วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

ภาพเปิดเผยเครื่องบินขับไล่ Su-30SME กองทัพอากาศพม่าเครื่องแรกที่รัสเซีย






Delegation of Myanmar Armed Forces officer include Senior-General Min Aung Hlaing the Commander-in-Chief and Myanmar Air Force senior officer visited Irkutsk Aviation Plant, Irkut Corporation at Irkutsk Russia.
Photos revealed Sukhoi Su-30SM fighter in primer colour that likely be first of six Myanmar Air Force's Su-30SME export variant which was signed in 2018.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2107629585959667&id=210114122377899

ตามที่คณะตัวแทนนายทหารของกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) และกระทรวงกลาโหมพม่าที่มีพลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า และนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay)
ได้เดินทางเยือนโรงงานอากาศยาน Irkutsk ของบริษัท Irkut Corporation ในเครือของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) รัสเซีย เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2019 ที่ผ่านมานั้น
ชุดภาพที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของพม่าได้เปิดเผยถึงภาพคณะนายทหารพม่ากำลังชมเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SM ในสีรองพื้นที่เพิ่งออกจากสายการผลิตของโรงงานไม่นาน ซึ่งถูกอ้างว่าน่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SME เครื่องแรกของกองทัพอากาศพม่า

พม่าและรัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-30SM จำนวน 6เครื่องสำหรับกองทัพอากาศพม่า ระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergey Shoigu เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเมื่อวันที่ 20-21 มกราคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30-6.html)
โดยรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียไม่ได้ให้ความสนใจต่อข้อกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐฯต่อกรณีการขายเครื่องบินขับไล่ Su-30 ที่สหรัฐฯแสดงความกังวลว่าจะยิ่งทำให้สถานการณ์ความรุนแรงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าเลวร้ายขึ้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30.html)
ต่อมาวันที่ 17 สิงหาคม 2018 พลอากาศเอก Maung Maung Kyaw ผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่าได้ทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ Su-30SM รัสเซีย ในตำแหน่งนักบินที่สอง ณ สนามบิน Kubinka ระหว่างการเยือนนครหลวง Moscow(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30sm.html)

ในชุดภาพการเยี่ยมชมโรงงานอากาศยาน Irkutsk รัสเซียโดยคณะนายทหารพม่านั้น แสดงถึงเครื่องเครื่องบินขับไล่ Su-30SME ที่เป็นรุ่นส่งออกของเครื่องบินขับไล่ Su-30SM ที่ประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force, VKS)
ภาพเครื่องที่ปรากฎแสดงถึงรูปแบบเครื่องบินขับไล่ที่สร้างใหม่จากโรงงานที่มีปีก Canard คู่ที่ส่วนหน้าโคนปีกหลัก เช่นเดียวกับ Su-30SM รัสเซีย และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI อินเดีย และเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM มาเลเซีย ที่เป็นรุ่นส่งออกก่อนหน้าในตระกูลเครื่องบินขับไล่ Su-30
เคยมีบางรายงานระบุว่าเครื่องที่พม่าจัดหาอาจจะเป็นเครื่องบินขับไล่ Su-30K รุ่นเก่าที่เคยประจำการในกองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force)เพื่อคั่นระยะชั่วคราวก่อนรับมอบ Su-30MKI ต่อมาอินเดียได้ส่งมอบ Su-30K ทั้ง 18เครื่องคืนให้รัสเซีย และรัสเซียได้ขายต่อให้แองโกลา 12เครื่อง

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30SME ใหม่ 6เครื่องนี้ทำให้กองทัพอากาศพม่าเป็นประเทศผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ตระกูล Su-30 รายล่าสุดในกลุ่มชาติ ASEAN แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสามประเทศที่จัดหา Su-30 รัสเซียเข้าประจำการไปก่อนหน้าประกอบด้วย
กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม(VPAF: Vietnam People's Air Force) จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MK2V จำนวน 36เครื่อง, กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MK/MK2 จำนวน 11เครื่อง
และกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) จัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM จำนวน 18เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html)

รายงานล่าสุดได้ระบุว่าสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30SME จำนวน 6เครื่องของกองทัพอากาศพม่ามีวงเงินที่ราว $400 million โดยเครื่องแรกที่ออกจากสายการผลิตได้มีการทำการบินครั้งแรกไปแล้ว และมีกำหนดที่จะส่งมอบได้ภายในปี 2020
Su-30SM เป็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งพหุภารกิจยุคที่ 4+ ที่มีความคล่องแคล่วทางการบินสูง ติดตั้ง Phased Array Radar แบบ Bars-R เครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ Thrust Vector Control และ Canard แพนหางระดับรักษาเสถียรภาพที่หัวเครื่อง
ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัด และมีตำบลรวม 12จุดแข็งสามารถติดตั้งใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นขั้นก้าวหน้าที่มีอยู่หรือกำลังพัฒนาได้หลายแบบ มีพิสัยทำการเมื่อไม่ทำการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและติดถังเชื้อเพลิงสำรองไกลถึง 3,000km ครับ