วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๒-๕



US Army's M1126 Stryker Infantry Carrier Vehicle (ICV) and US Marine Corps include M1A1 Abrams conduct Final Exercise (FinEx) with Royal Thai Army in Cobra Gold 2019 at RTA 3rd Army Area firing range, Ban Dan Lan Hoi, Sukhothai, Thailand, 22 February 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/05/stryker-icv.html



Royal Thai Army Ordnance Department committee inspect Armoured Recovery Vehicle (ARV) variant of Chinese NORINCO VT4 main battle tanks at 6th Cavalry Battalion, 6th Cavalry Regiment in Khon Kaen, Thailand, 23 May 2019.
https://aagth1.blogspot.com/2019/05/vt4.html

การจัดหายานเกราะล้อยางลำเลียงพล M1126 Stryker ICV(Infantry Carrier Vehicle) สหรัฐฯ ๖๐คัน วงเงิน ๒,๙๖๐ล้านบาท($94 million) ที่จะเข้าประจำการใน กองร้อยยานเกราะ ประจำกรมทหารราบ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา(อัตราจัดกองพลทหารราบเบา) นั้น
ก็เป็นข่าวที่มีกระแสต่อเนื่องมาจากที่กำลังพลของกองทัพบกไทยประกอบด้วย เช่น กรมทหารราบที่๒๙ กองพลทหารราบที่๙ จะเข้าร่วมการฝึกผสม Lightning Forge 2019 กับกองทัพบกสหรัฐฯที่เกาะ Oahu, Hawaii ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
เป็นที่น่าสังเกตุว่าข่าวลือการจัดหายานเกราะล้อยาง Stryker นี้ถูกเชื่อมโยงกับผู้บัญชาการทหารบกไทย พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เพื่อโจมตีว่าเป็นการจัดซื้ออาวุธที่ไม่มีความจำเป็นเพราะยานเกราะล้อยาง 8x8 ที่กองทัพบกไทยมีหรือกำลังจัดหาอยู่จำนวนมากแล้ว เช่น BTR-3E ยูเครน และ VN1 จีน
และถูกนำเสนอย้ำว่าเป็นรถมือสอง ๓๗+๒๓คันราคาแพงไม่คุ้มค่า ทั้งที่เป็นความช่วยเหลือทางทหารจากมิตรประเทศในรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) ที่ราคาย่อมเยา จึงน่าสงสัยว่านี่อาจจะเป็นการสร้างเรื่องเท็จเพื่อใส่ร้ายกองทัพบกโดยสื่อไร้จรรยาบรรณและผู้ไม่หวังดีต่อชาติอีกกรณีหนึ่ง

นอกจากนี้ยังมีข่าวลือออกมาด้วยว่ารถถังหลัก VT4 ที่ผลิตโดย NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ประจำการ ณ กองพันทหารม้าที่๖ ขอนแก่น และกองพันทหารม้าที่๒๑ ร้อยเอ็ด กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ โดยนำรถคู่ขนานกันในอัตราหย่อนกำลังกองพันละ ๓๔คัน
ตามที่กองทัพบกไทยได้มีการสั่งจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะ๑ จำนวน ๒๘คัน และระยะที่๒ จำนวน ๑๐คัน รวมแล้ว ๓๘คัน และมีแผนที่จะจัดหาระยะที่๓ อีก ๑๔คัน ที่จะรวมทั้งสิ้น ๕๒คัน(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/vt4.html) อาจจะไม่มีการสั่งจัดหา ถ.หลัก VT4 เพิ่มแล้ว
แม้ว่าทางจีนมีแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงที่ขอนแก่นเพื่อสนับสนุนการใช้งานในระยะยาว(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/vt4-vn1.html) และหน่วยผู้ใช้งานพอใจในสมรรถนะของ VT4 ก็ตาม แต่ก็มีข้อมูลที่ว่าจีนไม่จริงใจที่จะถ่ายทอด Technology ระบบสำคัญของรถให้ไทยอยู่
จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่าในการทดแทนรถถังเก่าและเสริมกำลัง พล.ม.๓ ให้มีกองพันทหารม้ารถถังเต็มอัตรานั้นอาจจะมีการมองการจัดหารถถังหลักแบบใหม่ โดยรถถังหลัก M1 Abrams สหรัฐฯมีข่าวลือว่าอาจจะเป็นตัวเลือกใหม่ที่กองทัพบกไทยสนใจในเงื่อนไขเดียวกับยานเกราะ Stryker ครับ





Singapore and Thai Armies Conclude Exercise Kocha Singa 2019 
https://www.mindef.gov.sg/web/portal/mindef/news-and-events/latest-releases/article-detail/2019/may/23may19_nr


US Navy's T-EPF-4 USNS Fall River at Sattahip Thailand was conduct exercise Pacific Partnership 2019 with Royal Thai Armed Forces in 18-25 May 2019
https://www.facebook.com/rtarfhq.pr/posts/2290314907700849










Exercise Lightning Forge 2019 joint conduct with 9th Infantry Division, Royal Thai Army and 25th Infantry Division, US Army at Schofield Barracks in Oahu, Hawaii in May 2019
https://www.facebook.com/SMARTSoldiersStrongArmy/posts/333801663970613

การฝึกกับมิตรประเทศนั้นเป็นสิ่งที่กองทัพบกไทยมีการดำเนินการตามวงรอบต่อนเนื่องตลอดทั้งปี ในช่วงวันที่ ๑๔-๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ก็มีการฝึกผสม Kocha Singa 2019 ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสิงคโปร์ ณ Murai Urban Training Facility(MUTF) สิงคโปร์
โดยกองทัพบกสิงคโปร์จัดกำลังจาก กองพันที่41 กรมยานเกราะสิงคโปร์, กองบัญชาการที่8 กองพลน้อยยานเกราะสิงคโปร์ ด้านกองทัพบกไทยจัดกำลังจาก เช่น กองพันทหารราบที่๑ กรมทหารราบที่๑๔ กองพลทหารราบที่๔ และกรมทหารราบที่๓ กองพลทหารราบที่๓
ก่อนหน้านี้กองทัพเรือสหรัฐก็ได้ส่งเรือขนส่งความเร็วสูง T-EPF-4 USNS Fall River Pacific มาท่าเทียบเรือจุกเสม็ด สัตหีบ ชลบุรี เพื่อทำการฝึกตามโครงการ Pacific Partnership 2019 กับกองทัพไทยระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ รวมถึงการฝึกผสม Lightning Forge 2019 ในข้างต้น
จะเห็นได้ว่ากองทัพไทยรวมถึงกองทัพบกไทยมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับมิตรประเทศในภูมิภาค ASEAN และทั่วโลกผ่านการฝึกต่างๆ ไม่ได้อยู่เฉยๆไม่ทำอะไรอย่างที่ผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณโจมตีด้วยข้อมูลเท็จอย่างต่อเนื่องว่ากองทัพบกเป็นหน่วยงานที่ไม่มีประโยชน์ต่อสังคมครับ

Mi-17V5 helicopter 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army(unknow photo source)

กองทัพบกไทยมีโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์รองรับการปฏิบัติภารกิจบรรเทาสาธารณภัย(ระยะที่๓) ได้แก่การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดหนัก ติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานจำนวน ๑เครื่อง 
พร้อมชิ้นส่วนซ่อมควบคู่, เครื่องช่วยติดเครื่องยนต์, อุปกรณ์เพิ่มเติม, เครื่องมือซ่อมบำรุง, บริภัณฑ์ภาคพื้นดิน และคู่มือจำนวนหนึ่งโครงการ วงเงิน ๘๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท
เข้าใจว่าน่าจะเป็นโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 จากรัสเซียเพิ่มเติม ๑เครื่อง เพื่อนำเข้าประจำการใน กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ที่มี ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ประจำการแล้ว ๗เครื่องครับ

Royal Thai Army's Sikorsky UH-60L Black Hawk utility helicopters of 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center.

กมสรรพาวุธทหารบกได้ออกเอกสารขออนุมัติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒ สำหรับโครงการจัดหาปืนกล M134 Minigun ขนาด 7.62x51mm หกลำกล้องสำหรับติดตั้งกับกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60L/UH-60M Black Hawk
การดำเนินการในลักษณะผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๔(2019-2021) ประกอบด้วยระบบปืนกล M134 Minigun ๕ระบบ ราคาระบบละ ๒๕,๐๓๒,๖๖๖.๒๒บาท รวม ๑๒๕,๑๖๓,๓๓๑.๑๐บาท, กระสุนปืน 7.62mm ๓๓๒,๖๓๐นัด นัดละ ๓๕บาท รวม ๑๑,๖๔๒,๐๕๐บาท 
และชิ้นส่วนอะไหล่พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ๕ชุด ชุดละ ๑๐,๑๓๘,๙๑๘.๐๕บาท รวม ๕๐,๖๙๔,๕๙๐.๒๕บาท รวมเงินทั้งสิ้น ๑๘๗,๔๙๙,๙๗๑.๓๕บาท ตามที่เคยรายงานไปว่านี่จะเป็นการเพิ่มอำนาจการป้องกันตัวของ ฮ.ท.๖๐ UH-60L/M ในภารกิจทางยุทธวิธีขึ้นอีกมากครับ

Royal Thai Army's AS550 C3 Armed Scout Helicopter of 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center with FN Herstal HMP400 .50 cal heavy machine gun pod in Children's Day 2019(unknow photo source)

กองทัพบกไทยมีโครงการจะจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธจำนวน ๘เครื่อง ติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐาน พร้อมระบบอาวุธ เครื่องควบคุมการยิง กล้องตรวจการณ์ ชิ้นส่วนซ่อมควบคู่ การส่งกำลังบำรุง และเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง พร้อมการขนส่ง
เป็นงบประมาณผูกพันประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๔(2019-2021) วงเงิน ๔,๐๓๖,๕๒๗,๖๐๐บาท($126,870,080) เป็นที่เข้าใจว่าเป็นการจัดหาเพิ่มเติมตามความต้องการเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธของศูนย์การบินทหารบกที่รวม ๑๖เครื่อง
ปัจจุบันกองทัพบกไทยมี ฮ.ลว./อว.๕๕๐ Airbus Helicopters AS550 C3 ประจำการ ณ กองพันบินที่๑ กรมบิน ศบบ. ๘เครื่องที่ติดตั้งกระเปาะปืนกลหนัก FN HMP400 .50cal กระเปาะจรวด FZ 70mm(2.75") และปืนกล FN MAG 7.62mm ที่ประตูข้าง
การจัดหา ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 ๘เครื่องนั้นมีวงเงินที่ราว ๑,๖๐๐ล้านบาทโดยมีการจัดหาอาวุธมาติดเพิ่มเติมภายหลังและยังไม่มีการติดตั้งกล้องตรวจการณ์ เข้าใจว่า ฮ.ลว.อว.ใหม่ที่จะจัดหาเพิ่มเติม ๘เครื่องจะมีระบบอุปกรณ์และอาวุธมาพร้อมกับเครื่องครบกว่าครับ

U-17 Skywagon Royal Thai Army utillity aircraft(unknow photo source)

กองทัพบกไทยมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาเครื่องบินใช้งานทั่วไปทางยุทธวิธีเพื่อเข้าประจำการในกองทัพบก โดยมีรายละเอียดคุณสมบัติทั่วไปดังนี้
๑.คุณลักษณะทั่วไป
๑.๑ เครื่องยนต์กังหันไอพ่น (Turbo Propeller Engine) จำนวน ๑เครื่องยนต์
๑.๒ ฐานล้อประเภท ๓ล้อ (Tricycle Landing Gear) แบบ ล้อรับหัว (Nose Gear Wheel)
๑.๓ เป็นคันบังคับการบินคู่ (Dual Flight Control) แบบมีเครื่องวัดประกอบการบินทั้งสองด้าน
๑.๔ มีจำนวนที่นั่งผู้โดยสารไม่น้อยกว่า ๖ที่นั่ง และไม่เกิน ๑๖ที่นั่ง (ไม่รวมที่นั่งนักบิน ๒ ช่างอากาศยาน ๑)
๑.๕ ความเร็วเดินทางไม่น้อยกว่า 130knots
๑.๖ มีระยะเวลาในการบินนานไม่น้อยกว่า ๔ชั่วโมง เมื่อบินด้วยความเร็วเดินทาง
๑.๗ มีเพดานบินไม่น้อยกว่า 10,000feet
๑.๘ สามารถทำการบินตามกฎการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (IFR: Instrument Flight Rules)
๑.๙ สามารถติดตั้งระบบวิทยุย่านความถี่ VHF และ UHF ได้
๑.๑๐ มีประจำการหรือมีใช้งานในประเทศผู้ผลิต
๑.๑๑ ไม่เป็นเครื่องที่อยู่ในระหว่าการพัฒนาเพื่อการผลิต (Production Prototype)

ปัจจุบันกองทัพบกไทยมีหรือเคยมีเครื่องบินใช้งานทั่วไปหลายแบบ เช่น บ.ท.๑๗ U-17 Skywagon, บ.ท.๒๐๐ Super King Air, บ.ท.๑๙๐๐ Beechcraft 1900C, บ.ท.๔๑ BAe Jet Stream 4100 เป็น
จากคุณลักษณะทั่วไปที่ตั้งไปข้างต้นเครื่องบินโดยสารหนึ่งเครื่องยนต์ใบพัดที่มีสายการผลิตในปัจจุบันก็มี เช่น Cessna 208B Caravan สหรัฐฯและ Pilatus PC-12 สวิตเซอร์แลนด์ 
โดย Cessna 208B ถูกกำหนดแบบด้วยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯว่า U-27A และ PC-12 ถูกกำหนดแบบโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force ) ว่า U-28A ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในภารกิจต่างๆรวมถึงงานทางยุทธวิธี เช่น การสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

Royal Thai Army's Knight's Armament Company SR-25 semi automatic sniper rifle and SIG Sauer SSG 3000 bolt-action sniper rifle(unknow photo source)

กองทัพบกไทยมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดหาปืนซุ่มยิงขนาด 7.62mm เพื่อเข้าประจำการในกองทัพบก คุณลักษณะทั่วไปการพิจารณามีดังนี้
๑.ความยาวปากลำกล้องขนาด 7.62mm
๒.ความยาวของลำกล้องไม่น้อยกว่า 500mm
๓.ความยาวปืนทั้งกระบอกไม่มากกว่า 1,200mm
๔.น้ำหนักปืน (ไม่รวมซองกระสุนและกล้องเล็ง) ไม่มากกว่า 6,000g
๕.ใช้ยิงด้วยกระสุนขนาด 7.62x51mm ตามมาตรฐาน NATO หรือขนาด .300 WIN MAG(7.62x67mm)
๖.ความจุซองกระสุนไม่น้อยกว่า ๕นัด
๗.ระบบการทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ(Semi-Automatic) หรือแบบลูกเลื่อนสำหรับส่งกระสุนเข้าสู่รังเพลิง(Bolt Action)
๘.กล้องเล็งกลางวัน กำลังขยายไม่น้อยกว่า 6x50 สามารถเชื่อมต่อกับกล้องกลางคืนและกล้องจับภาพความร้อน
๙.ระยะยิงหวังผลไม่น้อยกว่า 800m
๑๐.มีใช้งานประจำการอยู่ในประเทศผู้ผลิต

ดูจากข้อกำหนดคุณสมบัติแล้วเป็นปืนซุ่มยิงแบบใหม่ เพราะปืนซุ่มยิงที่กองทัพบกมีใช้งาน เช่น SR-25 สหรัฐฯ(กึ่งอัตโนมัติ), Galil Sniper(Galatz กึ่งอัตโนมัติ) และ SIG Sauer SSG 3000(ลูกเลื่อน) มีน้ำหนักตัวปืนมากเกินไปหรือไม่ก็ปิดสายการผลิตไปแล้ว
ปัจจุบันปืนซุ่มยิงทางทหารที่ใช้กระสุนขนาด 7.62x51mm NATO หรือ .300 Winchester Magnum(7.62x67mm) ที่เป็นปืนซุ่มยิงกึ่งอัตโนมัติและปืนซุ่มยิงลูกเลื่อน มีอยู่หลายแบบจากหลายบริษัทเป็นจำนวนมาก
ซึ่งความชัดเจนในแบบปืนที่เข้าแข่งขันในโครงการพิจารณา ก็คงจะต้องดูว่าจะมีบริษัทใดมานำเสนอผลิตภัณฑ์ปืนซุ่มยิงของตนแก่คณะกรรมการของกองทัพบกไทยบ้างครับ

29th Infantry Regiment, 9th Infantry Division, Royal Thai Army welcome MGEN ANGELITO M DE LEON, Commander of the 7th Infantry (Kaugnay) Division, Philippine Army in 2017

กรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบกไทย มีโครงการจัดหาปืนเล็กยาวขนาด 5.56mm แบบที่๓ เป็นเงิน ๔๒๙,๑๙๙,๐๐๐.- บาท ราคา/หน่วย ๔๒,๙๑๙.๙๐บาท กับบริษัท COLTS MANUFACTURING COMPANY LLC สหรัฐฯ
ปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด 9mm จำนวน ๒รายการ เป็นเงิน ๖๒,๔๘๘,๘๐๐บาท กับปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด 9mm แบบกะทัดรัด(Compact) เป็นเงิน ๔๔,๕๕๐,๐๐๐  ราคา/หน่วย ๒๙,๗๐๐บาท ที่มาราคากลาง บริษัท รอยัล ดีเฟนส์ จำกัด
และเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40mm เป็นเงิน ๒๒,๙๕๐,๐๐๐บาท ราคา/หน่วย ๗๖,๕๐๐บาท เป็นอีกกลุ่มการจัดซื้ออาวุธประจำกายของกองทัพบกไทยเพื่อทดแทนของเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน และแจกจ่ายตามหน่วยที่มีความต้องการใช้งานครับ

Royal Thai Army's M72A6 LAW(unknow photo source)

กองทัพบกไทยได้ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจัดซื้อจรวดขนาด 66mm ชนิดระเบิดต่อสู้รถถังแบบปรับปรุง จำนวน ๔๐๐ นัด คือ บริษัท NAMMO RAUFOSS AS นอร์เวย์ เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๘,๑๓๘,๑๐๐บาท
และลูกจรวดฝึกสำหรับเครื่องช่วยฝึกยิงจรวดต่อสู้รถถัง M72 จำนวน ๗,๔๑๐ นัด เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๓,๙๙๐,๒๘๑.๓๓ บาท กับ NAMMO RAUFOSS นอร์เวย์ เช่นกัน
เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง M72 LAW(Light Anti-Tank Weapon) จำนวน ๖กระบอก เป็นอาวุธต่อสู้รถถังที่มีอยู่ในอัตราจัดหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ซึ่งน่าจะเป็นการจัดหาเพิ่มเติมตามอัตราความต้องการครับ





















Royal Thai Navy's frigates FFG-421 HTMS Naresuan and FF-456 HTMS Bangpakong and Royal Thai Marine Corps's Training Platoon conduct joint exercise Blue Strike 2019
with People's Liberation Army Navy's FFG-575 Yueyang Type 054A class frigate, 962 Luguhu Type 904B general stores issue ship and Type 039 submarine in South China Sea 2-8 May 2019


การฝึกผสม Blue Strike 2019 ระหว่างระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ณ มณฑล Guangdong สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๒-๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา
นอกจากกองทัพเรือได้จะได้ส่ง หมวดฝึกนาวิกโยธิน กองพลนาวิกโยธิน เข้าร่วมการฝึกแล้วกับกองกำลังนาวิกโยธิน กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน แล้ว หมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ ที่ประกอบด้วยเรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงบางปะกง ก็ได้เข้าร่วมการฝึกกับเรือของหมู่เรือจีนด้วย
โดยจากชุดภาพที่ปรากฏ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.บางปะกง ได้ทำการฝึกร่วมกับเรือฟริเกตชั้น Type 054A FFG-575 Yueyang, เรือขนส่งสัมภาระชั้น Type 904B 962 Luguhu และเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า Type 039 จีน เป็นต้น ในทะเลจีนใต้ครับ










Oplot-T main battle tanks of 2nd Cavalry Battalion, 2nd Infantry Division Royal Guard, Royal Thai Army with BTR-3E1 of Marine Tank Battalion and AAV7A1 of Assault Amphibian Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy
conduct Combined Arms Live Fire Exercise (CALFEX) joint training NAVY EXERCISE 2019 at Ban Chan Krem, Chanthaburi, Thailand in 14 May 2019.

People's Liberation Army Navy Marine Corps's ZBD-05 amphibious infantry fighting vehicle and ZTD-05 amphibious light tank in data display of Royal Thai Marine Corps

รวมภาพช็อตเด็ดฝึกกองทัพเรือ 2562 ยิงอาวุธด้วยกระสุนจริง 42 ภาพ! ...การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2562 เริ่มมาตั้งแต่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีการฝึกทั้งทางบกและทางทะเล มีการทดสอบยิงอาวุธนำวิถี C-802A จาก ร.ล. กระบุรี ในทะเลอันดามันครั้งแรกด้วย
และในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ ได้ไปร่วมสังเกตการณ์การฝึกการสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
ซึ่งการตรวจเยี่ยมการฝึกของผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะในวันนี้ นอกจากจะทำให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ ได้รับทราบรายละเอียดการปฏิบัติในการฝึก และทราบถึงขีดความสามารถ ตลอดจนความพร้อมในการปฏิบัติการของหน่วยต่าง ๆ ...
การฝึกการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงในปีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง กำลังทหารนาวิกโยธินกับกำลังจากกองทัพบกในด้านยุทธวิธีทหาราบยานเกราะ ตลอดจนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการปฏิบัติการพิเศษร่วมกันในพื้นที่ทางลึก
รวมถึงเพื่อทดสอบความเหมาะสมในการใช้โดรนในทางยุทธวิธีร่วมกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในแนวหน้า และทดสอบกำลังในการใช้กรมทหารราบเคลื่อนที่เร็วตามแผนป้องกันประเทศ โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญ ประกอบด้วย
ยุทธวิธีทหารราบยานเกราะ การยุทธ์ส่งทางอากาศและการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การปฏิบัติการพิเศษ การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การปฏิบัติการร่วมของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
และ การปฏิบัติการร่วมของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินกับกำลังจากกองทัพบก โดยกำลังที่เข้าร่วมฝึกจัดจาก กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน
รวมถึงกองกำลังจากกองทัพบกและกองทัพอากาศ โดยนาวิกโยธินมีกำลังพล 700 นาย ยุทโธปกรณ์ประกอบด้วย รถเกราะ BTR-3E1 10 คัน รถ AAV 8 คัน รถ HMMWV 10 คัน
ปืนใหญ่ขนาด 155 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่เบาขนาด 105 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 2 กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มม. 2 กระบอก ส่วนสอ.รฝ. จัดกำลัง 2 หมู่ปืน ขนาด 155 มม. กองการบินทหารเรือ ฮ. เบลล์ -212 2 เครื่อง บ. O-2 2 เครื่อง
กองทัพบก รถถัง OPLOT-M 4 คัน รถเกราะ BTR-3E1 8 คัน นอกจากนี้ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือยังได้ทำการยิงเครื่องยิงลูกระเบิด MK19 Mod 3 จำนวน 15 นัดอีกด้วย หลังจากนั้นท่านได้เดินทักทายพูดคุยและสอบถามกับกำลังพลที่ร่วมฝึกในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด ....
Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1683361198433651


การฝึกการสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise) ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข๑๖ บ้านจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/blog-post_15.html)
ก็เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๒ ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๖๒ ซึ่งการฝึกที่สนามฝึกบ้านจันทเขลมนี้เป็นนอกจากจะเป็นการแสดงการบูรณาการกำลังรบทางบกของกองทัพเรือไทย โดยเฉพาะนาวิกโยธิน และ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.แล้ว
ยังเป็นฝึกสนธิกำลังกับกองทัพบกไทยคือ รถถังหลัก Oplot-T กองพันรถถังที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ ขณะที่กองพันรถถังนาวิกโยธิน ยังไม่มีรถถังใหม่มาทดแทน รถถังหลัก ถ.๓๐ Type 69-II หนึ่งหมวดรถถัง ๕คันที่โอนมาจากกองทัพบกไทยนานแล้ว
ซึ่งจากภาพบางส่วนในการฝึกที่เกี่ยวข้องกับการฝึกผสม Blue Strike ร่วมกับนาวิกโยธินจีนที่ผ่านมาว่า รถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก ZBD-05 และรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ZTD-05 จีนมีการแสดงข้อมูลของ นย.ไทย ในการมองขีดความสามารถของรถสะเทินน้ำสะเทินบกลักษณะนี้ครับ


Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel in construction at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, May 2019.
https://aagth1.blogspot.com/2019/05/blog-post_13.html

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ที่สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือได้นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชม อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมานั้น
มีรายงานความคืบหน้าออกมาสองประการคือ ขณะนี้การก่อสร้าง ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ มีความคืบหน้าไปแล้วร้อยละ๘๕ และเรือมีกำหนดจะทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒ และจะมีการทำพิธีขึ้นระวางประจำการตามาในอนาคตอันใกล้
เมื่อ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ เข้าประจำการ กองทัพเรือไทยจะมีเรือ ตกก.รวม ๒ชุด ๔ลำคือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำ คือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส และชุด ร.ล.กระบี่ ๒ลำ โดยเข้าใจว่ากองทัพเรือไทยยังมีความต้องการเรือ ตกก.เพิ่มอีก ๒ลำครับ

Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 40101 and 40102, 401st Squadron, Wing 4 Takhli at Wing 41 Chiang Mai
https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒ บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการลงนามสัญญาจัดหาจากองทัพอากาศไทยในการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ชุดแรก ๔เครื่อง
การปรับปรุงวงเงิน 62.3 billion Korean Won(ประมาณ ๑,๖๕๙,๓๖๐,๕๐๐บาท) จะประกอบด้วยการติดตั้ง radar แบบ EL/M-2032, ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Radar(RWR: Radar Warning Receiver) และระบบจ่ายเป้าลวง(CMDS: Countermeasures Dispenser System)
เป็นที่เข้าใจว่าเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้อุปกรณ์บางระบบสำหรับ บ.ขฝ.๒ T-50TH ยังไม่ได้มีการติดตั้งกับเครื่องชุดแรกที่ได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) โดยชุดที่สอง ๘เครื่องมีกำหนดส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) และดำเนินการปรับปรุงเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ครับ