วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2567

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๗-๘




The Brazilian Air Force (FAB: Força Aérea Brasileira) congratulates the Royal Thai Air Force (RTAF) on the selection of the Saab Gripen E/F aircraft.
This is a significant milestone for international cooperation and the strengthening of air capabilities. 
The Gripen E/F is increasingly consolidating itself as an important vector for fighter aviation in Brazil. 
The increase in the number of operators represents a very positive factor, with possible repercussions for the aeronautical industry. (Saab/Embraer/Brazilian Air Force)

Royal Thai Air Force announces Gripen E selection as new fighter aircraft
Royal Thai Air Force officially announced the selection of the JAS39 Gripen E/F fighter aircraft from the Swedish company SAAB to prepare for the import to replace F-16A/B fighter aircraft of Squadron 102, Wing 1, which has been in service for more than 36 years. 
This new aircraft must be more modern than the aircraft currently in use by the Royal Thai Air Force, have common characteristics and continuity, and must be in accordance with the Offset Policy.
After the conclusion of this selection, the Royal Thai Air Force will present it to the government for further action according to the project in fiscal years 2025 to 2029.

The Royal Thai Air Force (RTAF) has announced that it has chosen the acquisition of the Saab JAS 39 Gripen E/F to replace its aging Lockheed Martin F-16A/B Fighting Falon of 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat RTAF base in Nakhon Ratchasima province, Thailand.
RTAF seeks an initial acquisition of four Gripen E/F for 19 billion Baht ($539 million) on Fiscal Year 2025. However, as new Thai cabinet not formed yet, procurement process likely be postpone.

กองทัพอากาศไทยประกาศเลือกGripen E เป็นเครื่องบินรบรุ่นใหม่
กองทัพอากาศไทยแถลงอย่างเป็นทางการ เลือกเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบJAS39 Gripen E/F ของบริษัทSAAB จากประเทศสวีเดน เพื่อเตรียมนำเข้าประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่19 /ก หรือF-16A/B ของฝูงบิน102 กองบิน1 ที่ประจำการมากว่า36ปี 
โดยอากาศยานแบบใหม่นี้จะต้องมีความทันสมัย มากกว่าอากาศยานที่กองทัพอากาศมีใช้ในปัจจุบัน มีความในด้านคุณสมบัติร่วม และความต่อเนื่อง(Commonality & Continuity) รวมไปถึงต้องเป็นการดำเนินการตามนโยบายชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์(Offset Policy ) 
ภายหลังการสรุปผลการคัดเลือกนี้แล้ว กองทัพอากาศจะนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อดำเนินการในลำดับต่อไป ตามโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ถึง2572

SAAB แถมฟรีอาวุธขั้นเทพ Meteor จริง 100% ...หลังจากที่กองทัพอากาศไทยประกาศว่าได้เลือก Gripen E/F เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบใหม่ไปแล้ว เมื่อ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีรายละเอียดอื่นๆตามมามากนัก โดยเฉพาะในส่วนของ Offset Policy ที่ว่ามีมูลค่ามากมาย แต่ในสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือการแถมอาวุธนำวิถี Meteor BVRAAM ซึ่ง Battlefield Defense ได้นำเสนอเมื่อ 17 ส.ค.ว่าเป็นไปได้จริง 
แต่ก็มีคนสงสัยว่าเป็นความจริงมั๊ยเพราะยังไม่มีเรื่องนี้จากทอ. อีกทั้งก่อนหน้านี้ยังมีคนบอกว่าเป็นไปไม่ได้อีกด้วยที่ซื้อเครื่องบินแล้วแถมอาวุธนำวิถี Meteor …ที่มาของเรื่องนี้ก็คือในข้อเสนอของ SAAB ที่ส่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับทอ.เมื่อ 20 ส.ค. มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า SAAB จะจัดหาอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศพิสัยไกล Meteor ให้กับทอ.ไทยแบบฟรีๆ 
ถือว่าเป็นหมัดเด็ดของ SAAB ที่ปล่อยออกมาในยกสุดท้ายทีเดียว ซึ่งจะต้องมีการระบุในสัญญาซื้อ-ขาย Gripen E/F ที่จะทำขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อคืนนี้ แอดมินได้รับการยืนยันมาแล้วว่า “เป็นเรื่องจริง 100%” โดย Meteor จะมาพร้อมกับ Software ส่วนจะให้มาจำนวนเท่าใดนั้นไม่อยากให้เปิดเผยเพราะมันเป็นเรื่องของความมั่นคง เอาเป็นว่า “ไม่มาก” ก็แล้วกัน... 
ครับก็เป็นที่น่ายินดีว่า Gripen E ของทอ.จะมีเขี้ยวเล็บอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ ระยะยิงไกลนอกสายตา (BVRAAM) ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเชี่ยนกันเลยทีเดียว การที่ SAAB ตัดสินใจในโค้งสุดท้ายที่ให้ Meteor นั้น จะช่วยให้ Gripen E มีขีดความสามารถในการรบทางอากาศที่มากขึ้น 
โดยเฉพาะภารกิจครองความเป็นเจ้าอากาศ ที่จะใช้ต่อสู้กับเครื่องบินรบข้าศึกเพื่อครองความได้เปรียบ ที่มีระยะยิงไกลสุดถึง 200 กม. ทีเดียว ...Gripen เป็นเครื่องบินรบแบบแรกที่ได้รับการบูรณาการระหว่างเซ็นเซอร์ของเครื่องบินรบ ระบบการบิน ที่สามารถควบคุม Meteor ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการผสมผสานอย่างครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด ทำให้กลายเป็นแพลตฟอร์ม Meteor ที่ดีที่สุด...
อาวุธดีก็ต้องมีเครื่องบินที่ดีด้วย...Meteor มีขีดความสามารถสูง ปฏิบัติการยิงได้ทั้งกลางวันและกลางคืนทุกสภาวะอากาศ แม้แต่ภายใต้สภาพแวดล้อมด้วยสงครามอิเล็กทรอนิคส์อย่างเข้มข้นในรูปแบบต่างๆ ติดตั้งระบบค้นหาด้วยเรดาร์แบบแอคทีฟ จะตรวจจับและติดตามเป้าหมาย โดยให้การนำทางที่ปลายทางเพื่อการสกัดกั้นที่เหมาะสมที่สุดสามารถโจมตีเป้าหมายได้หลากหลาย 
ตั้งแต่เครื่องบินรบไปจนถึงยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับ และขีปนาวุธร่อนในพิสัยที่ไม่มีใครเทียบได้ ที่ต่างจากอาวุธนำวิถีทั่วไป Meteor ขับเคลื่อนด้วยระบบ Ramjet ใช้เชื้อเพลิงแข็ง เมื่อปล่อยอาวุธ เครื่องยนต์จะปรับการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับวิธีการเคลื่อนที่ของเป้าหมาย ด้วยสมรรถนะด้านความเร็วที่สูงถึง 4 มัค แม้เมื่อยิงจากระยะไกลมาก Meteor ยังคงมีพลังงานสูง 
ซึ่งหมายความว่ามันจะมีความน่าจะเป็นเฉพาะในการสกัดกั้นสำหรับภารกิจใดๆ และต่อเป้าหมายใดๆได้ ...Meteor ได้สร้างเขต No Escape Zone (NEZ) ที่ใหญ่กว่าถึง 3-5 เท่า เมื่อเทียบกับอาวุธนำวิถี BVR แบบอื่นๆ ดังนั้นเป้าหมายจะไม่สามารถรอดจากการสังหารของ Meteor ไปได้อย่างแน่นอน 
....โครงการ Meteor เป็นหนึ่งในความร่วมมือด้านกลาโหมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของยุโรป และได้เห็นสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน และสวีเดนร่วมมือกันเพื่อสร้างอาวุธที่เปลี่ยนแปลงเกมสำหรับการรบทางอากาศ และ SAAB ก็ยังเป็นหุ้นส่วนในโครงการ Meteor ร่วมกับผู้รับเหมาหลัก MBDA UK อีกด้วย 
จึงไม่แปลกใจเลยว่าจะสามารถจัดหาอาวุธ BVR ที่ทันสมัยที่สุดมาเป็นเขี้ยวเล็บสำคัญได้ โดยที่ทอ.ไม่ต้องร้องขอหรือขออนุมัติใดๆ การที่ SAAB เปิดทางให้ Meteor กับทอ.ในครั้งนี้ก็เหมือนกับว่าเป็นการปักธงอาวุธนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ ระยะไกลให้กับ Gripen E/F แล้ว ถ้าทอ.ต้องการเพิ่มเติมก็สามารถจัดหาได้อีกในอนาคต...ขอแสดงความยินดีด้วยครับ...

การที่กองทัพอากาศไทยได้ประกาศเลือกเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ข/ค บ.ข.๒๐ข/ค Saab Gripen E/F สำหรับความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034) จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง ในระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องวงเงินราว ๑๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($539 million) นั้น
เป็นที่ชัดเจนว่ากองทัพอากาศไทยได้ตัดสินใจบนพื้นฐาน "คุณสมบัติร่วมและความต่อเนื่อง(commonality and continuity) และนโยบายชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์(offset policy)" ที่ให้ประโยชน์แก่ประเทศไทยสูงสุด ที่เป็นการแข่งขันระหว่างบริษัท Saab สวีเดน และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯที่เสนอเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 Viper ที่ได้ยื่นข้อเสนอสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) 
และประกาศผู้ชนะตามมาในวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี จำนวน ๑๑เครื่องที่มีอยู่แล้ว เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F มีความเหมาะสมในฐานะเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ด้วยคุณสมบัติหลายๆด้านทั้งระบบตรวจจับขั้นก้าวหน้า, Datalink ที่เป็นอิสระ และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor

อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการที่อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เศรษฐา ทวีสิน ได้ถูกศาลตัดสินพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีความผิดในคดีทุจริต ทำให้คณะรัฐมนตรีไทยจึงต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยในทางนิตินัย และนายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบัน แพทองธาร ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นั่นทำให้จะต้องมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นมา แต่จนขณะที่เขียนบทความอยู่นี้การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ยังคงไม่แล้วเสร็จ 
รัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง ยังคงรักษาการตำแหน่งอยู่ซึ่งเดิมจะต้องมีกำหนดเดินทางเยือนสหรัฐฯในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๖๗ ก็ได้ถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่มารับตำแหน่ง จึงเป็นที่เข้าใจว่ากระบวนการในโครงการจัดซื้อจัดจ้างหลักใดๆของกระทรวงกลาโหมไทยจะถูกเลื่อนออกไปก่อนจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีไทยชุดใหม่ รวมถึงโครงการจัดหา บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F ใหม่ด้วย
การเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของกองทัพอากาศไทยยังถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติ ทั้งการยกประเด็นเครื่องบินขับไล่ MiG-29 กองทัพอากาศพม่าล้ำน่านฟ้าไทยที่จังหวัดตากในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/mig-29.html) ว่าสิ้นเปลืองภาษีประชาชนที่จะซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่เพราะเครื่องบินที่มีก็ไม่เคยเอามาใช้งานอะไรอยู่แล้วซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่เหลวไหลมาก

และยังมีการสร้างเรื่องเชื่อมโยงว่าบริษัท Saab ได้ใช้เงินติดสินบนแก่ผู้นำประเทศ นักการเมือง และนายทหารระดับสูงในกองทัพของบราซิล, แอฟริกาใต้, สาธารณรัฐเช็ก และฮังการี เพื่อให้เครื่องบินขับไล่ Gripen ของตนชนะโครงการจัดหาเครื่องบินรบใหม่ในประเทศเหล่านั้น และพยายามจะชี้ประเด็นว่าไทยไม่พยายามจะสร้างเครื่องบินขับไล่ของตนเองต้องจ้องแต่จะซื้อจากต่างประเทศเพราะหวังเงินทอนจากการทุจริตต่างๆ
ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่มีการชี้แจงมาตั้งแต่โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบินแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) แล้วว่า สวีเดนเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงว่าเป็นรัฐธรรมาภิบาลสูงการทุจริตทำได้ยากมากเพราะมีการตรวจสอบทั้งจากหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และสื่อที่เข้มแข็ง ตรงกันข้ามการจัดซื้อในประเทศเองต่างหากที่เอื้อต่อการทุจริตง่ายกว่าดูได้จากโครงการเสาไฟประติมากรรมหรือสนามกีฬาร้างใช้งานจริงไม่ได้
อีกทั้งการพูดลอยๆว่า "คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก" ก็เป็นการอ้างที่มักง่ายเกินไปถ้ามองความจริงว่าประเทศที่สามารถพัฒนาเครื่องบินรบที่มีระดับวิทยาการสูงได้นั้นต้องใช้เงินทุนมหาศาลและเวลานานมากในการเตรียมความพร้อมองค์ความรู้ บุคลากร และสถานที่ ตั้งแต่การเริ่มจากการมีส่วนร่วมผลิตชิ้นส่วนจนถึงการประกอบในประเทศ ไม่ใช่ทำเองหมดคนเดียวแล้วกลายเป็นความล้มเหลวเหมือนตัวอย่างในบางประเทศ และการที่มีช่องบน Youtube TikTok Facebook X ทำข่าวการจัดหาอาวุธแบบแบ่งฝ่ายเหมือน cheer กีฬาก็ยิ่งแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในฐานะสื่อครับ




The Royal Thai Air Force (RTAF) held final acceptance ceremony for latest two KAI T-50TH serial number 40113 and 40114 at Wing 4 Takhli in Nakhon Sawan Province, Thailand on 19 August 2024. (Royal Thai Air Force)
Thai Aviation Industries (TAI) and Korea Aerospace Industries (KAI) also sign memorandum of understanding (MoU) covers the establishment of a future MRO base in same day. 

บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ กับ บริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงให้กับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 2 (T-50TH)
บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) และ บริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการให้บริการบำรุงรักษา ตรวจซ่อม และซ่อมบำรุงอากาศยานระดับโรงงาน (Maintenance, Repair and Overhaul หรือ MRO) สำหรับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 2 (T-50TH) ของกองทัพอากาศ (Royal Thai Air Force: RTAF)
พลอากาศเอกพิบูลย์ วรวรรณปรีชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน กับ บริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) เพื่อพัฒนาความร่วมมือในการสนับสนุนการส่งกำลังและซ่อมบำรุงอากาศยานให้กับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 2 (T-50TH) 
โดยมี นาวาอากาศเอกวิถีชัย แสงโทโพธิ์, นาวาอากาศโทสุรศักดิ์ ภู่ทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฯ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2567 ณ สำนักงานใหญ่ ดอนเมือง 
ภายใต้บันทึกความเข้าใจ ระหว่างบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) กับ บริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) ฉบับนี้ จะทำให้ทั้ง 2 องค์กรเข้าสู่กระบวนการในการทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อสนับสนุนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 2 (T-50TH) ส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุงให้กับ TAI 
โดยแผนการขยายความร่วมมือดังกล่าว เพื่อให้สามารถสนับสนุนการปฎิบัติภารกิจของเครื่องบินแบบ T-50TH ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มอัตราความพร้อมปฏิบัติการ ครอบคลุมถึงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance and Repair Organization หรือ MRO) สำหรับให้บริการบำรุงรักษา ตรวจซ่อม และซ่อมบำรุงอากาศยานระดับโรงงาน 
ตลอดจนการปรับปรุงเครื่องบินแบบ T-50TH ให้มีความทันสมัย ในอนาคต นอกจากนี้ พันธมิตรทั้งสององค์กรจะร่วมศึกษาโอกาสในการพัฒนาและขยายความร่วมมือทางธุรกิจ สำหรับกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถระบุแผนความร่วมมือในระยะกลางถึงระยะยาว อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานในเอเชีย 
ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีขึ้นในฐานะที่เป็นการเตรียมการจะลงนามในสัญญาการส่งกำลังบำรุงเชิงประสิทธิภาพในการดำเนินการ (Performance-Based Logistics: PBL) สำหรับเครื่องบินขับไล่และฝึก T-50TH กับกองทัพอากาศ

กองบิน ๔ ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วยคุณมนทิรา  พัฒนกุล นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ และคณะ
นาวาอากาศเอก ชาคริต  ศักดิ์ชัยศรี ผู้บังคับการกองบิน ๔ พร้อมด้วยคุณเสาวคนธ์  ศักดิ์ชัยศรี ประธานชมรมแม่บ้านทหารอากาศกองบิน ๔ ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วยคุณมนทิรา  พัฒนกุล นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ และคณะ 
ในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยม เพื่อมอบนโยบายในการปฏิบัติราชการ และสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพล  ณ กองบิน ๔ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๗

การตรวจรับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) หมายเลข 40113 และ 40114 สองเครื่องล่าสุด ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการสิ้นสุดโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระยะที่๔ ที่ประกาศจัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ครบตามความต้องการที่จำนวน ๑๔เครื่อง
ในวันเดียวกันบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี และบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) เพื่อจะจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง MRO(Maintenance, Repair and Overhaul) สำหรับเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ของกองทัพอากาศไทยด้วย
ทั้งนี้ตามสมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 กองทัพอากาศไทยมีแผนที่จะจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มเติมจำนวน ๒เครื่องระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(2025-2028) ทำให้ฝูงบิน๔๐๑ จะมีจำนวนเครื่องรวมทั้งหมด ๑๖เครื่อง อีกทั้งยังคาดว่าจะเป็นตัวเลือกในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ และเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet A TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ หนึ่งฝูงบิน จำนวน ๑๒-๑๔เครื่องด้วยครับ
















Royal Thai Air Force (RTAF) and People's Liberation Army Air Force (PLAAF) concluded the exercise FALCON STRIKE 2024 at Wing 23 RTAF base Udon Thani, Thailand on 18-29 August 2024. (DEFENSE INFO/Sukasom Hiranphan, Aom Narathip)

การฝึกร่วมFalcon Strike ประจำปี  พ.ศ. 2567
กองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ได้เสร็จสิ้นการฝึกร่วมทางอากาศ Falcon Strike 2024เมื่อวันที่29สิงหาคม 67 หลังจากเริ่มการฝึกมาตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม  โดยกองทัพอากาศของทั้งสองประเทศได้นำกำลังพลและอากาศยานมาวางกำลังเพื่อทำการฝึกในพื้นที่กองบิน23 จังหวัดอุดรธานี  
การฝึกFalcon Strike  เป็นหนึ่งในรายการฝึกร่วมทางอากาศของกองทัพอากาศไทยและจีน ที่มีขึ้นประจำทุกปีเช่นเดียวกับการฝึกรวมกับมิตรประเทศ เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ,สิงคโปร์ หรือกองทัพอากาศจากประเทศต่างๆที่สลับเป็นเจ้าภาพในการฝึกเช่น ออสเตรเลีย ,มาเลเซีย และอินโดนีเซีย  
ที่นอกเหนือจากการเป็นการแสดงออกถึงการกระชับความสัมพันธ์ของมิตรประเทศในด้านการทหาร ยังเป็นการฝึกเพื่อให้นักบินไทยได้สร้างความคุ้นเคยในการบินทางยุทธวิธีกับอากาศยานรบต่างแบบ(DACT/Dissimilar Air Combat Training ) อันเป็นโอกาสที่หาได้ยากได้เป็นอย่างดี
การฝึกในปีนี้ กองทัพอากาศจีนได้นำเครื่องบินรบแบบJ-10C ,J-10SY ,JH-7A,J-11 B/BS,KJ-500,YLG-9 และเป็นปีแรกที่ได้นำเฮลิคอปเตอร์แบบMi-171SH มาทำการฝึกร่วมกับเฮลิคอปเตอร์แบบEC-725ในภารกิจSAR  กองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินรบแบบJAS-39C/D ,AlphaJet TH และSAAB 340AEW มาเข้าร่วมการฝึก

การฝึกผสม FALCON STRIKE
ตอนเช้าฝนตกยังดีที่ฟ้าเปิดเรยเก็บภาพมาให้ชมครับ
Photo by : Aom Narathip

กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสมทางอากาศ FALCON STRIKE 2024 ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งการฝึกนี้เป็นการฝึกครั้งที่เจ็ดแล้วนับตั้งแต่ครั้งแรกในการฝึก FALCON STRIKE 2015 และเว้นว่างไปในปี 2020 และปี 2021 เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด และกลับมาฝึกในปี 2022 ต่อเนื่องทุกปี
จีนได้ส่งอากาศยานหลายแบบมาวางกำลังร่วมฝึกที่กองบิน๒๓ อุดรธานี รวมถึงเครื่องบิoขับไล่ J-10C/AS ๖เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ J-11BHG/BSH ๒เครื่อง กองการบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLANAF: People’s Liberation Army Navy Air Force) ซึ่งก็เป็นอีกปีที่พบว่ามีเครื่องรบจากกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) ตั้งแต่การฝึก Falcon Strike 2023 ครั้งที่แล้ว, 
เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด JH-7AII ๒เครื่อง, เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ KJ-500 AEW ๑เครื่อง, เครื่องบินข่าวกรอง Electronic (ELINT: Electronic Intelligence) แบบ Y-9LG ๑เครื่อง ซึ่งนี้เป็นครั้งแรกพบว่าจีนได้นำเครื่องบินแบบนี้มาฝึกในต่างประเทศและมีการบันทึกภาพความละเอียดสูงไว้ได้, เครื่องบินลำเลียง Y-20A ในการสนับสนุนการขนส่งกำลังพลและอุปกรณ์ และเฮลิคอปเตอร์ Mi-171Sh

ขณะที่กองทัพอากาศไทยนำเครื่อบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี, เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน ๒๓, เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ และเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopter H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม เข้าร่วมการฝึก
การฝึก FALCON STRIKE 2024 ปีนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการฝึกภาคพื้นดินในส่วนชุดค้นหาและช่วยชีวิต PJ Commando กรมปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน ชุดต่อสู้อากาศยานระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน Saab RBS 70 อากาศโยธิน และชุดแพทย์เวชศาสตร์การบินของกองทัพอากาศไทย รวมฝึกกับชุดปฏิบัติการพิเศษ, ชุดต่อสู้อากาศยาน และระบบต่อสู้อากาศยานภาคพื้นดิน HY-6B ของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน
การฝึก FALCON STRIKE เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีประชาชนโจมตีว่าสร้างความเดือดร้อนจากมลภาวะทางเสียงของเครื่องยนต์ไอพ่นอากาศยานโดยรอบกองบิน๒๓ ในจังหวัดอุดรธานี เช่นเดียวกับการฝึก Cope Tiger ระหว่างกองทัพอากาศไทย, กองทัพอากาศสิงโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ และการฝึก Air ThaiSing 2024 และกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงโปร์ ณ กองบิน๑ โคราชในจังหวัดนครราชสีมาก่อนหน้า

ในการตอบสนองต่อความเห็นในสื่อสังคม onliine ที่มีการแสดงความเห็นที่อ้างว่าตนเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการฝึกที่อุดรธานี กองทัพอากาศไทยก็มีแผนมองที่จะหาสถานที่ฝึกการวางกำลังทางอากาศใหม่ อย่างการพัฒนา ฝูงบิน๒๓๗(237th Squadron) กองบิน๒๓ ฐานบินน้ำพอง ในจังหวัดขอนแก่นที่เคยใช้งานโดยนาวิกโยธินสหรัฐฯในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งได้มีการทดสอบการใช้งานในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมา
ซึ่งมองความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและที่ตั้งหน่วยออกห่างจากเขตชุมชนเพื่อช่วยลดปัญหากับประชาชน(ที่เข้าไปรุกล้ำพื้นที่ทหารเสียเอง?) แต่ก็เช่นเดียวกับการฝึกทางทหารกับมิตรประเทศอื่นๆก่อนหน้าที่มีการ Post โดยผู้ใช้ที่รายละเอียด profile ระบุตำแหน่งว่าอยู่ในชุมพรหรือกำแพงเพชรได้รับเดือดร้อนจากเสียงเครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องรบที่ฝึกที่กองบิน๑ โคราช หรือที่กองบิน๒๓ อุดรธานี?
เช่นเดียวกับที่การฝึกกับจีนถูกมองว่าไม่มีประโยชน์เพราะเป็นสาเหตุให้ชาติตะวันตกไม่ขายอาวุธที่มีความทันสมัยให้ไทย ซึ่งไม่ได้อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงว่าไทยและชาติตะวันตกได้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลอาวุธและยุทธวิธีของจีนที่หาโอกาสได้ยากเช่นกัน ในทางกลับกันผู้ไม่หวังดีต่อชาติเหล่านี้เองก็โจมตีการฝึกของไทยกับชาติตะวันตกว่าไทยจะเอาข้อมูลไปบอกจีนด้วยที่สุดท้ายก็เป็นแค่จะหาเรื่องต่อว่าทหารอากาศไทยเท่านั้นครับ




The Royal Thai Army (RTA)'s C295W transport aircraft was supported the Royal Thai Marine Corps (RTMC)'s Airborne Marines course class 79 at Hat Yao beach, Sattahip District, Chonburi Province, Gulf of Thailand in July 2024. (Aniwat Pommarangsi)
Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) planned to seeking new two of tactical transport aircraft for support RTMC operations to replace retired Fokker F-27 MK400 in late 2023.



โดดร่ม "ส่งทางอากาศนาวิกโยธิน" รุ่นที่ 79 
ครั้งแรกของนักโดด ณ.สนามฝึกกองทัพเรือ
หาดยาว สัตหีบ ชลบุรี VDO : https://youtu.be/yj2DxZzirAk

หลักสูตรส่งทางอากาศนาวิกโยธิน รุ่นที่๗๙ ของนาวิกโยธินไทยที่มีขึ้นในห้วงเดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมานอกจากจะได้เห็นกำลังพลที่เป็นสุภาพสตรีเข้าร่วมการฝึกแล้ว ยังได้เห็นการสนับสนุนการฝึกโดดร่มจากเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W ของกองทัพบกไทยเป็นครั้งแรกอันเป็นการแสดงถึงความร่วมมือการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพเรือไทย
ตามที่เดิมทีหลักสูตรส่งทางอากาศนาวิกโยธินเคยได้รับการสนับสนุนการฝึกโดดร่มจากเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑ บ.ลล.๑ Fokker F-27 MK-400 จำนวน ๒เครื่อง หมายเลข 2110 และหมายเลข 2111 ที่ประจำการในกองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ซึ่งมีรายงานว่าได้ถูกปลดประจำการลงไปแล้วตั้งแต่ช่วงสิ้นปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) 
กองทัพเรือไทยจึงมองจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่เพื่อสนับสนุนนาวิกโยธิน จำนวน ๒เครื่อง วงเงินราว ๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($109,725,152) ซึ่งถ้าเลือกเครื่องบินลำเลียง C295 จริงก็จะเป็นประโยชน์ในการซ่อมบำรุงร่วมกันในไทยโดยบริษัท TAI ไทย และอาจปูทางไปสู่รุ่นเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft) ทดแทนเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ Lockheed P-3T Orion ที่ปลดประจำการไปแล้วด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/c295-mpa-c295-msa-16.html)




Naval Research and Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) displayed domestic during Navy Research 2024 exibition at Royal Thai Navy Auditorium, Bangkok Yai District, Bangkok, Thailand on 31 July 2024. (Royal Thai Navy)
Exhibition shown wide range of domestic military research and delovelopment programme from Royal Thai Armed Forces (RTARF), Ministry of Defence of Thailand and government agencies, educational institutions and private sector.




Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA) held ARMY RESEARCH AND DEVELOPMENT EXHIBITION 2024 at RTA Command and General Staff College (CGSC) in Bangkok, Thailand on 9 August 2024.
Defence Technology Institute (DTI) shown its D-Iron RCV (Robotic Combat Vehicle) base on Estonian Milrem Robotics THeMIS Combat UGV (Unmanned Ground Vehicle) and Explosive Ordnance Disposal (EOD) robots. (Defence Technology Institute)



เมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของ กองทัพบก ประจำปี 2567 ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พันเอก จิรศักดิ์   จิ้วไม้แดง  รองผู้อำนวยการพร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ นำผลงานวิจัยและพัฒนาร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของ กองทัพบก ประจำปี 2567 โดยมี พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานเปิดงาน และให้เกียรติเยี่ยมชมบูธผลงานวิจัยและพัฒนาของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 
โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้นำหุ่นยนต์ยุทธวิธี (D-IRON) หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD-ROBOT) และศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ (DTI-UTC) เข้าร่วมจัดแสดง
ซึ่งการเข้าร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ เพื่อแสดงขีดความสามารถผลงานวิจัยและพัฒนาของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยได้ต่อไปในอนาคต

ในห้วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Day) ของไทยที่มีขึ้นทุกวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี กองทัพเรือไทยโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research and Development Office) ได้จัดงานนาวีวิจัย 2024(Navy Research 2024) ณ หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗
และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ.(ARDO: Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย ได้จัดงานแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางทหารของกองทัพบก ประจำปี ๒๕๖๗(Army Research and Development Exhibition 2024) ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก(CGSC: Command and General Staff College) เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ซึ่งทั้งสองงานได้มีการนำเสนอผลงานต่างๆจากหน่วยงานในกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces), กระทรวงกลาโหมไทย, สถาบันการศึกษาไทย และภาคเอกชนไทยหลากหลายแบบ ตั้งแต่ทุ่นวิเคราะห์เสียงใต้น้ำ Sonobuoy, อากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) และ Loitering Munition, หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต่างๆ แสดงถึงความก้าวหน้าของงานวิจัยและพัฒนาในประเทศของไทยครับ

The U.S. Naval Submarine School hosted a graduation ceremony for students graduating from the International Diesel Submarine School, 8 August 2024. The class was attended by eight students from three different countries, Taiwan, Thailand, and South Korea. (US Navy)



Admiral Hu Zhongming, commander of the People's Liberation Army Navy (PLAN) visited Submarine Squadron Headquarters, Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) at Sattahip Naval Base in Chonburi Province, Thailand on 2 August 2024. (Royal Thai Navy)




LPD-792 HTMS Chang(III), the Type 071ET Landing Platform Dock (LPD) embarked with Sikorsky SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter, prepared to Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) mission for helping people in Thailand Flood on 26 August 2024. (Royal Thai Navy)
Spanish Navantia is winner as prime contractor for its new "CATIZ" Combat Management System (CMS) to be fitted on RTN's LPD-792 HTMS Chang LPD. 
new CMS, Surveillance System (search radar), Fire Control System (FCS), Weapon Systems and Gyro system to be fitted on LPD-792 HTMS Chang for 920,000,000 Baht ($25,330,406) on Fiscal Year 2025 also subcontractors including; Swedish defence firm SAAB AB for its Sea Giraffe 1X 3D surveillance radar, Navantia Dorna FCS ,Netherlands's Thales Nedeland B.V. for its TSA3521 Identification Friend or Foe (IFF) system and two TopAxyz Ring Laser Gyro systems, Israeli Elbit Naval Systems Spectro XR Electro-Optronic (EO) systems, and two Sentinel 30 Naval Remote Weapon Station (RWS) from Spanish Escribano Mechanical and Engineering (EM&E) with US Northrop Grumman Mk44 Bushmaster II 30x173mm autocannons.

“กองเรือยุทธการพร้อมช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยให้แก่ประชาชน”
วันที่ 26 ส.ค.67 เวลา 17.00 น. พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พร้อมคณะผู้บังคับบัญชา เดินทางไปตรวจความพร้อมของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย  ณ ฝูงบิน 202 กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ และความพร้อมของหมู่เรือบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล กองทัพเรือ (มบภ.ทร.) ในรูปแบบของการช่วยเหลือจากทะเลสู่ฝั่ง (From The Sea) 
เพื่อเตรียมความพร้อมในการสนับสนุน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ เมื่อได้รับการสั่งการ โดยให้หน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ เตรียมความพร้อมของกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และเครื่องมือ ในการช่วยบรรเทาสาธารณภัยให้กับประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในขณะนี้ นอกจากนี้ ยังจัดกำลังเป็นหมู่เรือบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล พร้อมให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยในทะเล
กองเรือยุทธการเตรียมกำลัง ยุทโธปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ เรือยาง เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบัส ชุดแพทย์ และชุดปฏิบัติการพิเศษ ให้พร้อมสำหรับสนับสนุนหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยประจำพื้นที่ และมีการจัดการในสภาวะฉุกเฉินในกรณีเกิดภัยพิบัติทางทะเล เกาะแก่ง และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเล 
กองทัพเรือจึงได้จัดตั้งหมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลกองทัพเรือ (มบภ.ทร.) โดยมีความพร้อมตั้งแต่ภาวะปกติ และสามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ ซึ่งหมายถึงการช่วยชีวิตประชาชนและลดการสูญเสียได้มากขึ้นนั่นเอง 




OPV-511 HTMS Pattani, the Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV) at Songkhla naval base, 2nd Naval Area Command (2nd NAC) in Songkhla Province, Thailand on 8-9 August 2024. (Royal Thai Navy)
HTMS Pattani and OPV-512 HTMS Naratiwat to be enhanced capabilities by fitted new Navantia CATIZ Combat Management System (CMS) and related systems for 2,829,554,000 Baht ($78,229,302).

"ต้อนรับน้องๆ เยี่ยมชมเรือหลวงปัตตานี" โดยทัพเรือภาคที่ 2
ในวันที่ 8 ส.ค.67 ทัพเรือภาคที่ 2 ต้อนรับน้องๆจากโรงเรียนวัดโพธาวาส(ภิรมอุปถัมภ์) อ.เมืองพัทลุง จว.พัทลุง  เข้าเยี่ยมชมเรือหลวงปัตตานี โดยมีพี่ๆทหารเรือนำชมและให้ความรู้ เพื่อให้น้องๆได้รับประสบการณ์และเพิ่มแรงบันดาลใจให้กับน้องๆต่อไปในอนาคต  

เพิ่มประสบการณ์นอกห้องเรียนให้น้องๆได้เรียนรู้" โดยทัพเรือภาคที่ 2
ในวันที่ 9 ส.ค.67 ทัพเรือภาคที่ 2 ต้อนรับน้องๆจากโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ อ.ละงู จว.สตูล  เข้าเยี่ยมชมเรือหลวงปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อเป็นประสบการณ์นอกห้องเรียน  พร้อมได้เรียนรู้ชีวิตทหารเรือ และเพิ่มแรงบันดาลใจให้กับน้องๆต่อไปในอนาคต  

กองทัพเรือไทยยังคงเดินหน้าความพยายามในการพัฒนากำลังทางเรือตน รวมถึงการส่งกำลังพลร่วมฝึกหลักสูตรเรือดำน้ำดีเซลนานาชาติของกองทัพเรือสหรัฐฯที่มีพิธีสำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๗ และความคืบหน้าการก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำและอาคารสนับสนุน ระยะที่๑ ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งผู้บัญชาการกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน พลเรือเอก Hu Zhongming ได้มาเยี่ยมชมเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๗
การพิจารณางบประมาณกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ยังได้รวมการอนุมัติโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) และการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส ซึ่งบริษัท Navantia สเปนเป็นผู้ชนะสัญญาหลักสำหรับระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) แบบ CATIZ ของตน
ทว่าทั้ง Navantia สเปน, บริษัท EM&E สเปน, บริษัท Thales Nedeland เนเธอร์แลนด์, บริษัท SAAB สวีเดน และบริษัท Elbit Naval Systems อิสราเอล ที่ได้รับสัญญาสำหรับระบบอาวุธและอุปกรณ์ของตนไม่ได้มีการประกาศข่าวใดๆที่เกี่ยวข้องออกมา อีกทั้งการแก้ไขสัญญาเรือดำน้ำ S26T แบบรัฐต่อรัฐกับจีนและการอนุมัติโครงการต่างๆของกองทัพเรือไทยยังได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ด้วยครับ




Royal Thai Navy (RTN) and Royal Malaysian Navy (RMN) concluded joint exercise SEAEX THAMAL 70/2024 at at Songkhla naval base, 2nd Naval Area Command (2nd NAC) in Songkhla Province, Thailand and Tanjung Gelang naval base Naval Region I, Kuantan, Pahang, Malaysia on 17-23 August 2024.
The exercise SEAEX THAMAL 70/2024 involved RTN OPV-551 HTMS Krabi Offshore Patrol Vessel (OPV), FS-533 HTMS Longlom the Khamronsin-class anti-submarine corvette, PC-521 HTMS Sattahip partrol gun boat, and Marine Police, Royal Thai Police (RTP) 807 patrol boat;
RMN F172 KD Pahang the Kedah-class Offshore Patrol Vessel, KD Sri Sarawak partrol boat, Malaysian Maritime Enforcement Agency (MMEA) KM Redang and Marine Police Force, Royal Malaysia Police (MPF, RMP) PA 24 patrol craft. (Royal Thai Navy and Royal Malaysian Navy)

SEAEX THAMAL 70/2024 
From Songkhla Thailand to Kuantan Malaysia
การฝึก SEAEX THAMAL มีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2522 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติการร่วมกันของหน่วยงานความมั่นคงทางทะเลของไทยและมาเลเซีย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในการเผชิญกับความท้าทายของสถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลในปัจจุบัน
การฝึก SEAEX  THAMAL 70/2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 23 สิงหาคม 2567 โดยเปิดการฝึก ณ กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 และปิดการฝึก ณ ภาคทหารเรือที่ 1 กวนตัน ประเทศมาเลเซีย โดยมี กำลังทางเรือจากหน่วยงานความมั่นคงทางทะเลของไทยและมาเลเซียเข้าร่วมการฝึก 
มีกำลังฝ่ายไทย ประกอบด้วยเรือ 3 ลำ คือ ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ล่องลม จากกองทัพเรือ  และ ร.ล.สัตหีบ จากหมวดเรือเฉพาะกิจของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 2
กำลังฝ่ายมาเลเซีย ประกอบด้วยเรือ 3 ลำ คือ KD PAHANG และ KD SRI SARAWAK จาก กองทัพเรือมาเลเซีย  KM REDANG จาก หน่วยงานยามฝั่ง MMEA และ PA 24 จาก ตำรวจน้ำมาเลเซีย 
หัวข้อในการฝึกประกอบด้วย การฝึกในท่า ได้แก่ การฝึกแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้าน (SMEE) การฝึกตรวจค้น รวมทั้งกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน สำหรับการฝึกในทะเล มีหัวข้อการฝึก ได้แก่ 
การฝึกรูปกระบวนถ่ายภาพ การฝึกรับส่งสิ่งของในทะเลระหว่างเรือ-เรือ การฝึกรับส่งสิ่งของทางดิ่งระหว่างเรือ-เฮลิคอปเตอร์ การฝึกรูปกระบวนฉากเพื่อคุ้มกัน การฝึกโคมไฟทัศนสัญญาณ การฝึกตราทางเป้า และการฝึกแปรกระบวน 
ความสำเร็จของการฝึก SEAEX THAMAL70/2024 ในครั้งนี้ส่งผลให้กำลังทางเรือของหน่วยงานความมั่นคงและบังคับใช้กฎหมายทางทะเลทั้งฝ่ายไทยและมาเลเซีย ได้เสริมสร้างขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางทะเลร่วมกัน เพื่อรองรับสถานการณ์ความมั่นคงในทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ และดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียที่มีมาอย่างยาวนานตลอดไป




Royal Thai Navy (RTN)'s task force unit led by FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate embarked with Sikorsky SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter, was departed Chuk Samet Pier, Sattahip Port, Sattahip Naval Base, Thailand on 27 August 2024 to participate exercise KAKADU 2024 at Darwin Australia during 26 August to 1 October 2024. (Royal Thai Navy)

วันที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 10.30 น. พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีส่งหน่วยเรือฝึกผสม KAKADU 2024 ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ 
หน่วยเรือฝึกผสม KAKADU 2024 กำลังประกอบด้วย กองบังคับการหน่วยเรือ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช และ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่ 1 (S-70B) จำนวน 1 เครื่อง กำลังพลรวม 192 นาย โดยมี พลเรือตรี ธำรง สุพรรณพงศ์ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 ทำหน้าที่ ผู้บังคับหน่วยเรือ เดินทางไปร่วมการฝึก KAKADU 2024 ณ เมืองดาร์วิน เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่าง 26 สิงหาคม 2567 ถึง 1 ตุลาคม 2567 
เส้นทางเดินเรือ ฐท.สส. - จาการ์ตา - ดาร์วิน - สิงคโปร์ - ฐท.สส. รวมระยะทางกว่า 6,000 ไมล์ทะเล 
การฝึกผสม KAKADU เป็นการฝึกระดับพหุภาคีของประเทศที่มีความเกี่ยวเนื่องกับน่านน้ำในพื้นที่ออสเตรเลีย ทำการฝึกปีเว้นปี โดยมี ทร.ออสเตรเลีย เป็นเจ้าภาพจัดการฝึก มีวัตถุประสงค์การฝึกเพื่อให้ ทร.มิตรประเทศ ในภูมิภาคได้ร่วมกิจกรรมทางทะเล ส่งเสริมและยกระดับความร่วมมือทางทหาร โดยที่การฝึกครั้งนี้ มีชาติเข้าร่วมการฝึก จำนวน 30 ประเทศ เรือผิวน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 12 ลำ เรือดำน้ำ 1 ลำ 
หัวข้อการฝึกที่สำคัญประกอบด้วย การฝึกคุ้มกันกระบวนเรือ การฝึกต่อต้านเรือผิวน้ำ การฝึกปราบเรือดำน้ำ การฝึกประลองยุทธ์ และการฝึกยิงอาวุธประจำเรือ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ ทร. นำเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำไปกับเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เพื่อทำการฝึกในหัวข้อปราบเรือดำน้ำตามยุทธวิธีได้อย่างสมบูรณ์  
ในการนี้ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ได้ให้โอวาทแก่กำลังพลหน่วยเรือ โดยให้ระลึกเสมอว่ากำลังพลทุกนายเป็นตัวแทนของกองทัพเรือ ที่มีโอกาสแสดงออกให้ชาติต่าง ๆ เห็นถึงขีดความสามารถของกองทัพเรือไทย และจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจสู่กองทัพเรือ และประเทศไทย 
พร้อมทั้งอำนวยพรให้การฝึกครั้งนี้ประสบความสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ กำลังพลและยุทโธปกรณ์มีความปลอดภัย และเดินทางโดยสวัสดิภาพ การนี้มีญาติของกำลังพลหน่วยเรือฝึกมาส่งและให้กำลังใจ และเชื่อมั่นในขีดความสามารถของสมาชิกในครอบครัวที่จะปฏิบัติภารกิจที่สำคัญนี้ได้ บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น




Royal Thai Navy (RTN)'s Royal Thai Naval Academy (RTNA) Marines cadets studied and observed work at Chaiseri metal & rubber Co. Ltd. factory.
Chaiseri delivered its new 7 of WAV (Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8 for Royal Thai Marine Corps (RTMC) in August 2024. (Royal Thai Marine Corps)

นายทหารนักเรียน หลักสูตรชั้นนายเรือ นย. รุ่นที่ 55 ศึกษาดูงาน บ.ชัยเสรี เมทัล แอนด์ รับเบอร์ เพื่อรับทราบการผลิตยานเกราะที่เป็นอุตสหากรรมภายในประเทศ และรับทราบข้อมูล  ขีดความสามารถ AWAV ที่ นย.จะได้รับ การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย




Royal Thai Navy's Royal Thai Naval Academy (RTNA) Marines cadets studied and observed work on M361 ATMM(Autonomous Truck-Mounted Mortar) at 112th Infantry Regiment, 11th Infantry Division, Royal Thai Army (RTA).
Royal Thai Marine Corps planned to restructuring its Marine Regiment (Infantry) to Mechanized infantry. (Royal Thai Marine Corps)

นายทหารนักเรียน หลักสูตรชั้นนายเรือ พรรคนาวิกโยธิน รุ่นที่ 55 ศึกษาดูงาน กรม ร.112 เพื่อรับทราบภารกิจ การจัดหน่วย ขีดความสามารถ ในการเตรียมเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเป็นทหารราบยานเกราะ รองรับยุทธศาสตร์กองทัพเรือ




Minister of Defence of Thailand Sutin Klungsang was presided over the handover ceremony for Defence Technology Institute (DTI)'s prototype of D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher to 711th Artillery Battalion, 71st Artillery Regiment, Artillery Division, Royal Thai Army (RTA) at Artillery Center, Fort Bhumibhol, Lopburi Province, Thailand on 9 August 2024. (Defence Technology Institute)

Thai army starts D11A trials

พิธีส่งมอบต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A แก่กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๑ ป.๗๑ พัน.๗๑๑ กองพลทหารปืนใหญ่ พล.ป. กองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นเหตุการณ์สำคัญของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI ที่ก่อนหน้าได้ทดสอบยิงจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้น DTI-1G ที่ Inner Mongolia จีนในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา
กองทัพบกไทยที่ผ่านมาได้มีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สร้างในไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะระบบปืนใหญ่อย่างปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบขนาด 155mm แบบอัตตาจรล้อยาง M758 ATMG(Autonomous Truck-Mounted Gun) มากกว่า ๓๐ระบบ และระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอย่างเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm แบบอัตตาจรล้อยาง M361 ATMM(Autonomous Truck-Mounted Mortar) มากกว่า ๒๔ระบบ
ตามที่ กองพลนาวิกโยธิน พล.นย.กองทัพเรือไทย มีแผนจะปรับโครงสร้างเป็นหน่วยทหารราบยานเกราะ นอกจาการจัดหายานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ในข้างต้น นาวิกโยธินไทยยังมีแผนจะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG เพิ่มเติม และมองที่จะจัดหาเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง ATMM รวมถึงรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A เป็นระบบจรวดหลายลำกล้องแบบแรกของตนด้วยครับ




Royal Thai Army's VN1 8x8 wheeled armoured vehicles included Armoured Personnel Carrier (APC) and SM4A Self-Propelled Mortar variants of 7th Cavalry Battalion and 15th Cavalry Battalion, 2nd Cavalry Regiment, 1st Cavalry Division conduted live firing exercise at RTA's 3rd Army Area tactical range in Ban Dan Lan Hoi, Sukhothai Province, Thailand in August 2024. 
Royal Thai Army planned to procure additional VN1 8x8 for 987,000,000 Baht ($29,100,471) in Fiscal Year 2025 from Chinese firm Norinco, potential include ST1 8x8 105mm assault gun to replace ageing V-150 4x4 with Cockerill Mk.3 90mm turret. (Royal Thai Army)

ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ กองทัพบกไทยมองที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณวงเงินราว ๙๘๗,๐๐๐,๐๐๐บาท($29,100,471) สำหรับการจัดหายานเกราะล้อยางแบบ 8x8 ระยะที่๔ จาก Norinco จีน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นการจัดหายานเกราะล้อยางตระกูล VN1 8x8 เพิ่มเติมจากที่สั่งจัดหาในระยะที่๑ ระยพที่๒ และระยะที่๓ รวมทุกรุ่น ๑๑๑คัน แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าจะจัดหาจำนวนกี่คันและเป็นรุ่นใดบ้าง
ยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 ในรุ่นรถเกราะลำเลียงพล VN1 APC และรุ่นอื่นๆรวมถึงรถเกราะติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดหนักขนาด 120mm SM4A ได้ถูกเข้าประจำการในกรมทหารม้าที่๒ กองพลทหารม้าที่๑ ม.๒ พล.ม.๑ ทั้งสามกองพันทหารม้าคือกองพันทหารม้าที่๑๐, กองพันทหารม้าที่๗ และกองพันทหารม้าที่๑๕ ตามการปรับเปลี่ยนรูปแบบหน่วยจากทหารม้าลาดตระเวน(ล้อยาง) เป็นทหารม้าบรรทุกยานเกราะ(ล้อยาง)
ในการฝึกภาคสนามล่าสุดในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๗ แม้ว่ายานเกราะ VN1 จะใช้ประตูท้ายแบบ swing ด้านข้างซึ่งไม่สะดวกเท่าประตู Ramp ขนาดใหญ่ของยานเกราะล้อยาง Stryker RTA ICV 8x8 แต่ก็ยังสะดวกและทันสมัยกว่ายานเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8 มาก ทั้งนี้ตามที่หน่วยขึ้นตรงของ ม.๒ พล.ม.๑ ยังคงใช้รถเกราะล้อยาง V-150 รุ่นติดปืนใหญ่รถถัง 90mm อยู่ เป็นไปไดว่าการจัดหา VN1 ระยะที่๔ จะรวมถึงรุ่นรถเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ ST-1 8x8 ด้วยครับ




Counter Terrorism Operations Center (CTOC), Royal Thai Armed Forces (RTARF) hold to coducted Crisis Management Exercise 2024 (C-MEX 24) at Chiang Rai Province, Thailand on 20-23 August 2024.

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก.(CTOC: Counter Terrorism Operations Center) กองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) ได้จัดการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ(C-MEX: Crisis Management Exercise) มาหลายครั้งแล้ว แต่การฝึก C-MEX 2024 ปีนี้ยังเป็นครั้งแรกที่กองพันลาดตระเวนนาวิกโยธิน พัน.ลว.นย. นาวิกโยธินไทย เข้าร่วมการฝึกกับหน่วยรบพิเศษและหน่วยปฏิบัติการพิเศษอื่นๆ
ของกองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย, กองทัพอากาศไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ฝึกการเคลื่อนกำลังไปจังหวัดเชียงราย ทั้งยังเป็นครั้งแรกที่มีส่วนร่วมจากกรมรบพิเศษที่๑(1st Special Forces Group (Airborne)) กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) และ Royal Marines Commandos ทีมฝึกอบรมและที่ปรึกษาร่วมต่อต้านการก่อการร้าย(Joint Counter Terrorist Training and Advisory Team) สหราชอาณาจักรด้วย
รูปแบบภัยคุกคามที่นำไปสู่ภาวะวิกฤติระดับชาติในปัจจุบันได้มีพัฒนาการไปจากอดีตจากกลุ่มก่อการร้ายสากลสุดโต่งมาเป็นผู้ก่อเหตุแบบหมาป่าเดียวดาย(Lone Wolf) ที่ช่วงหลังๆมักจะเป็นเด็กเยาวชน หรือการโจมตีทาง Cyber และระบบไร้คนขับ(Unmanned system) ต่อระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การลงมือที่ไม่คาดคิดได้เหล่านี้จะเป็นความท้าทายต่อหน่วยรบพิเศษและหน่วยงานภาคพลเรือนอื่นๆที่เข้าร่วมการฝึกครับ