วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สหรัฐฯอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A และ F-35B แก่ญี่ปุ่นรวม 105เครื่อง

US approves sale of 105 F-35 Joint Strike Fighter aircraft to Japan



A JASDF F-35A fighter aircraft. The US State Department has approved the potential sale of 105 F-35s to Japan, including 42 units of the F-35B variant. (JASDF)



กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter จำนวน 105เครื่อง ควบคู่กับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและการบริการแก่ญี่ปุ่น
ในรูปแบบการขาย Foreign Military Sale(FMS) วงเงิน $23.11 billion ตามที่สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ประกาศเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2020

ญี่ปุ่นซึ่งได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) แล้ว 42เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35.html) ได้ร้องขอเพื่อการจัดซื้อ F-35A เพิ่มเติมอีก 63เครื่อง
ควบคู่กับเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) จำนวน 42เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/f-35b-f-35a.html)

ข้อเสนอข้อตกลงซึ่งยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุมัติโดยสภา Congress สหรัฐฯยังมีคุณสมบัติประกอบด้วย เครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบมีสันดาปท้าย Pratt & Whitney F135 จำนวน 110เครื่อง(รวมเครื่องยนต์อะไหล่ 5เครื่อง),
ระบบสงคราม Electronic, ระบบบัญชาการ ควบคุม สื่อสาร คอมพิวเตอร์ และข่าวกรอง(C4I: Command, Control, Communications, Computers and Intelligence) รวมถึงระบบนำร่องและพิสูจน์ฝ่าย, 

ระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงอัตโนมัติ ALGS(Autonomic Logistics Global Support System) และระบบข้อมูลการส่งกำลังบำรุงอัตโนมัติ ALIS(Autonomic Logistics Information System),
เครื่องฝึกภารกิจการบิน, ขีดความสามารถการวงกำลังอาวุธ และระบบย่อยอื่นๆ คุณสมบัติ และขีดความสามารถต่างๆ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/lockheed-martin-f-35.html)

ความเป็นไปได้ในการขายยังรวมถึงเป้าลวงพลุไฟ infrared flare ที่เป็นเอกลักษณ์ของ F-35, ศูนย์การเข้าถึงแบบตั้งค่าใหม่ได้และการส่งกำลังบำรุงตามประสิทธิภาพของ F-35, การพัฒนาและบูรณาการชุดคำสั่ง, 
เครื่องวัดประกอบการทดสอบการบิน, การสนับสนุนการขนส่งอากาศยานและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ, ชิ้นส่วนอะไรและการซ่อม, อุปกรณ์สนับสนุน เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบ, ข้อมูลทางเทคนิคและสิ่งพิมพ์, 

การฝึกกำลังพลและอุปกรณ์การฝึก, การบริการสนับสนุนทางวิศวกรรม เทคนิค และการส่งกำลังบำรุงจากรัฐบาลสหรัฐฯและผู้รับสัญญา, และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอื่นๆของการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง
DSCA สหรัฐฯระบุว่าขณะที่ข้อเสนอการขายจะเพิ่มจำนวนเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่มีประจำการของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force)

และขยายขีดความสามารถการป้องกันตนเองทางอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้น มัน"จะไม่เปลี่ยนแปลงความสมดุลทางทหารในภูมิภาค" ญี่ปุ่นจะไม่มีความยุ่งยากใดๆในการนำเครื่องเข้าประจำการ เอกสาร DSCA กล่าว
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นกำลังเริ่มการปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas-Mitsubishi F-4EJ Kai Phantom II ตามที่เครื่องบินขับไล่ F-35A จะมาเสริมเพื่อทดแทน

เครื่องบินขับไล่ F-35B คาดว่าจะถูกนำมาวางกำลังบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ทั้งสองลำคือ DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga
ล่าสุดในปลายเดือนมิถุนายน 2020 ญี่ปุ่นได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่รองรับ F-35B ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/izumo-f-35b.html)