วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

รัสเซียเสร็จสิ้นการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 แก่จีน

Russia completes deliveries of Su-35 fighter jets to China

The contract worth about $2.5 billion on the deliveries of 24 fighter jets to China was signed in 2015
http://tass.com/defense/1053967


รัสเซียได้เสร็จสิ้นการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ยุคที่4++ Sukhoi Su-35SK(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) รุ่นส่งออกแก่กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ภายใต้สัญญาที่ลงนามไปก่อนหน้านี้
"ในการปฏิบัติตามสัญญา เครื่องบินขับไล่ Su-35 ทั้งหมดได้ถูกส่งมอบแก่ลูกค้าต่างประเทศแล้ว" กองบริการสหพันธรัฐด้านการทหารและความร่วมมือทางเทคนิครัสเซียกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2019

สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายแรกที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซีย สัญญาวงเงินราว $2.5 billion สำหรับการส่งมอบ Su-35 จำนวน 24เครื่องแก่จีนได้รับการลงนามในเดือนพฤศจิกายน 2015
สัญญายังระบุถึงการส่งมอบอุปกรณ์ภาคพื้นดินและเครื่องยนต์สำรองที่จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในสิ้นปี 2020 โดยกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนได้ยืนยันการรับมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35SK ชุดแรกในเดือนเมษายน 2018(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/su-35s-10-mig-29.html)

อินโดนีเซียเป็นลูกค้าต่างประเทศรายที่สองที่จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซีย โดยได้มีลงนามสัญญาจัดหาจำนวน 11เครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)
ภายใต้สัญญารัสเซียมีกำหนดจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35SK ชุดแรกแก่กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ณ ฝูงบิน14(Skadron Udara 14) ในปี 2019 นี้เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II สหรัฐฯ

การปฏิบัติตามสัญญาส่งมอบ Su-35 แก่อินโดนีเซียได้ประสบกับมีปัญญาบางประการที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯในการคว่ำบาตรประเทศที่จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/su-35.html)
แต่แหล่งข่าวในวงการทหารและการทูตของ TASS กล่าวว่าความยุ่งยากเหล่านี้ "ไม่ได้มีความสำคัญที่ยิ่งยวด" และจะไม่มีผลกระทบในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 แก่อินโดนีเซีย

อียิปต์เป็นลูกค้าต่างประเทศรายที่สามที่จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซียจำนวนมากกว่า 24เครื่องที่มีการลงนามสัญญาในปลายปี 2018 ที่คาดว่าจะมีวงเงินราว $2 billion และจะเริ่มต้นส่งมอบได้ในช่วงปี 2020-2021(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/su-35.html)
อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับอินโดนีเซีย อียิปต์ได้ถูกกดดันจากสหรัฐฯว่าถ้าจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35SK จากรัสเซีย ก็จะต้องเผชิญกับกฎหมายรัฐบัญญัติต่อต้านปฏิปักษ์ของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร(CAATSA: Countering America's Adversaries Through Sanctions Act)

Su-35S เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4++ ความเร็วเหนือเสียงที่ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2008 เข้าประจำการกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS) ตั้งแต่ปี 2015 โดยมีพื้นฐานการพัฒนามาจากเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27S(NATO กำหนดรหัส Flanker-B)
Su-35S มีน้ำหนักเครื่อง 19tonnes ติดตั้ง Phased Arry Radar และเครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับได้(TVC: Thrust Vector Control) ทำเพดานบินสูงสุดได้ที่ 20,000m ทำความเร็วสูงสุดได้ 2,500km/h มีพิสัยการบินไกลสุด 3,400km มีรัศมีการรบ 1,600km และมีนักบินประจำเครื่อง 1นาย

ระบบอาวุธของ Su-35 ประกอบด้วยปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัดภายในลำตัวเครื่อง พร้อมตำบลอาวุธที่ปีกและใต้ลำตัวที่สามารถติดตั้งระเบิดและอาวุธปล่อยนำวิถีได้หลายแบบได้หนักถึง 8tonnes รวม 12จุดแข็ง
แหล่งข่าวในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนระบุว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35SK รัสเซีย จีนจะได้รับมอบระบบอาวุธชุดใหญ่ที่ประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น, จรวดอากาศสู่พื้นไม่นำวิถี ระเบิดไม่นำวิถี และระเบิดนำวิถี

โดยเครื่องบินขับไล่ Su-35SK จีนจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ R-73(NATO กำหนดรหัส AA-11 Archer), อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-27(NATO กำหนดรหัส AA-10 Alamo)
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางตระกูล RVV(R-77 NATO กำหนดรหัส AA-12 Adder) เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Kh-35E(NATO กำหนดรหัส AS-20 Kayak) ครับ