วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

อินโดนีเซียจัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F และรถรบทหารราบ BMP-3F และรถเกราะล้อยาง Pandur II

Indonesia acquires BMP-3F, BT-3F amphibious vehicles for Marines Corps
The Indonesian Ministry of Defence has signed a contract for BMP-3F and BT-3F vehicles

The vehicles will be in service with cavalry units across the Indonesian Marines Corps’ three divisions
https://www.janes.com/article/88033/indonesia-acquires-bmp-3f-bt-3f-amphibious-vehicles-for-marines-corps

Indonesia signs USD82 million LOI for Pandur II IFVs
A Pandur II configured as an infantry fighting vehicle, seen here at the 2018 Indo Defence exhibition in Jakarta.

The other are being trialled in the fire-support vehicle (FSV) configuration with 105 mm cannon.
https://www.janes.com/article/88023/indonesia-signs-usd82-million-loi-for-pandur-ii-ifvs

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหารถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F ชุดแรก 21คัน และรถรบทหารราบ BMP-3F IFV(Infantry Fighting Vehicle) ชุดที่สาม 22คัน สำหรับนาวิกโยธินอินโดนีเซีย(Indonesian Marines Corps, KORMAR: Korps Marinir)
สัญญาจัดหาได้รับการลงนามกับ JSC Rosoboronexport หน่วยงานส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย ณ สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียในนครหลวง Jakatar เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2019

ตามที่ Jane's ได้รายงานไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2017 อ้างอิงแหล่งข่าวจากภายในกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) คณะตัวแทนเจ้าหน้าที่นายทหารระดับสูงของนาวิกโยธินอินโดนีเซียได้เดินทางเยือนรัสเซียในเวลาดังกล่าว
เพื่อรับชมการสาธิตขีดความสามารถของรถเกราะสายพานลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F ใกล้นครหลวง Moscow(https://aagth1.blogspot.com/2017/08/bt-3f.html)

BT-3F เป็นรถเกราะสายพานลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบกที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในหน่วยทหารราบกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Naval Infantry) ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนามาจากแคร่ฐานรถรบทหารราบสายพาน BMP-3(https://aagth1.blogspot.com/2016/08/bt-3f-typhoon-k.html)
โดยนาวิกโยธินอินโดนีเซียได้จัดหารถรบทหารราบสายพานสะเทินน้ำสะเทินบก BMP-3F ชุดแรก 17คันในปี 2010 และชุดที่สอง 37คันในปี 2014 รวม 54คัน เมื่อรวมกับชุดที่สามที่ลงนามล่าสุดอีก 22คันจะรวมเป็น 76คัน

นาวิกโยธินอินโดนีเซียมีความต้องการจัดหายานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ เพื่อทดแทนรถเกราะสายพานลำเลียงพล BTR-50PK รัสเซียเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน
ซึ่งรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก BMP-3F จำนวน 76คัน และรถเกราะลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบก BT-3F จำนวน 21คันจะถูกนำเข้าประจำการในหน่วยทหารม้านาวิกโยธิน ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของแต่ละกองพลนาวิกโยธินทั้งสามกองพลของนาวิกโยธินอินโดนีเซีย

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและ PT Pindad รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอาวุูธภาคพื้นดินของอินโดนีเซียได้ถูกรายงานในสื่ออ้างว่าสัญญาวงเงิน $82 million สำหรับยานเกราะล้อยาง Pandur II 8x8 จำนวน 22คันได้รับการลงนามแล้ว ในการชี้แจงแยกที่ Jane's ได้รับเมื่อวันที่ 19 และ 22 เมษายน 2019
เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและบริษัท PT Pindad อินโดนีเซีย อธิบายว่าสัญญาที่ได้รับการลงนามที่ Bandung อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2019 เป็นจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) และไม่ใช่สัญญาขั้นสุดท้ายตามที่มีการรายงานแพร่หลาย

ขั้นตอนการจัดหาแยกต่างหากและและสัญญาที่ตามมาสำหรับยานเกราะล้อยางและสัญญาที่ตามมาสำหรับยานเกราะล้อยาง Pandur II CZ ในชื่ออินโดนีเซียว่ารถรบทหารราบล้อยาง Cobra IFV จะเริ่มต้นได้ในเวลาที่เหมาะสมเมื่อมีความชัดเจนเพิ่มเติมว่าวงเงินงบประมาณโครงการจะมาจากที่ใด
เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกล่าว โดยวงเงินสำหรับโครงการได้รับการร้องขอภายใต้งบประมาณกลาโหมอินโดนีเซีย แต่มีความเป็นไปได้ว่าอินโดนีเซียอาจจะนำวงเงินสินเชื่อกลาโหมมาอำนวยความสะดวกในการจัดหา

ทั้งสองแนวทางจะมีผลให้สัญญาจะมีการส่งมอบรถมาถึงอินโดนีเซียในสภาพรูปแบบชุดประกอบ semi knocked-down โดยการประกอบเป็นตัวรถที่สมบูรณ์จะดำเนินการเสร็จสิ้น ณ โรงงานของ PT Pindad ใน Bandung อินโดนีเซีย เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเสริม
กองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Darat) ได้ทดลองใช้งานยานเกราะล้อยาง Pandur II ออสเตรีย-เช็ก 4คัน ซึ่งได้รับมอบจากบริษัท Excalibur Army(Czechoslovak Group) สาธารณรัฐเช็กเมื่อเดือนกันยายน 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/pandur-ii-8x8-m113-arisgator.html)

ยานเกราะล้อยาง Pandur II จำนวน 2คันที่กองทัพบกอินโดนีเซียทดสอบใช้งานเป็นรูปแบบรถรบทหารราบ IFV โดยติดตั้งป้อมปืน Remote พร้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm แบบ UT30BR 30mm ของ ARES บราซิลที่มีพื้นฐานจากป้อมปืน UT30 Mk II ของ Elbit Systems อิสราเอล
ยานเกราะล้อยาง Pandur II อีก 2คันที่ทดลองใช้งานเป็นรูปแบบรถยิงสนับสนุน FSV(Fire-Support Vehicle) โดยติดตั้งป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm แบบ Cockerill Cockerill CT-CV 105HP ของ CMI Defence เบลเยียมครับ