BAE sees Hawk upgrade as alternative to KL’s LCA plans
BAE Systems believes a Hawk upgrade is a cost effective way for the Royal Malaysian Air Force (RMAF) to address future attack requirements, as it eyes additional emerging opportunities.
https://www.flightglobal.com/news/articles/bae-sees-hawk-upgrade-as-alternative-to-kls-lca-pl-458642/
บริษัท BAE Systems สหรัฐฯราชอาณาจักรเชื่อว่าการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องเครื่องบินโจมตีเบาไอพ่น Hawk 208 และเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk 108 เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพต่อราคาที่เหมาะสม
สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) เพื่อตอบสนองความต้องการเครื่องบินโจมตีในอนาคต ตามที่บริษัทมองโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่เพิ่มเติม
Natasha Pheiffer ผู้อำนวยการบริหารในเอเชียของบริษัท BAE Systems เชื่อว่าการปรับปรุงเครื่องบินรบไอพ่น Hawk เป็นอีกทางเลือกที่มาเลเซียสามารถทำได้นอกจากแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ 36เครื่องภายใต้โครงการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft)
เธอยืนกรานว่าการปรับปรุงดังกล่าวสามารถที่จะเป็นไปได้โดยปราศจากการใช้งบประมาณสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินรบพหุภารกิจ MRCA(Multirole Combat Aircraft) สำหรับเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าใหม่ 18เครื่องที่ถูกพักไว้มานาน(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)
Fleets Analyzer แสดงข้อมูลว่ากองทัพอากาศมาเลเซียมีเครื่องบินไอพ่นตระกูล Hawk ประจำการอยู่ 18เครื่อง ซึ่งแบ่งเป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นสองที่นั่ง Hawk Mk 108 จำนวน 5เครื่อง และเครื่องบินโจมตีที่นั่งเดียว Hawk Mk 208 จำนวน 13เครื่อง
เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่มีรายงานว่าเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk Mk 108 จำนวน 5เครื่อง และเครื่องบินโจมตีเบา Hawk Mk 208 จำนวน 4เครื่อง ได้ถูกจำหน่าย(written off) และ Hawk 208 หนึ่งเครื่องที่ถูกปลดประจำการ
ตามเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) ก่อนหน้าในปีนี้ผู้เข้าแข่งขันในโครงการ LCA มาเลเซียประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา Korea Aerospace Industries(KAI) FA-50 Golden Eagle สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50.html),
เครื่องบินขับไล่ Hindustan Aeronautics Tejas อินเดีย, เครื่องบินขับไล่ Chengdu/Pakistan Aeronautical Complex JF-17 จีน-ปากีสถาน และเครื่องฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html)
รัฐบาลมาเลเซียยังคงกำลังพิจารณาทางเลือกสำหรับเครื่องบินรบเบา LCA และยังไมาเป็นที่ชัดเจนว่าเมื่อไรที่กองทัพอากาศมาเลเซียจะพร้อมออกเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Rroposals) Pheiffer กล่าวว่า BAE Systems ไม่ได้รับเอกสารขอข้อมูลโครงการ LCA
แต่นี่มีเหตุหลักมาจากที่กองทัพอากาศมาเลเซียมองตนมีความคุ้นเคยอย่างใกล้ชิดกับเครื่องบินไอพ่น Hawk ที่ใช้งานมาครบรอบ 25ปี โดย Pheiffer เป็นผู้มีประสบการณ์ในระยะยาวของบริษัท ที่มีบทบาทของเธอในช่วงห้าเดือนที่ผ่านมาและมีฐานทำงานใน Kuala Lumpur มาเลเซีย
ตามที่ผู้ผลิตอากาศยานรายต่างๆไม่ได้มองโครงการ MRCA เป็นการแข่งขันที่ยังมีขึ้นอยู่ แต่ท้ายที่สุดกองทัพอากาศมาเลเซียยังต้องการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29N จำนวน 10เครื่องที่งดบิน(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html)
โดยผู้เข้าแข่งขันน่าจะประกอบด้วย BAE System ที่เสนอเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon, เครื่องบินขับไล่ Saab Gripen สวีเดน, เครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet สหรัฐฯ และเครื่องขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส
สำหรับโอกาสอื่นๆ BAE Systems กำลังมองการเจราจาระดับรัฐบาลต่อรัฐบาลระหว่างสหราชอาณาจักรกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับวิทยาการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต
ที่กำลังมีกการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Tempest ซึ่ง BAE Systems มีบทบาทสำคัญในโครงการ(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/tempest.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/02/tempest-uav.html)
จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ของญี่ปุ่นที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-2 ด้วยเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าที่พัฒนาในประเทศหรือมีความร่วมมือการพัฒนากับหุ้นส่วนระดับนานาชาติ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-2.html)
รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ได้ตัดสินใจว่าตนจะดำเนินการอย่างไรแต่เปิดโอกาสการเสนอของหุ้นส่วนระดับนานาชาติ โดยบริษัท Boeing สหรัฐฯ และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯยังได้มอบข้อมูลแก่ญี่ปุ่นแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/f-2.html)
อีกภาคส่วนที่ Pheiffer มองเห็นโอกาสคือการที่ญี่ปุ่นมีความตั้งใจจะปรับปรุงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ทั้ง 2ลำให้รองรับการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF)(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/izumo-f-35.html)
เธอคิดว่า BAE Systems สามารถวางตัวช่วยญี่ปุ่นในการบูรณาการอากาศยานปีกตรึงกับเรือทั้ง 2ลำ เนื่องจากตนมีประสบการณ์การทำงานกับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy) ที่ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35B เช่นกันครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/f-35b-hms-queen-elizabeth.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)