Thailand wants software work for new fighter buy
Bangkok wants to be involved in the development of software when it eventually looks to obtain a new fighter.(https://www.facebook.com/RTAFpage/, https://www.facebook.com/THMAClub/)
The Gripen is Thailand's most modern fighter
https://www.flightglobal.com/news/articles/thailand-wants-software-work-for-new-fighter-buy-461306/
กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดคำสั่ง(Software) เมื่อจำเป็นต้องมองการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในท้ายที่สุด
หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ไทยได้รายงานคำกล่าวของผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ถึงแนวคิดความต้องการโครงการ(COPR: Concept of Project Requirements) ที่จะได้รับการพัฒนาสำหรับการจัดหาอากาศยานใหม่
"มันไม่ใช่ว่าตัวเครื่องบินเองไม่มีความสำคัญ แต่ชุดคำสั่งสำคัญกว่าในฐานะที่เป็นสมองของเครื่องขับไล่ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องส่วนนี้มาใช้ในการพัฒนามัน" พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผบ.ทอ.กล่าว
โดยการเรียกร้องข้อตกลงชดเชยในรูปแบบการมีส่วนร่วมในการทำงานกับชุดคำสั่งสำหรับเครื่องบินขับไล่ กองทัพอากาศไทยหวังที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการ(technology transfer) ด้วย
หนังสือพิมพ์ Bangkok Post อ้างแหล่งข่าวที่บ่งชี้ว่าร่างแนวคิด COPR สำหรับความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาสองปี
ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยยังปฏิเสธข่าวการจัดหาฝูงเครื่องบินขับไล่ใหม่ในเร็วๆนี้ โดยเฉพาะเครื่องที่มีความทันสมัยสูงและราคาแพง รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ
พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ กล่าวว่ากองทัพอากาศไทยไม่มีนโยบายที่จะจัดซื้ออากาศยาน "สำเร็จรูป" และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ยังไม่พร้อมที่จะขายเครื่องในรูปแบบที่ถ้าผู้ซื้อต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดคำสั่งของเครื่องบินขับไล่
"เรากำลังนำนโยบาย 'จัดหาและพัฒนา' มาใช้ในโครงการจัดหาของเรา ซึ่งเราตั้งใจจะเริ่มต้นการนำมาบังคับใช้ในอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า เรายังต้องนำหัวใจและวิญญาณของเราเข้าสู่อาวุธและยุทโธปกรณ์ด้วย" ผบ.ทอ.กล่าว
Cirium Fleets Data แสดงข้อมูลว่ากำลังฝูงเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศไทยส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานมานาน โดยที่กำลังหลักคือเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Fighting Falcon ทั้งสามฝูงบินรวม ๕๓เครื่องที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ย ๓๐.๒ปี
เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU จำนวน ๒๑เครื่องที่ประจำการ ณ ฝูงบินขับไล่๑๐๓ กองบิน๑ โคราช มี ๗เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force)มาก่อน(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-16ab.html)
ส่วนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ จำนวน ๑๔เครื่องเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองกำลังพิทักษ์ชาติทางอากาศ(ANG: Air National Guard) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๑๘เครื่องได้รับการปรับปรุงความทันสมัยที่ดำเนินการโดย Lockheed Martin สหรัฐฯร่วมกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries) ประเทศไทย
นอกจากนี้กองทัพอากาศไทยยังมีเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F Tiger II จำนวน ๓๔เครื่องที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี ที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ย ๓๘.๕ปี(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)
ที่กำลังได้รับการปรับปรุงความทันสมัย F-5ST SUPER TIGRIS โดยบริษัท Elbit System อิสราเอล และ TAI ไทย รวมถึงขีดความสามารถการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T จากบริษัท Diehl Defence เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-5st-super-tigris-iris-t.html)
ยกเว้นเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D จำนวน ๑๑เครื่อง ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานีเท่านั้นที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยเพียง ๗.๗ปี(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/blog-post_28.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/12/link-t.html)
แม้ว่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องมองการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่เหลืออายุการใช้งานน้อยที่สุด "อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศไทยจะไม่จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่ใดๆในอีกสองปีข้างหน้า ระหว่างที่จำเป็นต้องศึกษาและเจรจาแนวคิด COPR อยู่" แหล่งข่าวระบุครับ