วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Airbus ให้ความสำคัญการขายเครื่องบินลำเลียง A400M ในเอเชีย-แปซิฟิก

Airbus prioritises A400M in Asia-Pacific region







A Royal Malaysian Air Force A400M
Airbus Defence & Space sees the A400M tactical transport as its top sales priority in the Asia-Pacific region, while also eyeing opportunities for tankers and support aircraft.
https://www.flightglobal.com/news/articles/airbus-prioritises-a400m-in-asia-pacific-region-461785/


บริษัท Airbus Defence & Space ยุโรปมองเครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด Airbus A400M Atlas ในฐานะการขายที่มีลำดับความสำคัญสูงของตนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ขณะที่ยังมองโอกาสสำหรับความต้องการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและสนับสนุน
Johan Pelissier หัวหน้าแผนกเอเชีย-แปซิฟิกของ Airbus DS กล่าวว่าสองตลาดที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดสำหรับ A400M คือสาธารณรัฐเกาหลีและอินโดนีเซีย

"ผมมองเห็นความแน่นอนในความสนใจที่เพิ่มขึ้นจากทางเกาหลีใต้ในการสั่งจัดหาเพื่อให้ตรงความต้องการในอนาคต" Pelissier ชี้ให้เห็นว่ากองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force)
มีโอกาสที่จะได้เห็นเครื่องบินลำเลียง A400M ในการปฏิบัติการโดยผู้ใช้งานรายอื่นระหว่างภารกิจด้านมนุษยธรรมในภูมิภาค และกล่าวว่า A400M จะเติมเต็มเพื่อแทนเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130H ที่กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีมีอยู่ 12เครื่องอายุการใช้งานเฉลี่ย 31.4ปี

จนถึงตอนนี้ลูกค้าในเอเชีย-แปซิฟิกสำหรับเครื่องบินลำเลียง A400M มีเพียงรายเดียวคือกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ซึ่งมีประจำการ 4เครื่อง
"A400M สามารถให้น้ำหนักบรรทุกเป็นสองเท่าในพิสัยการบินระยะทางเดียวกัน หรือมีพิสัยการบินเป็นสองเท่าในน้ำหนักบรรทุกเท่ากัน พิสัยทำการและการบรรทุกเป็นที่สนใจอย่างแท้จริงสำหรับลูกค้าที่เป็นไปได้ มันยังทำภารกิจที่เป็นไปไม่ได้ในทุกวันนี้ด้วย" Pelissier กล่าว

Pelissier ได้ให้ข้อสังเกตนี้ระหว่างการพูดคุยร่วมโต๊ะต่อสื่อในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ ADEX 2019(Seoul International Aerospace and Defense Exhibition) ระหว่างวันที่ 15-20 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา
FlightGlobal เข้าใจว่ากำลังมีการหารือระหว่างรัฐบาลสเปนและเกาหลีใต้สำหรับความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยน A400M กับเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า Korea Aerospace Industries(KAI) T-50 และเครื่องบินฝึกใบพัด KT-1 อย่างไรก็ตาม Pelissier ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้

มีการแสดงข้อมูลว่า กองทัพอากาศสเปน(Spanish Air Force) มีเครื่องบินลำเลียง A400M ประจำการ 5เครื่องโดยมี 22เครื่องที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดหา และยังมีเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า CASA C-101 จำนวน 63เครื่องที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยที่ 37.5ปี
อากาศยานแบบอื่นของกองทัพอากาศสเปนที่ใช้ในบทบาทเดียวกันรวมถึงเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Northrop F-5M ที่ผลิตโดย CASA สเปน 19เครื่องที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 50.3ปี กองทัพอากาศสเปนยังมีเครื่องบินฝึกใบพัด ENAER T-35 ชิลีจำนวน 34เครื่องด้วย

ในอินโดนีเซียมีการดำเนินการเจรจาสำหรับการจัดหาเครื่องบินลำเลียง A400M จำนวน 2เครื่องที่จะนำมาใช้งานโดยสายการบิน PT Pelita Air Service ของรัฐบาลอินโดนีเซีย
ในเดือนมีนาคม 2017 บริษัท Airbus และอินโดนีเซียได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) สำหรับความเป็นไปได้ในการจัดหานี้(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/airbus-a400m-5.html)

"(รัฐบาลอินโดนีเซีย)แสดงความสนใจอย่างมากในการมีเครื่องบินลำเลียงที่สามารถบินจาก Java ไปยังส่วนไกลสุดของอินโดนีเซีย เช่น Papua เพื่อลำเลียงส่งมอบสินค้าจำนวนมาก
นั่นคือเป้าหมายของโครงการ Air Bridge นี้ เรายังกำลังหารืออยู่ แต่ผมไม่สามารถให้รายละเอียดได้" Pelissier กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/airbus-a400m.html)

สำหรับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 Multi-Role Tanker Transport(MRTT) Pelissier เชื่อว่าในระยะยาวเกาหลีใต้และออสเตรเลียน่าจะสั่งจัดหาเพิ่มเติมจากเครื่องที่ตนมีอยู่
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีได้สั่งจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT จำนวน 4เครื่อง โดยเครื่องสุดท้ายเครื่องที่สี่จะเดินทางมาถึงเกาหลีใต้ในเดือนธันวาคม 2019

ขณะที่กองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) มีเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT จำนวน 7เครื่อง Pelissier กล่าวว่า บ.Tanker ที่มากขึ้นจะมีความจำเป็น
ในการสนับสนุนจำนวนเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ที่เข้าประจำการเพิ่มขึ้นของทั้งเกาหลีใต้(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/f-35a.html) และออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-35a.html)

Airbus ยังกำลังส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เครื่องบินลำเลียงขนาดกลางทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ใบพัด C295 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสำหรับภารกิจการตรวจการณ์และลาดตระเวนทางทะเล(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/airbus-c295.html)
และยังเสนอการปรับปรุงครึ่งอายุการใช้งาน(MLU: Mid-Life Upgrade) สำหรับเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ใบพัด CN235 กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี 20เครื่องด้วยครับ