Japan begins refitting first of two Izumo-class carriers to support F-35B operations
JMSDF helicopter carrier JS Izumo is seen here on 30 June undergoing a refit at the JMU Corporation’s Isogo shipyard in Yokohama City.
The JMSDF has begun the process of converting Izumo into an aircraft carrier capable of supporting F-35B operations. (Kosuke Takahashi)
ญี่ปุ่นได้เริ่มต้นขั้นตอนการดัดแปลงเพื่อเปลี่ยนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ลำแรกจากสองลำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force)
ไปสู่การเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีขีดความสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) ได้
ตามการยืนยันโดย Jane's เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2020 บริษัท Japan Marine United(JMU) Corporation ญี่ปุ่นล่าสุดได้เริ่มดำเนินการงานปรับปรุงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo ที่อู่เรือ Isogo ของบริษัทในเมือง Yokohama
Jane's เข้าใจว่าการดัดแปลงเรือจะมีการทำขึ้นในสองขั้นตอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอดคล้องกับห้องเวลาโครงการปรับปรุงสภาพและยกเครื่องเป็นระยะๆซึ่งมีขึ้นทุกๆ 5ปี
ขณะที่การดัดแปลงเรือขั้นต้นกำลังมีขึ้นระหว่างแผนปรับสภาพและยกเครื่องสำหรับปีงบประมาณ 2020 นี้ การเปลี่ยนแปลงสุดท้ายคาดว่าจะมีขึ้นในวงรอบการยกเครื่องเรือคั้งหน้าในปีงบประมาณ 2025 เท่านั้น ซึ่งจะมีหลังจากชุดการทดสอบและการทดลองเรือในทะเลที่คาดว่าจะตามมา
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ความยาว 248m ระวางขับน้ำ 24,000tonne ได้ถูกสร้างขึ้นโดยพิจารณาถึงน้ำหนักสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35B ในหลายส่วน รวมถึงโรงเก็บอากาศยาน, Lift ยกอากาศยาน และดาดฟ้าบิน
อย่างไรก็ตามการดัดแปลงเรือเพิ่มเติมมีความจำเป็น ที่สำคัญที่สุดอย่างเช่น การเสริมความแข็งแรงดาดฟ้าบินเพื่อรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การติดตั้งไฟส่องสว่างนำทางเพิ่มเติม และติดตั้งจุดลงจอดบนดาดฟ้าบินแบบทนความร้อนกับเรือ
อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าระบบส่งอากาศยานขึ้นบินแบบ ski-jump จะถูกเสริมเข้ากับเรือด้วยหรือไม่ แต่มีการวิเคราะห์ว่าดาดฟ้าบินของเรือมีความยาวมากพอที่ F-35B จะทำการบินขึ้นในระยะสั้นโดยไม่ต้องใช้ ski-jump ช่วย
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ยืนยันแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 42เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่เพียงแบบเดียวที่สามารถนำปฏิบัติการจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ได้(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/f-35b-f-35a.html)
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) จำนวน 105เครื่องสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ที่มีสายการผลิตในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35.html)
คาดว่าเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ทั้งสองลำคือ DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga ที่บรรทุกอากาศยานได้รวม 28เครื่อง โดยมีจุดลงจอดบนดาดฟ้าบิน 5จุด
เมื่อได้รับการดัดแปลงเรือจะรองรับ F-35B ได้ 12เครื่อง ที่ขั้นต้นมีแผนจะนำ F-35B ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) มาการทดสอบการปฏิบัติการบนเรือ(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/f-35b-izumo.html)
พร้อมกับอากาศยานใบพัดกระดก Bell Boeing MV-22B Osprey กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japanese Ground Self-Defence Force) จำนวน 8เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/mv-22b-osprey.html)
และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Mitsubishi SH-60J/SH-60K Seahawk กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นจำนวน 8เครื่อง หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ที่สามารถใช้ปฏิบัติการจากเรือในทะเลได้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/ah-1s-cobra.html)