วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เซอร์เบียแสดงความสนใจเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk สหรัฐฯ-สวีเดน

Serbia notes interest in Boeing-Saab T-7A Red Hawk jets


Serbia would like to acquire the Boeing-Saab T-7A Red Hawk to replace its ageing Super Galeb and Orao fleets. (Janes/Gareth Jennings)

เครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing-Saab T-7A Red Hawk สหรัฐฯ-สวีเดนเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เซอร์เบียกำลังพิจารณาสำหรับการทดแทนฝูงบินเครื่องบินฝึกไอพ่นและเครื่องบินโจมตีเบาของตน
การพูดคุยกับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติเซอร์เบียเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเซอร์เบียเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2020 ที่ผ่านมาว่า(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/boeing-t-7-f-5-alpha-jet.html)

เครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A สามารถที่จะทดแทนได้ทั้งเครื่องบินฝึก SOKO G-4 Super Galeb(Super Seagull) ในรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าและรุ่นเครื่องบินโจมตี และเครื่องบินโจมตีไอพ่น SOKO J-22 Orao(Eagle)
ถึงแม้ว่ากองทัพอากาศเซอร์เบีย(Serbian Air Force) กำลังดำเนินความพยายามการปรับปรุงความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และมีกำหนดการปลดประจำการเครื่องบินเหล่านี้ของตน

เซอร์เบียได้แสดงความสนใจสำหรับการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A จำนวน 20เครื่อง รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านทรัพยากรยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมเซอร์เบีย Nenad Miloradović กล่าว
เขาเสริมว่า T-7A ซึ่งกำลังได้รับการพัฒนาเป็นเครื่องบินฝึกสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) และทำตลาดในฐานะทางเลือกเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบาที่มีศักยภาพสำหรับตลาดนานาชาติ ประกอบด้วย "คุณลักษณะและขีดความสามารถที่ยอดเยี่ยม"

Miloradović อธิบายว่าเซอร์เบียถูกดึงดูดโดยการผสมผสานของราคาและสมรรถนะของ T-7A โดยย้ำว่าเซอร์เบียกำลังมองที่ตัวเลือกเครื่องบินไอพ่นที่มีราคาราวครึ่งของเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 ในปัจจุบัน(ดังเช่นประมาณเครื่องละ $50 million)
และมีขีดความสามารถระหว่างเครื่องบินโจมตี(G-4 และ J-22) และเครื่องบินขับไล่(MiG-29) ที่กองทัพอากาศเซอร์เบียมีอยู่ขณะนี้(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/mig-29-t-72.html)

"สิ่งเหล่านี้เป็นก้าวย่างเริ่มต้นในการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ตามที่การจัดสรรวงเงินทุนการจัดซื้อจัดจ้างหลักไม่สามารถจะเกิดขึ้นในชั่วข้ามคืนได้ ตัวเครื่องเอง(T-7A) เป็นเครื่องบินไอพ่นความเร็วเหนือเสียงและมีคุณสมบัติระบบ Avionic ยุคใหม่
และตามคุณสมบัติดังกล่าวมันจะสามารถทดแทนอากาศยานโจมตีของเราได้ทั้งหมด และความเป็นระบบพหุภารกิจยังจะสามารถที่จะสนับสนุนเครื่องบินขับไล่สกัดกั้น(MiG-29) ของเราได้ด้วย" Miloradović อธิบาย

ปัจจุบันกองทัพอากาศเซอร์เบียมีเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา G-4 อยู่ราว 20เครื่อง และเครื่องบินโจมตีไอพ่น J-22 อยู่ราว 17เครื่อง ซึ่งสร้างในประเทศมาตั้งแต่สมัยอดีตยูโกสลาเวียและมีอายุการใช้งานมานาน
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29 (NATO กำหนดรหัส Falcrum) ที่มีอยู่ราว 15เครื่อง ที่มีอายุการใช้งานมานานและล้าสมัย ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับบริจาคเครื่องส่วนเกินจากรัสเซียครับ