วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567

Kawasaki ญี่ปุ่นยืนยันได้รับสัญญาสำหรับงานออกแบบเรือดำน้ำยุคอนาคต

Kawasaki confirms contract for next-generation submarine design work




A Japan Maritime Self-Defense Force Soryu-class submarine. The country has embarked on a programme to design the next-generation submarine, which will be able to deploy stand-off missiles with greater ranges. (Mitsubishi Heavy Industries/Kawasaki Heavy Industries)

บริษัท Kawasaki Heavy Industries(KHI) ญี่ปุ่นได้รับสัญญาการวิจัยและพัฒนา(R&D: Research and Development) จากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเพื่อจะออกแบบเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้นใหม่ ตัวแทนจากบริษัทยืนยันต่อ Janes เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2023
เรือดำน้ำชั้นใหม่จะเป็นเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้ายุคอนาคตที่จะประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) หลังจากเรือดำน้ำชั้น Taigei(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/taigei-ss-516-raigei.html)

บริษัท KHI เผยแพร่ภาพแนวคิดแรกของเรือดำน้ำยุคอนาคตนี้ในการนำเสนอขององค์กรเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2023 การนำเสนอมีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลปรับปรุงล่าสุดของแบบพิมพ์เขียววิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัท 'Group Vision 2030'
ตามข้อมูลในภาพ เรือดำน้ำยุคอนาคตจะติดตั้งแบบแผนหางเสือรูปทรงตัว X ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับรูปแบบที่ถูกนำมาใช้กับเรือดำน้ำชั้น Soryu และเรือดำน้ำชั้น Taigei ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น

เรือดำน้ำยุคอนาคตจะยังมีขีดความสามารถในการวางกำลังด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีนอกระยะยิงฝ่ายตรงข้าม(stand-off missile) ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/jassm-er.html)
เรือดำน้ำยุคอนาคตจะติดตั้งเครื่องยนต์ของ Kawasaki และจะมีการนำอุปกรณ์ฟอกอากาศ(air-purification devices) มาใช้รวมเข้าด้วยกันเพื่อแยก carbon dioxide จากการปล่อยไอเสียที่เป็นมลพิษ

นอกจากนี้เรือดำน้ำยุคอนาคตจะมีคุณลักษณะเพิ่มพูนความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่เมื่อเปรียบเทียบกับเรือดำน้ำชั้นก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/taigei-ss-514-hakugei.html) ตามข้อมูลจากวัสดุสื่อการนำเสนอ
อย่างไรก็ตามไม่เหมือนเรือดำน้ำรุ่นก่อนหน้า แนวคิดคุณลักษณะหอเรือ(sail) นั้นถูกตั้งอยู่บนส่วนกลางลำตัวเรือของเรือดำน้ำและค่อนข้างจะใกล้กับส่วนท้ายเรือเล็กน้อยมากกว่าส่วนหัวเรือของเรือ

นอกจากนี้ แนวคิดของแพนครีบ diving planes ได้ถูกตั้งอยู่ที่ส่วนหัวของเรือดำน้ำ ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบที่ถูกนำมาใช้ในเรือดำน้ำชั้นก่อนหน้าของญี่ปุ่น
ในการตอบสนองต่อการร้องขอคำถามจาก Janes บริษัท KHI ยังกล่าวว่าตนกำลังมีส่วนร่วมกับกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในการศึกษาการนำแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launch System) มาติดตั้งกับเรือดำน้ำ

ตามภาพการนำเสนอแนวคิดเรือดำน้ำยุคอนาคต แท่นยิงแนวดิ่ง VLS น่าจะถูกติดตั้งที่ส่วนหน้าของเรือหน้าหอเรือ sail สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นพิสัยไกล stand-off
แนวคิดเรือดำน้ำยุคอนาคตติดตั้งแท่นยิง VLS พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลนี้สอดคล้องกับการพัฒนาขีดความสามารถการโจมตีระยะไกลต่อเป้าหมายฝ่ายตรงข้ามอย่างเช่นเรือและฐานยิงอาวุธปล่อยนำวิถีครับ