วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๓-๔

China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of 2,600 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in Thailand
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-marsun-cssc-csoc.html

Covid-19: Thai navy cuts spending, postpones submarine procurement
https://www.janes.com/article/95602/covid-19-thai-navy-cuts-spending-postpones-submarine-procurement

Royal Thai Navy's Khamronsin-class anti-submarine corvette, FS-532 HTMS Thayanchon at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard.
https://aagth1.blogspot.com/2020/04/msi-30mm.html

Thailand to equip Khamronsin-class corvettes with MSI gun mounting
https://www.janes.com/article/95798/thailand-to-equip-khamronsin-class-corvettes-with-msi-gun-mounting

Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle serial 40103, 401st Squadron, Wing 4 Takhli .(Thanawat Wongsaprom)
https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-50th.html

กองทัพเรือได้เสนอปรับลด งป.ลงกว่า 33% ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 4,100ล้านบาทเพื่อสนับสนุนนโยบายของทางรัฐบาล ในการนำเงินไปช่วยเหลือประชาชนในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ ไวรัส โควิด -19

ตามที่รัฐบาลให้ส่วนราชการปรับลดงบประมาณ เพื่อนำไปจัดทำร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ....ไปเป็นงบกลาง เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนในการแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด – 19 รวมทั้ง กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจําเป็นอื่นของรัฐบาล นั้น
วันนี้ (18 เม.ย.63) พลเรือโท ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ และ โฆษก กองทัพเรือ ขอเรียนให้ทราบถึงความพยายามในการบริหารจัดการ งป. ของกองทัพเรือ ตามที่รัฐบาลสั่งการ 
โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งการให้หน่วยขึ้นตรง ทร.และคณะทำงานทุกฝ่ายในกองทัพเรือเร่งหาข้อยุติในการร่วมสนับสนุน นโยบายของทางรัฐบาล 
โดยยึดหลักการตามความจำเป็นของประเทศชาติ ต่อการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด -19 เป็นประการแรก

ภายหลังการหารือร่วมของทุกฝ่ายโดยมี เสนาธิการทหารเรือ พลเรือเอก สิทธิพร มาศเกษม เป็นประธาน จึงได้ข้อสรุปที่นำเรียนขอความเห็นชอบจากผู้บัญชาการทหารเรือแล้ว ตกลงใจว่ากองทัพเรือจะขอเสนอปรับลดงบประมาณลงกว่า 33% คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 4,100 กว่า ล้านบาท 
ซึ่งเป็นวงเงินที่มากกว่าที่รัฐบาลตั้งไว้ โดยจะชะลอการดำเนินการโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ลำที่ 2 และ 3 ที่แม้จะเป็นการใช้ งป.ในส่วนของกองทัพเรือเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ งป.ของกระทรวง ทบวงกรมอื่นแต่ประการใด แต่ก็มักจะตกเป็นเหยื่อ หรือเป็นเป้าต่อการปลุกกระแสต่อต้านไปทุกครั้ง 
จากความพยายามในอดีตในเชิงจิตวิทยาที่ได้ผล อย่างไรก็ตามกองทัพเรือยินดีที่จะปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล และการคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสำคัญ แม้จะเห็นว่าภัยคุกคามทางทะเลจำเป็นต้องรับมือ ด้วยกำลังทางเรือที่เท่าเทียม ทันยุคสมัย. 
และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนได้ในอนาคต แต่ก็คงต้องจัดการอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยทรัพยากรที่มี ให้บรรลุผลรวมถึงการสนับสนุนการรับมือกับวิกฤติ โควิด -19 อย่างเต็มที่ ดังเช่นผลงานที่ผ่านมา 
ในการนี้จึงส่งผลให้โครงการดังกล่าว จำเป็นต้องชะลอออกไปในปีงบประมาณ 64 รวมถึงการชะลอโครงการก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำฯ และ โครงการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำฯ ที่ต้องปรับลดวงเงินปีแรกลง ทำให้การเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับเรือดำน้ำลำแรกต้องล่าช้าออกไปด้วย

นอกจากนี้ยังรวมยังไปถึง การชะลอโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ที่สำคัญ อาทิ โครงการซ่อมปรับปรุง เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล Network centric โครงการจัดหาเครื่องฝึกจำลองยุทธ์ โครงการจัดหาระบบอาวุธปืนรองฯ 
ตลอดจนโครงการก่อสร้างอาคารพัก 64 ครอบครัวฯ ซึ่งแม้จะมีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล แต่โดยทุกโครงการก็จะต้องชะลอการดำเนินการไปตามความจำเป็น หรือจะต้องปรับลดวงเงินปีแรกลงไปก่อน

การที่กองทัพเรือได้เสนอขอปรับลด งป.ลงกว่า 33 % ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 4,100 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนนโยบายของทางรัฐบาล ในการนำเงินไปช่วยเหลือประชาชนในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ ไวรัส โควิด -19 ในครั้งนี้ 
เป็นไปโดยความมุ่งมั่นของ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ที่ต้องการแสดงออกถึงความตั้งใจจริงที่จะนำพากองทัพเรือไปสู่ความเป็นหน่วยงานที่ประชาชนเชื่อมั่น เป็นเครื่องมือของรัฐบาล ในการคิด 
และทำ ให้ประสบความสำเร็จในงานตามภารกิจ และที่สั่งการในทุกเรื่อง อย่างแท้จริง
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/3145619662156035

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ coronavirus Covid-19 ทำให้กระทรวงกลาโหมได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไทยในการถูกตัดงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๔(2020-2021)โดยเฉพาะการจัดหายุทโธปกรณ์ลง(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/covid-19.html)
ส่วนของกองทัพเรือไทยที่ตัดงบประมาณลง 33% ได้รวมโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากจีนระยะที่๒ และระยะที่๓ วงเงินประมาณ ๒๒,๕๐๐,๐๐๐บาท($688,284,000) สำหรับเรือลำที่สองและเรือลำที่สามก็จะถูกยกเลิกไปทำให้ทางกองทัพเรือไทยต้องเจรจาหาผลสรุปข้อตกลงกับทางจีนใหม่
ขณะที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกวงเงิน ๑๓,๕๐๐,๐๐๐บาท($410 million) ที่ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) และมีกำหนดส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ก็น่าจะได้รับผลกระทบอย่างมากด้วย

ขณะที่โครงการที่ยังจะดำเนินการต่อไปได้ก็จะมีเฉพาะการปรับปรุงเรือที่มีประจำการอยู่ตามความจำเป็น เช่น การจัดซื้อปืนกล MSI 30mm(ตระกูล MSI-DS SEAHAWK 30mm เช่นเดียวกับ MSI DS30M) สำหรับเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุดเรือหลวงคำรณสินธุ
เป็นปืนรองใหม่แทนที่ปืนกล Breda 30mm/70 แท่นคู่ท้ายเรือ ที่มีอายุการใช้ราชการมานานและมีปัญหาขัดข้องและมีข้อจำกัดในการซ่อมทำ ซึ่งเรือ ตกด.ชุด ร.ล.คำรณสินธุ ทั้ง ๓ลำเป็นเรือที่ต่อในไทยและใช้งานมายาวนานเกือบ ๓๐ปี มีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานต่อไปอีกนานหลายปี
การดำเนินการอื่นๆที่มีการเผยแพร่ในเอกสารนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ เช่น การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet, การจัดหาเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนจากรัสเซีย และการแลกเรือฟริเกตให้จีนไปพิพิธภัณฑ์คงจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ด้วย

ตามที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ กล่าวต่อสื่อ กองทัพอากาศไทยได้มีลดงบประมาณของตนลงราว 23% ซึ่งรวมการยกเลิกโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ระยะที่๔ จากบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี เพิ่มเติม ๒เครื่อง
ทำให้ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ จะมี บ.ขฝ.๒ T-50TH รวมเพียง ๑๒เครื่องซึ่งเป็นอัตราความพร้อมขั้นต้น รวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถ เช่น Radar แบบ Elta EL/M-2032 และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T ที่ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อการฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบอย่างมาก
จนถึงโครงการจัดหาอากาศยานทดแทนอื่นๆ เช่น โครงจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทน บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 ที่จะปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) และอีกหลายโครงการที่ต้องถูกยกเลิกไปส่งผลเสียต่อกำลังรบท่ามกลางกระแสปลุกปั่นของผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่ต้องการให้ยุบเลิกกองทัพไทยด้วยครับ

11th Infantry Division, Royal Thai Army's Stryker RTA ICV 8x8 (Royal Thai Army Infantry Carrier Vehicle) with M2 Flex .50cal heavy machine gun during OPNET-2 training at the Calvary Center, Saraburi province, 12 November-19 December 2019.
https://aagth1.blogspot.com/2020/01/fn-scar-stryker.html

Covid-19: Thailand announces USD557 million cut in defence spending
https://www.janes.com/article/95702/covid-19-thailand-announces-usd557-million-cut-in-defence-spending

โฆษกกองทัพบก เผย ยอด 1.8 หมื่นล้านที่ กห.ส่งคืนงบกลางช่วยโควิค นี้น เป็น ทบ.อย่างเดียวเกือบหมื่นล้านบาท ส่วนการจัดหา stryker ด้วยระบบ FMS ปี 63 ลดงบลง 50% อยู่ที่ 450ล้านเท่านั้น

กรณีมีการเผยแพร่เอกสารของกรมสรรพวุธ เกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการจัดซื้อรถยานเกราะสไตร์เกอร์ ติดอาวุธ 50 คันด้วยงบประมาณ 4.5 พันล้าน โดยเป็นการจัดซื้อตามโครงการความช่วยเหลือทางการทหาร Foreign Military Sales -FMS จากสหรัฐอเมริกา นั้น
เรียนว่า จากนโยบายรัฐบาล โดย กระทรวงกลาโหม ได้ขอให้ทุกหน่วยงานในสังกัดพิจารณาปรับลดงบประมาณของ ปี 2563 เพื่อนำไปเข้างบกลางให้รัฐบาลนำแก้ปัญหาสถานการณ์ โควิด-19 นั้น

1. ภาพรวมของกระทรวงกลาโหมมีปรับลดไปจำนวนทั้งสิ้น จาก 7 หน่วยงาน มียอดเงินงบประมาณรวม 1.8 หมื่นล้าน ถูกนำกลับไปผ่าน. พ.ร.บ.การโอนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับหลายๆกระทรวง 
ซึ่งขอเรียนว่าจาก ยอด 1.8 หมื่นล้านบาทนั้นจะเป็นงบฯในส่วนของ ทบ. หน่วยเดียวเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
ซึ่งในการดำเนินการปรับลดนั้นภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาคือ โครงการไหนที่ยังไม่ผูกพัน ให้ชะลอตัดออกไปทั้งหมด ส่วนโครงการไหนผูกพันแล้ว ให้ตัดเหลือเพียงครึ่งเดียว 
ทำให้โครงการขนาดใหญ่ 4 โครงการ เช่น โครงการรถถัง ปืนใหญ่ หรือ เรดาร์ รวมถึง โครงการปกติอื่นๆ อีกประมาณ 26 โครงการ จำเป็นต้องถูกชะลอตัดออกไป

2. ส่วนกรณีเรื่องของ ยานเกราะล้อยาง สไตร์เกอร์ ที่มีสื่อบางสำนักได้นำเสนอไปนั้น อาจมีข้อมูลไม่ครบถ้วน เนื่องจากโครงการนี้ เป็นหนึ่งในโครงการที่ผูกพันแล้ว โดยแผนเดิมจะมีใช้งบฯ ของปี 63 จำนวน 900 ล้านบาท 
แต่ด้วยหลักเกณฑ์ตามนโยบายของ กระทรวงกลาโหมในข้างต้นทำให้ต้องมีการตัดลดงบประมาณออกไปครึ่งหนึ่ง ทำให้โครงการนี้ เหลือใช้งบปี 63 อยู่เพียง 450 ล้าน เท่านั้น

ซึ่งเรียนว่าโครงการฯ นี้จัดซื้อด้วยระบบ FMS เป็นไปตามความช่วยเหลือทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ได้รับอนุมัติงบประมาณไว้ 4,515 ล้าน ได้จำนวนยานเกราะฯ รวมแล้วกว่า 100 คัน รวมที่ทาง สหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือในลักษณะให้เปล่า
โดยลักษณะการใช้งบฯ เป็นแบบผูกพันข้ามปี ตั้งแต่ปี 63-65 ทำให้ในปี 63 เดิมก่อนถูกปรับลด จึงมีแผนใช้เพียง 900 ล้านบาท
อีกทั้งด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 กองทัพในจำนวนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับโครงการนี้ ไม่ใช่เป็นการจัดหาเฉพาะรถเท่านั้น ยังรวมถึงที่ทางสหรัฐฯ จัดชุดครูฝึกมาฝึกการขับรถ การใช้รถทางยุทธวิธี เทคนิคต่างๆของรถรวมทั้งชิ้นส่วนอะไรในการซ่อมบำรุง 
ที่นั่งการศึกษาในต่างประเทศ การสร้างโรงซ่อม และอาคารที่จอดรถจำนวนหนึ่งด้วย ล่าสุด ทบ.สหรัฐยังได้มอบกระสุนชนิดต่างๆให้กับ ทบ. มูลค่า 600,000 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มเติมให้มา 
และ ล่าสุดทาง ทบ.สหรัฐฯ เป็นผู้จัดเที่ยวบินอนุญาตให้นำนักเรียนทุนฯ ในสหรัฐกลับมาไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยไม่ติดค่าใช้จ่าย
.......................................... 22 เม.ย.63
https://www.facebook.com/102248354575987/posts/165220314945457/

ส่วนของกองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ กรมสรรพาวุธทหารบกได้ออกเอกสารโครงการยานเกราะล้อยาง พร้อมระบบอาวุธ และการบริการทางเทคนิค ฯลฯ จำนวน ๕๐คัน โดยวิธี FMS(Foreign Military Sales) วงเงิน ๔,๕๑๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($138,780,038)
เป็นที่เข้าใจว่าว่าน่าจะเป็นการจัดหายานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker RTA ICV 8x8 จากสหรัฐฯเพิ่มเติมจากที่สั่งจัดหาแล้ว ๗๐คัน ที่เข้าประจำการ ณ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/vn1-stryker-rta-icv.html)
อย่างไรก็ตามการตัดงบประมาณกลาโหมลง 7.61% จากผลกระทบของ Covid-19 กองทัพบกไทยเองที่ถูกตัดงบประมาณลงราว 30% ก็น่าจะถูกยกเลิกโครงการจัดหาอาวุธที่จำเป็นต่อการพัฒนากำลังรบที่มีแต่จะเก่าอายุการใช้งานนานและล้าสมัยจำเป็นต้องจัดหาระบบใหม่มาทดแทนหลายรายการ

โครงการของกองทัพบกไทยที่น่าจะถูกยกเลิก เช่น ปืนใหญ่ 105mm วงเงิน ๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($27,666,774), ปืนใหญ่ 155mm วงเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($61,481,720) และเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W ระยะที่๓ วงเงิน ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($41,503,347) เป็นต้น
โดยในกรณียานเกราะล้อยาง Stryker ระยะที่๒ ๕๐คันจากสหรัฐฯในข้างต้นนั้น ล่าสุดกองทัพบกได้ชี้แจงว่าการจัดหาจะถูกเลื่อนออกไปในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๕(2021-2022) ไม่ใช่ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ นี้ ซึ่งเข้าใจว่าการจัดหาในรูปแบบ FMS คงต้องเจรจากับสหรัฐฯอีกที
แต่การชี้แจงด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงเหล่านี้ย่อมไม่มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงแผนการกระทำของบรรดาผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่จ้องจะใช้โฆษณาชวนเชื่อใส่ร้ายทหาร-ตำรวจให้เป็นจำเลยสังคมสำหรับทุกปัญหาในประเทศด้วยการสร้างข่าวปลอมแก่ประชาชนที่หลงเชื่อเพื่อสนับสนุนการยุบกองทัพไทยครับ









Royal Thai Air Force's Piaggio P.180 Avanti serial 60461, 604 squadron, Wing 6 Don Muang transport sample of risk groups secretions from Phuket province for coronavirus COVID-19 detection in Bangkok.

Clip: กองทัพอากาศ จัดอากาศยานบินรับ-ส่ง ตัวอย่างสารคัดหลั่งของกลุ่มเสี่ยง จ.ภูเก็ต เพื่อนำมาตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่กรุงเทพฯ

กองทัพอากาศ จัดอากาศยานบินรับ-ส่ง ตัวอย่างสารคัดหลั่งของกลุ่มเสี่ยง จ.ภูเก็ต เพื่อนำมาตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่กรุงเทพฯ

วันนี้ (วันพุธที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๓) กองทัพอากาศ จัดเครื่องบินตรวจการณ์และลำเลียงแบบที่ ๒๐ (บ.ตล.๒๐) หรือ P-180 สนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) 
ในการบินรับ-ส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งโพรงจมูกของบุคคลกลุ่มเสี่ยงในตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อนำมาตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ณ ห้องปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ พื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มพบผู้ป่วย COVID-19 สูงขึ้นเรื่อยๆ และทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงของตำบลป่าตอง ทางสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้เร่งค้นหาผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 
โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์จากบริษัทเอกชน ในการเก็บสารคัดหลั่งโพรงจมูกเพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ COVID-19 ได้วันละประมาณ ๕๐๐ คน หลังจากนั้นต้องนำตัวอย่างสารคัดหลั่งดังกล่าว ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร โดยจะทราบผลการตรวจในวันรุ่งขึ้น 
ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในขณะนี้ที่ทำให้การคัดกรองเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ที่จะหยุดการแพร่ระบาดของโรค

อย่างไรก็ตาม แนวทางปฏิบัติดังกล่าวกำลังประสบปัญหาจากการประกาศปิดท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ทำให้มีข้อขัดข้องในการนำส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งของกลุ่มเสี่ยงไปยังห้องปฏิบัติการ 
ทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตจึงได้ประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) เพื่อขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพอากาศ ในการบินรับ-ส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งดังกล่าว

ทั้งนี้กองทัพอากาศพร้อมให้การสนับสนุนอากาศยานในการช่วยเหลือประชาชนและการดำเนินการเพื่อต่อสู้กับไวรัส COVID-19
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/3288109777885256


ทอ.จัด C-130 ส่งถุงยังชีพและนวัตกรรมให้ 3 โรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกับ “น้องจักจั่น” โดรนกระจายเสียง
จากประกาศโรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส งดให้บริการผู้ป่วยทั่วไปทุกกรณี โดยจะเปิดให้บริการเฉพาะผู้ป่วยอาการทางเดินหายใจที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น 
เนื่องจากมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์จำนวน 28 คนเสี่ยงต่อการติดเชื้อและต้องถูกกักตัว 14 วัน ส่งผลต่อขวัญกำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และการรับบริการตรวจรักษาของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันนี้ (วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563) พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ สั่งการให้กองบิน 6 จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 หรือ C-130 ลำเลียงถุงยังชีพและนวัตกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาบุคลากรของกองทัพอากาศไปมอบให้ประชาชนและโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 
ตามโครงการ “กองทัพอากาศ ร่วมตั้งการ์ด สู้ COVID-19” ที่กองทัพอากาศได้จัดทำเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักรบชุดขาวกับชาวไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน 
โดยมอบหมายให้ พลอากาศโท ธนศักดิ์ เมตะนันท์ รองเสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ 
ส่วนกองทัพอากาศ เป็นผู้แทน นำสิ่งของดังกล่าวไปมอบให้แก่ประชาชนและโรงพยาบาลประจำจังหวัด ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

โดยสิ่งของที่จะนำไปมอบให้กับประชาชนและโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย
- ถุงยังชีพ สำหรับชาวมุสลิม จำนวน 1,200 ชุด และชาวพุทธ 200 ชุด รวม 1,500 ชุด
- น้องถาดหลุม หุ่นยนต์ช่วยการพยาบาล จำนวน 3 ชุด
- น้องบุญสุข เครื่องวัดอุณหภูมิ จำนวน 15 เครื่อง
- น้องบุญช่วย เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 2 เครื่อง
- Shield Box ฉากกั้นระหว่างแพทย์และคนป่วย แบบนั่ง จำนวน 12 กล่องและแบบนอน จำนวน 63 กล่อง
- ตู้อบฆ่าเชื้อ จำนวน 6 ตู้
- อินทรีย์อนามัย เครื่องกดแอลกอฮอล์ล้างมือแบบใช้เท้ากด จำนวน 6 เครื่อง
- แอลกอฮอล์เจลแบบขวดกด 300 ซีซี จำนวน 50 ขวด และแอลกอฮอล์รีฟิลแกนลอนขนาด 6 ลิตร จำนวน 4 แกลลอน

ในโอกาสนี้ได้นำ “น้องจักจั่น” โดรนกระจายเสียง ซึ่งผลิตโดยภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ไปทำการบินสาธิตการกระจายเสียงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 
โดยข้อความที่ใช้กระจายเสียงได้จัดทำทั้งสองภาษาคือภาษาไทยและภาษายาวี

ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำไปมอบให้โรงพยาบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อต่อสู้กับไวรัส COVID-19 ทั้งหมดเป็นผลผลิตทางความคิดของบุคลากรกองทัพอากาศ ที่ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติจริง ด้วยความทุ่มเททุกระดับชั้น 
โรงงานและบุคลากรของกองทัพอากาศได้รับการพิสูจน์แล้วว่า จากโรงงานสร้างและซ่อมเครื่องบิน สามารถปรับเปลี่ยนมารองรับการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ สู้กับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้จริง ต้องลงมือคิดและทำ ต้องร่วมมือกัน เราจะพ้นวิกฤตทุกวิกฤตไปด้วยกัน
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/3318161454880088