วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

Saab สวีเดนเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D แก่โครเอเชีย

Sweden offers Gripen to Croatia



Sweden and Saab hope to satisfy Croatia’s MiG-21 replacement requirement with the Gripen C/D. (MBDA)

สวีเดนได้สร้างข้อเสนออย่างเป็นทางการแก่โครเอเชียเพื่อการขายเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D จำนวน 12เครื่องเพื่อตอบสนองความต้องการที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-21 กองทัพอากาศโครเอเชีย(CAF: Croatian Air Force, HRZ: Hrvatsko ratno zrakoplovstvo) ยุคยูโกสลาเวีย
ข้อเสนอแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลได้รับการประกาศโดยบริษัท Saab สวีเดนเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2020 เป็นส่วนหนึ่งของหลากหลายชุดข้อเสนอที่รวมถึง "ชุดความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ที่สร้างขึ้นเฉพาะเหมาะสม" ที่ออกแบบเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของโครเอเชีย

"สวีเดนและ Saab กำลังเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมและยะยะยาวสำหรับการรักษาความมั่นคงมาตุภูมิของโครเอเชียที่จะปกป้องประชาชนและพรมแดนของโครเอเชียอีกหลายทศวรรษที่จะมาถึง 
ถ้าโครเอเชียเลือก Gripen บริษัท Saab พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้และวิทยาการและจัดตั้งศูนย์บริการการบินและการสนับสนุนระดับภูมิภาคในโครเอเชีย" Jonas Hjelm รองประธานอาวุโสและหัวหน้าภาคธุรกิจการบินของ Saab สวีเดนกล่าว

"นี่จะพัฒนาความร่วมมือระยะยาวกับภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเช่นเดียวกับภาคการศึกษาภายในโครเอเชีย และสร้างงานวิทยาการสูงราว 500ตำแหน่ง" คำกล่าวของ Hjelm ถูกอ้างอิงในการแถลงของ Saab
ตามข้อมูลจาก Janes World Air Forces กองทัพอากาศและกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศโครเอเชีย(AFAD: Air Force and Air Defence) ได้ถูกกดดันความจำเป็นที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-21 (NATO กำหนดรหัส 'Fishbed') จำนวน 12เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ MiG-21 เหล่านี้ของกองทัพอากาศโครเอเชียได้สืบทอดมาจากการล่มสลายของอดีตยูโกสลาเวียในช่วงต้นปี 1990s จาก 12เครื่องมีเพียงระหว่าง 3เครื่องถึง 6เครื่องเท่านั้นที่เข้าใจว่ายังคงปฏิบัติการได้
แม้ว่าฝูงบิน MiG-21 โครเอเชียได้รับการซ่อมยกเครื่องในโรมาเนียช่วงปี 2003-2004 และได้รับการปรับปรุงส่วนน้อยในยูเครนระหว่างปี 2013-2015

ก่อนหน้านี้โครเอเชียได้เลือกที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 30 'Barak'(ภาษาฮีบรูแปลว่า 'ฟ้าแลบ') Fighting Falcon ส่วนเกินที่เคยประจำในกองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force)
แต่แผนนี้ได้ถูกยกเลิกในเดือนมกราคม 2019 ตามที่รัฐบาลสหรัฐปฏิเสธที่จะอนุมัติการร้องขออนุญาตส่งมอบแก่บุคคลที่สาม(TPT: Third Party Transfer) จากข้อกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์พิเศษเฉพาะที่ได้รับการติดตั้งกับเครื่องของอิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-16.html)

Gripen C/D เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่และได้รับการพิสูจน์แล้วที่ใช้วิทยาการล่าสุดและดำเนินปฏิบัติการได้หลายรูปแบบทั้งภารกิจอากาศสู่อากาศ, อากาศสู่พื้น และการลาดตระเวนทางอากาศ
เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดน, กองทัพอากาศฮังการี, กองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็ก, กองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)

เครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ของกองทัพอากาศเช็กและกองทัพอากาศฮังการีได้เข้าร่วมการปฏิบัติการและการฝึกของ NATO เป็นประจำ พิสูจน์ถึงความเข้ากันได้กับเครื่องบินขับไล่กลุ่ม NATO อย่างเต็มรูปแบบ โดยโครเอเชียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ในปี 2009
Gripen C/D มีความล้ำหน้ากว่าฝ่ายตรงข้ามของตนผ่านวิวัฒนาการที่ดำเนินมาต่อเนื่องของระบบอุปกรณ์และอาวุธของเครื่องที่สามารถใช้งานได้ และ Gripen จะยังคงประจำการได้เป็นเวลาอีกหลายทศวรรษ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/saab-aesa-radar-gripen-cd.html)

นอกเหนือจากเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D สวีเดน และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D อิสราเอล ก่อนหน้านี้รัฐบาลโครเอเชียได้ออกเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposal) สำหรับสัญญาการจัดหาเครื่องบินรบจำนวน 12เครื่องจากหลายประเทศเช่น 
เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 30 มือสองจากกรีซ, ครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ใหม่สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา Korea Aerospace Industries(KAI) FA-50 สาธารณรัฐเกาหลี แต่ภายหลังเกาหลีใต้ได้ถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากไม่ตรงความต้องการครับ