไทยได้มองการณ์ไกลล่วงหน้าจากประสบการณ์การปะทะกับกองกำลังต่างชาติในอดีตอย่างถูกต้อง ว่ายังคงมีความจำเป็นที่ ทภ.๒ จะต้องมีกำลังรถถังและยานเกราะระดับกองพลทหารม้าไว้ในภาคอีสานเพื่อรักษาสมดุลกำลังรบทางทหารของไทยไว้อยู่

แม้ว่าอัตราจัดของ พล.ม.๓ จะเป็นแบบหย่อยกำลังคือมีเพียงสองกรมทหารม้าคือ กรมทหารม้าที่๖ และกรมทหารม้าที่๗ แต่ละกรมมีเพียงสองกองพันทหารม้า และแต่ละกองพันทหารม้ารถถัง เช่น กองพันทหารม้าที่๖ ม.๖ และกองพันทหารม้าที่๒๑ ม.๖ มีรถถังหลักในอัตราแบบหย่อนกำลัง
แต่รถถังหลัก VT4 ที่จัดหาจาก Norinco สาธารณรัฐประชาชนจีน ก็เป็นรถถังที่มีความทันสมัยสูงในราคาประมาณคันละ ๑๖๗,๒๒๙,๐๐๐บาท($4,918,500) ก้าวหน้าไปมากจากรถถังหลัก ถ.๓๐ Type 69-II ที่จัดหามาในปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ราคาคันละราว ๗.๕ล้านบาท($300,000) ตามค่าเงินสมัยนั้น
อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณกลาโหมของกองทัพบกไทย การทดแทนรถถังเบา M41A3 สหรัฐฯที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962) จำนวนกว่า ๒๐๐คัน ก็เป็นไปอย่างช้าๆจากโครงการจัดหา ถ.หลัก VT4 แต่ละระยะเพียงแค่ ๑๐กว่าคัน และไม่ได้ทดแทนในอัตราส่วน 1:1 ครับ

Royal Thai Air Force's Bell 206B-8 training helicopter Kamphaengsaen Flying Training School has retried since 2006 (Unknow Photo Source)

ความคืบหน้าของโครงการซื้อเฮลิคอปเตอร์สำหรับฝึกจำนวน ๖เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ ระบบส่งกำลังบำรุง ระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรการฝึกอบรม วงเงิน ๑,๔๔๓,๐๐๐,๐๐๐บาท($44 million) ที่ได้เคยรายงานไปนั้น
ล่าสุดมีสองบริษัทที่ได้เสนอราคากลางเข้าแข่งขันในโครงการคือ บริษัท Airbus Helicopters สาขาฝรั่งเศส และบริษัท Bell Helicopter Textron Inc. สหรัฐฯ ซึ่งทั้งสองบริษัทต่างมีเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาหลายแบบที่จะนำมาใช้เป็น ฮ.ฝึกได้ เช่น Airbus H125/H130 กับ Bell 505 เป็นต้น
โดยตั้งแต่เฮลิคอปเตอร์แบบที่๘ ฮ.๘ Bell 206B Jet Ranger เคยประจำการ ณ โรงเรียนการบินกำแพงแสน ก่อนหน้าโอนการฝึกศิษย์การบิน ฮ.ไปให้กองบิน๒ในปีพ.ศ.๒๕๔๖(2003) ถูกปลดประจำการในราวปี พ.ศ.๒๕๕๑(2006) กองทัพอากาศก็ไม่มีการจัดหา ฮ.ฝึกแบบใหม่มาใช้งานทดแทนครับ

Royal Thai Air Force's Fairchild AU-23A Peacemaker 501st Squadron, Wing 5(Unknow Photo Source)

กองทัพอากาศไทยมีโครงการจ้างปรับปรุงโครงสร้างอากาศยานและระบบ Avionic ของเครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่๒ บ.จธ.๒ Fairchild AU-23A Peacemaker จำนวน ๑๒เครื่อง พร้อมอะไหล่ขั้นต้น อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น การฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง 
เป็นวงเงินราว ๒๓๐,๐๐๐,๐๐บาท($7.06 million) โดยบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (RV Connex) ไทย ตามที่ปัจจุบัน บ.จธ.๒ AU-23A ประจำการอยู่ ณ ฝูงบิน๕๐๑ กองบิน๕ ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เริ่มเข้าประจำการครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๒๐(1977) โดยมีกองทัพอากาศไทยเป็นผู้ใช้รายเดียวนั้น
ซึ่ง AU-23A บางเครื่องจะได้รับการติดตั้งกล้องตรวจการณ์ FLIR Systems Star SAFIRE III ไปแล้ว จะเห็นได้ว่ากองทัพอากาศไทยจะยังคงใช้งาน AU-23A ที่มีอายุมากกว่า ๔๕ปี(กองทัพอากาศสหรัฐฯใช้ครั้งแรกในปี 1972 ก่อนส่งมอบให้ไทย) ต่อไปอีกนานเพื่อประหยัดงบประมาณครับ

Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 droping Mk82 500lbs general-purpose bomb in Air Tactical Operations Competition 2019 at Chandy Range, Lopburi, Thailand, 14 December 2018

Royal Thai Air Force's Lockheed Martin F-16AM EMLU(Enhance Mid-Life Upgrade) 403rd Squadron, Wing 4 with Sniper Advanced Targeting Pod and GBU-12 Paveway II 500lbs laser-guided bomb in Air Tactical Operations Competition 2019 at Chandy Range



Royal Thai Air Force's F-16A Block 15 OCU 103rd Squadron, Wing 1 and F-16A ADF 102nd Squadron, Wing 1 droping Mk84 2,000lbs general-purpose bomb in Air Tactical Operations Competition 2019 at Chandy Range



Royal Thai Air Force's Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros 411th Squadron, Wing 41 firing CVR7 70mm rocket and 23mm twin cannon

พิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ที่เป็นให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศของกองทัพอากาศไทย
ก็เป็นครั้งแรกที่เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ได้สาธิตการฝึกใช้อาวุธจริงทั้งลูกระเบิดทำลาย Mk82 500lbs และปืนใหญ่อากาศ 20mm รวมกับอากาศยานแบบอื่นๆ
ทั้งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ที่ทิ้งลูกระเบิดทำลาย Mk84 2,000lbs, เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16AM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ติดกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP ทิ้งระเบิดนำวิถี Laser GBU-12 Paveway II 500lbs 

รวมถึงเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑๑ เชียงใหม่ ที่สาธิตยิงจรวดอากาศสู่พื้น CVR7 70mm และปืนใหญ่อากาศแฝดสอง 23mm เปรียบเทียบกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่มีสมรรถนะเครื่องสูงและระบบ Avionic ทันสมัยกว่ามาก
การสาธิตอื่นยังมีการปล่อยสารเคมีดับไฟป่าด้วยเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒ก BT-67 ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ การเคลื่อนย้ายทีมแพทย์ของเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ Airbus Helicopters EC725 ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ 
และการทิ้งร่มสัมภาระด้วยเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ Lockheed C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ และจำลองการรบทางอากาศระหว่างเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ กับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ ครับ