Stern of OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel during sunset.(Photo source: https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/3257899374247934)
Twilight era of Royal Thai Navy in 2030s
นี่เป็นการคาดคะเนถึงอนาคตในรูปแบบนวนิยาย(fiction-novel) ของกองทัพเรือไทยในอนาคตอีกสิบปีข้างหน้าจากปี 2020 ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ย้ำอีกครั้งนี่เป็นเพียงนิยายที่เกิดจากจินตนาการ ท่านที่เข้ามาอ่านไม่ควรนำนิยายไปใช้อ้างอิงในการทำงานหรือวัตถุประสงค์อื่นใดๆทั้งสิ้น
โดยมีพื้นฐานโครงเรื่องสมมุติว่า รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนอย่างถูกต้องได้ดำเนินแผนตามนโยบายเพื่อทำการปฏิรูปกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) และกระทรวงกลาโหมไทย(Ministry of Defense of Thailand) ในทุกด้าน
ตามความเหมาะสมของสภาพของเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบันที่ไทยมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งปราศจากสงครามที่เป็นสิ่งล้าสมัยไปแล้วในยุคอนาคต รวมถึงโรคระบาดที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ไขสถานการณ์
ทำให้กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนโครงการสร้างและแผนนโยบายตามความต้องการของรัฐบาลและประชาชน
โดยรัฐบาลได้ปรับลดงบประมาณกระทรวงกลาโหมลงเหลือเพียงร้อยละ๐.๘ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อปี(0.8% per GDP: Gross Domestic Product) เฉลี่ยงบประมาณประจำปีละไม่เกินราว ๑๓๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐-๑๔๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($4.2-4.5 billion)
ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะเสนาธิการร่วม(Joint Chiefs of Staff) ที่มีนายกรัฐมนตรีพลเรือนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งเป็นประธานขึ้นมาแทนกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อลดอำนาจผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการแต่ละเหล่าทัพ และผู้บังคับการหน่วยใช้กำลังต่างๆ
และมีคณะกรรมธิการกลาโหมที่มีสมาชิกประกอบด้วย ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายและตัดสินใจโครงการต่างๆของกองทัพ ซึ่งจะถูกส่งให้คณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเรือนพิจารณาอนุมัติ และส่งเรื่องเข้ารัฐสภาเพื่อให้ ส.ส.และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกันลงมติเห็นชอบ
รวมถึงการออกกฎหมายพระราชบัญญัติรับราชการทหารใหม่ในปี 202X ที่ยกเลิกการเกณฑ์ทหารกองประจำการ รวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างบุคลากรภายในกองทัพลดจำนวนนายทหารชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตรโดยเฉพาะนายพัน นาวา นาวาอากาศ และนายพลลงอย่างมาก
ทำให้ในส่วนกองทัพเรือไทยเมื่อถึงต้นปี 2030s ได้รับงบประมาณในแต่ละปีเพียงไม่เกินราว ๒๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($0.9 billion) และจำนวนกำลังพลประจำการกองทัพเรือไทยลดลงจากประมาณ ๖๙,๘๕๐นาย เหลือเพียง ๔๙,๐๐๐นาย(ส่วนใหญ่ถูก 'ให้ออก' จากราชการโดยที่ไม่มีความผิด)
ส่งผลให้ในส่วนการพัฒนากำลังรบของกองทัพเรือไทยในอนาคตปี 2030s ถูกบีบบังคับให้มีการปรับขนาดตามสภาพตามข้อจำกัดในนโยบาย 'ทัพเรือเล็กกะทัดรัด'(Compact Navy) โดยคณะกรรมธิการกลาโหมของรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน มีภาพรวมคราวๆดังนี้
การจัดกำลังของกองทัพเรือไทยในทศวรรษปี 2030s (Structure of Royal Thai Navy 2030s)
กองเรือยุทธการ กร.(Royal Thai Fleet)
กองเรือฟริเกต กฟก.(Frigate Squadron)
หมวดเรือที่๑: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ๑ลำ(ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช)
หมวดเรือที่๒: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำ(ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน)
หมวดเรือที่๓: เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุดเรือหลวงคำรณสินธุ ๓ลำ(ร.ล.คำรณสินธุ, ร.ล.ทะยานชล และ ร.ล.ล่องลม)
กองเรือตรวจอ่าว กตอ.(Patrol Squadron)
หมวดเรือที่๑: เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำ(ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส)
หมวดเรือที่๒: เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ ๒ลำ(ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์)
หมวดเรือที่๓: เรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงหัวหิน ๓ลำ(ร.ล.หัวหิน, ร.ล.แกลง และ ร.ล.ศรีราชา) และเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์ ๑ลำ(ร.ล.แหลมสิงห์)
กองเรือยามฝั่ง กยฝ.(Coast Guard Squadron)
หมวดเรือที่๑: เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 ๓ลำ(เรือ ต.991, เรือ ต.992 และเรือ ต.993), เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 ๓ลำ(เรือ ต.994, เรือ ต.995 และเรือ ต.996) และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 ๒ลำ(เรือ ต.997 และเรือ ต.998)
หมวดเรือที่๒: เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.111 ๓ลำ(เรือ ต.111, เรือ ต.112 และเรือ ต.113), เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 ๒ลำ(เรือ ต.114 และเรือ ต.115) และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.81 ๓ลำ(เรือ ต.81, เรือ ต.82 และเรือ ต.83)
หมวดเรือที่๓: เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.227 ๑ลำ, เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.228 ๓ลำ(เรือ ต.228, เรือ ต.229 และเรือ ต.230), เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.232 ๖ลำ(เรือ ต.232, เรือ ต.233, เรือ ต.234, เรือ ต.235, เรือ ต.236 และเรือ ต.237), เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.261 ๙ลำ(เรือ ต.261, เรือ ต.262, เรือ ต.263, เรือ ต.264, เรือ ต.265, เรือ ต.266, เรือ ต.267, เรือ ต.268 และเรือ ต.269) และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.270 ๕ลำ(เรือ ต.270, เรือ ต.271, เรือ ต.272, เรือ ต.273 และเรือ ต.274)
กองเรือยกพลขึ้นบก ยุทธบริการ และบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กยพ.(Amphibious, Combat Support Service and Helicopter Carrier Squadron)
หมวดเรือที่๑: เรืออู่ยกพลขึ้นบกชุดเรือหลวงอ่างทอง ๑ลำ(ร.ล.อ่างทอง)
หมวดเรือที่๒: เรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงมัตโพน ๒ลำ(ร.ล.มัตโพน และ ร.ล.ราวี) และเรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงมันนอก ๓ลำ(ร.ล.มันนอก, ร.ล.มันกลาง และ ร.ล.มันใน)
หมวดเรือที่๓: เรือน้ำมันชุดเรือหลวงมาตรา ๑ลำ(ร.ล.มาตรา), เรือลากจูงชุดเรือหลวงแสมสาร ๒ลำ(ร.ล.แสมสาร และ ร.ล.แรด) และเรือลากจูงชุดเรือหลวงปันหยี ๒ลำ(ร.ล.ปันหยี และ ร.ล.หลีเป๊ะ)
กองเรือทุ่นระเบิด กทบ.(Mine Squadron)
หมวดเรือที่๑: ไม่มีเรือประจำการ
หมวดเรือที่๒: เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่งชุดเรือหลวงลาดหญ้า ๒ลำ(ร.ล.ลาดหญ้า และ ร.ล.ท่าดินแดง)
หมวดเรือที่๓: เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้นชุดเรือ ท.1 ๕ลำ(เรือ ท.1, เรือ ท.2, เรือ ท.3, เรือ ท.4 และเรือ ท.5)
กองเรือลำน้ำ กลน.(Riverine Squadron)
เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำชุด ล.161 ๓ลำ(เรือ ล.161, เรือ ล.162 และเรือ ล.163) และเรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำชุด ล.164 ๖ลำ(เรือ ล.164, เรือ ล.165, เรือ ล.166, เรือ ล.167, เรือ ล.168 และเรือ ล.169)
เรือจู่โจมลำน้ำชุด ล.31 ๑๓๒ลำ และเรือจู่โจมลำน้ำชุด ล.3130 ๓ลำ(เรือ ล.3130, เรือ ล.3131 และเรือ ล.3312)
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(Naval Special Warfare Command)
กรมรบพิเศษที่๑
กรมรบพิเศษที่๒
หมวดเรือปฏิบัติการพิเศษ(Special Operations Crafts Flotilla): เรือปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.51 ๔ลำ(เรือ พ.51, เรือ พ.52, เรือ พ.53 และเรือ พ.54)
หมวดเรืออุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ อศ.ทร.(Hydrography Vessels Fleet, Naval Hydrographic Department)
เรือสำรวจขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงพฤหัสบดี ๑ลำ(ร.ล.พฤหัสบดี)
กองการบินทหารเรือ กบร.(Royal Thai Naval Air Division)
กองบิน๑
ฝูงบิน๑๐๑: ไม่มีอากาศยานประจำการ ยุบฝูงบิน
ฝูงบิน๑๐๒: ไม่มีอากาศยานประจำการ ยุบฝูงบิน
ฝูงบิน๑๐๒: ไม่มีอากาศยานประจำการ ยุบฝูงบิน
ฝูงบิน๑๐๔: อากาศยานไร้คนขับ Aeronautics Defense Systems Orbiter 3B
กองบิน๒
ฝูงบิน๒๐๑: เครื่องบินลำเลียงแบบที่๒ บ.ลล.๒ Embraer ERJ-135LR ๒เครื่อง
ฝูงบิน๒๐๒: เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๔ ฮ.ลล.๔ Sikorsky S-76B ๕เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๖ ฮ.ลล.๖ EC-645T2(Airbus Helicopters H145M) ๕เครื่อง
ฝูงบิน๒๐๓: เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk ๖เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๖ ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk ๒เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300 ๒เครื่อง
หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร ยุบหน่วยบิน
ฝูงบิน๑: ไม่มีอากาศยานประจำการ ยุบฝูงบิน
ฝูงบิน๒: ไม่มีอากาศยานประจำการ ยุบฝูงบิน
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย.(Royal Thai Marine Corps Headquarters)
กองพลนาวิกโยธิน พล.นย.
กรมทหารราบที่๑ กองพลนาวิกโยธิน กรม ร.๑ พล.นย.
-กองพันทหารราบที่๑ รักษาพระองค์ฯ พัน.ร.๑ รอ.
-กองพันทหารราบที่๒ พัน.ร.๒
-กองพันทหารราบที่๓ พัน.ร.๓
กรมทหารราบที่๒ กองพลนาวิกโยธิน กรม ร.๒ พล.นย.
-กองพันทหารราบที่๕ พัน.ร.๕
-กองพันทหารราบที่๖ พัน.ร.๖
-กองพันทหารราบที่๗ พัน.ร.๗
กรมทหารราบที่๓ กองพลนาวิกโยธิน กรม ร.๓ พล.นย.
-กองพันทหารราบที่๔ พัน.ร.๔
-กองพันทหารราบที่๘ พัน.ร.๘
-กองพันทหารราบที่๙ รักษาพระองค์ฯ พัน.ร.๙ รอ.
กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน กรม ป. พล.นย.
-กองพันทหารปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง พัน.ปบค.
-กองพันทหารปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง พัน.ปกค.: ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG 155mm/52cal ๖ระบบ
-กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน พัน.ปตอ.
กองพันยานเกราะ กองพลนาวิกโยธิน พัน.ยก.พล.นย.
-กองร้อยรถสะเทินน้ำสะเทินบก ร้อย.รนบ.: รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ๒๔คัน
-กองร้อยรถถัง ร้อย.ถ.: ไม่มีรถถังประจำการ ยุบหน่วย
-กองร้อยยานเกราะ ร้อย.ยก.: ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ๑๒คัน
-กองร้อยต่อสู้รถถัง ร้อย.ตถ.: รถยนต์บรรทุก HMMWV ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TOW
ชะตากรรมของเรือแต่ละชุดและหน่วยรบ(Fate of the each ship classes and combat units)
กองเรือดำน้ำ กดน.(Submarine Squadron):
หลังประสบความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การจัดหาเรือดำน้ำชั้น Type 206A เยอรมนีจำนวน ๖ลำ(ใช้งานจริง ๔ลำ เรืออะไหล่ ๒ลำ) ในปี 2011 จนถึงการเลือกจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จีน ๓ลำในปี 2015 ที่ลงนามจัดหาลำแรกในปี 2017
โดยหลังการปฏิรูปกองทัพใหม่ คณะกรรมาธิการกลาโหมรัฐสภาได้พิจารณาว่าการลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือนั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง ต่อมาคณะรัฐมนตรีพลเรือนได้มีมติเห็นชอบที่จะยกเลิกสัญญาจัดซื้อเรือดำน้ำจีนในปี 202X และตัดงบประมาณส่วนนี้ลงทั้งหมด
ทำให้กองเรือดำน้ำที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในปี 2011 จากสำนักงานกองเรือดำน้ำที่ตั้งขึ้นในปี 2009 ถูกยุบกองเรือลงในปี 202Y โดยอาคารสถานที่ตั้งและสิ่งอุปกรณ์เช่นเครื่องฝึกจำลองเรือดำน้ำ Rheinmetall เยอรมนีถูกโอนไปขึ้นกับ กองการฝึก กองเรือยุทธการ กฝร.กร.
เมื่อรวมกับที่คณะกรรมาธิการกลาโหมและคณะรัฐมนตรีการยกเลิกสัญญาการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E จีน ๑ลำ ที่ลงนามในปี 2019 ด้วยเหตุผลเดียวกัน ซึ่งทั้งเรือดำน้ำ S26T ลำแรก และ Type071E LPD ลำแรกตัวเรือถูกสร้างเสร็จปล่อยลงน้ำในช่วงปี 2021-2022 ไปแล้ว
China Shipbuilding & Offshore International Co. Ltd(CSOC) รัฐวิสากิจการส่งออกเรือของรัฐบาลจีน ที่ได้รับความเสียหายจากการยกเลิกสัญญาและการค้างชำระเงินในสองโครงการส่งออกเรือหลักของตนจึงได้ขึ้นบัญชีดำ(Blacklist) ไทยที่จะไม่ทำธุรกรรมใดๆกับกองทัพเรือไทยอีกต่อไป
กองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กบฮ.(Helicopter Carrier Squadron):
คณะกรรมาธิการกลาโหมและคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบสั่งการให้คณะเสนาธิการร่วมดำเนินการยุบรวม กบฮ. เข้ากับ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ. และมีกำหนดปลดประจำการเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศรในปี 203X รวมอายุการประจำการเรือมากกว่า ๓๕ปี
กองทัพเรือมีการเสนอคณะเสนาธิการร่วมในโครงการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LHD ทดแทน ร.ล.จักรีนฤเบศร แต่ไม่ได้ความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการกลาโหมและรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้กองทัพเรือมีเรือระวางขับน้ำเกิน 10,000tons เพราะมองว่ามีความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง
กองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑(1st Frigate Squadron) และกองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒(2nd Frigate Squadron): กฟก.๑ และ กฟก.๒ ถูกยุบรวมเป็น กองเรือฟริเกต กฟก.เพียงกองเรือเดียวในปี 202Z ตามที่มีเรือในสังกัดปลดประจำการเป็นจำนวนมากคือ
- เรือฟริเกตเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ๑ลำคือ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ปลดประจำการในปี 2023
- เรือฟริเกตเรือหลวงตาปี ๒ลำคือ ร.ล.ตาปี และ ร.ล.คีรีรัฐ ปลดประจำการในปี 2021 และปี 2024 ตามลำดับ
- เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ๒ลำคือ ร.ล.รัตนโกสินทร์ และ ร.ล.สุโขทัย ปลดประจำการในปี 2026 และปี 2027 ตามลำดับ
- เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ๒ลำ คือ ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง ปลดประจำการในปี 2031
- เรือฟริเกตชุดเรือหลวงกระบุรี ๒ลำ คือ ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี ปลดประจำการในปี 2032
กองทัพเรือมีแผนที่จะจัดหาเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน ๑ลำเช่นเรือฟริเกตชั้น Project 11356 รัสเซีย รวมถึงแนวคิดการแลกซากเรือฟริเกตที่ปลดประจำการแล้ว ๒ลำกับเรือฟริเกต Type 053H3 Jiangwei II จีน ๒ลำ แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการกลาโหมและรัฐบาล
ทำให้โครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ๑ลำที่เข้าประจำการในปี 2019 เป็นโครงการจัดหาเรือรบหลักครั้งสุดท้ายของกองทัพเรือไทยตั้งแต่ทศวรรษปี 2020s ถึงทศวรรษปี 2030s รวมเป็นเวลามากกว่า ๑๕ปีที่กองทัพเรือไม่สามารถจะจัดหาเรือรบจากต่างประเทศได้อีกเลย
กองเรือตรวจอ่าว:
- เรือเร็วโจมตีปืนชุดเรือหลวงชลบุรี ๓ลำคือ ร.ล.ชลบุรี, ร.ล.สงขลา และร.ล.ภูเก็ต ปลดประจำการในปี 2023
- เรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบ ๖ลำคือ ร.ล.สัตหีบ, ร.ล.คลองใหญ่, ร.ล.ตากใบ, ร.ล.กันตัง, ร.ล.เทพา และ ร.ล.ท้ายเหมือง ปลดประจำการในปี 2023, ปี 2024, ปี 2025 และปี 2026 ตามลำดับ
กตอ.มีแผนจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่ ๒ลำโดยจะทำการสร้างในไทยแต่ไม่ได้รับงบประมาณเพียงพอที่จะดำเนินการได้ จึงเลือกดำเนินการปรับปรุงระบบอำนวยการรบของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ๒ลำให้รองรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ EXOCET MM40 BLOCK 3
กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(Amphibious and Combat Support Service Squadron):
- เรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงทองแก้ว ๔ลำคือ ร.ล.ทองแก้ว, ร.ล.ทองหลาง, ร.ล.วังนอก และ ร.ล.วังใน ปลดประจำการในปี 2023
- เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงสีชัง ๒ลำคือ ร.ล.สีชัง และ ร.ล.สุรินทร์ ปลดประจำการในปี 2027 และปี 2028 ตามลำดับ
- เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงสิมิลัน ๑ลำคือ ร.ล.สิมิลัน ปลดประจำการในปี 203Y
- เรือน้ำมันชุดเรือหลวงจุฬา ๑ลำคือ ร.ล.จุฬา ปลดประจำการในปี 2030
- เรือน้ำมันชุดเรือหลวงเปริด ๒ลำคือ ร.ล.เปริด และ ร.ล.เสม็ด ปลดประจำการในปี 202X
- เรือน้ำชุดเรือหลวงจิก ๑ลำคือ ร.ล.จิก ปลดประจำการในปี 202Y
- เรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงริ้น คือ ร.ล.ริ้น และ ร.ล.รัง ปลดประจำการปี 2031
การจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E จีน ๑ลำที่ลงนามสัญญาในปี 2019 ถูกยกเลิกโครงการในปี 202X พร้อมกับการยกเลิกโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีน ๓ลำ เนื่องจากคณะกรรมาธิการกลาโหมและคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่ากองทัพเรือลงนามสัญญาจัดหาอย่างไม่ถูกต้อง
ทำให้ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลจีนเจ้าของอู่เรือ Hudong–Zhonghua Shipbuilding ผู้สร้างเรือ Type 071 LPD ที่ถูกยกเลิกสัญญาทั้งที่เรือสร้างเสร็จปล่อยลงน้ำในปี 2022 แล้ว ขึ้นบัญชีดำไทยไม่ทำธุรกรรมกับกองทัพเรือไทยอีกต่อไป
คณะกรรมาธิการกลาโหมและรัฐบาลมีความเห็นสั่งการให้กองทัพเรือดำเนินการปลดประจำการ ร.ล.สิมิลัน เพราะเห็นว่าเป็นเรือระวางขับน้ำ 22,000tons มีความสิ้นเปลืองสูง รวมถึงการขาดแคลนงบประมาณและกำลังพลที่เพียงพอทำให้ กยพ.มีเรือที่ถูกปลดประจำโดยไม่มีเรือใหม่ทดแทนจำนวนมาก
กองเรือทุ่นระเบิด:
- เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดชุดเรือหลวงถลาง ๑ลำคือ ร.ล.ถลาง ปลดประจำการปี 2030
- เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่งชุดเรือหลวงบางระจัน ๒ลำคือ ร.ล.บางระจัน และ ร.ล.หนองสาหร่าย ปลดประจำการปี 203Y
กทบ.ได้เสนอคณะเสนาธิการร่วมในการจัดหาเรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดอเนกประสงค์ทดแทน ร.ล.ถลาง แต่คณะกรรมาธิการกลาโหมได้มีความเห็นให้ชะลอโครงการออกไปจากปัญหาเศรษกิจและโรคระบาด แต่จนถึงช่วงที่ เรือ ลทฝ.ชุด ร.ล.บางระจัน ปลดประจำการก็ยังไม่มีการจัดหาเรือใหม่
หมวดเรืออุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์: เรือสำรวจขนาดใหญ่เรือหลวงจันทร, เรือสำรวจขนาดใหญ่เรือหลวงศุกร์ และเรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือเรือหลวงสุริยะ ปลดประจำการในปี 202Y
กองการบินทหารเรือ:
- เครื่องบินลาดตระเวนแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ กบร. จำนวน ๗เครื่องปลดประจำการในปี 2029 รวมอายุการใช้งานเฉลี่ยราว ๓๘ปี
- เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 MK200 ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ กบร. จำนวน ๓เครื่องปลดประจำการในปี 2024 รวมอายุการใช้งานเฉลี่ยราว ๔๐ปี
- เครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้า แบบที่ ๑ บ.ตช.๑ Cessna T-337 ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ กบร. จำนวน ๙เครื่องปลดประจำการในปี 2027 รวมอายุการใช้งานเฉลี่ยราว ๔๕-๔๗ปี
- เครื่องบินลำเลียงแบบที่๑ บ.ลล.๑ Fokker F-27 MK400 ฝูงบิน๒๐๑ กองบิน๒ กบร. จำนวน ๒เครื่องปลดประจำการในปี 2027 รวมอายุการใช้งานเฉลี่ยราว ๔๐ปี
- เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๒ ฮ.ลล.๒ Bell 212 ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กบร. จำนวน ๗เครื่องปลดประจำการในปี 2028 รวมอายุการใช้งานเฉลี่ยราว ๕๐ปี
กบร.มีแผนจะจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล จำนวน ๓เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๒ บ.ตผ.๒ Lockheed P-3T Orion ๓เครื่องที่ปลดประจำการไปในปี 2014 แต่ถูกยกเลิกจากหลายปัจจัยเช่น
งบประมาณที่ตั้งไว้ไม่มากพอดึงดูดบริษัทผู้ผลิตต่างประเทศ และการให้ความสำคัญงบประมาณการจัดตั้งกองเรือดำน้ำที่ล้มเหลว จึงทำให้ในปี 2030s กบร.ไม่มีเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลปีกตรึงในประจำการแม้แต่เครื่องเดียว
กบร.มีแผนจะจัดหาอากาศยานไร้คนขับ Boeing Insitu RQ-21 Blackjack และ CASC CH-4 แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการกลาโหมและคณะรัฐมนตรี
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ: แม้ว่าจะขยายกำลังเป็นสองกรมรบพิเศษ แต่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไม่เพียงพอและขาดแคลนอาวุธและอุปกรณ์ใหม่ๆเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน:
หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส ถูกยุบตามนโยบายถอนทหารออกจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และจัดตั้งเขตปกครองพิเศษเพื่อสันติภาพและความสงบสุขถาวรของรัฐบาล
หน่วยขึ้นตรงใน กรม ร.๓ พล.นย.และหน่วยขึ้นตรงที่มีที่ตั้งในนราธิวาสมีการย้ายที่ตั้งและปรับโครงสร้างหน่วยขึ้นตรงใหม่ตามที่ตั้งหน่วยใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน แต่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นกองพันโครงไม่มีทหารบรรจุเนื่องจากขาดแคลนกำลังพลและงบประมาณ
หน่วยขึ้นตรง กรม ป.พล.นย คือ กองพันทหารปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งที่๑ พัน.ปบค.๑ และกองพันทหารปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งที่๒ พัน.ปบค.๒ ถูกยุบรวมหน่วย หลังการปลดปืนใหญ่ลากจูงขนาด 105mm เช่น ปบค.M10A1 ที่ใช้มานานในปี 202Z
กองพันทหารปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง พัน.ปกค. ปลดประจำการปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง GC-45/GHN-45 และ GHN-45A1 APU ขนาด 155mm แบบลากจูงลงทั้งหมดในปี 203X
กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน พัน.ปตอ. ปลดประจำการปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/60 และ Bofors 40 mm L/70 ลงทั้งหมดในปี 203X
กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย. ยกเลิกแผนจัดหายานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ๖คัน
กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน พัน.ถ.พล.นย. ปลดประจำการรถเกราะล้อยาง V-150 จำนวน ๒๔คันในปี 202Y
พัน.รนบ.นย. และ พัน.ถ.นย. ถูกยุบรวมจัดตั้งใหม่เป็น กองพันยานเกราะ พัน.ยก.นย.
กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน พัน.ลว.พล.นย. ถูกยุบเนื่องจากถูกคณะเสนาธิการร่วมกองทัพไทยและคณะกรรมาธิการกลาโหมมองว่ามีหน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.
กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กรม ทพ.นย.ทร. ถูกยุบตามนโยบายยกเลิกการมีอาสาสมัครทหารพรานทั้งในกองทัพบกและกองทัพเรือจากปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง(Air and Coastal Defense Command):
ถูกยุบหน่วยในปี 203X หลังจากก่อตั้งมาได้กว่า ๔๐ปี เนื่องจากถูกคณะเสนาธิการร่วมกองทัพไทยและคณะกรรมาธิการกลาโหมมองว่ามีหน้าที่ซ้ำซ้อนกับนาวิกโยธิน ที่ตั้งหน่วยและอาวุธยุทโธปกรณ์ถูกโอนไปขึ้นกับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
แต่มีการปลดประจำการยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่เช่น ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีราบ Type 59-I ขนาด 130mm, ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง GHN-45A 155mm และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Type 74 ขนาด 37mm
โดยที่ไม่มีการจัดอาวุธทดแทนตามที่วางแผนไว้ทั้ง อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและกำลังพลที่เพียงพอ