วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

ญี่ปุ่นจะพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกล ASM-3 รุ่นใหม่

Japan to develop long-range air-to-surface cruise missiles

A Japanese F-2 fighter carrying a pair of indigenously developed ASM-3 anti-ship missiles. Source: ATLA
https://www.janes.com/article/87346/japan-to-develop-long-range-air-to-surface-cruise-missiles

ญี่ปุ่นมีแผนที่จะพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกลเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศต่อหมู่เกาะที่ห่างไกลทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Takeshi Iwaya กล่าวเมื่อ 19 มีนาคม 2019
Iwaya กล่าวว่าแผนนี้มุ่งเป้าไปที่การเสริมสร้างการป้องปรามโดยการขยายพิสัยการยิงของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียง ASM-3 ให้มีระยะยิงมากกว่า 400km

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น ASM-3 ซึ่งคาดว่าจะมีความเร็วสูงสุดที่ Mach 3 และมีพิสัยยิงไกลสุด 200km เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่น และกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น
ในฐานะระบบที่จะมาทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำตระกูล Type 93 คาดว่า ASM-3 จะถูกนำมาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Mitsubishi F-2 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ(JASDF: Japan Air Self-Defense Force)

Iwaya กล่าวว่าญี่ปุ่นได้เสร็จสิ้นการพัฒนา ASM-3 แล้ว แต่ยังคงกำลังพัฒนาคอมพิวเตอร์ภารกิจขั้นก้าวหน้า(AMC: Advanced Mission Computer) ใหม่สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-2 นั่นหมายความว่าตัวอาวุธปล่อยนำวิถียังไม่ถูกบูรณาการเข้ากับระบบเครื่องบินที่ติดตั้งมันได้
"เราจะสร้างความพยายามที่ดีที่สุดของเราเพื่อพัฒนาและนำ AMC มาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในระหว่างนี้เรามุ่งเป้าที่จะขยายพิสัยการยิงของอาวุธปล่อยนำวิถี ASM-3" Iwaya กล่าวในการสัมมนากับสื่อ

รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นเสริมว่าอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนใหม่ยังมีจุดประสงค์สำหรับใช้กับเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่จะมาทดแทน F-2 ซึ่งจะถูกปลดประจำการในปี 2030s(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-2.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/07/northrop-grumman-f-2.html)
ขณะเดียวกันญี่ปุ่นยังได้ลงนามสัญญาจัดหาสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Kongsberg JSM(Joint Strike Missile) นอร์เวย์เพื่อนำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/jsm-f-35.html)

แม้ว่า Iwaya จะไม่ได้กล่าวถึงประเทศใดเฉพาะเจาะจง แต่มันได้ปรากฎว่าความเคลื่อนไหวนี้เป็นการตอบสนองต่อการขยายการเติบโตของกิจกรรมทางทะเลของจีนในทะเลจีนตะวันออก
ซึ่งรวมถึงหมู่เกาะ Senkaku ในจังหวัด Okinawa ญี่ปุ่น หรือที่จีนเรียกว่าหมู่เกาะ Diayu หมู่เกาะที่เป็นพื้นที่พิพาทดังกล่าวอยู่ในการควบคุมโดยญี่ปุ่นแต่ยังถูกอ้างสิทธิโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนครับ