Japan to begin receiving Joint Strike Missiles from April 2021
An image provided by the Japanese MoD showing a model of the JSM. (Japan MoD)
ญี่ปุ่นคาดว่าจะเริ่มต้นการรับมอบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูง
Joint Strike Missiles(JSM) สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF:
Japan Air Self-Defense Force)
ที่กำลังเพิ่มขยายฝูงเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint
Strike Fighter(JSF) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ
Janes เมื่อ 9 กันยายน 2020
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น JSM
ซึ่งได้ถูกออกแบบให้ติดตั้งในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวของเครื่องบินขับไล่ F-35A
มีพิสัยการยิงราว 500km
และจึงสามารถทำการยิงจากระยะห่างจากการเผชิญหน้าฝ่ายตรงข้าม(stand-off) ได้(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35.html)
ในเดือนพฤศจิยายน 2019 บริษัท Kongsberg Defence & Aerospace
นอร์เวย์ผู้ผลิตได้ประกาศว่าตนได้รับการลงนามวงเงิน 450 million Norwegian
krone($49.2 million) ในสัญญาตามมาเพื่อส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถี JSM
เพิ่มเติมแก่ญี่ปุ่น
ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นตามมาหลังจาก Kongsberg นอร์เวย์ประกาศในเดือนมีนาคม 2019
ว่าตนได้ลงนามสัญญาเพื่อส่งมอบ JSM ที่ไม่เปิดเผยจำนวน
"ขั้นต้น"สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/jsm-f-35.html)
ในปีงบประมาณ 2018 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 2.2 billion Yen($20.8
million)
แก่กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นสำหรับการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลยิงทางอากาศ
โดยงบประมาณในปี 2018 ได้รวมวงเงิน 2.16 billion Yen
สำหรับการจัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถี JSM ยังมีวงเงิน 7.9 billion Yen ในปีงบประมาณ
2019 และวงเงิน 13.6 billion Yen ในปีงบประมาณ 2020 สำหรับการจัดหา JSM
มีการกล่าวว่าญี่ปุ่ยังมีแผนที่จะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Lockheed
Martin AGM-158B Joint Air-to-Surface Standoff Missile-Extended Range(JASSM-ER)
สหรัฐฯ
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Lockheed Martin AGM-158C Long
Range Anti-Ship Missile(LRASM) สหรัฐฯ
เพื่อตรงความต้องการสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลยิงทางอากาศสำหรับเครื่องขับไล่พหุภารกิจของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ในเดือนมกราคม 2020 ว่า
ญี่ปุ่นกำลังมองที่จะจัดหาระบบอาวุธเหล่านี้จากสหรัฐฯ
"โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"
สำหรับนำมาประกอบติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-15J Eagle
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
เพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถของระบบให้มีประสิทธิภาพในการตอบโต้การโจมตีจากระยะไกล
ในเดือนกรกฎาคม 2020 บริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น และบริษัท
Boeing สหรัฐฯได้ลงนามข้อตกลงที่จะปรับปรุงความทันสมัยของฝูงเครื่องบินขับไล่
F-15J ญี่ปุ่นครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/mitsubishi-boeing-f-15j.html)