ADEX 2019: KAI 'open' to additional foreign partners on KFX
The next-generation KFX fighter aircraft is expected to enter series production in the mid-2020s. To support its development additional foreign companies could be contracted to provide assistance. Source: KAI
https://www.janes.com/article/91946/adex-2019-kai-open-to-additional-foreign-partners-on-kfx
บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีกำลังเปิดการพิจารณาหุ้นส่วนต่างประเทศเพิ่มเติมของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X(Korean Fighter Experimental) ของตน
ตามที่ Jane's ทราบ ความเคลื่อนไหวที่เป็นไปได้นี้มีขึ้นตามมาจากที่โครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและขีดความสามารถ
เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน อินโดนีเซียซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X กับเกาหลีใต้ได้ค้างค่าใช้จ่ายวงเงินราว 300 billion Korean Won($253 million) ในการสนับสนุนการลงทุนของตนในโครงการ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/kf-xif-x.html)
ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในสาธารณรัฐเกาหลีเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการพัฒนาวิทยาการที่สำคัญบางอย่างสำหรับระบบเครื่องบินขับไล่(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/kf-xif-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/01/kf-x.html)
เจ้าหน้าที่ KAI เกาหลีใต้ที่ไม่ต้องการจะถูกระบุตัวตนกล่าวกับ Jane's ในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ ADEX 2019(Seoul International Aerospace and Defense Exhibition) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2019 ว่า(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/kf-x.html)
โครงการพัฒนา KF-X ยังคงพิจารณา "เปิดรับ" ในแง่หุ้นส่วนทางวิทยาการ "เรื่องนี้ยังไม่ไม่เสร็จสิ้น" เขากล่าวในการอ้างอิงต่อพันธมิตรการพัฒนา KF-X "เราจะพิจารณาหุ้นส่วนเพิ่มเติมในอนาคต"
ภายใต้ชุดข้อตกลงชดเชยกลาโหมที่ลงนามในปี 2014 เพื่อการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/f-35a.html) บริษัทของสหรัฐฯได้พร้อมวางตำแหน่งตนในฐานะหุ้นส่วนทางเทคนิคของโครงการ KF-X
บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯมีข้อผูกพันในการมอบความช่วยเหลือชุดวิทยาการตลอดทั้ง 21รายการรวมถึง ระบบควบคุมการบิน, ระบบ Avionic, การบูรณาการระบบ, วัสดุ และระบบอาวุธเครื่องบินขับไล่ที่ไม่ถูกระะบุ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลสหรัฐฯยังได้ปฏิเสธที่จะส่งออกชุดวิทยาการบางอย่างภายใต้ข้อตกลง บังคับให้เกาหลีใต้ต้องมองที่จะพัฒนาระบบต่างๆเองภายในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/kf-xif-x.html)
ชุดวิทยาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับระบบ AESA(Active Electronically Scanned Array) Radar, กระเปาะชี้เป้าหมาย Electro-Optical, ระบบตรวจจับ IRST(Infrared Search and Track) และระบบก่อกวนสัญญานความถี่วิทยุ(radio frequency jammer)
Elta Systems ในเครือบริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอลได้ให้ความช่วยเหลือแก่บริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลีในการพัฒนา AESA radar ของเครื่องบินขับไล่ KF-X(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-kf-x-if-x.html)
Jane's เข้าใจว่าบริษัทต่างๆที่รวมถึง Saab สวีเดน, Airbus ยุโรป และ Boeing สหรัฐฯ น่าจะวางตนในฐานะหุ้นส่วนโครงการ KF-X ในอนาคต แม้ว่าขอบเขตการมีส่วนร่วมจะเป็นประเด็นต่อความต้องการ, โครงสร้างของการเป็นหุ้นส่วน และการลงทุนก็ตามครับ