USA approves $4.5bn upgrade package for 98 Japanese F-15Js
Japan Air Self-Defense Force F-15J Eagle at Misawa Air Base in Japan
The US State Department approved a $4.5 billion package to upgrade 98 examples of Japan’s Mitsubishi F-15J Eagle air superiority fighter fleet.
https://www.flightglobal.com/news/articles/usa-approves-45bn-upgrade-package-for-98-japanese-461875/
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯอนุมัติชุดการปรับปรุงความทันสมัยวงเงิน $4.5 billion สำหรับเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ Mitsubishi F-15J Eagle กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) จำนวน 98เครื่อง
สำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) แจ้งต่อสภา Congress สหรัฐฯถึงความเป็นไปได้ในการขายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2019 ตามที่เอกสารเผยแพร่ระบุ
การแจ้งของ DSCA สหรัฐฯต่อสภา Congress เป็นขั้นตอนที่จำเป็นตามกฎหมายในการอนุมัติการขายอาวุธยุทโธปกรณ์แก่มิตรประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่าข้อตกลงการขายได้กับการบรรลุผลเสร็จสิ้นแล้วแต่อย่างใด
การปรับปรุงความทันสมัยจะทำให้เครื่องบินขับไล่ F-15J จะเปลี่ยนเป็น "สุดยอดเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นของญี่ปุ่น" ตามที่เอกสารแจ้งเตือนของ DSCA กล่าว
เครื่องบินขับไล่ F-15J ญี่ปุ่นเป็นรุ่นที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-15C Eagle สหรัฐฯ และทำการผลิตในญี่ปุ่นภายใต้สิทธิบัตรโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น
บริษัท McDonnell Douglas สหรัฐฯรวมถึงสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ตระกูล F-15 Eagle ได้ถูกซื้อระหว่างการควบรวมกิจการโดยบริษัท Boeing สหรัฐฯในปี 1997
ส่วนหนึ่งของชุดการปรับปรุงความทันสมัย รัฐบาลญี่ปุ่นได้ร้องของการจัดหา AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Raytheon AN/APG-82(v)1 จำนวน 103ระบบ,
ระบบ Computer ภารกิจแบบ Boeing Advanced Display Core Processor II จำนวน 116ระบบ และระบบสงคราม Elctronic แบบ BAE Systems AN/ALQ-239 จำนวน 101ระบบ สำหรับนำมาติดตั้งกับฝูงบิน F-15J
"ข้อเสนอการขายนี้จะทำให้ญี่ปุ่นมีขีดความสามารถการป้องกันภันทางอากาศที่สำคัญเพื่อช่วยเหลือในการป้องกันมาตุภูมิของญี่ปุ่นและบุคลากรของสหรัฐฯที่อยู่ประจำที่ญี่ปุ่นนี้
สิ่งอุปกรณ์การปรับปรุงความทันสมัย F-15J จะทำให้ญี่ปุ่นจะสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามทางอากาศและปกป้องห้วงอากาศของตนได้ดียิ่งขึ้น" เอกสารของ DSCA สหรัฐฯกล่าว
ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรทางทหารรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯในแง่ของการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่นยังมีที่ตั้งประเทศใกล้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี, รัสเซีย และจีน สามประเทศที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯ
กองบัญชาการกองทัพสหรัฐฯประจำญี่ปุ่น(USFJ: Forces Japan) มีกำลังพล 54,000นาย เป็นการวางกำลังขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้และเป็นแกนหลักของกองบัญชาการอินโด-แปซิฟิกกองทัพสหรัฐฯ(USINDOPACOM: US Indo-Pacific Command)
ชุดการปรับปรุงความทันสมัยยังรวมถึงระบบวางแผนภารกิจร่วม Joint Mission Planning Systems, ชุดต่อต้านการปลอมแปลงการเลือกความพร้อม Selective Availability Anti-spoofing Modules และวิทยุพร้อมชุดคำสั่งกำหนดแบบ Rockwell Collins AN/ARC-210
ส่วนหนึ่งของชุดการปรับปรุงจะถูกขายแก่ญี่ปุ่นผ่านขั้นตอนการช่วยเหลือรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) DSCA ไม่ได้เปิดเผยว่างานใดจะดำเนินการผ่าน FMS แต่กล่าวว่า Boeing สหรัฐฯจะเป็นผู้รับสัญญาหลัก
อีกส่วนที่ไม่ได้ถูกระบุในชุดการปรับปรุงจะเป็นในรูปแบบการขายทางพาณิชย์โดยตรง Direct Commercial Sale(DCS) แก่ญี่ปุ่น และน่าจะดำเนินการโดยผู้รับสัญญาหลัก MHI ญี่ปุ่น โดย Boeing สหรัฐฯจะเป็นผู้รับสัญญารายย่อยในการบูรณาการชุดปรับปรุงทั้งหมด
ความเป็นไปได้ในการขายชุดการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินขับไล่ F-15J ญี่ปุ่นไม่รวมข้อตกลงต่างตอบแทน(no offset) เอกสารของ DSCA สหรัฐฯกล่าวครับ