วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๒-๙

Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel was handover ceremony at Laem Thian Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi province, Thailand in 27 September 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/09/blog-post_28.html


Royal Thai Navy commissioning ceremony of old domestic builded three T.91 class Coastal Patrol Craft include T.91, T.94 and T.95 at Laem Thian Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi province, Thailand in 25 September 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/09/91-94-95.html

การทำพิธีปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ตามมาด้วยพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ นั้น
เป็นการแสดงถึงวิวัฒนาการการพึ่งพาตนเองในอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศเทศของไทยที่กองทัพเรือไทยให้การสนับสนุนมาตลอด ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กสู่ขนาดใหญ่
สำหรับเรือ ตกฝ.นั้นกองทัพเรือก็มีการต่อเรือเองในไทยทดแทนอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจำนวน ๒ลำใหม่โดยบริษัท Marsun ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/marsun.html) เช่นเดียวกับเรือ ตกก.ที่น่าจะจัดหาเพิ่ม ๒ลำ ซึ่งอาจจะมองแบบเรือใหม่ครับ


4 September 2019 from left to right Royal Thai Navy OPV-551 HTMS Krabi leading in formation with US Navy LCS-8 USS Montgomomery with Sikorsky MH-60S Knighthwak HSC-23,
Republic of Singapore Navy RSS Tenacious (71), Myanmar Navy F12 UMS Kyansittha, Philippine Navy PS16 BRP Ramone Alcaraz, Royal Brunei Navy OPV-08 KDB Darulaman and Vietnam People's Navy HQ-18
in Gulf of Thailand during ASEAN-US Maritime Exercise (AUMX), 2-6 September 2019(https://www.flickr.com/photos/compacflt/)

การฝึกผสมทางเรือ ASEAN-U.S. Maritime Exercise (AUMX) 2019 ที่นำโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ และกองทัพเรือไทย เป็นเจ้าภาพร่วมระหว่างวันที่ ๒-๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/aumx-2019-asean.html)
เป็นการฝึกผสมทางเรือระดับพหุภาคีครั้งแรกของสหรัฐฯกับกลุ่มชาติ ASEAN ทั้งไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสำหรับกองทัพเรือพม่านั้นนี่ถือเป็นคั้งแรกที่ได้ส่งเรือเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพเรือสหรัฐฯ
ตามที่กองทัพเรือชาติ ASEAN รวมถึงลาวที่ไม่มีทางออกทะเลได้ส่งกำลังพลเข้าร่วมการฝึก แต่ในการฝึกทางเรือในอ่าวไทยถึงทะเลจีนใต้ กองทัพเรือมาเลเซียและกองทัพเรืออินโดนีเซียไม่ได้ส่งเรือของตนเข้าร่วมการฝึก อาจจะเพราะว่าการฝึกจัดใกล้เวลาสิ้นปีงบประมาณมากเกินไปจึงไม่พร้อมครับ

Brahmin and Royal Thai Navy Offiecer in keel laying ceremony of the first S26T Submarine at Wuhan, China, 5 September 2019.

China lays keel for Thailand’s first S26T submarine

พิธีวางกระดูกงูเรือของเรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรกสำหรับกองทัพเรือไทย ณ อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Co.,Ltd (WS) ใน Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งเป็นพิธีการประกอบสร้างชิ้นส่วน Block แรกของตัวเรือนั้น
มีขึ้นตามมาราวหนึ่งปีหลังจากที่ได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๖๑(2018) ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย'(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html) นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดในการสร้างเรือภายใต้โครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ จำนวน๑ลำจากจีน
เป็นที่คาดว่าเรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรกของกองทัพเรือไทยจะสามารถปล่อยเรือลงน้ำได้ในราวปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) และถูกส่งมอบเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งตามความต้องการของกองทัพเรือไทยที่จะผลักดันการจัดหาระยะที่๒ และระยะที่๓ อีก ๒ลำ รวมทั้งหมด ๓ลำครับ

The Royal Thai Navy (RTN) has signed a contract to procure from China a Type 071E -class landing platform dock (LPD), 9 September 2019.

การลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Type 071E หนึ่งลำ วงเงิน ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200,460,066.6) จากจีนของกองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมี พลเรือเอก ช่อฉัตร กระเทศ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็นตัวแทนฝ่ายไทยนั้น
เป็นหนึ่งในการจัดหาเพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่(LST: Landing Ship Tank) ชุดเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๒) ที่ปลดไปแล้วทั้ง ๕ลำคือ ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๒), ร.ล.ช้าง(ลำที่๒), ร.ล.พงัน(ลำที่๒), ร.ล.ลันตา และ ร.ล.พระทอง ที่เดิมเป็นเรือ LST กองทัพเรือสหรัฐฯสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรือ LPD ชุดแรกและลำเดียวของกองทัพเรือไทยแล้ว เรือ Type 071E LPD ยังมีขนาดใหญ่สามารถปฏิบัติภารกิจในขอบเขตต่างๆได้มากขึ้น ทั้งการเป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ(Submarine Tender) และการบรรเทาภัยพิบัติแก่ประชาชนครับ



Royal Thai Navy OPV-551 HTMS Krabi and FAC-331 HTMS Chonburi at Royal Malaysian Navy base Tanjung Gelang (Tg Gelang) was conduct 22th Exercise THALAY LAUT 2019, 6 September 2019 with F172 KD Pahang(https://twitter.com/tldm_rasmi)

หลังการฝึกผสม AUMX 2019 ในข้างต้น กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย ได้จัดหมู่เรือฝึกประกบด้วยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือหลวงกระบี่ และเรือเร็วโจมตีปืน เรือหลวงชลบุรี เดินทางไปยังฐานทัพเรือ Tanjung Gelang กองทัพเรือมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๒
เพื่อดำเนินการฝึกผสมกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือมาเลเซีย THALAY LAUT 2019 โดยเป็นการฝึกระดับทวิภาคีระหว่างทัพเรือทั้งสองประเทศครั้งที่๒๒ ที่จัดขึ้นแบบปีเว้นปีซึ่งครั้งนี้กองทัพเรือมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารที่ยาวนานของไทยและมาเลเซีย
การฝึกผสม THALAY LAUT 2019 กองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือมาเลเซีย มีขึ้นตามหลังการฝึกผสม Sea Garuda 2019 ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรืออินโดนีเซียเมื่อ ๑๕-๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/sea-garuda-2019.html)

Maiden SITMEX (Singapore India Thailand Maritime Exercise) Trilateral Maritime exercise with Republic of Singapore Navy (RSN), Royal Thai Navy (RTN) & Indian Navy was commenced at Port Blair, Andaman and Nicobar Islands in 16-20 September 2019.

ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ กองทัพเรือไทยได้ส่งเรือฟริเกตเรือหลวงกระบุรี(FFG-457 HTMS Kraburi) จาก ฐานทัพเรือพังงา กองทัพเรือภาคที่๓ เพื่อเข้าร่วม หน่วยเรือลาดตระเวนร่วมระหว่างกองทัพเรือไทย-กองทัพเรืออินเดียครั้งที่๒๘ ในทะเลอันดามัน
นอกจากนี้กองทัพเรือไทย, กองทัพเรือสิงคโปร์เรือฟริเกตชั้น Formidable คือ RSS Tenacious(71) และกองทัพเรืออินเดียยังได้ร่วมการฝึกผสมทางเรือระดับไตรภาคีครั้งแรก SITMEX 2019 ที่ Port Blair หมู่เกาะ Andaman และ Nicobar ระว่างวันที่ ๑๖-๒๐ กันยายน ๒๕๖๒ ด้วย
เป็นส่วนหนึ่งของการขยายความร่วมมือทางทหารระหว่างอินเดียกับกองทัพเรือไทย ที่รวมถึงการเสนออาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ Brahmos และการปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวน บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/brahmos.html)

AAV7A1 Assault Amphibious Vehicle of Marine Assault Amphibious Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy have been upgraded and tested by Thailand company's Chaiseri.

โครงการปรับปรุงความทันสมัยของรถเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ของ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย. จำนวน ๓คันวงเงินประมาณ ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($9.8 million) ก็ได้มีชุดภาพเผยแพร่ว่าได้มีการดำเนินการและทดสอบเสร็จสิ้นไปแล้ว
รนบ.AAVA1 ๓คันที่ได้รับการปรับปรุงโดยบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ประเทศไทย นับเป็นการเพิ่มความทันสมัยให้เทียบเท่าแบบแผนรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS รุ่นใหม่ที่ส่งออกต่างประเทศล่าสุด
ทั้งยังเป็นงานล่าสุดที่ Chaiseri ได้รับจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินต่อจาการปรับปรุงรถเกราะล้อยาง V-150 Commando 4x4 กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง พล.นย.(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/v-150-remote.html) ซึ่งเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยครับ

Defence Technology Institute(DTI) and Naval Research & Development Office's Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle in trial serviced at Marines Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy

ยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. และ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/dti-aapc_14.html)
โดยได้ส่งมอบให้ กองพันรถถัง นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ทดลองใช้งาน ๑คันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc_22.html) มีรายงานล่าสุดว่ากองทัพเรือไทยมีแผนจะจัดหายานเกราะล้อยาง AAPC จำนวน ๕คันหรือราว ๑หมวด
ซึ่งยานเกราะล้อยาง AAPC ต้นแบบในสายการผลิตระดับต่ำ(Pre-Production) คาดว่าจะมีราคาคันละราว ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($4.94 million) เนื่องจากผลิตจำนวนน้อยและป้อมปืนใหญ่กล 30mm จากบริษัท ST Kinetics สิงคโปร์หนึ่งระบบก็มีราคาถึง ๖๙,๓๐๐,๐๐๐บาท($2,281,356) แล้วครับ

Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd was demonstrated its newest product R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV) prototype to Marine Assault Amphibious Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy, 11 September 2019

สำหรับยานเกราะล้อยาง R600 8x8 รถต้นแบบที่พัฒนาโดย บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย ซึ่งได้มีการสาธิตสมรรถนะให้กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย. ชมเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ นั้น
ก็จะเห็นได้จากชุดภาพที่เปิดเผยภาพภายในรถเป็นครั้งแรกว่าสถานีพลขับ(Driver Sation) และห้องบรรทุกกำลังพลนั้นยังจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาต่อให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปอีก ซึ่งยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก R600A 8x8 สำหรับนาวิกโยธินไทยจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกสักระยะ
แม้ว่าตัวรถจะมีราคาคันละ ๖๐ล้านบาท($1,969,800) แต่ถ้ารวมป้อมปืน Remote แบบ ASELSAN NEFER 30mm ตุรกีราคารวมทั้งระบบจะเป็นคันละ ๑๒๐ล้านบาท($3,939,540) การที่ยานเกราะล้อยาง Panus R600 8x8 จะแข่งขันกับยานเกราะล้อยาง DTI AAPC ได้ยังจะต้องใช้เวลาอีกมากครับ

KS-1CM Surface to Air Missile Royal Thai Air Force Security Force, Air Defence Battalion Wing 7 Surat Thani RTAFB display in Children's Day(https://www.facebook.com/wing7RTAF/)
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/blog-post_8.html

ตามที่ กองทัพเรือ ได้มีหนังสือเชิญชวนสำหรับ ซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ ระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ระยะที่๑ ยานยนต์เพื่อการรบ(๒๕.๑๐.๒๐.๐๐ ) จำนวน ๑ ระบบ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง นั้น
ผู้ได้รับการคัดเลือกได้แก่ China Vanguard Industry Corp. โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๙๖๙,๙๗๕,๖๕๑.๐๘ บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง ประกาศ ณ วันที่  ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
https://process3.gprocurement.go.th/egp2procmainWeb/jsp/procsearch.sch?pid=62067532917&servlet=gojsp&proc_id=ShowHTMLFile&processFlows=Procure

สำหรับโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ระยะที่๑(Mobile Medium-Range Surface-to-Air Missile) จำนวน ๑ ระบบ วงเงิน ๑,๙๖๙,๙๗๕,๖๕๑.๐๘บาท($64,399,333.39) ของกองทัพเรือไทย
ที่เข้าใจว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ใหม่ดังกล่าวจะถูกนำเข้าประจำการใน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ตามแผนการปรับอัตราและโครงสร้างหน่วยใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_29.html) นั้น
ผู้ชนะโครงการคือ China Vanguard Industry Corp. จีน ซึ่งจะนับเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศจากจีนแบบล่าสุดต่อจาก KS-1CM ที่กองทัพอากาศไทยได้จัดหาเข้าประจำการใน กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน๗ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าที่ สอ.รฝ.จะจัดหาเป็นระบบใดครับ

Austrian company Schiebel Aircraft GmbH CAMCOPTER S-100 Vertical Takeoff and Landing Unmanned Air System in ship's helicopter flight deck(https://schiebel.net/products/camcopter-s-100/)

ตามที่ กองทัพเรือ ได้มีหนังสือเชิญชวนสำหรับ ซื้อระบบอากาศยานไร้คนขับ (UAV) จำนวน ๑ ระบบ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง นั้น ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ Schiebel Aircraft GmbH 
โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๖๖,๖๐๒,๔๙๐.๐๐ บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒

ตาประกาศของ สำนักงานจัดหายุทโปกรณ์ทหารเรือ กองทัพเรือไทยสำหรับการจัดซื้อระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) จำนวน ๑ ระบบจาก บริษัท Schiebel Aircraft GmbH ออสเตรีย วงเงิน ๒๖๖,๖๐๒,๔๙๐บาท($8,726,832.61) นั้น
ยังไม่มีข้อมูลว่า UAV ที่จะจัดหาเป็นแบบใดและ ๑ ระบบจะประกอบด้วยตัวอากาศยานกี่เครื่อง โดยผลิตหลักหนึ่งของ Schiebel ออสเตรียคืออากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง VTOL UAS(Vertical Takeoff and Landing Unmanned Air System) แบบ CAMCOPTER S-100
ซึ่ง S-100 สามารถนำมาใช้ปฏิบัติการจากเรือผิวน้ำที่มีดาดฟ้าบินจำกัดของกองทัพเรือได้ ทั้งนี้เป็นที่เข้าใจว่าอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง DTI RTN KSM150 ที่พัฒนาโดยบริษัท กษมา เฮลิคอปเตอร์ จำกัด นั้นไม่ได้รับเลือกให้ใช้งานจริงเนื่องจากมีเสียงดังและสมรรถนะทางการบินต่ำเกินไปครับ


Thailand company's Chaiseri First Win II MPV(Multipurpose Vehicle) 4x4 and First Win II Ambulance 4x4 MRAP(Mine Resistant Ambush Protected) with Operator Team of Counter Terrorist Operations Center (CTOC) Royal Thai Armed Forces Headquarters
was demonstration urban warfare in ASEAN Defence Minister's Meeting (ADMM-Plus) 2019 at Special Warfare School, Special Warfare Center, Lopburi province,  5 September 2019.

รถหุ้มเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิด(MRAP: Mine Resistant Ambush Protected) ตระกูล First Win II 4x4 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของบริษัท Chaiseri ไทย ก็ได้มีการนำรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II รุ่นเอนกประสงค์(MPV: Multipurpose Vehicle) และรุ่นพยาบาล(Ambulance) มาใช้ใน
การสาธิตการฝึกต่อต้านการก่อการร้ายสากลในเขตเมืองภายใต้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหม ASEAN และประเทศคู่เจรจา ADMM-Plus 2019 ณ สนามฝึกการรบในเมือง โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ ลพบุรี เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ ที่แสดงถึงการสนับสนุนภาคเอกชนของไทย และความทันสมัยของหน่วยรบพิเศษไทย เช่น ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก.(CTOC) กองบัญชาการกองทัพไทย, กองพลรบพิเศษ กองทัพบกไทย, หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือไทย และ กรมปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย ครับ


US Army Pacific (USARPAC) commander General Robert B. Brown and Royal Thai Army Commander in Chief General Apirat Kongsompong was attended in Stryker RTA ICV (Royal Thai Army Infantry Carrier Vehicle) hands-over ceremony 
at RTA Headquarters, Bangkok, Thailand, 12 September 2019

พิธีรับมอบยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker RTA ICV 8x8 สหรัฐฯชุดแรก ๔คัน ณ กองบัญชาการกองทัพไทยเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๗๐คัน โดยเป็นรถที่ผ่านการปรับปรุงแล้วในสภาพดีมากพร้อมใช้งานทันที(Condition A)
ที่จะเข้าประจำการใน กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา ซึ่งจะมีการย้ายที่ตั้งไปที่ ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี โดยจะมีการปรับรูปแบบที่นำมาจากกองพลน้อยชุดรบ Stryker(SBCT: Stryker Brigade Combat Team) กองทัพบกสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นการจัดหาในรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) ซึ่งมีความประหยัดคุ้มค่าและโปร่งใสเนื่องจากเป็นการจัดหาแบบรัฐต่อรัฐ การใช้งบประมาณกลางในการจัดหาร่วมงบประมาณของกองทัพบกไทยเองก็เป็นตามระเบียบราชการตามที่เป็นการจัดซื้่อเร่งด่วนให้ทันก่อนปิดปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ครับ




12th Indian Army-Royal Thai Army Joint Exercise Maitree was conducted from 16-29 September 2019 at Umroi, Meghalaya, India. The exercise aims to share counter terrorism experience, enhance bilateral relations & defence cooperation.

การฝึกผสม Maitree 2019 ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกอินเดียระหว่างวันที่ ๑๖-๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ นั้นนับเป็นการฝึกครั้งที่๑๒ แล้ว โดยการฝึกในปีนี้ทางอินเดียเป็นเจ้าภาพรับการมาเยือนของกองทัพบกไทย
การฝึกครอบคลุมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ การฝึกร่วมภาคสนามในการต่อต้านการก่อการร้าย รวมถึงความร่วมมือทางทหารและการเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองประเทศครับ




Thailand's Defence Technology Institute was successful dymanic test firing domestic prototype D11A 114mm guided rocket at Artillery Firing Range, Artillery Center, Fort Phaholyothin(Phahonyothin), Lopburi Province in September 2019.

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ดำเนินการยิงทดสอบภาคพลวัตจรวดนำวิถี ขนาด 114 มม. โดยมีผู้บริหาร สทป. เป็นผู้อำนวยการยิงทดสอบ ร่วมกับนักวิจัย และเจ้าหน้าที่โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี (D11A ) ณ สนามยิงปืนใหญ่ เขาพุโลน ศป. จ.ลพบุรี
การยิงทดสอบภาคพลวัตจรวดนำวิถี ขนาด 114 มม.ในครั้งนี้ เพื่อนำผลการยิงรายงานการปรับเทียบความแม่นยำของอุปกรณ์ Inertial Measurement ของจรวดต้นแบบ โดยทำการยิงทดสอบดังนี้
1.ทดสอบการออกตัวระบบนำวิถี เพื่อทดสอบกลไกการทำงานของระบบ Recovery และ Launcher
2.ทดสอบการทำงานของ Sensor ระบบนำวิถี
3.ทดสอบระบบควบคุมท่าทางการบินของจรวดแบบ Automatic และรายงานการปรับเทียบความแม่นยำของจรวด
4.ยิงทดสอบจรวดนำวิถี ขนาด 114 มม. ด้วยจรวดอะลูมิเนียม จำนวน 2 ลูก เพื่อทดสอบกลไกการทำงานของระบบ Launcher และ Recovery
การทดสอบในครั้งนี้ได้รับผลสำเร็จโดยสามารถควบคุมท่าทางการบินของจรวดเป็นที่น่าพอใจ ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาจรวดนำวิถี
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/1340857989407531

ประกาศราคากลาง งานจัดจ้างออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ (Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher) ระยะที่ 1 ปี 62

Elbit Systems Land Rocket Artillery Catalog
PULS (Precise & Universal Launching System)

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute) มีโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีระยะยิง 80km โดยจ้างออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ระยะที่๑ ปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง) จากบริษัท Elbit Systems Land Ltd. อิสราเอล วงเงิน ๗๙,๗๑๖,๐๐๐บาท($2,614,724.66) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีใหม่นอกจากจรวดหลายลำกล้องนำวิถีอัตตาจรล้อยาง DTI-1G ขนาด 302mm ที่ DTI ไทยร่วมมือในการพัฒนากับจีน
ระบบ Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher ของ DTI เข้าใจว่าน่าจะมีพื้นฐานจาก คจลก.อัตตาจร PULS ที่สามารถยิงจรวดนำวิถี Accular 122mm ระยะยิง 35km และ 160mm ระยะยิง 40km, EXTRA ระยะยิง 150km หรือ Predator Hawk ระยะยิง 300km ของ Elbit อิสราเอลครับ 

Mi-17V5 helicopter 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army(unknow photo source)

ตามที่ กองทัพบก โดย กรมการขนส่งทหารบก ได้มีหนังสือเชิญชวนสำหรับ ซื้อจัดหาซื้อจัดหาเฮลิคอปเตอร์รองรับการปฏิบัติภารกิจบรรเทาสาธารณภัย (ระยะที่ ๓) 
ได้แก่การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดหนัก ติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐาน จำนวน ๑ เครื่อง พร้อมชิ้นส่วนซ่อมควบคู่, เครื่องช่วยติดเครื่องยนต์, อุปกรณ์เพิ่มเติม, เครื่องมือซ่อมบำรุง, บริภัณฑ์ภาคพื้น และคู่มือ จำนวน ๑ โครงการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง  นั้น
ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด (ให้บริการ) โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๘๕๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (แปดร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง

เป็นที่เข้าใจว่าการจัดหาเฮลิคอปเตอร์รองรับการปฏิบัติภารกิจบรรเทาสาธารณภัย(ระยะที่ ๓) จากบริษัท Datagate co.,Ltd. ไทย วงเงิน ๘๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($28,071,250) ดังกล่าวคือการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 รัสเซียเพิ่มเติม ๑เครื่อง
ปัจจุบัน กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. มี ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ประจำการแล้ว ๗เครื่อง แบ่งเป็นชุดแรก ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ชุดที่สอง ๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) และชุดที่สาม ๒เครื่องล่าสุดที่สั่งจัดหาในปี ๒๕๖๐
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการจัดหา ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 เพิ่มเติมรวม ๑๒เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook สหรัฐฯ ๖เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/blog-post_12.html)

Royal Thai Army has requested to buy eight Boeing AH-6i light attack reconnaissance helicopters and related equipment for an estimated cost of $400 million in Foreign Military Sale approved.

ตามที่สหรัฐฯได้อนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing AH-6i Little Bird ใหม่จำนวน ๘เครื่อง ในรูปแบบการขาย Foreign Military Sale(FMS) วงเงิน $400 million แก่กองทัพบกไทยที่จะใช้งบประมาณจัดหาจริงที่วงเงินราว ๔,๒๒๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($138,103,567)
ก็เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากการยกเลิกการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ ๘เครื่องจากบริษัท MD Helicopters สหรัฐฯผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530G ซึ่งเป็นผู้ผลิต ฮ.ตระกูล Little Bird อีกรายผ่านตัวแทนจัดจำหน่าย(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/md-helicopters-fms.html)
การจัดซื่อในรูปแบบ FMS กับรัฐบาลสหรัฐฯโดยตรงนี้มีความคุ้มค่ามาก โดยเป็นครั้งแรกที่ ฮ.กองทัพบกไทยจะมีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114R Hellfire ที่ทันสมัยกว่าอาวุธปล่อยนำวิถี TOW ที่ติดกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra รวมถึงอาวุธที่ทันสมัยอื่นๆด้วยครับ

BZK-005 by Beihang UAS Technology Co.,Ltd in People's Liberation Army parade

ประกาศราคากลาง งานจ้างออกแบบวิจัยพัฒนาด้านวิศวกรรมโครงสร้างอากาศยาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI มีโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานของระบบอากาศยานไร้คนขับ โดยจ้างออกแบบวิจัยพัฒนาด้านวิศวกรรมอากาศยานและการถ่ายทอดองค์ความรู้ตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง
วงเงิน ๔๔,๐๔๗,๘๗๐.๔๐บาท($1,444,483.84) ที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง)จากเอกสารตอบข้อมูล(Response for Information)ของบริษัท Beihang UAS Technology Co.,Ltd สาธารณรัฐประชาชนจีน
ยังไม่ทราบข้อมูลในขณะนี้ว่าระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง(DTI Medium Unmanned Aerial Vehicle) จะมีรูปแบบเป็นอย่างไร โดยผลิตภัณฑ์ของ Beihang จีนมี UAV ตระกูล BZK-005 Changying(Long Eagle) ที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนแล้วครับ

Boeing F/A-18F Super Hornet No.1 Squadron, No. 82 Wing, Royal Australian Air Force was spotted at at Wing 1 Korat RTAF Base, Thailand during exercise THAI BOOMERANG 2019 in 2-12 September 2019.

การฝึกผสม THAI BOOMERANG 2019 ระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) ได้มีพิธีเปิดในวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และพิธีปิดในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๒ ณ กองบิน๑ โคราช เป็นการฝึกปีเว้นปีที่ครั้งนี้ไทยเป็นเจ้าภาพ
เป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศออสเตรเลียนำเครื่องบินขับไล่ F/A-18F จำนวน ๖เครื่องจากฝูงบิน1 กองบิน82 มาทำการฝึกกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16AM/BM ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี รวม ๑๑เครื่องครับ


Royal Thai Air Force select Airbus Helicopters H135 for new six training helicopters.(https://www.airbus.com)

เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อฮ.สำหรับการฝึก จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ ระบบส่งกำลังบำรุง ระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรการฝึกอบรม โดยวิธีคัดเลือก
ตามที่ กองทัพอากาศ ได้มีหนังสือเชิญชวนสำหรับ ซื้อฮ.สำหรับการฝึก จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ ระบบส่งกำลังบำรุง ระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรการฝึกอบรม จำนวน ๑ รายการ โดยวิธีคัดเลือก  นั้น
ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ บริษัท AIRBUS HELICOPTERS สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐.๐๐ บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒

นับเป็นเวลานานตั้งแต่ที่เฮลิคอปเตอร์แบบที่๘ ฮ.๘ Bell 206B Jet Ranger ถูกปลดประจำการในราวปี พ.ศ.๒๕๕๑(2006) กองทัพอากาศไทยก็ไม่มีการจัดหา ฮ.ฝึกแบบใหม่มาใช้งานทดแทน โดยที่โรงเรียนการบินกำแพงแสนได้โอนการฝึกศิษย์การบิน ฮ.ไปให้กองบิน๒ ในปีพ.ศ.๒๕๔๖(2003)
สำหรับโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ฝึกจำนวน ๖เครื่อง วงเงิน ๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐บาท($43,353,707) ของกองทัพอากาศไทยนั้นผู้ได้รับการคัดเลือกคือ บริษัท Airbus Helicopters ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าแบบ ฮ.ฝึกใหม่ที่ได้รับเลือกคือเฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters H135 ครับ

Lockheed Martin C-130H tactical transport aircraft 601st Squadron, Wing 6 Don Mueang, Royal Thai Air Force to be upgrade thier 20 engines by Segers Aero Corporation.

กองทัพอากาศ จ้างปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องยนต์ บ.ล.๘ จำนวน ๒๐ เครื่องยนต์ พร้อมการฝึกอบรม โดยวิธีคัดเลือก ในราคา Delivered At Place (DAP) ณ สถานที่ตามที่ ทอ.กำหนดในประเทศไทย 
ไม่รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๑ ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน  ไม่รวมค่าอากรทางศุลกากรขาเข้า  เป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๘,๒๔๐,๗๖๑.๔๕  ดอลลาร์สหรัฐ  หรือประมาณ ๘๖๙,๑๐๙,๕๐๐.๐๐ บาท 
(อัตราแลกเปลี่ยน ๑.- ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ๓๐,๗๗๕๐ บาท ณ ๔ ก.ย.๖๒) จากบริษัท Segers Aero Corporation สหรัฐอเมริกาตามผลการดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒

ตามที่บริษัท Rolls-Royce สหราชอาณาจักรได้รับสัญญาจากกองทัพอากาศไทยในการยืดอายุการใช้งานเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง โดยการปรับปรุงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ T56 เป็นรุ่น Series 3.5 ๒๐เครื่องนั้น
ผู้ได้รับสัญญาคือบริษัท Segers Aero Corporation สหรัฐฯที่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ได้รับอนุญาตจาก Rolls-Royce วงเงิน $28,240,761.45 ทำให้กองทัพอากาศไทยสามารถประจำการฝูงเครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules อย่างน้อย ๕เครื่องไปจนถึงปี 2040(พ.ศ.๒๕๘๓) ครับ

Dornier Alpha Jet light attack aircraft 231 Squadron, Wing 23 Udorn, Royal Thai Air Force in Children's Day 2019. Thai company RV Connex has awarded to upgrade RTAF's 14 Alpha Jet.(https://www.facebook.com/Wing23.rtaf/)

ตามที่ กองทัพอากาศ ได้มีโครงการ จ้างปรับปรุงโครงสร้างอากาศยานและระบบ Avionics รวมทั้งระบบอาวุธของ บ.จ.๗ จำนวน ๑๔ เครื่อง พร้อมอะไหล่ขั้นต้นอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น การฝึกอบรม นักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง นั้น
ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (ส่งออก,ขายส่ง,ขายปลีก,ให้บริการ,ผู้ผลิต) โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๓,๓๘๘,๐๐๐,๐๐๐.๐๐บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
https://process3.gprocurement.go.th/egp2procmainWeb/jsp/procsearch.sch?pid=62027038422&servlet=gojsp&proc_id=ShowHTMLFile&processFlows=Procure

เครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานีจำนวน ๑๔เครื่องจะได้รับการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน ระบบ Avionics และระบบอาวุธ เป็นเงิน ๓,๓๘๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($108,519,334) โดยโดยบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (RV Connex) ไทย
แม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดการปรับปรุงว่ามีอะไรบ้างในขณะนี้ แต่แสดงให้เห็นว่ากองทัพอากาศไทยมีนโยบายที่จะยังคงประจำการ บ.จ.๗ Alpha Jet เยอรมนีต่อไปอีกอย่างน้อย ๑๕-๒๐ปี หรือราว พ.ศ.๒๕๗๗-๒๕๘๒(2034-2039) นับว่ามีความคุ้มค่าและสนับสนุนอุตสาหกรรมอากาศยานของไทยครับ