วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

MBDA อังกฤษเปิดเผยการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR รุ่นใหม่

MBDA discloses development of SPEAR variants


Artist’s rendering of the baseline SPEAR weapon, SPEAR-EW, and SPEAR-Glide launched from the F-35 and Eurofighter Typhoon platforms. Source: MBDA
https://www.janes.com/article/87978/mbda-discloses-development-of-spear-variants


บริษัท MBDA สาขาสหราชอาณาจักรได้เปิดเผยรายละเอียดการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นรุ่นใหม่ในอนาคตสองรุ่นที่มีพื้นฐานพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยไกลในการพัฒนาทั้งสองรุ่นประกอบด้วย อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR-EW(Electronic Warfare สงคราม Electronic) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน SPEAR-Glide

ขณะที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ระบบอาวุธ SPEAR เป็นการแนวทางการแก้ปัญหาของ MBDA สำหรับกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรในความต้องการขีดความสามารถ SPEAR Cap 3(Selective Precision Effects At Range Capability 3)
กระทรวงกลาโหมอังกฤษได้ประกาศสัญญาวงเงิน 411 million British Pound($536 million) ระยะเวลาสี่ปีแก่ MBDA เพื่อขั้นตอนการพัฒนา SPEAR Cap 3 ในเดือนมีนาคม 2016 สำหรับการออกแบบที่สำคัญและงานพัฒนาปรับปรุงอาวุธปล่อยนำวิถี SPEAR

สำหรับใช้ในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวของเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) และกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy)
การบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น SPEAR เข้ากับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ยังเป็นโครงการที่อยู่ในรายการสำหรับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร

SPEAR เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยไกลขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Turbojet แบบ Pratt & Whitney TJ-130 ที่สามารถให้ระยะยิงได้ไกลมากกว่า 140km ตามข้อมูลจาก MBDA
โดยออกแบบให้สามารถปฏิบัติการได้ทุกกาลอากาศ SPEAR ได้รับการพัฒนาที่สำคัญของการพัฒนาชุดระบบค้นหานำวิถีเป้าหมายขั้นสุดท้ายสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone

ด้วยคุณสมบัติการผสมผสานระบบตรวจจับสร้างภาพความถี่วิทยุ(RF: Radio Frequency) และระบบค้นหา Semi-Active Laser(SAL) โดยการเพิ่มขยายความสามารถขั้นตอนวิธีและการประมวลผล
นั่นทำให้อาวุธปล่อยนำวิถีสามารถจะ 'เห็น' และบันทึกภาพของพื้นที่เป้าหมายผ่านทางส่วนสร้างภาพด้วยความถี่วิทยุของระบบค้นหาเป้าหมาย

การนำร่องถูกส่งมอบผ่านระบบต่อต้านการถูกรบกวนสัญญาณดาวเทียม GPS(Anti-JAM) ผสมผสานด้วยหน่วยเครื่องวัดแรงเฉื่อยพื้นฐานระบบเชิงกลไมโคร-ไฟฟ้า(MEMS: Micro-Electro-Mechanical Systems) ที่มาจากบริษัท UTC Aerospace Systems สหรัฐฯ
อาวุธปล่อยนำวิถียังมีคุณสมบัติด้วยหัวรบที่ไม่ไวต่อการจุดระเบิดด้วยผลกระทบหลายแบบที่มาจากบริษัท TDW สหรัฐฯ ด้วยตัวเลือกชนวนหลายแบบทำให้อาวุธมีความเสียหายข้างเคียงต่ำและอนุญาตให้ปรับแต่งผลกระทบต่อเป้าหมายได้ และมีการเชื่อมโยง Datalink สองทาง

ด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่า 100kg และมีความยาว 1.8m อาวุธปล่อยนำวิถี MBDA SPEAR มีคุณสมบัติการแก้ปัญหาด้วยโครงสร้างอากาศแบบวงกลมขนาด 180mm
ส่วนด้านบนของอาวุธติดตั้งชุดปีกแบบกางออกได้(จะพับปีกไปทางด้านหลังสำหรับการเก็บ), ปรับแต่งรูปแบบด้วยช่องรับอากาศเข้าคู่ทั้งสองด้าน และพื้นผิวครีบหางควบคุมทิศทางแบบพับได้ 3ครีบครับ