วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

ญี่ปุ่นยังไม่ตัดสินใจเรื่องหุ้นส่วนต่างประเทศในโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต FX

UK still in the game for Japan fighter partnership





Tokyo has yet to decide on its future international partner for the country’s ambitious FX Future Fighter programme to replace the Mitsubishi F-2.
https://www.flightglobal.com/fixed-wing/uk-still-in-the-game-for-japan-fighter-partnership/137210.article

ญี่ปุ่นยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับหุ้นส่วนนานาชาติในอนาคตของตนสำหรับความต้องการโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต FX เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-2(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-x.html)
"เรากำลังหารือกับสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรจากมุมมองของรับรองในความร่วมมือ, ประสิทธิภาพต่อราคา และความน่าเชื่อถือทางเทคนิค" สำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology & Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

"เราได้กำลังสำรวจความเป็นไปได้ของความร่วมมือกับทั้งสองประเทศ" ATLA เสริมว่ายังไม่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับ "นโยบายโดยเฉพาะรวมถึงกลุ่มประเทศหุ้นส่วน"
อย่างไรก็ตาม ATLA ยืนยันว่าญี่ปุ่นจะไม่พัฒนาเครื่องบินขับไล่ที่มีพื้นฐานจากเครื่องที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่มีแผนที่จะพัฒนาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่หมดทั้งเครื่อง

ATLA ญี่ปุ่นได้ตอบสนองการสอบถามจาก FlightGlobal ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ Nikkei Asian Review ล่าสุดว่าญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะมุ่งการทำงานกับสหรัฐฯในโครงการเครื่องบินขับไล่ FX
ตามที่ Nikkei รายงาน ข้อเสนอของสหราชอาณาจักรจะให้ทางเลือกที่มากกว่าแก่ญี่ปุ่นเพื่อปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ที่ยังไม่ถูกกำหนดแบบที่แน่นอนว่าเครื่องบินขับไล่ F-3 ตามที่ต้องการ

และความมีอิสระนี้เคยเป็นปัญหากับเครื่องบินขับไล่ F-2 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air-Self-Defense Force) ที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 สหรัฐฯ
รายงานของ Nikkei เสริมอีกว่าญี่ปุ่นจะยังลงเงินงบประมาณส่วนใหญ่เพื่อการวิจัยและพัฒนาสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ FX

ระบบอากาศยานรบยุคอนาคต FCAS(Future Combat Air System) โครงการเครื่องบินขับไล่ Tempest สหราชอาณาจักร ทีมพัฒนา UK Team Tempest ประกอบด้วย บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร, บริษัท Leonardo UK สหราชอาณาจักร, บริษัท MBDA สาขาสหราชอาณาจักร,
บริษัท Rolls-Royce สหราชอาณาจักร, กองยุทโธปกรณ์และการสนับสนุนกลาโหม(DE&S: Defence Equipment and Support) สหราชอาณาจักร, บริษัท Saab สวีเดน และและสำนักงานขีดความสามารถเร็ว(RCO:Rapid Capabilities Office) กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/rolls-royce-tempest.html)

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Boeing สหรัฐฯได้หารือในโครงการเครื่องบินขับไล่ FX กับญี่ปุ่น สื่อตั้งข้อสังเกตว่า Lockheed Martin เสนอเครื่องบินขับไล่ที่ผสมระหว่างเครื่องบินขับไล่ F-35A และเครื่องบินขับไล่ F-22
ขณะที่ Boeing เสนอเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ F-15(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/f-2.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-2.html)

บางรายงานตั้งข้อสังเกตว่า บริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/northrop-grumman-f-2.html) จะนำวิทยาการที่นำมาจากเครื่องบินขับไล่ต้นแบบ YF-23
ซึ่งพ่ายแพ้ต่อเครื่องบินขับไล่ F-22 ของ Lockheed Martin ในการแข่งขันโครงการ ATF(Advanced Tactical Fighter) ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)

แม้ว่ายังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับหุ้นส่วนสุดท้ายของตน การเป็นพันธมิตรความมั่นคงที่แข็งแกร่งกับสหรัฐฯได้ถูกผูกโยงกับอิทธิพลทางแนวความคิดของญี่ปุ่น
ในการสัมภาษณ์ Kelli Seybolt รองรัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศสหรัฐฯด้านกิจการต่างประเทศ เธอกล่าวกับ FlightGlobal ว่าความหวังหลักของรัฐบาลสหรัฐฯสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ของญี่ปุ่นคือการทำงานร่วมกัน

"ญี่ปุ่นได้เข้าหาเราเกี่ยวกับโครงการ FX ของพวกเขาเพื่อทดแทน F-2 และการวางตัวของรัฐบาลสหรัฐฯคือเราต้องการจะทำงานกับญี่ปุ่นเพื่อช่วยพวกเขาสร้างขีดความสามารถด้านความร่วมมือการทำงาน
และความปรารถนาของเราคือเครื่องบินขับไล่ที่พวกเขาต้องการจะพัฒนาจะเข้ากันได้กับขีดความสามารถของเรา...เราเปิดการทำงานอุตสาหกรรมต่อญี่ปุ่นเพื่อกำหนดความเป็นหุ้นส่วนบางส่วน ดังนั้นญีปุ่นจะได้รับประโยชน์ของบางสิ่งที่อุตสาหกรรมเราเรียนรู้" Seybolt กล่าวครับ