วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564

จีนปล่อยเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD สำหรับกองทัพเรือไทยลงน้ำ เรือหลวงช้าง


Chinese Hudong Zhonghua shipyard was launched a Type 071E (Yuzhao)-class landing platform dock (LPD) for the Royal Thai Navy (RTN) on 23 December 2021, the nameplate at the stern confirms that ship name is "HTMS Chang (III)".


Hudong Zhonghua shipyard also launched the 34th Type 054A frigate for the People's Liberation Army Navy (PLAN) and the 4th and final Type 054AP Tughril-class frigate for Pakistan Navy (PN) at same day.

ในเวลาช่วงบ่ายของวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔ อู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) ที่ตั้งใกล้มหานคร Shanghai ในเครือ China State Shipbuilding Corporation Limited(CSSC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการสร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้ทำการปล่อยเรือลงน้ำพร้อมกันสามลำในวันเดียวกัน จากภาพถ่ายที่เผยแพร่ในสื่อสังคม online ของจีน คือเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Type 054A ลำที่34 สำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)
เรือฟริเกตชั้น Tughril(Type 054AP) ลำที่สี่และลำสุดท้ายสำหรับกองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ซึ่งเรือลำแรก F261 PNS Tughril ได้ถูกส่งมอบแล้วและกำลังเดินทางมาปากีสถาน(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/type-054ap.html)

และเรือลำที่ใหญ่ที่สุดที่ถูกปล่อยลงน้ำในวันเดียวกันเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Type 071E สำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ซึ่งจากป้ายชื่อท้ายเรือที่เห็นในภาพชัดเจนว่าชื่อของเรือคือ "เรือหลวงช้าง(ลำที่๓)"
เรือหลวงช้างที่จีนปล่อยเรือลงน้ำไปล่าสุดเป็นเรือหลวงลำที่สามของกองทัพเรือไทยที่ได้รับการตั้งชื่อนี้ โดยลำแรก เรือหลวงช้าง(ลำที่๑) เป็นเรือประเภทเรือลำเลียงซึ่งประจำการในช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๕-พ.ศ.๒๕๐๕(1902-1962) 
ร.ล.ช้าง(ลำที่๑) เคยมีส่วนร่วมในยุทธนาวีเกาะช้างเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔(1941) ได้เข้าช่วยเหลือเรือหลวงธนบุรีหลังจากที่ถูกยิงเสียหาย โดยทำการฉีดน้ำดับไฟและลากไปเกยตื้นจนมีคำสั่งสละเรือใหญ่และจมที่แหลมงอบ(ต่อมา ร.ล.ธนบุรี ถูกกู้ขึ้นมาได้ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายเรือ)

เรือหลวงช้าง ลำที่๒ เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๒) เดิมชื่อ LST-898 USS Lincoln County ที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) มีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง และในสงครามเกาหลี
กองทัพเรือไทยได้รับมอบ ร.ล.ช้าง(ลำที่๒) จากสหรัฐฯในปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962) ตามโครงกาความช่วงเหลือทางทหาร เดิมมีหมายเลขเรือ "2" ต่อมาเปลี่ยนเป็นหมายเลขเรือ "712" ในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ตามการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพเรือไทยใหม่ในเวลานั้น
ร.ล.ช้าง(ลำที่๒) ถูกปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๘(2005) ต่อมาได้มีการนำตัวเรือไปจมลงทะเลที่บริเวณหินลูกบาต เกาะช้าง ในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) ให้เป็นปะการังเทียมเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ทะเลและเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้น้ำต่อไป

เรืออู่ยกพลขึ้นบกชุดเรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ได้มีการลงนามจัดหาเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ระหว่างกองทัพเรือไทยและกับ CSSC จีน ที่วงเงินราวที่ ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200,460,066.6)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/type-071e-lpd.html)
เรือ Type 071E LPD สำหรับกองทัพเรือไทยเป็นรุ่นส่งออกของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่ปัจจุบันประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรก(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-marsun-cssc-csoc.html)
สมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register(LR) สหราชอาณาจักรมอบบริการการรับรอบการออกแบบและการสร้างแก่อู่เรือ HZ จีนตามกฎระเบียบเรือนาวีของ LR(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/lloyds-register-type-071e-lpd.html)

เรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) มีความยาวเรือ 210m สามารถบรรทุกนาวิกโยธินได้ ๘๐๐นายและรถสะเทินน้ำสะเทินบกได้ ๒๐คัน และมีอู่ลอย(well-deck) ท้ายเรือที่สามารถวางกำลังยานเบาะอากาศ(LCAC: Landing Craft Air Cushion) หรือ Hovercraft ขนาด 150 tonnes ได้ถึง ๔ลำ 
เรือระวางขับน้ำ ขนาด 22,000tons ยังได้รับการติดตั้งโรงเก็บอากาศยานขนาดใหญ่สองห้องที่สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ถึง ๔เครื่องและดาดฟ้าบินท้ายเรือที่สามารถปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ได้ ๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/vn16.html)
นอกเหนือจากภารกิจตามแบบในการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกทางทหารที่เพิ่มมากขึ้น กองทัพเรือไทยยังจะใช้ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) สำหรับภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) ด้วย

คาดว่าการส่งมอบ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) คือปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) โดยจะเข้าประจำการ ณ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ(Amphibious Squadron, Royal Thai Fleet) เสริมเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ชุดแรกและชุดเดียวของกองทัพเรือไทยในขณะนี้
มีการให้ข้อมูลว่ากองทัพเรือไทยมีแผนที่จะให้เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD ถูกใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ(Submarine Tender) โดยเรือดำน้ำ S26T ลำแรกที่กองทัพเรือไทยสั่งจัดหาจากจีนมีกำหนดรับมอบล่าสุดในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html)
เมื่อเข้าประจำการ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) จะเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือไทย การที่จีนสามารถต่อเรือใหญ่เช่นนี้ลงน้ำได้ภายในเวลาเพียงราว ๒ปีหลังที่มีการลงนามนับว่าเร็วมาก อย่างไรก็ตามในขั้นต้นเรือจะได้รับการติดตั้งเฉพาะเครื่องยนต์ระบบเดินเรือและสื่อสารพื้นฐาน ไม่รวมอาวุธครับ