วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

สโลวาเกียจะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ Barak MX อิสราเอล

Slovakia spends EUR1.2 billion on Israeli air-defence systems and new trucks



A Barak MRAD interceptor being fired from the Barak MX launcher. (Israel Aerospace Industries)



รัฐบาลสโลวาเกียมีกำหนดที่จะลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลกับอิสราเอลภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2024 นี้ สำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน(GBAD: Ground-Based Air Defence) จำนวน 6ระบบ สำนักข่าว TASR ของรัฐบาลสโลวาเกียรายงาน
ข้อตกลงวงเงิน 554 million Euros($614 million) สำหรับแท่นยิง, radar, อาวุธปล่อยนำวิถี และสิ่งอุกรณ์ที่เกี่ยวข้องตามการอนุมัติของรัฐบาลสโลวาเกีย โดยการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดินคาดว่าจะเริ่มต้นในปี 2025 และเสร็จสิ้นภายในปี 2029

หลังจากมองหลายตัวเลือกจากหลายผู้ผลิต กระทรวงกลาโหมสโลวาเกียได้ชี้แจงการจัดซื้อจัดจ้างในเอกสารที่ยื่นต่อรัฐสภาสโลวาเกียที่เสนอสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศจากอิสราเอลว่ามีความได้เปรียบมากที่สุดในแง่เศรษฐกิจ, ทางเทคนิค และกรอบระยะเวลา
รัฐมนตรีกลาโหมสโลวาเกีย Robert Kalinak กล่าวในเอกสารต่อรัฐสภาสโลวาเกียว่ากองทัพสโลวาเกีย(Slovak Armed Forces) ปัจจุบันมีระบบป้องกันภัยทางอากาศ 2K12 KUB ยุคอดีตสหภาพโซเวียตที่ขณะนี้ล้าสมัยแล้วที่มีความพร้อมสำหรับใช้งานระบบที่เพียงร้อยละ33

Kalinak เสริมว่าหากสโลวาเกียล้มเหลวที่จะจัดหาระบบใหม่ทดแทน KUB ได้ สโลวาเกียจะสูญเสียขีดความสามารถการยิงที่ยังคงมีอยู่ของระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดินพิสัยกลาง GBAD ของตนภายในปี 2027
โดยขีดความสามารถที่จะยิงทำลายขีปนาวุธทางยุทธวิธี(TBM: Tactical Ballistic Missile) และอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) บางประเภทเหนือสโลวาเกียจะสูญเสียเร็วกว่านั้นมาก

ในเดือนเมษายน 2022 สโลวาเกียได้กลายเป็นประเทศแรกที่ได้บริจาคระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300PMU ยุคอดีตสหภาพโซเวียตเก่าของตน รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ 5V55R จำนวน 48นัด, แท่นยิง 4ระบบ, และ radar แก่ยูเครน
การตัดสินใจได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักการเมืองสโลวาเกียบางรายสำหรับการลดระดับขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศของสโลวาเกีย(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/mig-29-4.html)

เป็นที่เข้าใจว่าระบบที่สโลวาเกียเลือกจะจัดหาคือระบบป้องกันภัยทางอากาศ Barak MX ที่พัฒนาโดยบริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอล ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางและพิสัยไกล บูรณาการกับที่บัญชาการและควบคุม, radar 
และแท่นยิงหลายตัวเลือกผสมผสานสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศตัวทำลาย(Effector) ระยะกลางที่ 35km, ระยะไกลที่ 70km และระยะไกลเพิ่มขยายที่ถึง 150km ที่ความสูงถึง 98,424feet และขีดความสามารถการโจมตีครอบคลุม 360องศา

รัฐบาลสโลวาเกียยังได้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างของรถยนต์บรรทุกทางทหารประเภท N3G(รถยนต์บรรทุกหนักวิบาก ตามการจัดประเภทโดยสมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งยุโรป European Automobile Manufacturers Association)
จำนวน 1,300 คันในการร่วมจัดซื้อจัดจ้างกับสาธารณรัฐเช็ก ในข้อตกลงที่คาดว่าจะมีมูลค่าที่วงเงิน 703 million Euros โดยคาดว่าจะเป็นรถยนต์บรรทุกหนักทางทหารที่ผลิตโดยบริษัท Tatra สาธารณรัฐเช็กครับ