วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567

สรุปความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๖








The Royal Thai Air Force (RTAF) held opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2024 (ATOC 2024) at Chandy Range, Lopburi, Thailand on 30 Novemmber 2023. (Royal Thai Air Force)

Air Chief Marshal Phanpakdee Pattanakul, Commander-in-Chief of the Royal Thai Air Force visited USA by formal invitation of General David W. Allvin, Chief of Staff of the US Air Force during 9-15 December 2023.

พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และคุณมนทิรา พัฒนกุล ภริยา  เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา อย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของ พลอากาศเอก David W. Allvin ตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศสหรัฐอเมริกา (เทียบเท่าผู้บัญชาการทหารอากาศ) 
ระหว่าง 9-15 ธันวาคม 2566 ในฐานะแขกของ กองทัพอากาศสหรัฐฯ 
โดยในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 ผู้บัญชาการทหารอากาศและภริยา ได้เดินทางไป Joint Base Anacostia-Bolling AF เพื่อเข้าร่วมพิธีตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมคำนับ พลอากาศเอก David W.Allvin 
และเดินทางไป กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Pentagon) เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก, การสนับสนุนโครงการ Modernization กองทัพอากาศไทย และการแลกเปลี่ยนกำลังพลในสายวิทยาการต่าง ๆ 
จากนั้นได้เดินทางไปทำพิธีวางพวงมาลา ณ สุสานทหารนิรนาม (Arlington National Cemetery)
และในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยาเดินทางไป Maxwell AFB โดยมี พลอากาศโท หญิง Andrea D. Tullos ผู้บัญชาการและอธิการบดี Air University ฐานทัพอากาศ Maxwell ให้การต้อนรับ 
ในโอกาสนี้ผู้บัญชาการทหารอากาศได้พบปะนายทหารนักเรียนของกองทัพอากาศไทยซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาหลักสูตรทางทหาร ณ Air University และได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญของ Air University เกี่ยวกับการพัฒนากำลังพลของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

พิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ณ ที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ได้เห็นถึงการเปิดตัวอากาศยานแบบใหม่ของกองทัพอากาศไทยและขีดความสามารถอื่นๆเป็นครั้งแรก
รวมถึงการแสดงการบินต่อสาธารณชนครั้งแรกของเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH Texan II โรงเรียนการบินกำแพงแสน และเครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์ บร.ต.๓ Dominator XP ฝูงบิน๓๐๒ กองบิน๓ และการปล่อยพลุไฟ flare ของเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๖ง Bell 412EP ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒
ในงานนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีกลาโหมไทย ยังได้ให้ความเห็นต่อสื่อเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ที่มีอายุการใช้งานมานาน แต่โครงการจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)

ตามที่ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยเดินทางเยือนสหรัฐฯอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของ พลอากาศเอก David W. Allvin หัวหน้าคณะเสนาธิการทหารอากาศสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ ๙-๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมาซึ่งได้มีการเยี่ยมชมหลายๆสถานที่
นอกจากที่กองทัพอากาศสหรัฐฯเสนอการปรับปรุงความทันสมัย(modernization) กองทัพอากาศไทยเพื่อรองรับอนาคตแล้ว ยังสนับสนุนการนำเสนอเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B โดยหวังที่จะให้บริษัท Lockheed Martin มอบข้อเสนอที่ดีที่สุดเหนือคู่แข่ง
และยังได้เน้นว่า พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผอ.ทอ.ไทยเป็นอดีตนักบิน F-16 จึงเข้าใจดีในสมรรถนะเครื่องรุ่นเก่าที่ควรจะทดแทนด้วยเครื่องรุ่นใหม่อย่างไร้รอยต่อในการเปลี่ยนผ่าน(อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.พันธ์ภักดี ยังเคยเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ด้วย)

เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 น่าจะต้องแข่งขันกับเครื่องบิบขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดน ซึ่งบริษัท Saab มั่นใจว่าตนจะเสนอขีดความสามารถและข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับกองทัพอากาศไทย โดยเฉพาะความเข้ากันได้กับระบบที่กองทัพไทยมี และการถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทย
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ KF-21 สาธารณรัฐเกาหลี ที่แม้ว่าจะยังเป็นเครื่องต้นแบบแต่บริษัท KAI มองเห็นถึงโอกาสของตนที่จะมอบให้กองทัพอากาศไทยด้วยเครื่องที่มีสมรรถนะสูงสุดที่เข้าถึงได้มากกว่าพร้อมข้อตกลงต่างๆแก่ไทย ทำให้ตัวเลือกเครื่องบินขับไล่ที่เป็นไปได้ขณะนี้มีสามแบบ
อาจจะยังมีเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Eagle II สหรัฐฯอีกแบบด้วย รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ยุโรป และเครื่องขับไล่ Dassault Rafale ที่ยังไม่แสดงตัวว่าสนใจจะเข้ามาร่วมการแข่งขันของไทย ส่วนเครื่องบินขับไล่จากจีนและรัสเซียน่าจะมีโอกาสน้อยจากหลายๆปัจจัย

แต่ทว่าจากการให้สัมภาษณ์สื่อของรัฐมนตรีกลาโหมไทยตามมาต่อเนื่องคือแนวคิดที่จะปฏิรูปขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธยุทโธปกรณ์ของทั้งสีเหล่าทัพ(กองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย, กองทัพอากาศไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ที่วางแผนจะเริ่มนำมาใช้ในต้นปีหน้า พ.ศ.๒๕๖๗ 
โดยการจัดซื้อของกองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติทุกโครงการจะต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม(Integrity Pact) แล้ว ยังจะต้องผ่านการพิจารณาคณะกรรมธิการกลาโหมด้านการจัดซื้อจัดจ้างที่ควบคุมโดยพลเรือนเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประเทศได้ประโยชน์สูงสุดด้วย
นี่ควรจะเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้แนวทางการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของทั้งสี่เหล่าทัพมีความสอดคล้องร่วมกัน ไม่ใช่ต่างหน่วยงานต่างคนต่างจัดหาตามความต้องการของตนเอง แต่การให้ฝ่ายการเมืองมีอิทธิพลในการคัดเลือกก็อาจทำให้กองทัพจะได้อาวุธที่ไม่ตรงความต้องการของตน หรือแย่กว่าคือไม่ให้ซื้ออะไรเลยเพราะหาเหตุผลที่จะสนับสนุนไม่ได้เช่นกันครับ








Royal Thai Air Force (RTAF)'s Kamphaeng Saen flying school at Nakhon Pathom Province, Thailand was held KPS Air Force Base Open House & Air Show 2023 on 14 December 2023 include demonstration flight of new Beechcraft T-6TH (T-6C) Texan II, Diamond DA42 Twin Star and CT-4E Airtrainer trianer aircrafts and school student visitors trial new T-6C flight simulator and virtual reality (VR) flight simulator. (Royal Thai Air Force)

กิจกรรม Open House 2023 โรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้าชมกิจการของโรงเรียนการบิน โดยมีการสาธิตต่างๆจากกองพันทหารอากาศโยธิน การยังชีพในป่าและโดดร่ม สุนัขทหาร และเครื่องบินเล็กบังคับ
ในการแสดงภาคอากาศยังเป็นครั้งแรกที่เครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH Texan II ได้แสดงการบินหมู่บิน ๔เครื่องเป็นครั้งแรก ร่วมกับเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๐ Diamond DA42 และเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๖ก CT-4E เยาวชนที่ได้รับเลือกยังได้ทดลองเครื่องฝึกจำลองการบิน T-6C รุ่นใหม่ล่าสุดด้วย
ตามที่เครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH ได้มีพิธีบรรจุเข้าประจำการครบ ๑๒เครื่องในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ เครื่องบินฝึกบ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 Mustang ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ชุดสุดท้ายก็มีรายงานว่าถูกปลดประจำการเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ สิ้นสุดการใช้งานที่ ๓๒ปี

กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ที่จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ ในส่วนกองทัพอากาศไทยได้กลับมาจัดงานหลัก ณ ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง หลังจากที่ปี พ.ศ.๒๕๖๖ ได้มีการย้ายไปจัดงานหลัก ณ โรงเรียนการบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 
การตัดสินใจย้ายกิจกรรมงานวันเด็กของกองทัพอากาศไทยมายังโรงเรียนการบินกำแพงแสนในปีที่แล้ว มีพื้นฐานจากข้อร้องเรียนจากผู้ใช้งานท่าอากาศยานดอนเมืองที่ต้องปิดห้วงอากาศเพื่อจัดการแสดงการบิน ในครั้งนั้นกองทัพอากาศไทยจึงย้ายมาจัดในพื้นที่ของตนที่ไม่ได้ใช้งานร่วมกับพลเรือน
อย่างไรก็ตามกิจกรรมงานวันเด็กที่กำแพงแสนก็มีผลตอบรับที่ไม่ดีเนื่องจากอยู่ไกลจากกรุงเทพฯการเดินทางไม่สะดวก แน่นอนว่าการกลับมาจัดที่ดอนเมืองก็จะกลับมามีข้อร้องเรียนเรื่องปัญหาการจราจรทางอากาศเช่นเดิมแบบ "คุณชอบเครื่องบินรบก็เรื่องของคุณ แต่คนอื่นเขาไม่ได้ชอบด้วย!" ครับ
















Mr.Sutin Klungsang the Minister of Defence of Thailand was attended to Opening ceremony for wild fire control flight exercise for fiscal year 2024 at Wing 41 Chiang Mai during 18-22 December 2023. (Royal Thai Air Force)

TRAINING IS COMPLETED. WE ARE READY?
UNITED FOR NATION & PEOPLE

พิธีเปิดการฝึกบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ ประจำปี 2567
18 ธันวาคม 2566 นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ ประจำปี 2567 โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมพิธีและร่วมการฝึกฯ ณ กองบิน 41
การจัดการฝึกบินควบคุมไฟป่ากองทัพอากาศ ประจำปี 2567 จัดขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความพร้อมของกองทัพอากาศในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 67 ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล 
รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในการเผยแพร่การปฏิบัติภารกิจการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของ กองทัพอากาศผ่านสื่อมวลชนให้ประชาชนได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมช่วยแก้ไขปัญหาฯ 
รวมถึงเพื่อเป็นการทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติของหน่วยบิน และหน่วยเกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้มีความเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยมีห้วงการฝึกฯ ตั้งแต่วันที่ 18-22 ธันวาคม 2566 โดยวางแผนการฝึกจำนวน 47 เที่ยวบิน โดรนขนาดเล็กจำนวน 2 เที่ยวบิน โดยวางกำลังที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
ในการเกิดไฟป่า โดยการฝึกบินในพื้นที่ดังกล่าว จะสร้างความคุ้นเคยและพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการในภูมิประเทศจริง ทั้งนี้มีอากาศยานต่างๆ ที่เข้าร่วมการฝึกฯ ได้แก่ EC-725 จำนวน 2 เครื่อง, UAV Aerostar BP จำนวน 1 ระบบ, DA-42MNG จำนวน 1 เครื่อง, 
C-130H จำนวน 1 เครื่อง, AU-23 จำนวน 1 เครื่อง, BT-67 จำนวน 1 เครื่อง, KA-32 จำนวน 1 เครื่อง, AS350B2 จำนวน 2 เครื่อง, Kodiak 100 จำนวน 1 เครื่อง, AS350B2 จำนวน 1 เครื่อง และ Drone DJI Matric 300 RTK จำนวน 1 เครื่อง












Mr.Sutin Klungsang the Minister of Defence of Thailand was attended for inspection Royal Thai Navy (RTN) individual and tactical training of Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Marine Corps (RTMC) and Air and Coastal Defence Command (ACDC) at Sattahip Bay, Chonburi Province, Gulf of Thailand on 15 December 2023. (Sompong Nondhasa)








FFG-461 HTMS Phutthayotfa Chulalok was Decommissioned at last fiscal year 2017 in 30 September 2017 follow her sister FFG-462 HTMS Phutthaloetla Naphalai which was Decommissioned in 1 April 2015. (Sompong Nondhasa)
Due to high maintenance costs and few visitors since Covid-19 pandemic, Both HTMS Phutthayotfa Chulalok and HTMS Phutthaloetla Naphalai are currently moored in front of Chuk Samet Pier, Satthip Naval Base since 2020, Royal Thai Navy has planned to sold for scrap them.


100th Years of the Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy on 19 December 2023

Mr.Sutin Minister of Defence of Thailand said to media after inspected Readiness exercise of Royal Thai Navy, RTN confirmed its need for Chinese S26T Submarine not to be instead by Chinese Frigate that Ministry of Defence of Thailand offer.
Attorney General to be decide legal issues on 30 December 2023 before Government to Government agreement on S26T submarine programme expired on 31 December 2023.
G-to-G contract states that China have to pay Thailand for a fine if it fails to deliver the first S26T submarine by 2023, however, no progress on the decision from the Attorney General at this time.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตรวจเยี่ยม การฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธีของกองเรือยุทธการ ร่วมกับการฝึกของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ...
วันนี้ 15 ธันวาคม 2566 นาย สุทิน  คลังแสง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ตรวจเยี่ยมการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีของกองเรือยุทธการ ร่วมกับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในพื้นที่อ่าวสัตหีบจังหวัดชลบุรี 
โดยมี พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ  ตลอดจนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ โดยเมื่อเวลา 09.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางถึงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ขณะทำการฝึกในทะเล 
โอกาสนี้  เรือหลวงนเรศวร ยิงสลุต จำนวน 19 นัด  จากนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงชมการฝึกการปฏิบัติการทางเรือในห้องศูนย์ยุทธการของเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เช่นการค้นหาและต่อตีเรือดำน้ำ การสาธิตการรับส่งสิ่งของในทะเล 
การตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของกำลังพลประจำเรือ ก่อนออกเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยังเรือหลวงอ่างทอง เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์ฝึก พร้อมทั้งชมการปฏิบัติงานในการเตรียมการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก ณ ห้องควบคุมปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก  และเยี่ยมชมยุทโธปกรณ์ รวมถึงการปล่อยยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก ออกจากดาดฟ้ายานยนต์ของเรือหลวงอ่างทอง ในเวลา 12.30 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางถึง สนามฝึก กองทัพเรือหมายเลข 15 หาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
เพื่อรับชมการสาธิตการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก 
ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบนโยบาย และแนวทาง การปฏิบัติงานของกองทัพเรือ ในปีงบประมาณ 2567 โดยในส่วนของงานยุทธการและการฝึกจะมีการปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยกำลังรบใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยลดหน่วยเฉพาะกิจที่ซ้ำซ้อนหรือหมดความจำเป็น 
รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของกองทัพเรือทางฝั่งทะเลอันดามัน การประสานงานร่วมกันระหว่างกองทัพเรือ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรกองทัพเรือให้เป็นรูปธรรม 
และในส่วนของการฝึกกองทัพเรือ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมรบและการบูรณาการ ของหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ นั้น จะดำเนินการอย่างจริงจัง 
สำหรับการฝึกในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความพร้อมยุทโธปกรณ์ รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ แก่กำลังพลของกองเรือยุทธการ  หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน  และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
โดยมีการประกอบกำลังเป็นหมวดเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกและสนับสนุน ประกอบด้วย หมวดเรือเฉพาะกิจโจมตีและคุ้มกัน (เรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงหัวหิน เรือหลวงกันตัง) หมู่เรือลำเลียง(เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงสุรินทร์ เรือหลวงมันใน เรือหลวงทองแก้ว) 
หน่วยกำลังส่วนล่วงหน้า (ชุดปฏิบัติการพิเศษ  เรือ ปฏิบัติการความเร็วสูง เรือยาง) กำลังรบยกพลขึ้นบก (ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ AAV 8 คัน ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก แบบ VN16 3 คัน ยานเกราะล้อยางแบบ BTR-3E 2 คัน) และอากาศยานจากกองการบินทหารเรืออีกจำนวนหนึ่ง 
…Photo Sompong Nondhasa

ทร.จะเลือกแนวทางไหนดีที่สุด? เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (หมายเลขประจำเรือ 461) ซึ่งประจำการในปี พ.ศ. 2537 ได้ทำการปลดประจำการในปี 2560 และ ร.ล.พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (หมายเลขประจำเรือ 462) ประจำการในปี พ.ศ. 2539 ได้ปลดประจำการในปี 2558 หลังจากนั้นได้ถูกนำมาจอดหน้าอ่าวสัตหีบ ในปี 2563 โดยมีแนวคิดการนำเรือทั้งสองลำมาจอดทอดสมอ เพื่อเปิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงท่องเที่ยว และทำให้สมบัติของชาติเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้ประชาชนได้ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม และศึกษาประวัติศาสตร์เรือรบของไทยไปพร้อมกัน 
แม้จะปลดประจำการแล้ว รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ก่อนเข้าสู่ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความสนใจขึ้นชมเรือไม่มาก เนื่องจากต้องนั่งเรือออกไปเกือบครึ่งชั่วโมงและเสียค่าใช้จ่ายสูง ไม่สะดวกในการเดินทาง จนถึงปัจจุบันเรือมีการเกิดสนิมจำนวนมาก 
กองทัพเรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูงในแต่ละปี เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณในด้านนี้ ดังนั้นจึงมีแนวความคิดไว้ 3 แนวทางคือ 
1. นำไปจมลงในทะเลเพื่อทำประกาลังใต้ทะเล  2. ทำการแยกชิ้นส่วนเรือหลวงทั้งสองลำออกแล้วจำหน่าย 3. นำมาปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อเช่นทำพิพิธภัณฑ์เรือบนบก ซึ่งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงเช่นกัน 
...เราลองมาออกความเห็นกันว่าแนวทางใหนน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ... Photo Sompong Nondhasa

การฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธี กองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ในพื้นที่อ่าวสัตหีบ อ่าวไทย และสนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข๑๕ หาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ โดยการฝึกตลอดทั้งปีจนถึงเดือนสุดท้ายของปี 2023 นี้ได้เห็นถึงความพร้อมของอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลของกองทัพเรือไทยอย่างยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8 นาวิกโยธินไทยจากยูเครนที่ยังคงใช้งานได้แม้ว่าประเทศผู้ผลิตจะอยู่ในภาวะสงครามก็ตาม
นอกจากความคืบเกี่ยวกับโครงการเรือดำน้ำ S26T จีนว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่ โดยที่รัฐมนตรีกลาโหมไทย นาย สุทิน คลังแสง ได้กล่าวกับสื่อว่ากองทัพเรือไทยยังคงยืนยันความจำเป็นที่ต้องมีเรือดำน้ำไว้ใช้งานของตน ซึ่งอัยการสูงสุดเป็นผู้ตัดสินประเด็นทางกฎหมายก่อนสัญญาแบบรัฐต่อรัฐหมดอายุในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๖

ด้านเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทั้ง ๒ลำที่ปลดประจำการไปแล้วคือ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html) และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย(https://aagth1.blogspot.com/2015/04/blog-post_17.html)
ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เคยประจำการในกองเรือสหรัฐฯ(US Navy) ที่จัดหาช่วงในปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๔๐(1994-1997) โดย ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) และ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นั้น
ล่าสุดกองทัพเรือมาแนวคิดจะขายเพื่อแยกชิ้นส่วน แต่จะไม่นำมาจมเพื่อเป็นปะการังเทียม หลังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายหลายล้านบาทการซ่อมบำรุงในการนำมาเป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำที่จอดทอดสมอสองลำนอกท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ มาหลายปี ซึ่งมีผู้เข้าชมน้อยไม่คุ้มค่า

นอกจากการกู้เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัย ที่จมมาตั้งแต่วันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ที่รองบประมาณราว ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาทหลังมีรัฐบาลไทยชุดใหม่และขั้่นตอนประมูลผู้รับงานมานาน ที่คาดว่าจะกู้เรือขึ้นมาได้ในราวเดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๖๗ แล้ว
ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ กองทัพเรือไทยยังจะน่าจะได้เริ่มต้นโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สอง ที่ควรจะเป็นเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองวงเงินราว ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($470,653,500) ซึ่งเป็นคนละโครงการกับโครงการเรือฟริเกตใหม่ ๔ลำที่จะมีการแข่งขันคัดเลือก
รวมถึงโครงการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งของกองเรือยามฝั่งอย่างน้อย ๖ลำก็มีการปรับปรุงติดตั้งกล้อง EO/IR ใหม่ของ IAI อิสราเอลแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/iai-sea-mini-pop.html)

ตามด้วยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ ที่จะมีโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ ซึ่งน่าจะทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑ บ.ลล.๑ Fokker F-27 MK400 รวมถึงเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 MK200 ที่มีรายงานว่าอาจจะปลดประจำการไแล้ว
และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางที่จะเสริมเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๕ ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk ที่มี ๒เครื่อง และอาจจะทดแทนฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ ๒ ฮ.ลล.๒ Bell 212 ๖เครื่องที่มีอายุการใช้งานมานาน แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในขณะที่เขียนนี้
ในปี พ.ศ.๒๕๖๘ กองการบินทหารเรือจะยังได้รับมอบอากาศยานไร้คนขับ Elbit Systems Hermes 900 จำนวน ๗เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/male-uav-hermes-900.html) ที่ลงนามจัดหาเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ ด้วย จะเห็นได้ว่ามีหลายโครงการที่ต้องใช้เงินครับ




Indian Navy P29 INS Kadmatt visited Thailand during 19-22 December 2023.
Royal Thai Navy also host The 8th Indian Ocean Naval Symposium (IONS) 2023 -2025 in Thailand 19-22 December 2023. (Royal Thai Navy/Indian Navy)




Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the Krabi-class offshore patrol vessel participated 36th INDO-THAI CORPAT and MAIDEN IN-RTN BILATERAL Exercise with Indian Navy P63 INS Kulish, the third Kora-class corvette and LCU (Landing Craft Utility) L-56 at Phuket Thailand during 24-27 December 2023. (Royal Thai Navy)

“เข้มข้นกว่ากาแฟ ร้อนแรงกว่าแสงแดด ก็ลาดตระเวนร่วม INDO-THAI CORPAT”
หลังจากที่เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ได้ออกเรือจาก Port  Blair  ในช่วงเช้าของวันที่ 22 ธันวาคม ก็ได้ทำการลาดตระเวนและฝึกร่วมกันกับเรือรบ INS KULISH และ เรือรบ LCU 56 อาทิเช่น การฝึกแปรกระบวนเรือ การแล่นขนาน การยิงปืนต่อเป้าพื้นที่ 
โดยเรือทั้ง 3 ลำ ได้ทำการฝึกอย่างเข้มข้น ภายใต้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติการฝึกร่วมกันเป็นอย่างดีเยี่ยม

“WELCOME TO PHUKET”
วันที่ 24 ธันวาคม 2566 ทัพเรือภาคที่ 3 นำโดย นาวาเอก สถาพร วาจรัตน์ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 3 พร้อมด้วย นายทหารฝ่ายอำนวยการ และกำลังพลในสังกัด ทัพเรือภาคที่ 3 ร่วมให้การต้อนรับเรือของกองทัพเรืออินเดีย ณ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
โดยในระหว่างวันที่ 24 - 27 ธันวาคม 2566 กองทัพเรืออินเดีย ส่งเรือรบ จำนวน 2 ลำ ได้แก่ เรือ INS KULISH และ เรือ INS LCU 56 เดินทางเข้าเยี่ยมเมืองท่า จังหวัดภูเก็ต 
โดยมี Commodore Prashant Handu ผบ.ฐานทัพเรืออันดามันและนิโคบาร์ เป็น ผู้บังคับหน่วยเรือฯ (Naval Component Commander, Flotilla Commodore, Naval Officer In Charge Andaman and Nicobar (NOIC (A&N)) 
เพื่อเป็นการสานสัมพันธไมตรีระหว่างกองทัพเรืออินเดียและกองทัพเรือไทยที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ 
ในการปกป้องอธิปไตยและการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างทั้งสองประเทศ 

การลาดตระเวนร่วม 36th INDO-THAI CORPAT และการฝึกผสมทวิภาคี MAIDEN IN-RTN BILATERAL ครั้งแรกระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรืออินเดียเป็นความร่วมมือกับมิตรประเทศในด้านมิติความมั่นคงทางทะเลล่าสุดของไทยที่เกิดขึ้นในเดือนสุดท้ายของปี พ.ศ.๒๕๖๖ 
ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ กองทัพเรือไทยยังได้เป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมความร่วมมือกองทัพเรือประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย The 8th Indian Ocean Naval Symposium(IONS) 2023 -2025 ร่วมกับชาติสมาชิก ๒๕ประเทศ ที่อินเดียได้ส่งเรือของตนมาเยือนไทยด้วย
จะเห็นได้ว่าตลอดทั้งปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมากองทัพเรือไทยมีความร่วมมือกับมิตรประเทศทั่วโลก ทั้งการฝึกผสมนานาชาติทั้งในประเทศและนอกประเทศ การเดินทางเยือนของเรือจากกองทัพเรือมิตรประเทศ และการเดินทางไปเยือนต่างประเทศของเรือกองทัพเรือ ที่เป็นการแสดงจุดยืนต่อนานาชาติครับ



Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC), Office of Permanent Secretary for Defence, Ministry of Defence of Thailand hand over M758 ATMG (Autonomous Truck-Mounted Gun) 155mm/52calibre Self-Propelled Howitzer System to 20th Artillery Battalion, 21st Artillery Regiment, 1st Carvalry Division as well as M361 Autonomous Truck Mounted Mortar (ATMM) 120mm Self-Propelled Mortar System to 1st Carvalry Division, 3rd Army Area, Royal Thai Army (RTA) on 21 December 2023. (Royal Thai Army)



M425 Self-Propelled Howitzer 105mm of 20th Artillery Battalion, 21st Artillery Regiment, 1st Carvalry Division at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand, on 27 November 2023. (Sompong Nondhasa)








M618A2 105mm towed howitzer of 30th Artillery Battalion, 21st Artillery Regiment, 1st Carvalry Division during opening ceremony of Artillery, Engineer and Signal units competition 
of 3rd Army Area, Royal Thai Army at Fort Phokun Pamuang in Mueang District, Phetchabun Province, Northern Thailand on 6 December 2023. 
Two of ATMM 120mm Self-Propelled Mortar System was displayed alongside with Stingray light tanks of 26th Carvalry Battalion, 3rd Carvalry Regiment; two FV101 Scorpion light tanks of 28th Carvalry Battalion; and two M113 armored personnel carrier (APC) of 18th Carvalry Battalion and 13th Carvalry Battalion, 3rd Carvalry Regiment, 1st Carvalry Division at Fort Phokun Pamuang in same day. (Royal Thai Army)

กระทรวงกลาโหม ส่งมอบยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพบก โดยมี พล.ต.นพรัตน์ นาคจันทึก รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก รักษาราชการแทนเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก และคณะผู้แทนจากกองทัพบก ร่วมกันรับมอบ 
ณ สนามด้านหน้ากองบัญชาการ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ค่ายจิรวิชิตสงคราม ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี
โดยยุทโธปกรณ์ที่ส่งมอบประกอบด้วย
- เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มิลลิเมตรแบบอัตตาจรล้อยาง ที่ได้รับการผลิตและประกอบรวมแล้ว พร้อมระบบกำหนดพิกัดและชี้ทิศทางอัตโนมัติ และระบบควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติประจำหมู่เครื่องยิงลูกระเบิด จำนวน 12 หน่วยยิง 
ที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกทางทหาร 4x4 ขนาด 1 1/4 ตัน จำนวน 12 คัน 
- ระบบควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติระดับหมวดและกองร้อย จำนวน 3 ระบบ ที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกขนาดเบา 4x4 แบบ M51B ขนาด 1/4 ตัน จำนวน 3 คัน  
- ระบบควบคุมบังคับบัญชาและค้นหาเป้าหมาย สำหรับผู้ตรวจการณ์หน้า จำนวน 12 ระบบ ชนิด Manpack (สะพายหลัง) 
- ปืนใหญ่ขนาด 155 มิลลิเมตรแบบอัตตาจรล้อยาง ที่ได้รับการผลิตและประกอบรวมแล้ว พร้อมระบบ กำหนดพิกัดและทิศทางอัตโนมัติ และระบบควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติประจำหมู่ปืน จำนวน 6 กระบอก ที่ติดตั้งบนรถบรรทุก  แบบ 6x6 ขนาด 10 ตัน จำนวน 6 คัน 
- ระบบควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติระดับกองพัน จำนวน 1 ระบบ ที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกทางทหาร 4x4 ขนาด 2 1/2 ตัน จำนวน 1 คัน  
- ระบบควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติระดับกองร้อย จำนวน 1 ระบบ ที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกทางทหาร 4x4 ขนาด 2 1/2 ตัน จำนวน 1 คัน  
- ระบบควบคุมบังคับบัญชาและค้นหาเป้าหมาย สำหรับนายทหารการยิงสนับสนุน จำนวน 2 ระบบ ที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกขนาดเบา 4x4 แบบ M51B  ขนาด 1/4 ตัน จำนวน 2 คัน 
- ระบบควบคุมบังคับบัญชาและค้นหาเป้าหมาย สำหรับผู้ตรวจการณ์หน้า จำนวน 3 ระบบ ที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกขนาดเบา4x4 แบบ M51B ขนาด 1/4 ตันจำนวน 3 คัน  และ ระบบเรดาร์ตรวจสภาพอากาศที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกขนาดเบา 4x4 แบบ M51B ขนาด 1/4 ตัน จำนวน 1 คัน 
ซึ่ง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ได้ร่วมกับบริษัท เอลบิท ซิสเต็มส์ แลนด์ จำกัด รัฐอิสราเอล ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 120 มิลลิเมตร แบบอัตตาจรล้อยาง (ATMM) 
และโครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ ขนาด 155 มิลลิเมตร แบบอัตตาจรล้อยาง (ATMG) ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการที่ผ่านมา 
โดยในส่วนของโครงการปรับปรุงพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 120 มิลลิเมตร แบบอัตตาจรล้อยาง (ATMM) ได้ดำเนินการและส่งมอบให้กับกองทัพบก ไว้ใช้ในราชการแล้ว จำนวน 21 กระบอก 
และในส่วนของโครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ ขนาด 155 มิลลิเมตร แบบอัตตาจรล้อยาง (ATMG) ได้ดำเนินการและส่งมอบให้กับกองทัพบก ไว้ใช้ในราชการแล้ว จำนวน 18 กระบอก 
ซึ่งทำให้ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ มีขีดความสามารถในการผลิต ประกอบรวม ใช้งาน และซ่อมบำรุง รวมทั้งปรับปรุงพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 
ซึ่งเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายในประเทศ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ในการลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ เพิ่มการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งประหยัดงบประมาณของรัฐบาล ในการจัดหายุทโธปกรณ์ที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ
ซึ่งก่อนกระทำพิธี ส่งมอบในครั้งนี้ หน่วยยังได้ดำเนินการสาธิตอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในแต่ละโครงการ เพื่อส่งมอบให้กับหน่วย ไว้ใช้ในราชการต่อไป ด้วย

ปืนใหญ่เบาอัตตาจร 105 มม. แบบเดียวของทบ.ไทย สร้างโดย ศอว.ทบ....ที่เห็นอยู่นี้เป็นผลงานของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ กองทัพบก (ศอว.ทบ.)โดยการนำปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบ M425 ขนาด 105 มม. ที่ผลิตโดย ศอว.ทบ. มาติดตั้งบนรถบรรทุกล้อยางขนาด 5 ตัน 
เพื่อทำเป็นปืนใหญ่อัตตาจรเคลื่อนที่น้ำหนักเบา นับเป็นปืนใหญ่อัตตาจร 105 มม. แบบเดียวของทบ.ไทย โดยเข้าประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 20 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 จำนวน 6 กระบอก และกองพันทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ 2 กระบอก 
โดยในปัจจุบันได้พัฒนาต่อยอดให้ทันสมัยด้วยการติดตั้งระบบกำหนดพิกัดและเครื่องชี้ทิศอัตโนมัติ และระบบหน่วยยิงอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าที่ตั้งยิงและปฏิบัติภารกิจเข้าที่ตั้งยิงได้อย่างรวดเร็ว 
สามารถเคลื่อนที่บนถนนได้ 90 กม./ชม. ปืนใหญ่ยิงได้ไกล 14.5 กม. อัตราการยิง 10 นัด/นาที ใช้พลประจำปืน 6 นาย 
...และนี่คือผลงานการสร้างและพัฒนาอาวุธเพื่อใช้ในประเทศ ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง และมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อจากต่างประเทศ ...Photo Sompong Nondhasa

“รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันความสามารถทหารปืนใหญ่ ภายในกองทัพภาคที่ 3”
เมื่อ 6 ธันวาคม 2566 กองพลทหารม้าที่ 1 โดย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 20 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 ขอแสดงความยินดีกับกำลังพลของหน่วย ที่เข้าร่วมการแข่งขันการปฏิบัติทางยุทธวิธี (ความสามารถทหารปืนใหญ่) ภายในกองทัพภาคที่ 3 ในห้วงวันที่ 6-7 ธันวาคม 2566 ซึ่งได้รับ “รางวัลชนะเลิศ” การแข่งขันการปฏิบัติทางยุทธวิธี (ความสามารถทหารปืนใหญ่) ภายในในกองทัพภาคที่ 3 โดยสามารถทำเวลาสะสมรวม 75.06 วินาที เป็นอันดับที่ 1 การแข่งขันการปฏิบัติทางยุทธวิธี (ความสามารถทหารปืนใหญ่) ภายในกองทัพภาคที่ 3 ณ ค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ภาพที่เผยแพร่โดยสื่อสังคม online ของกองทัพภาคที่๓ ทภ.๓ กองทัพบกไทย ได้แสดงให้เห็นว่า กองพลทหารม้าที่๑ ได้รับมอบเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm แบบอัตตาจรล้อยาง M361 ATMM เข้าประจำการในกรมทหารม้าบรรทุกยานเกราะแล้ว ซึ่งจะทำให้มี ATMM ประจำการรวม ๒๑ระบบ
นอกจากการนำเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง M361 ATMM 120mm เข้าประจำการในกองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดหนัก ร้อย ค.หนัก ของกรมทหารราบยานเกราะของกองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ที่ใช้ยานเกราะล้อยาง Stryker 8x8 แล้ว
กองพันทหารปืนใหญ่ที่๒๐ กรมทหารปืนใหญ่ที่๒๑ กองพลทหารม้าที่๑ ป.๒๑ พัน.๒๐ พล.ม๑ ยังได้รับมอบปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบขนาด 155mm แบบอัตตาจรล้อยาง M758 ATMG เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เพื่อทดแทนปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งอัตตาจรล้อยาง M425 105mm ที่มี ๖ระบบด้วย

กองพันทหารปืนใหญ่ที่๓๐ กรมทหารปืนใหญ่ที่๒๑ กองพลทหารม้าที่๑ ป.๒๑ พัน.๓๐ พล.ม๑ เป็นหน่วยปืนใหญ่อีกหน่วยที่ยังคงใช้ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูงขนาด 105mm อย่าง ปบค.M618A2 ซึ่งล้าสมัย โดยมีกองพันทหารปืนใหญ่หลายหน่วยของกองทัพบกไทยที่ได้รับมอบระบบใหม่
เช่น กองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๑ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์ ที่ได้รับมอบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด 105mm แบบที่๑ LG1 Mk III จำนวน ๑๒กระบอกในปี พ.ศ.๒๕๖๖ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/lg1-mk3-105mm.html)
รวมถึงโครงการร่วมวิจัยและพัฒนาปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งขนาด 105mm แบบ CS/AH2 ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) และศูนย์การทหารปืนใหญ่ ศป. ซึ่งทั้ง CS/AH2, M425, M618, ATMG และ ATMM ต่างผลิตโดยโรงงานในไทยครับ