CSOC has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy and New S1100 1100tons Conventional Submarine at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photos)
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html
Wuchang Shipbuilding has held Royal Thai Navy's first S26T Submarine first steel plate cutting ceremony at Wuhan, China, 4 September 2018
https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html
พล.ร.ต.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ ผอ.สยป.ทร.และคณะฯ ร่วมประชุมทบทวนติดตามความก้าวหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ (Project Management Review :PMR) ครั้งที่ ๓ ระว่างวันที่ ๑๐-๑๔ พ.ย. ๖๑ ณ เมื่ออู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน
http://www.namo.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/3250
ตามที่ พลเรือตรี ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ กองทัพเรือไทย และคณะได้เดินทางเข้าร่วมประชุมทบทวนติดตามความก้าวหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำในระดับ Project Management Review(PMR) ครั้งที่๓
ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ณ เมือง Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Co.,Ltd (WS) จีนผู้สร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีตามแบบ(SSK)แบบ S26T ลำแรกสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
ความคืบหน้าล่าสุดนั้นมีขึ้นเป็นเวลาตามมาให้หลังกว่าสองเดือนจากพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรกของกองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย' ณ อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan
โดยขณะนั้นมี พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน รวมถึง พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบัน และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือหลายท่านร่วมพิธี
กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาท($410 million) ระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๖ปี กับบริษัท China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) จีนเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
โดยกองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T รวม ๓ลำ วงเงินงบประมาณ ๓๖,๐๐๐ล้านบาท($1.09 billion) ภายในระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๑๑ปี(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t-updated.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)
CSOC ที่เป็นภาคส่วนการค้ายุทโธปกรณ์นานาชาติของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของรัฐบาลจีนได้ให้ข้อมูลต่อสื่อว่า เรือดำน้ำแบบ S26T ที่ลำแรกจะส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) นั้น
มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B (NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่เป็นเรือรุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_14.html)
มีการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทยว่าเรือดำน้ำ S26T ทั้ง ๓ลำจะมีคุณสมบัติการผสมผสานอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และอาวุธจากผู้ผลิตของจีนและตะวันตก(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html)
แต่ทั้งกองทัพเรือไทย และ CSOC จีนต่างไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมใดของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ S26T ซึ่งการสร้างเรือรวมถึงการฝึกกำลังพลชุดรับเรือจะใช้ระยะเวลาหลังจากนี้รวมราว ๕ปีตามกำหนดการส่งมอบเรือ
กองทัพเรือไทยมีความต้องการที่จะได้รับการอนุมัติโครงการจัดหาเรือดำน้ำระยะที่๒ อีก ๑ลำ ต่อจากเรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรกที่ได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกไป เนื่องจากการมีเรือดำน้ำประจำการเพียงลำเดียวไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการทางยุทธศาสตร์ใต้น้ำของกองทัพเรือไทยได้
แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจว่าการอนุมัติใดๆเกี่ยวกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำระยะต่อไปของกองทัพเรือยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ครับ