วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑-๔


CSOC has showcased Model of New MS200 200tons Conventional Submarine with Ship's Specification at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photos)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html

Naval Research & Development Office, Royal Thai Navy Sub-Committees meeting for Midget Submarine Research and Development Programme, 9 April 2018.
Royal Thai Navy Domestic Midget Submarine Programme's General Specification to be displacement about 150-300 tons, combat radius more than 350 nautical mile, maximum depth 60 meter, Crews at least 3 plus 7 Special Operation Forces/Combat Diver.
(Unknow Photo source)

สวพ.ทร. จัดการประชุมคณะทำงานย่อยโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของ ทร.โดยมี น.อ.ภูวดล สว่างแสง รอง ผอ.สวพ.ทร. เป็นประธาน ในวันที่ ๙ เม.ย.๖๑ ณ ห้องประชุม Hall of fame ชั้น ๕
https://www.facebook.com/Nrdo2015/posts/1750145331673405

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. กองทัพเรือไทยมีโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่มีความก้าวหน้าขึ้นมาอย่างมากจากโครงการพัฒนายานใต้น้ำที่เสร็จสิ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว
ตามข้อมูลที่เจ้าของโครงการคือ นาวาเอก ดอกเตอร์ สัตยา จันทรประภา การสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ และการปฏิบัติการพิเศษ
รวมถึงการฝึกการปราบเรือดำน้ำร่วมกับกองเรือผิวน้ำเสริมยานใต้น้ำไร้คนขับ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) ที่กองทัพเรือไทยได้มีการวิจัยและพัฒนาออกมาก่อนหน้านี้

ขอบเขตของการวิจัยได้กำหนดความต้องการทางยุทธการขั้นต้นดังนี้

คุณลักษณะทั่วไป
-ระวางขับน้ำ 150-300tons
-ระบบขับเคลื่อน
-ระบบควบคุมบังคับตามยุทธวิธีเรือดำน้ำ
-ระบบสื่อสาร ระบบตรวจจับ และระบบนำเรือผิวน้ำและใต้น้ำ
-รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 350nmi

ขีดความสามารถทางยุทธการ
-โจมตีข้าศึกในน่านน้ำจำกัด(ศึกษาความเป็นไปได้ระบบอาวุธ)
-การหาข่าว สอดแนม
-การสนับสนุนการฝึกปราบเรือดำน้ำ
-การระวังป้องกันท่าเรือ
-สนับสนุนชุดปฏิบัติการพิเศษได้ไม่น้อยกว่า ๗นาย
-ปฏิบัติการในระดับความลึกได้ถึง 60m
-รองรับลูกเรือไม่น้อยกว่า ๓นาย

อย่างไรก็ตามวิทยาการด้านเรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือไทยนั้น ยังคงมีความจำเป็นน่าจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศอยู่ ทั้งในส่วนระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า ระบบพลังงาน Battery จนถึงอุปกรณ์นำร่อง ระบบตรวจจับ
หรือความเป็นไปได้ในการติดตั้งอาวุธ เช่น Torpedo หนัก และทุ่นระเบิด ที่เกือบทั้งหมดคงต้องมีการจัดหาจากต่างประเทศ ดังนั้นเป็นที่เข้าใจว่าการแสวงหาหุ้นส่วนในการถ่ายทอด Technology จากต่างประเทศควรจะมีความสำคัญมาก
โครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในกรณีที่กองทัพเรือไทยยังไม่ได้รับมอบเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีตามแบบเข้าประจำการ คือโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากจีน ๑ลำ

เนื่องจาก Technology วิทยาการเรือดำน้ำส่วนใหญ่เป็นความลับ และบางสถานการณ์ไม่สามารถจะจัดหาจากต่างประเทศได้ ถ้าเรือดำน้ำขนาดเล็กเรือต้นแบบมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของกองทัพเรือไทยก็จะสามารถนำมาสร้างเพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อใช้ในทางยุทธการได้
แต่เรือดำน้ำขนาดเล็กต้นแบบนี้น่าจะถูกใช้ในการฝึกศึกษาและสนับสนุนชุดปฏิบัติการพิเศษ มากกว่าจะใช้ในการลาดตระเวนน่านน้ำของไทย หรือในทะเลหลวง หรือในน่านน้ำสากลที่คาบเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งตามที่จีนได้มีการเสนอการขายผลิตภัณฑ์เรือรบของตนแก่กองทัพเรือไทยมาอย่างต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/blog-post_16.html) แบบเรือดำน้ำขนาดเล็กของจีนอาจจะเป็นตัวเลือกแหล่งที่มาทาง Technology ที่กองทัพเรือไทยอาจจะพิจารณาครับ

Indonesian Navy's DSME1400 Nagapasa class Submarine KRI Ardadedali 404, behind is Royal Thai Navy's new Frigate FFG-471 HTMS Tachin
at Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME) Okpo-Dong shipyard, Geoje, South Gyeongsang, Busan, Republic of Korea, 6 April 2018 

จากชุดภาพการตรวจรับมอบเรือของกำลังพลชุดแรกของเรือดำน้ำชั้น Nagapasa (DSME1400) ลำที่สองของกองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: entara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) คือ KRI Ardadedali หมายเลขเรือ 404 
ที่อู่ต่อเรือบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) ในเกาะ Okpo-Dong shipyard, Geoje, South Gyeongsang, Busan สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ซึ่งมีรับมอบเรือเมื่อวันที่ ๒๕เมษายน โดยอยู่ระหว่างการเดินเรือกลับฐานทัพเรือ Surabaya อินโดนีเซียนั้น
ในภาพหนึ่งจะได้เห็นเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือไทย เรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) จอดอยู่ด้านหลังของเรือดำน้ำ KRI Ardadedali กองทัพเรืออินโดนีเซียด้วย

ตามที่เห็นในระยะไกลด้านท้ายเรือพบว่าช่องเปิดของระบบ Sonar ลากท้าย(Variable Depth Sonar Atlas Elektronik ACTAS เยอรมนี) และอุปกรณ์ท้ายเรือน่าจะติดตั้งเสร็จแล้ว หลังจากที่มีการทดลองเรือในทะเลก่อนหน้านี้
รวมถึงอุปกรณ์บนเรือที่น่าจะติดตั้งใกล้ครบสมบูรณ์ทั้งหมดแล้ว เช่น Radar ตรวจการณ์พื้นน้ำและอากาศ SAA Sea Giraffe AMB, Radar ตรวจการณ์ทางอากาศพิสัยไกล SAAB Sea Griraffe 4A และ Radar ควบคุมการยิง SAAB CEROS 200 สวีเดน 
และระบบป้องกันระยะประชิด CIWS(Close-In Weapon System) ปืนใหญ่กล Raytheon Mk 15 Phalanx Block 1B 20mm สหรัฐฯ เพื่อรอการส่งมอบเรือให้กองทัพเรือไทยตามกำหนดในในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dsme-hhi.html)

Royal Malaysian Navy training ships KD Gagah Samudera and KD Teguh Samudera in commissioning ceremony on 26 April at Lumut Naval Base
http://aagth1.blogspot.com/2018/04/2-kd-gagah-samudera-kd-teguh-samudera.html

เรือฝึกสำหรับใช้ในการฝึกภาคทะเลของนักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ และนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือนั้น เป็นหนึ่งในความต้องการที่กองทัพเรือมีการศึกษาพิจารณามาได้ระยะเวลาหลายปีโดย
เพราะการที่มีเรือสำหรับฝึกโดยเฉพาะจะเป็นการเหมาะสมกว่าการนำเรือรบหรือเรือช่วยรบที่มีประจำการ ซึ่งตัวเรือไม่ได้ออกแบบให้มีห้องพักและห้องฝึกสอนสำหรับนักเรียนมาใช้นั้น จะลดความพร้อมในการหมุนเวียนการนำเรืออกปฏิบัติการตามภารกิจที่จำเป็นมาก
อย่างไรก็ตามการต่อเรือสำหรับภารกิจการฝึกโดยตรงเช่นที่กองทัพเรือกลุ่มชาติ ASEAN เลือกอย่างเรือฝึกชั้น Gagah Samudera สองลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือมาเลเซียนั้นก็จะต้องมีงบประมาณและระยะเวลาในการสร้างและจัดหาพอสมควร
ดังนั้นจึงมีข้อมูลว่ากองทัพเรือไทยได้เลือกแนวทางนำเรือที่มีประจำการอยู่เดิมมาทำการปรับปรุงให้เป็นเรือฝึก ซึ่งก็เป็นแนวทางเดียวกับหลายประเทศเช่นกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่นำเรือพิฆาตที่มีอายุการใช้งานมานานดัดแปลงเป็นเรือฝึกครับ

Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy ordered 6 Elbit Systems ATMG(Autonomous Truck Mounted Gun) 155mm/52caliber Self-Propelled Howitzer 6x6 from Weapon Production Center, Defence Industry and Energy Center, Ministry of Defence Thailand

ตามที่ได้รายงานว่า หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยได้สั่งจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ ATMG ขนาด 155mm/52cal จำนวน ๖ระบบ ซึ่งมีพื้นฐานจากระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ ATMOS ของบริษัท Elbit Systems อิสราเอล
ที่จะมีการประกอบสร้างโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.ในไทย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสิทธิบัตร Technology การผลิตจาก Elbit อิสราเอลมาก่อนหน้า(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/atmg.html)
เป็นที่เข้าใจว่าเป็นความต้องมานานของนาวิกโยธินไทยในการเสริมขีดความสามารถหน่วยปืนใหญ่สนามของตน และเป็นการช่วยการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในของไทยด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/atmos.html)

ในส่วนความต้องการของกองทัพบกไทยนั้น นอกจาก ป.อจ.ล้อยาง ATMG ๑๘ระบบที่ผลิตโดยโรงงาน ศอว.ศอพท. ของไทยนำเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่(ร่วมกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Nexter Caesar 155mm/52cal) แล้วนั้น
กองทัพบกไทยยังมีความต้องการจัดหา ป.อัตตาจรล้อยาง ATMG เพิ่มเติมอีก ๓๖ระบบ sinvราวสองกองพันทหารปืนใหญ่(หนึ่ง พัน.ป.มี สามกองร้อยปืนใหญ่ หนึ่ง ร้อย.ป.มี หมู่ปืนปืนใหญ่ ๖กระบอก รวมปืนใหญ่ ๑๘กระบอก) ตามอัตราจัดโครงสร้างกำลังเหล่าทหารราบและเหล่าทหารม้าใหม่
และ ศอว.ศอพท. ไทยยังดำเนินการผลิตระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง ATTM(Autonomous Truck Mounted Mortar) 120mm สำหรับกองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดหนักประจำกรมทหารราบ ที่ได้รับการถ่ายทอด Technology จาก Elbit อิสราเอลเช่นกันด้วยครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/atmm-120mm.html)

RHEINMETALL Defence was delivered Oerlikon GDF-007 35mm twin cannon Anti-Aircraft Artillery with Skyguard 3 fire control radar to Royal Thai Army

ตามที่ได้รายงานการรับมอบและทดสอบระบบป้องกันภัยทางอากาศปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานลากจูง Oerlikon GDF-007 35mm แฝดสอง และ Radar ควบคุมการยิง Skyguard 3 จากบริษัท Rheinmetall Defence เยอรมนี-สวิตเซอร์แลนด์แก่กองทัพไทยไปนั้น
นอกจากการจัดหาระบบใหม่อย่าง ปตอ.ลากจูง Oerlikon GDF-007 35mm ที่คาดว่าจะเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๔ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศที่๒ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
และระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร VL MICA ที่คาดว่าจะเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๗ พล.ปตอ.นั้น
ซึ่งจากการเตรียมปลดประจำการ ปตอ.รุ่นเก่าทั้งของจีนเช่น Type 74 37mm แฝดสอง และ Type 59 57mm และของสหรัฐฯเช่น M55 .50cal รวมถึง ปตอ.อัตตาจรอย่าง M16 .50cal แฝดสี่ และ M42 Duster 40mm แฝดสองนั้น
ในส่วนของ ปตอ.อัตตาจรทดแทน M16 .50cal SPAAG กับ M42 Duster และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศใหม่เสริม Igla-S รัสเซีย และ Starstreak สหราชอาณาจักรนั้น ยังมีความต้องการเพิ่มอีกในอนาคตเมื่อมีงบประมาณอำนวยเพียงพอครับ 


Royal Thai Air Force Commissioning Ceremony of four first batch Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle serial 40101, 40102, 40103 and 40104 at 401st Squadron, Wing 4 Takhli, Nakhon Sawan, Thailand, 4 April 2018

RTAF commissions first four T-50TH LIFT aircraft

ตามที่กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH ๔ เครื่อง เป็น เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ ประจำการ ณ ฝูงบิน ๔๐๑ กองบิน ๔ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๑ นั้น
กองทัพอากาศไทยก็ได้มีเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์ถึงขีดความสามารถและขั้นตอนการรับมอบของ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle จากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีแก่ประชาชนด้วย
โดยทางบริษัท KAI เกาหลีใต้เองก็ให้แก่ Jane's ด้วยว่า บ.ขฝ.๒ T-50TH ของกองทัพอากาศไทยมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ซึ่งเป็นรุ่นที่ก้าวหน้าที่สุดใรตระกูล KAI T-50 เพียงแต่ขาดคุณสมบัติบางอย่าง เช่นเครือข่ายทางยุทธวิธี Link 16 เท่านั้น
ทั้งนี้ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ได้ให้สัมภาณ์สื่อว่า T-50TH ชุดที่๒ ๘เครื่อง ซึ่งมีกำหนดส่งมอบในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) นั้นอาจจะส่งมอบได้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิม
นั่นหมายความว่าการฝึกบินนักบินขับไล่พร้อมรบกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH ชุดแรกจะเริ่มได้ในราวปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ซึ่งกองทัพอากาศไทยน่าจะควรมีการลงนามสัญญาจัดหา KAI T-50TH ชุดที่สามอีก ๔เครื่องให้ได้โดยเร็วเพื่อให้ฝูงบิน๔๐๑ มีเครื่องครบฝูง ๑๖เครื่องครับ