วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

อินโดนีเซียลงนามจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca ตุรกี 45นัด

Indonesia awards contract for 45 Atmaca anti-ship missile rounds



An Atmaca missile seen here being launched from the Turkish corvette TCG Kınalıada. (Roketsan)


Indonesia looks set to be the first export customer of the missile. (PT PAL Indonesia)

<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/BEJ0fJbWzSg" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>

<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/JWl5hn4Ui2w" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>

อินโดนีเซียได้ประกาศสัญญากับบริษัท PT Republik Defensindo อินโดนีเซียเพื่อจะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca จากตุรกีชุดแรก Janes ได้รับข้อมูลจากหลายแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดในเรื่องนี้
สัญญานี้ซึ่งครอบคลุมการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca จำนวน 45นัด และหน่วยแท่นยิงและอุปกรณ์ควบคุมผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/merah-putih.html)

เป็นการปูทางสำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ที่จะเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca ที่พัฒนาโดยตุรกี
Atmaca("เหยี่ยว", Hawk ในภาษาตุรกี) เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำที่พัฒนาภายในประเทศแบบแรกของตุรกีที่ถูกริเริ่มเป็นครั้งแรกเพื่อลดการพึ่งพาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84/AGM-84 Harpoon สหรัฐฯของกองทัพเรือตุรกี(Turkish Naval Forces)

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca เป็นการพัฒนาร่วมกันโดยบริษัท Roketsan ตุรกี และบริษัท Aselsan ตุรกี และบริษัท Kale Arge ตรุกีผู้ผลิตเครื่องยนต์ turbine
งานพัฒนาโครงการอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca ได้เริ่มต้นในปี 2009 และ PT Republik Defensindo อินโดนีเซียทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับระบบอาวุธในอินโดนีเซีย

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca แต่ละนัดมีน้ำหนัก 750kg และประกอบด้วยส่วนโครงสร้างอากาศยานอาวุธปล่อยนำวิถีความยาว 5.2m โดยมีปีกกว้าง 1.4m และหัวรบระเบิดแรงสูงหนัก 220kg
สามารถโจมตีเป้าหมายที่ระยะไกลเกิน 220km ได้ สามารถจะนำวิถีด้วยระบบนำวิถี INS(Inertial Navigation System) และดาวเทียม GPS(Global Positioning System) ขณะบินโคจร และพุ่งเข้าหาเป้าหมายโดยหัวค้นหา radar

ตุรกีดำเนินการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca ด้วยหัวรบจริงเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และถูกยิงจากเรือคอร์เวตชั้น Ada เรือคอร์เวต F-514 TCG Kınalıada
ในเดือนมิถุนายน 2021 อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca ได้เสร็จสิ้นการทดสอบการรับรองหลังจากประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การเริ่มต้นสายผลิตจำนวนมาก

กองทัพเรือตุรกีประกาศในเดือนสิงหาคม 2023 ตนมีความตั้งใจที่จะนำอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca ติดตั้งกับเรือรบ 11ลำของตนเช่น เรือคอร์เวตชั้น Ada และเรือฟริเกตชั้น Istanbul(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/istanbul.html
สำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซียเป็นที่เข้าใจว่าอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Atmaca จะได้รับการติดตั้งกับเรือรบของตนหลายแบบ รวมถึงเรือฟริเกตชั้น Merah Putih ที่ขณะนี้กำลังสร้างโดย PT PAL Indonesia รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรืออินโดนีเซียครับ