Korea Aerospace Industries (KAI) is forging ahead with sales efforts in the international advanced jet trainer/light attack market with the FA-50 after a stinging loss in the USA’s T-X competition.
https://www.flightglobal.com/news/articles/kai-stays-focused-on-fa-50-despite-t-x-setback-461667/
บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีกำลังมุ่งเน้นเดินหน้าความพยายามการขายในตลาดนานาชาติสำหรับเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบาด้วยเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา KAI FA-50 ของตน
หลังจากพ่ายแพ้ในการแข่งขันโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นใหม่ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ที่เครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab T-7A Red Hawk เป็นผู้ชนะ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/boeing-saab-t-x-t-7a-red-hawk.html)
Sang Choi รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปภาคธุรกิจของบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการรณรงค์การขายต่างประเทศของบริษัทสำหรับเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า T-50 Golden Eagle และเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50
เขาให้กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อ FlightGlobal ในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ ADEX 2019(Seoul International Aerospace and Defense Exhibition) ระหว่างวันที่ 15-20 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา
แม้ว่าเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 และเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 จะได้รับการจัดหาเข้าประจำการเป็นจำนวนมากโดยกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) และประสบความสำเร็จในการส่งออกต่างประเทศแก่
ฟิลิปปินส์(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/fa-50ph.html), อินโดนีเซีย, กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html) และอิรัก
ความตั้งใจสูงสุดของโครงการคือการเข้าแข่งขันในโครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น Northrop T-38 Talon โดยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯเป็นผู้รับสัญญาหลักร่วมกับ KAI เกาหลีใต้ในการเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50A
แต่ในท้ายที่สุดก็ได้พ่ายแพ้ต่อทีมบริษัท Boeing-Saab สหรัฐฯ-สวีเดน ที่เสนอแบบแผนเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแบบใหม่ทั้งหมดคือ T-7A ในเดือนกันยายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/boeing-saab-t-x.html)
"ผมไม่สามารถพูดได้ว่า(การแพ้ในโครงการ T-X) ไม่ได้มีผลกระทบ แต่ธุรกิจย่อมมีขึ้นมีลงตลอดเวลา การพ่ายแพ้ในโครงการ T-X เป็นเพียงแค่หนึ่งโครงการในอีกหลายๆโครงการ งานของผมคือสนับสนุนคนของผมให้เดินหน้าต่อไป
และเรามุ่งเน้นไปที่ FA-50 เรากำลังเจรจากับอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, อาร์เจนตินา และบอตสวานา" Choi กล่าว โดยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีการแสดงออกว่าอาจจะมีการจัดหาเพิ่มเติม
ปัจจุบันกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) มีเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50I ประจำการ 15เครื่องจากที่จัดหา 16เครื่อง โดยสูญเสียไป 1เครื่องจากอุบัติเหตุระหว่างการแสดงการบินในปี 2015
Choi กล่าวว่าจำนวนเครื่องที่อินโดนีเซียจะจัดหาเพิ่มเติมยังไม่ชัดเจน แต่เครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II จำนวน 15เครื่องที่มีข้อมูลว่าปลดประจำการลงแล้ว
กองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force) มีความเป็นไปได้ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH เพิ่มเติมอีก 12เครื่องจากที่มีประจำการแล้ว 12เครื่อง
แต่ทางฟิลิปปินส์มีความต้องการการปรับปรุงความทันสมัยของ FA-50PH ของตนเพิ่มเติมบางส่วนเพื่อสร้างการตัดสินใจ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_2.html)
การปรับปรุงเหล่านี้รวมถึงการบูรณาการกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod, ขีดความสามารถการใช้ระเบิดนำวิถี Laser การบูรณาการกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP น่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2020(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50-asean.html)
และขีดสามารถในการติดถังเชื้อเพลิงสำรองภายนอกขนาด 300gallon ใต้ปีกเพื่อเพิ่มความจุเชื้อเพลิงของเครื่องเป็นสองเท่า จากที่เดิมติดถังเชื้อเพลิงภายนอกขนาด 150gallon ที่ใต้ปีกและใต้ลำตัวเครื่อง 3ถังเท่านั้น Choi กล่าว
Choi ยังมั่นใจในโอกาสของเครื่องบินขับไล่ FA-50 ในอาร์เจนตินาที่ต้องการจัดหาเครื่องบินรบใหม่ 8เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/fa-50.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/07/kai-fa-50.html)
"รัฐบาลอาร์เจนตินาได้ตัดสินใจที่จะซื้อ FA-50 จำนวน 8เครื่องแล้ว และเราได้มีการหารือที่จริงจังหลายอย่างกับพวกเขาเพื่อให้บรรลุรูปแบบ, ราคา และข้อกำหนดและเงื่อนไข การมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมมีความสำคัญมากดังนั้นเรากำลังเจรจากับพวกเขา" Choi กล่าว
KAI เกาหลีใต้จะยังจัดหาเงินทุนสำหรับข้อตกลงกับอาร์เจนตินาและกำลังทำงานกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าสาธารณรัฐเกาหลีในประเด็นนี้
อย่างไรก็ตามการขายเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 แก่อาร์เจนตินายังคงต้องรอผลสรุปของการเลือกตั้งทั่วไปของอาร์เจนตินาที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2019
การขายกับบอตสวานายังคงต้องรอผลการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคม 2019 เช่นกัน โดยมีความเป็นไปได้ในซื้อเครื่องบินรบใหม่ 12เครื่อง บริษัท Saab สวีเดนยังแสดงความสนใจในเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ของตนด้วย
"พวกเขายังคงมองหาอีกทางเลือกอื่นเช่น Gripen แต่ผมเชื่อว่าพวกเขาจะกลับมาหา FA-50 เราจะรื้อฟื้นการเจรจากับบอตสวานาในทุกเวลาที่เหมาะสมหลังการเลือกตั้ง"(https://aagth1.blogspot.com/2016/05/blog-post_20.html)
Choi เสริมว่ากองทัพอากาศอิรัก(Iraqi Ai Force)ซึ่งได้รับมอบเครื่องบินฝึกโจมตีเบา T-50IQ จำนวน 22เครื่องจากที่สั่งทั้งหมด 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2013/12/t-50.html) ไม่ได้แสดงความสนใจที่จะจัดหาเพิ่มเติม
"พวกเขากำลังพยายามจัดตั้งขีดความสามารถกองทัพอากาศของพวกเขาเอง ในระหว่างนี้เรากำลังมุ่งที่การสนับสนุนหลังการขาย" Choi เสริมว่ายังมีลูกค้าที่เป็นไปได้อื่นที่กำลังมอง FA-50 "ยังเร็วเกินไปหน่อยที่จะเปิดเผยชื่อของพวกเขา" เขากล่าว
แผนการปรับปรุงความทันสมัยในระยะยาวสำหรับ FA-50 รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แม้ว่า Choi จะไม่ได้ระบุชนิดอาวุธ
เช่นเดียวกับความเป็นไปได้ในการเพิ่มขีดความสามารถการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Probe-and-drogue ในปี 2025 ส่วน AESA(Active Electronically Scanned Array) radar จะได้รับการติดตั้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า Choi กล่าว
แต่กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีไม่การที่จะปรับปรุง FA-50 ด้วย AESA radar "มันไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่าย เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่ามีลูกค้าในอนาคตเท่าไรที่กำลังมอง AESA radar
มีลูกค้าบ้างรายที่มอง แต่บางรายก็ไม่ นอกจากนี้มันยังอาจมีปัญหาเรื่องสิทธิบัตรส่งออก มันเป็นการตัดสินใจที่ยุ่งยาก ถ้าตลาดเรียกร้อง เราจะทำมัน" Choi กล่าว
ความเป็นไปได้ในอีกการขายคือการแข่งขันโครงการเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ซึ่งต้องการเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้า 12เครื่องและเครื่องบินโจมตีเบา 24เครื่อง
ความต้องการนี้ของมาเลเซียได้ดึงดูดผู้เข้าแข่งขันอีกหลายรายเช่น เครื่องบินขับไล่ Chengdu/Pakistan Aeronautical Complex JF-17 จีน-ปากีสถาน และเครื่องบินขับไล่ Hindustan Aeronautics Tejas(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50.html)
Choi เสริมว่า KAI และภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงสาธารณรัฐเกาหลีที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในงานเพื่อขายเครื่องบินแก่ต่างประเทศ "รัฐบาล(เกาหลีใต้)ให้ความสนใจอย่างมากกับอุตสาหกรรมการบินและพยายามที่จะสนับสนุน
เมื่อใดก็ตามที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลเจรจากับเหล่ามิตรสหายระดับนานาชาติ พวกเขาพูดเกี่ยวกับระบบอาวุธและยุทโธปกรณ์ของเกาหลี ด้วยการสนับสนุนของพวกเขาเราเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นไปด้วยดี" Choi กล่าวครับ