วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Boeing สหรัฐฯจะส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon Block II แก่ต่างประเทศรวมถึงไทย

RGM-84L Harpoon Block II anti-ship missile launchers on Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel
https://aagth1.blogspot.com/2019/09/blog-post_28.html

Royal Thai Navy's guided missile frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej was formal commissioning ceremony at Sattahip naval base, Chonburi province, Thailand in 16 October 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/10/blog-post_18.html

Contracts For May 13, 2020 
https://www.defense.gov/Newsroom/Contracts/Contract/Article/2185990/

ตามเอกสารประกาศสัญญากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2020 บริษัท Boeing สหรัฐฯใน St. Louis สหรัฐฯ Missouri ได้รับสัญญาแก้ไข(P00014) วงเงิน $656,981,421 ต่อสัญญาราคาคงที่ที่ประกาศก่อนหน้า(N00019-19-C-0016)
นี่เป็นการแก้ไขสัญญาการจัดหาและส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon Block II สายการผลิตเต็มอัตรา Lot 91 จำนวน 467นัด และอุปกรณ์สนับสนุนสำหรับลูกค้ารูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS) หลายราย

งานจะได้รับการดำเนินการใน Louis มลรัฐ Missouri สหรัฐฯ(ร้อยละ30), McKinney มลรัฐ Texas สหรัฐฯ(ร้อยละ28), Toledo มลรัฐ Ohio สหรัฐฯ(ร้อยละ6), Grove มลรัฐ Oklahoma สหรัฐฯ(ร้อยละ5), Pontiac มลรัฐ Michigan สหรัฐฯ(ร้อยละ4),
Putnam มลรัฐ Connecticut สหรัฐฯ(ร้อยละ2), Galena มลรัฐ Kansas สหรัฐฯ(ร้อยละ2),  Burnley สหราชอาณาจักร(ร้อยละ2), Lititz มลรัฐ Pennsylvania สหรัฐฯ(ร้อยละ1), Minneapolis มลรัฐ Minnesota สหรัฐฯ(ร้อยละ1) และหลากหลายพื้นที่ในภาคพื้นทวีปสหรัฐฯ(ร้อยละ19)

นี่การแก้ไขสัญญาการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block II และอุปกรณ์สนับสนุนสำหรับรัฐบาลบราซิลจำนวน 4นัด, สำหรับรัฐบาลไทยจำนวน ๘นัด, สำหรับรัฐบาลกาตาร์จำนวน 53นัด(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/f-15qa-harpoon-block-2-f-16v.html),
สำหรับรัฐบาลซาอุดีอาระเบียจำนวน 402นัด และเฉพาะอุปกรณ์สนับสนุนสำหรับรัฐบาลญี่ปุ่น, รัฐบาลเนเธอร์แลนด์, รัฐบาลอินเดีย และรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี งานคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2026

การขายรูปแบบ Foreign Military Sales คิดเป็นวงเงินจำนวน $656,981,421 จะมีภาระผูกพัน ณ เวลาที่ได้รับการประกาศสัญญา ซึ่งจะไม่มีการหมดอายุในช่วงสิ้นสุดของปีงบประมาณปัจจุบัน
กองบัญชาการะบบอากาศนาวีสหรัฐฯ(US NAVAIR: Naval Air Systems Command) ใน Patuxent River มลรัฐ Maryland เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมสัญญา

ตามข้อมูลจาก Jane's Air Launched Weapons อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon มีขนาดความยาวราว 4.5m และมีน้ำหนักเกือบ 700kg ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Turbojet นี้ได้รับการนำเข้าประจำการตั้งแต่ช่วงกลางปี 1970s
Harpoon Block II ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะให้สามารถโจมตีเป้าหมายได้หลายรูปแบบทั้งบนพื้นดินและในทะเล เช่น ปืนใหญ่รักษาฝั่ง, ฐานอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ, อากาศยาน และสนามบิน, ท่าเรือ หรือนิคมอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับเรือผิวน้ำที่ผูกติดกับท่าเรือในอ่าว

Harpoon Block II นำวิถีด้วยดาวเทียม GPS(Global Position System) และระบบนำร่อง INS(Inertial Navigation System) และมีรายงานว่ามีระยะยิงไกล 124km
สำหรับสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำชายฝั่งต่อเป้าหมายใกล้พื้นดิน อาวุธปล่อยนำวิถีจะได้รับข้อมูลแนวชายฝั่งการยิง นำวิถีด้วย GPS ระหว่างการบินโคจร และระหว่าขั้นสุดท้ายของการโจมตี ระบบค้นหาจะคืนค่าหาพื้นดิน 'ว่าง' เพื่อระบุเป้าหมาย

สำหรับการโจมตีเป้าหมายตามท่าเรือและภาคพื้นดิน อาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block II จะถูกยิงและสร้างการโคจรตนเองเข้าหาในเพดานบินระดับต่ำตามปกติ
แต่จะวางใจได้อย่างมากขึ้นด้วยการใช้ระบบนำร่อง GPS/INS เสริมการหลีกเลี่ยงพื้นดินหรือเรือในเส้นทาง ที่สามารถตั้งค่าจุดเลี้ยวได้ถึง 8จุด

ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม 2017 สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ได้ออกเอกสารอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84L Harpoon Block II ให้รัฐบาลไทย
ในรูปแบบการขาย FMS วงเงินประมาณ $24.9 million(ประมาณ ๘๓๑ล้านบาท) ประกอบด้วย RGM-84L Harpoon Block II จำนวน ๕นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีฝึก RTM-84L Harpoon Block II จำนวน ๑นัด(https://aagth1.blogspot.com/2017/08/harpoon-block-ii.html)

เป็นที่เข้าใจว่าอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block II ที่สหรัฐฯอนุมัติส่งออกให้ไทยแล้ว ๑๓นัด(๕+๘) จะถูกนำมาติดตั้งใช้กับเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
คือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ และเรือเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ที่มีการระบุคุณสมบัติว่ารองรับแท่นยิงอาวุธได้ลำละ ๘นัด

เดิมกองทัพเรือไทยมีแผนจะทำการยิง Harpoon Block II ต่อเป้าหมายบนฝั่ง(CTS: Coastal Target Suppression) ที่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๓ ที่มีพิธีเปิดการฝึกเมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓(2020)(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/blog-post_26.html)
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเริ่มทำการฝึกไประยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดกองทัพเรือไทยได้ตัดสินใจยกเลิกการฝึก ทร.๖๓ เนื่องจาการระบาดของ coronavirus Covid-19 และการตัดลดงบประมาณลงร้อยละ๓๓ ราว ๔,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาทครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/covid-19.html)