วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Naval Group ฝรั่งเศสเปิดสำนักงานใน Manila เพื่อผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำของฟิลิปปินส์

Naval Group opens Manila office in pursuit of submarine deal






Naval Group has opened a representative office in Manila to support its efforts to supply submarines (such as this Royal Malaysian Navy Scorpene-class platform) to the Philippine Navy. (Royal Malaysian Navy)



บริษัท Naval Group ฝรั่งเศสได้เปิดสำนักงานในนครหลวง Manila ฟิลิปปินส์ โดยมองที่จะหารือให้ตรงความต้องการของกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) ที่จะจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
Naval Group ฝรั่งเศสกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2020 ว่าการเปิดสำนักงานตัวแทน "แสดงถึงก้าวแรกของความมุ่งมั่นในระยะยาวของความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาขีดความสามารถทางเรือสำหรับฟิลิปปินส์"

Naval Group ฝรั่งเศสเสริมว่าตามที่สำนักงานใหม่ตั้งเป้าที่จะสนับสนุนฟิลิปปินส์ไม่เพียงเฉพาะในการจัดหาเรือดำน้ำ แต่ยังเป็นในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและในห่วงโซ่อุปทาน เช่นเดียวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและขีดความสามารถที่เกี่ยวข้อง
Naval Group เสริมว่าตนได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของตนที่จะสนับสนุน "การเติบโตด้านขีดความสามารถทางทหารและเศรษฐกิจ" ในกลุ่มประเทศในภูมิภาค(อินโด-แปซิฟิก)

และออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/dcns-2017.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/04/dcns.html) ซึ่ง Naval Group กำลังส่งมอบโครงการเรือดำน้ำหลักต่างๆในความเป็นหุ้นส่วนกับภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นในประเทศเหล่านั้น

Alain Guillou รองประธานบริหารอาวุโสด้านการพัฒนาของ Naval Group กล่าวว่า "เราเป็นเพียงผู้ส่งมอบรายเดียวด้วยประสบการณ์ก่อนหน้าในการช่วยการพัฒนากำลังเรือดำน้ำของประเทศจากแบบร่าง
และเรายืนยันความพร้อมไม่เพียงที่จะช่วยเหลือกองทัพเรือฟิลิปปินส์โดยการส่งมอบเรือดำน้ำแต่ยังจะจัดตั้งการฝึก, สิ่งอำนวยความสะดวก และห่วงโซ่อุปทานที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติงานกองเรือดำน้ำพร้อมปฏิบัติการเต็มรูปแบบ"

กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ระบุถึงการจัดหาเรือดำน้ำในฐานะโครงการที่มีลำดับความสำคัญระหว่างแผนการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพ ‘Horizon Two’  ซึ่งจะดำเนินไปจนถึงปี 2022
โครงการจัดหาเรือดำน้ำของฟิลิปปินส์ซึ่งมีความต้องการขั้นต้น 2ลำ เดิมได้ถูกรวมอยู่ในแผน Horizon Three ระยะเวลาช่วงปี 2023-2027 แต่ได้ถูกเลื่อนให้เร็วขึ้นในปี 2018 เพื่อสะท้อนความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการรักษาความมั่นคงในอาณาเขตน่านน้ำของตนในทะเลจีนใต้

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มชาติ ASEAN บริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(DCNS เดิม) ได้ประสบความสำเร็จในการส่งออกเรือดำน้ำแบบ Scorpene จำนวน 2แก่กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) ในปี 2002
ประกอบด้วยเรือดำน้ำ KD Tunku Abdul Rahman และ KD Tun Abdul Razak  ที่สร้างโดยอู่เรือ DCNS(Naval Group ในปัจจุบัน)ฝรั่งเศส และบริษัท Navantia สเปน ตามลำดับ ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพเรือมาเลเซียเมื่อเดือนมกราคม 2009 และเดือนตุลาคม 2009 ตามลำดับ

เรือดำน้ำชั้น Perdana Menteri(Scorpene) มาเลเซีย ตัวเรือมีความยาว 67.56m กว้าง 6.2m กินน้ำลึก 5.4m มีพิสัยทำการที่ผิวน้ำไกลสุด 6,500nmi(12,038km) และมีพิสัยทำการเมื่อดำใต้น้ำใกล้สุด 550nmi
ระบบอาวุธท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm จำนวน 6ท่อยิงสำหรับ Torpedo หนักแบบ Black Shark 18นัด และสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำแบบ SM.39 Exocet ได้

ตัวเลือกแบบเรือดำน้ำที่กองทัพเรือฟิลิปปินส์พิจารณายังรวมถึงเรือดำน้ำชั้น Project 636 Varshavyanka(NATO กำหนดรหัส Improved Kilo) รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/kilo_15.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/kilo.html)
และจากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี เช่นเรือดำน้ำชั้น Nagapasa กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/nagapasa.html) ครับ