วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

Saab สวีเดนเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen เป็นหนึ่งระบบที่ครบตรงความต้องการของมาเลเซีย

LIMA 2019: Saab promotes ‘one platform’ approach to meet Malaysia’s air combat needs
Saab is positioning its Gripen to meet Malaysia’s fighter aircraft requirements. Source: Saab
https://www.janes.com/article/87528/lima-2019-saab-promotes-one-platform-approach-to-meet-malaysia-s-air-combat-needs




Gripen D 70101 701st Squadron,Wing 7, Royal Thai Air Force displayed at Langkawi International Maritime and Aero Exhibition 2019 (LIMA 2019).
https://www.facebook.com/wing7RTAF/posts/2170163673071995


บริษัท Saab สวีเดนกำลังเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen เพื่อให้ตรงความต้องการการยุทธทางอากาศในระยะใกล้และระยะยาวของมาเลเซีย ผ่านการเป็น 'หนึ่งระบบ' ที่เข้าถึงความเป็นศูนย์กลาง
Saab กล่าว ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ LIMA 2019 ที่จัดขึ้นใน Langkawi มาเลเซียระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2019

ในระยะใกล้ Saab สวีเดนวางตำแหน่งเครื่องบินขับไล่พหุบทบาทเครื่องยนต์เดียว Gripen ของตนในฐานะผู้เข้าแข่งขันสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)
Saab กล่าวว่าตนได้ตอบสนองต่อเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request For Information) ในการสนับสนุนการจัดหา LCA ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ที่บริษัทเสนอ-สนับสนุนโดยสินเชื่อส่งออกของสวีเดนประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Gripen C ที่นั่งเดี่ยว 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Gripen D สองที่นั่ง 2เครื่อง รวม 12เครื่อง

ก่อนหน้านี้ Saab สวีเดนได้เสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen แก่มาเลเซียเพื่อให้ตรงตามความต้องการจัดหาเครื่องบินรบพหุบาท MRCA(Multirole Combat Aircraft) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย
อย่างไรก็ตามโครงการ MRCA ได้ถูกระงับไปเนื่องจาการขาดแคลนงบประมาณ และการผลักดันโดยรัฐบาลมาเลเซียเพื่อเสริมความแข็งแกร่งขีดความสามารถการต่อต้านการก่อความไม่สงบภายในแทนการป้องกันดินแดนภายนอก(https://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html)

ความสำคัญที่ใหม่กว่าที่ได้ถูกอุบัติขึ้นอย่างเร่งด่วนของโครงการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA ของกองทัพอากาศมาเลเซีย แม้ว่าโครงการนี้ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการเงินก็ตาม
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MRCA ยังคงน่าจะเดินหน้าต่อไปแต่อาจจะไม่ปรากฏในฐานะโครงการจัดหาอย่างเป็นทางการสำหรับอีกทศวรรษข้างหน้าหรือมากกว่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)

Saab กล่าวว่า Gripen เป็น 'หนึ่งระบบ' ของตนเข้าถึงการให้ความสำคัญต่อขีดความสามารถที่ตรงความต้องการขีดความสามารถทั้งโครงการ LCA และ MRCA ขณะที่กองทัพอากาศมาเลเซียไม่ได้ให้รายละเอียดความต้องการขีดความสามาถเต็มอัตราของ LCA
เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศมาเลเซียเน้นหนักต่อ Jane's ถึงความจำเป็นสำหรับเครื่องบินขับไล่เบาและยืดหยุ่นที่สามารถใช้ในปฏิบัติการโจมตีภาคพื้นดินและต่อต้านการก่อความไม่สงบ ด้วยขีดความสามารถที่บินขึ้นและลงจอดบนทางวิ่งระยะสั้นได้

เจ้าหน้าที่ Saab กล่าวว่า Gripen สามารถเติมเต็มความต้องการนี้เช่นเดียวกับบทบาทเครื่องบินขับไล่ MRCA ในระยะยาว เพื่อมอบการป้องกันทางยุทธวิธีและการป้องปรามตลอดทั้งพิ้นที่ เช่น ที่ทะเลจีนใต้
โดยในงานแสดงการบิน LIMA 2019 ปีนี้ กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Gripen D หมายเลข 70101 ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎรธานี มาจัดแสดงในงาน ซึ่งไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มชาติ ASEAN ของมาเลเซียที่มีเครื่องรุ่นนี้ใช้งาน

สำหรับโครงการ LCA นั้น Saab Gripen C/D สวีเดน 12เครื่อง จะแข่งขันกับเครื่องบินจากหลายประเทศ เช่น เครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 Golden Eagle ของบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50.html)
บริษัท Leonardo อิตาลี ที่น่าจะเสนอเครื่องบินขับไล่โจมตี M-346FA(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/leonardo.html) เช่นเดียวกับรัสเซียที่เสนอเครื่องฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html)

รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Tejas ของ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอินเดีย ที่ได้ส่งเครื่องมาแสดงการบินและจัดแสดงภาคพื้นดินในงาน LIMA 2019 ที่มาเลเซียเป็นครั้งแรก
ที่เป็นคู่แข่งกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ที่พัฒนาโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html)