วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๒-๓

Closing ceremony of multinational exercise Cope Tiger 2019 at Wing 1 Royal Thai Air Force Base Korat in 22 March 2019. Cope Tiger 2019 exercise that conduct during 11-22 March 2019 include
Royal Thai Air Force's F-5E/F 211st Squadron Wing21, F-16A/B Block 15 OCU 103rd Squadron Wing1, F-16A/B ADF 102nd Squadron Wing 1, F-16AM/BM 403rd Squadron Wing 4, Gripen C/D 701st Squadron Wing 7, Alpha Jet 231st Squadron Wing 23, SAAB 340 ERIEYE AEW 702nd Squadron Wing 7 and C-130H 601st Squadron Wing 6, Republic of Singapore Air Force's F-16C/D, F-15SG, Gulfstream 550 AEW and KC-135 and U.S. Air Force F-16C/D
https://www.facebook.com/AirlineWeek/posts/1983894991707928

The flying training phase of the exercise involved a total of 69 aircraft, 29 Ground-Based Air Defence systems and about 2,000 personnel from the three participating nations.
https://www.facebook.com/TheRSAF/posts/1985035944938253

การฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Cope Tiger 2019 ระหว่างกองทัพอากาศไทย, กองทัพอากาศสิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ ณ กองบิน๑, สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล และสนามฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก ลพบุรี ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) นั้น
แม้จะไม่ค่อยปรากฎข่าวในสื่อมากนัก แต่การฝึกครั้งนี้กองทัพอากาศไทยก็ได้นำอากาศยานจากฝูงบินพร้อมรบจากทั่วประเทศเข้าร่วมการฝึก อาทิ บ.ข.๑๙ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑, F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑, F-16AM/BM ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔,
บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗, บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓, Saab 340 ERIEYE AEW ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ และ บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ประกอบการฝึกกับเครื่องบินขับไล่ F-15SG, F-16C/D, เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ Gulfstream 550 AEW
และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135 กองทัพอากาศสิงคโปร์ และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D กองทัพอากาศสหรัฐฯ เพื่อการเสริมสร้างความร่วมมือทางทหารกับมิตรประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจในความพร้อมการปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศไทยครับ

Fairchild AU-23 Peacemaker 501st Squadron, Wing 5 Royal Thai Air Force at Wing 56 Hat Yai RTAF Base, 2 July 2015(https://www.facebook.com/people/Na-Nuk/100002917501906)
5 March 2019 RTAF AU-23A was engine malfunction after 9th Air Task Force's personal transition between Pattani Airport to Wing 56 then forced to emergency landing near Wat Bang Sala temple, Khlong Hoi Khong, Songkhla , two Pilots and one Technician have minor injuries.

พลอากาศโท พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ในฐานะ โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2562 เวลาประมาณ 12.00 น. 
เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ 2 (AU-23A) ของกองทัพอากาศ ได้ขอลงฉุกเฉินนอกสนามบิน บริเวณใกล้วัดบางศาลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
เครื่องบินดังกล่าว อยู่ระหว่างปฎิบัติภารกิจบินเดินทางเพื่อสับเปลี่ยนกำลังเจ้าหน้าที่จากกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ 9 จังหวัดปัตตานี ไปยังกองบิน 56 จังหวัดสงขลา ขณะใกล้ถึงสนามบิน เกิดเครื่องยนต์ขัดข้อง นักบินได้ทำการแก้ไขและขอลงฉุกเฉินนอกสนามบิน
เบื้องต้น นักบิน 2 คน และเจ้าหน้าที่ 1 คน ปลอดภัย ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย นำส่งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว

จากการติดตามข่าว พบว่ามีการแสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวอย่างกว้างขวาง โดยวิพากษ์วิจารณ์ว่าสาเหตุที่เครื่องยนต์ขัดข้องเกิดจากเครื่องบินเก่า เนื่องจากเครื่องบิน AU-23A ได้บรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 และยังคงปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ ขอเรียนว่าถึงแม้เครื่องบิน AU-23A จะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน แต่กองทัพอากาศยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติภารกิจตามขีดความสามารถของเครื่อง 
ซึ่งปัจจุบันเครื่องบิน AU-23A ประจำการที่ฝูงบิน 501 กองบิน 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจหลายประการ อาทิ การบินลาดตระเวนทางอากาศ การบินลาดตระเวนถ่ายภาพ การลำเลียงทางอากาศ การปฏิบัติการฝนหลวง และการสนับสนุนการปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษต่างๆ
โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามวงรอบอย่างสม่ำเสมอและตรวจสอบให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยยังไม่มีแผนการจัดหาเครื่องบินทดแทนเครื่องบินประเภทนี้ในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากกองทัพอากาศมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม นักบินรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนของกองทัพอากาศ มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากร 
จึงขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่า กองทัพอากาศยังคงดำรงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ การรักษาเอกราชอธิปไตยเหนือน่านฟ้าไทย และการรักษาผลประโยชน์ของชาติได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2478521618844080

กรณีเครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A ฝูงบิน๕๐๑ กองบิน๕ ประจวบคีรีขันธ์ ขณะทำการบินสับเปลี่ยนกำลังกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่๙ สนามบินหนองจิก ปัตตานี ไปกองบิน๕๖ สงขลา เครื่องยนต์ขัดข้องจนต้องลงจอดฉุกเฉินนอกสนามบิน วัดบางศาลา อำเภอคลองหอยโข่ง นั้น
ก็นับว่าโชคดีที่นักบิน ๒นาย และเจ้าหน้าที่ ๑นาย ได้รับบาดเจ็บเล็ก ซึ่งการที่ได้รายงานไปก่อนหน้าว่า กองทัพอากาศไทยมีโครงการปรับปรุงโครงสร้างและระบบ Avionic ของ AU-23A ๑๒เครื่อง วงเงินราว ๒๓๐,๐๐๐,๐๐บาท($7.06 million) โดยบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (RV Connex) ไทย
บ.จธ.๒ AU-23A ที่เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐(1977) และมีกองทัพอากาศไทยเป็นผู้ใช้งานรายเดียวจะยังประจำการไปอีกนานเพราะปัจจุบันไม่มีอากาศยานแบบใดที่มีสมรรถนะใกล้เคียงหรือดีกว่าจะมาแทนได้ ซึ่งถ้าปลดประจำการไปจากกองบิน๕ แล้ว ฝูงบิน๕๐๑ ก็คงจะกลายเป็นฝูงบินว่าง
โดยแสดงให้เห็นว่าที่ชายแดนภาคใต้กองทัพอากาศมีการนำอากาศยานมาใช้สนับสนุนภารกิจต่างๆอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่กรณีอุบัติเหตุนี้ก็ถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาติโจมตีกองทัพอากาศว่าไม่รักชีวิตนักบินให้ขับแต่เครื่องบินเก่าๆล้าสมัยใกล้พัง แต่ก็คัดค้านการจัดหาเครื่องบินใหม่มาทดแทนครับ

Royal Thai Navy's retired Lockheed UP-3T serial 1206, 102 Sqaudron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division on static display at Royal Thai Naval Air Division Museum Park (Unknow Photos Source)

ตามที่ได้รายงานประกาศของศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย ในส่วน สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทางเรือ เรื่องยกเลิกโครงการซื้อเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลจำนวน ๓เครื่องนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/blog-post_7.html)
แม้ว่ากองการบินทหารเรือ กบร.จะมีความต้องการเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลใหม่มาทดแทนเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ Lockheed P-3T Orion จำนวน ๓เครื่องที่เคยประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ที่ปลดประจำการไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ก็ตาม
แต่กว่าจะมีการปรับร่างขอบเขตของงาน(TOR: Term of Reference) และข้ออนุมัติในปีงบประมาณใหม่ได้นั้น กบร.ก็คงต้องใช้งานเครื่องที่มีอยู่เช่น เครื่องบินลาดตระเวนแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ ทั้ง ๗เครื่อง
และเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 Mk200 ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ทั้ง ๓เครื่อง ไปก่อนโดยก็มีการปรับปรุงความทันสมัยและจัดหาอะไหล่ซ่อมบำรุงยืดอายุการใช้งานออกไปแม้ว่าจะประจำการมานานหลายสิบปีแล้วก็ตามครับ 






Royal Thai Navy's Surface warfare 2019 commissioned officer training course include newest guided missile frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej, CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier, Naresuan-class guided missile frigate FFG-422 HTMS Taksin,  
Chao Phraya-class frigate FF-456 HTMS Bangpakong and Sikorsky SH-60B Seahawk(S-70B) anti-submarine helicopter.

กองทัพเรือ โดยกองเรือยุทธการสนับสนุนเรือและอากาศยานให้นายทหารนักเรียนหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ(Surface warfare 2019) ออกเรือฝึกภาคปฏิบัติในทะเล เมื่อวันที่ 7 มี.ค.62 โดยมีเรือและอากาศยานร่วมการฝึกครั้งนี้ได้แก่ 
เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือหลวงตากสิน และเรือหลวงบางปะกง เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่ 1 (S– 70B) จำนวน 1 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงและกู้ภัย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นายทหารนักเรียนและนายทหารประจำเรือมีความรู้ความสามารถด้านการปฏิบัติการทางเรือต่างๆ และการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือรบและอากาศยานของกองทัพเรือ โดยนายทหารที่สำเร็จการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้จะได้ประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถสงครามเรือผิวน้ำ

และในปัจจุบัน กองทัพเรือมีการฝึกการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือรบและอากาศยานของกองทัพอากาศ ในการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพให้สูงมากยิ่งขึ้นไปอีก 
นับได้ว่าหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ หรือ Surface warfare จะเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการสร้างนักรบทางเรือ ที่จะเป็นกำลังสำคัญของกองทัพเรือต่อไปในอนาคต

หลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ(Surface warfare 2019) ของนายทหารสัญญาบัตรกองทัพเรือไทยที่กองเรือยุทธการสนับสนุนเรือและอากาศยานร่วมการฝึกคือ ร.ล.จักรีนฤเบศร ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ร.ล.ตากสิน และเรือหลวงบางปะกง เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B Seahawk นั้น
ก็เป็นอีกหนึ่งในการฝึกของกองทัพเรือไทยที่ได้นำเรือฟริเกตสมรรถนะสูงชุดใหม่ล่าสุดคือ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ปฏิบัติการร่วมกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ซึ่งติดตั้งระบบอำนวยการรบ Saab 9LV และเครือข่ายทางยุทธวิธี Link RTN/Link-T
เป็นการหักล้างการปล่อยข่าวโจมตีจากผู้ไม่หวังดีต่อกองทัพเรือว่าทั้ง ร.ล.จักรีนฤเบศร และ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือที่จอดอยู่ที่ท่าตลอดไม่ออกเรือไปไหนสิ้นเปลืองภาษีประชาชน ซึ่งก็อย่างที่เห็นในชุดภาพอีกครั้งแล้วว่ากองทัพเรือนำเรือออกฝึกในทะเลจริงตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง
โดยตลอดทั้งเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒ นี้ กองทัพเรือได้อยู่ในระหว่างการฝึกการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๒(2019) ซึ่งบูรณาการกำลังทุกส่วนของกองทัพเรือร่วมการฝึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากองทัพเรือไทยจะมีความพร้อมสูงสุดตลอดเวลาครับ

CSOC has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photo)

วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน เสนาธิการทหารเรือ และประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ และคณะได้เดินทางเยือนบริษัท CSIC(China Shipbuilding Industry Corporation) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
และอู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Co.,Ltd (WS) เมือง Wuhan ผู้สร้างเรือดำน้ำแบบ S26T ของกองทัพเรือไทยที่มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือลำที่๑ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย' (https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)
โดยได้มีการหารือกับ Wu Xiaoguang รองประธานกรรมการ CSIC ถึงการเสริมสร้างความร่วมมือในอนาคตกองทัพเรือไทยและจีน เป็นคืบหน้าล่าสุดหลังประชุมทบทวนติดตามความก้าวหน้าระดับ Project Management Review(PMR) ครั้งที่๓ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/s26t.html)

แม้ว่ากองทัพเรือจะมีความต้องการดำเนินการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และลำที่๓ ตามมาโดยเร็ว แต่ทว่าผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๒ นั้นมีแนวโน้มที่รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่(ถ้าจัดตั้งเสร็จ)จะมีนโยบายตัดงบประมาณกลาโหมรวมถึงการยกเลิกโครงการจัดเรือดำน้ำของกองทัพเรือลงทั้งหมด
ซึ่งนอกจากโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีน ยังรวมถึงโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ที่มีบริษัท BMT สหราชอาณาจักร เป็นที่ปรึกษาด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bmt.html)
ที่มีความพยายามสร้างทัศนะคติแก่ประชาชนให้มองว่าเรือดำน้ำไม่ว่าจะขนาดใหญ่ขนาดเล็กสั่งต่อจากต่างประเทศหรือสร้างเองในไทยล้วนแต่ไม่มีประโยชน์ในการใช้งานจริงที่จะให้กองทัพเรือนำเงินภาษีมาผลาญเล่น ซึ่งเป็นการใส่ร้ายกองทัพเรือและบ่อนทำลายความมั่นคงทางทะเลของไทยครับ













Marines Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy's Cadillac Gage V-150 Commando 4x4 upgraded by Thai company CHAISERI with M2 .50cal (12.7mm) heavy machine gun on IMI WAVE 200 Remote Controlled Weapon Station (RCWS)

มีรูปในมุมต่างๆของ V-150 ปรับปรุงใหม่โดยชัยเสรีมาให้ดูครับ

เมื่อ 181400 มี.ค.62 น.ท.เอกรัฐ แช่มขุนทด ผบ.พัน.ถ.ฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึก ”การฝึกเป็นหน่วยเบื้องสูง พัน.ถ.พล.นย.” ประจำปี งป.62 พร้อมทั้งให้โอวาทและแนวทางการฝึกแก่กำลังพลในสังกัด ณ พัน.ถ.พล.นย.

ตามที่ได้รายงานการปรับปรุงรถเกราะล้อยาง Cadillac Gage V-150 Commando 4x4 กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน โดยบริษัท ชัยเสรี(Chaiseri) ไทยในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒ นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/v-150-remote.html)
นอกจากการติดตั้งป้อมปืน Remote(RCWS: Remote Controlled Weapon Station) IMI WAVE 200 อิสราเอลสำหรับปืนกลหนัก Browning M2HB .50caliber แล้ว การปรับปรุงยังมีการเสริมเกราะ V-Shape ใต้ท้องรถเพื่อเพิ่มการป้องกันทุ่นระเบิด 
เครื่องยนต์ดีเซลใหม่ Cummin ISB 300HP และระบบส่งกำลังอัตโนมัติ Allison 3000 สหรัฐฯ ทำให้รถสามารถทำความเร็วได้ 110km/h บนถนนและ 40-60km/h บนภูมิประเทศ เครื่องลูกระเบิดควัน 6x2ท่อยิง น้ำหนักรถเพิ่มเป็น 10.5tons ในราคาปรับปรุงรวม ๒๐ล้านบาท($630,890)
มีรถเกราะล้อยาง V-150 4x4 ที่ปรับปรุงตามแบบแผนของ Chaiseri แล้ว ๑คันตามภาพข้างต้น และกำลังรองบประมาณปรับปรุงอีก ๑๓คัน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะมีการแข่งขันกับถหุ้มเกราะล้อยาง AMV-420P ที่สร้างใหม่ทั้งคันของบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์(Panus Assembly) ไทยหรือไม่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/amv-420p-hmv-420.html)

Enstrom 480B training helicopters of Army Aviation School, Army Aviation Center, Royal Thai Army(https://www.facebook.com/ball.kittidej)

Six more Enstrom 480s for Thailand

บริษัท Enstrom Helicopter Corporation สหรัฐฯได้รับสัญญาวงเงิน $12 million(ประมาณ ๘๕๐ล้านบาท) สำหรับการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ฝึก ฮ.ฝ.480 Enstrom 480B จำนวน ๖เครื่องแก่กองทัพบกไทย
ฮ.ฝ.๔๘๐ Enstrom 480B ที่กองทัพบกไทยจัดหานี้ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ Turbine Turboshaft แบบ ROLLS-ROYCE 250-C20W กำลัง 420 SHP ๑เครื่อง, ระบบแสดงผลเครื่องวัดประกอบการบิน Aspen EFIS จอคู่, ระบบ Garmin avionics และวิทยุทางยุทธวิธี Cobham RT-7000
โดยก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหา ฮ.ฝ.480 Enstrom 480B จำนวน ๑๖เครื่อง เข้าประจำการใน โรงเรียนการบินทหารบก ศูนย์การบินทหารบก เพื่อเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกนักบินอากาศยานปีกหมุน
จะทำให้ รร.การบิน ทบ. ศบบ.มี ฮ.ฝ.๔๘๐ Enstrom 480B รวมเป็น ๒๒เครื่อง ซึ่งเดิมกองทัพบกไทยมีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ฝึกใหม่จำนวน ๓๒เครื่องเพื่อทดแทน ฮ.ฝ.๓๐๐ HUGHES/SCHWEIZER 300C ที่ใช้งานมานานครับ






6th Cavalry Battalion, 6th Cavalry Regiment, 3rd Cavalry Division, Royal Thai Army commissioning ceremony of new 10 NORINCO VT4(MBT-300) main battle tanks in March 2019

พลตรี จุมพล จุมพลภักดี ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 3 เป็นประธานพิธีนำรถถังหลักแบบ 60 (VT4) เข้าประจำการภายในหน่วย กองพันทหารม้าที่ 6 กรมทหารม้าที่ 6 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ จำนวน 10 คัน 
ณ ลานสวนสนามค่ายศรีพัชรินทร ค่ายศรีพัชรินทร อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น

กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ ก็ได้รับมอบรถถังหลักแบบ๖๐ VT4 ชุดใหม่จำนวน ๑๐คันเข้าประจำการ ซึ่งเดิมกองพันทหารม้าที่๖ มีรถถังเบาแบบ๓๒ Stingray ประจำการ 
ซึ่งตามแผนเมื่อ ม.๖ พัน. ได้รับมอบ ถ.หลัก VT4 ครบตามอัตราจะมีการโอนย้าน ถ.เบา.๓๒ ไปประจำการ ณ กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ ที่เดิมใช้รถถังเบา M41A3 ที่ถูกปลดประจำการลงต่อไป
โดยกองพันทหารม้ารถถังที่ขึ้นตรงกับ ม.๖ อีกกองพันคือ กองพันทหารม้าที่๒๑ จะได้รับมอบรถถังหลัก VT4 คู่ขนานไปกับกองพันทหารม้าที่๖ ตามที่มีแผนการจัดหา VT4 ระยะที่๓ จำนวน ๑๔คัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/vt4.html)
และ กรมทหารม้าที่๗ พล.ม.๓ ที่มี พัน.ถ.หน่วยขึ้นตรงคือ กองพันทหารม้าที่๘ ได้รับมอบรรถังหลัก M48A5 จำนวน ๓๔คัน ที่โอนจากกองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ได้รับมอบรถถังหลัก Oplot-T ครบตามอัตราไปแล้วครับ

MBDA VL MICA ground based air defence missile of Royal Thai Army include wheeled self-propelled Airbus Defence and Space TRML-3D/32 3D radar, control station and two launcher with four missiles per each system
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1619276874842084

ตามที่หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ. กองทัพบกไทยได้รับมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ VL MICA ยุโรป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/vl-mica-skyguard-3-2018.html)
เพื่อทดแทนระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Spada อิตาลีที่เคยประจำการ ณ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู่อากาศยานที่๗ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/skyguard-3-oerlikon-gdf-007.html)
ล่าสุดได้มีภาพถ่ายเปิดเผย VL MICA ทั้งระบบที่ประกอบด้วย แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจร จำนวน ๒ระบบ ระบบควบคุมและบัญชาการ และ Radar ตรวจการณ์และป้องกันภัยทางอากาศ 3D แบบ Airbus Defence and Space TRML-3D/32-6 รวมทั้งระบบเป็นหนึ่งหมวด
แท่นยิง VL MICA แต่ละระบบมีท่อยิงจรวด ๔นัด สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี VL MICA RF นำวิถีแบบ Active Radar Homing หรือ VL MICA IR นำวิถีแบบ Infrared ระยะยิง 20km โดยถ้าในอนาคตถ้าได้รับงบประมาณเพียงพอก็จะจัดหาเพิ่มเติมอีกหนึ่งหมวดให้ครบหนึ่งกองร้อยครับ

The Royal Thai Army team on the first day of competition during the Australian Army Skill at Arms Meeting 2019 (AASAM19) held in Puckapunyal, Victoria.
https://www.facebook.com/AASAMAustralianArmy/photos/a.2243595812414841/2243596359081453/

การแข่งขันทักษะการใช้อาวุธนานาชาติ Australian Army Skill at Arms Meeting 2019 (AASAM 2019) ที่กองทัพบกออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพที่จัดขึ้น ณ สนามฝึก Puckapunyal Military Area(PMA) รัฐ Victoria ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม- ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒
ก็เป็นอีกปีที่กองทัพบกได้ส่งทีมเข้าแข่งกันกับทีมจากกองทัพหลายประเทศ เช่นในกลุ่มชาติ ASEAN ด้วยกันก็มี กองทัพอินโดนีเซีย กองทัพบกมาเลเซีย กองทัพบรูไน กองทัพประชาชนเวียดนาม และกองทัพกัมพูชา
ประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกก็มี ตองกา ปาปัวนิวกินี ฟิจิ ติมอร์-เลสเต รวมถึงประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กองทัพบกสหราชอาณาจักร กองทัพบกแคนาดา กองทัพบกสหรัฐฯ นาวิกโยธินสหรัฐฯ กองทัพบกนิวซีแลนด์ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น และกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี
การเข้าร่วมการแข่งขัน AASAM19 ที่ออสเตรเลียเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพบกไทยกับมิตรประเทศทั่วโลก และยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะการใช้อาวุธประจำการในการแข่งขันระดับนานาชาติครับ