วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ไทยเดินหน้าแผนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคง

Thailand progresses defence industrial investment plans


Saab, which delivered a fleet of Gripen multirole combat aircraft to Thailand from 2011 (pictured), is one of several foreign companies to have expressed interest in engaging with the country’s Eastern Economic Corridor development plan. Source: FXM
https://www.janes.com/article/89536/thailand-progresses-defence-industrial-investment-plans

รัฐบาลไทยได้ร่างเค้าโครงแผนเพื่อจัดตั้ง 'เขตเศรษฐกิจพิเศษ'(special economic zones) ที่มุ่งเป้าการสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
ความเคลื่อนไหวได้มุ่งหน้าไปสู่การกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชนและได้เริ่มต้นตามติดคู่ขนาดไปแผนการนำข้อตกลงภาระผูกพันแบบเหมือนข้อตกลงต่างตอบแทนต่อผู้รับสัญญาทางทหางต่างประเทศ

ตามที่สำนักข่าวไทยรายงาน แผนดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยในการประชุมสภากลาโหมไทย ที่มีประธานคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
รายงานข่าวกล่าวว่าหน่วงงานต่างๆของรัฐบาลไทยได้รับการสอบถามเพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยงานรัฐต่างๆจะมีความร่วมมือกับแผนที่กำลังดำเนินการคืบหน้าไปในอีกไม่เดือนข้างหน้าที่จะถึง

รัฐบาลไทยไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรายละเอียดของเขตเศรษฐกิจพิเศษรวมถึงพื้นที่ที่ตั้ง อย่างไรก็ตาม สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) ภายใต้กระทรวงกลาโหมไทยที่รับผิดชอบการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทย
คาดว่า DTI ไทยจะมีส่วนร่วมในแผนดังกล่าวซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC: Eastern Economic Corridor) ของรัฐบาลไทย

โครงการ EEC ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งแก่ชายฝั่งภาคตะวันออก(eastern seaboard) ของไทยในทศวรรษ 2020s ที่กำลังจะมาถึง
โดยเชื่อมโยงกับโครงการ EEC ไทยได้มีการร่างเค้าโครงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา(U-Tapao International Airport) ซึ่งเป็นสนามบินที่ใช้งานร่วมกันของทหารและพลเรือนที่ตั้งในฝั่งอ่าวไทย

สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางของแผนการลงทุนในการบำรุงรักษา, ซ่อม และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul) ของขีดความสามารถด้านอุตสากรรมการบินในภาคทางทหารและทางพาณิชย์
บริษัทชั้นนำต่างๆของต่างประเทศ เช่น บริษัท Airbus ยุโรป, บริษัท Safran ฝรั่งเศส, บริษัท Sikorsky สหรัฐฯ และบริษัท Saab สวีเดน ได้พร้อมแสดงความสนใจในการเข้าร่วมโครงการของไทย

การลงทุนของ Saab สวีเดนในไทยปัจจุบันโดยหลักจะเชื่อมโยงกับการสนับสนุนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ที่กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) จัดหาจำนวน ๑๒เครื่องเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
ล่าสุด Saab สวีเดนได้เป็นหุ้นส่วนกับภาคธุรกิจท้องถิ่นของไทย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด(มหาชน)(Amata Corporation PCL) เพื่อสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับภายพัฒนาภายใต้โครงการ EEC ของไทยครับ