South Korea launches first Ulsan-class Batch III frigate
South Korea's first Ulsan-class Batch III frigate, seen here at its launch
ceremony on 10 April 2023. (Ministry of National Defense, South Korea)
บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI)
สาธารณรัฐเกาหลีผู้สร้างเรือได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือฟริเกตชั้น Ulsan
Batch III ลำแรกของประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/hyundai-ulsan-ffx-batch-iii.html)
เรือฟริเกต FFG-828 ROKS Chungnam ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2023 ณ
อู่เรือของบริษัท HHI ใน Ulsan กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีประกาศในวันเดียวกัน
"(เรือ Chungnam)
จะประจำการในการป้องกันน่านน้ำของเราโดยมอบขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศและการต่อต้านเรือดำน้ำที่เพิ่มขยายขึ้นของเรือ"
กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีผ่านบัญชีสื่อสังคม online ทางการของตน
เรือฟริเกต ROKS Chungnam เป็นเรือฟริเกตชั้น Ulsan Batch III ลำแรกจาก
6ลำที่ได้รับการจัดหาสำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea
Navy)
เรือฟริเกตชั้น Ulsan Batch III
จะก้าวเข้ามาทำหน้าที่แทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองเรือคอร์เวตชั้น Pohang
ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งกำลังอยู่ในการดำเนินการปลดประจำการ(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/pohang.html)
เรือฟริเกตชั้น Ulsan Batch III มีระวางขับน้ำประมาณ 3,500tonnes
และมีความยาวเรือรวมที่ 129m และมีความกว้างเรือที่ 15m
ติดตั้งระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า Hybrid Electric และ Gas Turbine
และสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 30knots
ในแถลงการที่เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2020 บริษัท HHI เปิดเผยว่า เรือฟริเกตชั้น
Ulsan Batch III ถูกออกแบบที่จะนำระบบขับเคลื่อนไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์
ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำเพื่อที่จะลดการแพร่สัญญาณทางเสียงของเรือให้น้อยที่สุด
และพึ่งพาระบบขับเคลื่อน gas turbine
เมื่อเรือจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติการที่ความเร็วสูง
เรือฟริเกต ROKS Chungnam สามารถรองรับกำลังพลประจำเรือได้ 120นาย
และเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางบนดาดฟ้าบินเฮลิคอปเตอร์
ซึ่งจะเสริมขีดความสามารถการล่าเรือดำน้ำของเรือ
ชุดภาพของเรือฟริเกต ROKS Chungnam
ได้แสดงถึงการติดตั้งเสากระโดงเรือที่ติดตั้งระบบตรวจจับแบบบูรณาการ รวมถึง
multifunction phased array radar แบบจานสัญญาณติดตรึงสี่ด้าน
multifunction phased array radar "ที่มีขีดความสามารถในการตรวจจับ, ติดตาม
และโจมตีเป้าหมายได้รอบทิศทาง 360องศา" และระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management
System) ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลี
เรือฟริเกตชั้น Ulsan Batch III ยังได้รับการติดตั้งระบบแท่นยิงแนวดิ่งแบบ K-VLS
และระบบป้องกันระยะประชิด CIWS-II ที่พัฒนาโดยบริษัท LIG Nex1
สาธารณรัฐเกาหลีครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/ciws.html)