The new Royal Thai Navy (RTN)'s Type 071ET Landing Platform Dock (LPD)
"LPD-792 HTMS Chang(III)" was joint escort formation with CVH-911 HTMS Chakri
Naruebet helicopter carrier, LPD-791 HTMS Angthong Landing Platform Dock, the Naresuan-class frigate FFG-421 HTMS Naresuan, the Chao Phraya-class
frigate FFG-456 HTMS Bangpakong, the Rattanakosin-class corvette FSG-441 HTMS
Rattanakosin, the Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV) OPV-511 HTMS
Pattani, and AOR-871 HTMS Similan Replenishment ship when entering inner of Gulf of
Thailand on 25 April 2023. (Jirawat Sill/Royal Thai Navy)
the Pattani-class Offshore Patrol Vessel, OPV-512 HTMS Naratiwat was departed
Songkhla Naval Base, Second Naval Area Command (2nd NAC) in southern of Gulf
of Thailand since 17 Arpil 2023 local time 1600h and sailed for distance 1,273
nautical miles to meeting point with LPD-792 HTMS Chang at near Hainan island, South China
Sea on 21 April 2023 local time 1300h and transition escort formation to Chao
Phraya-class frigate FFG-456 HTMS Bangpakong, 1st Naval Area Command (1st
NAC) on 24 April 2023.
LPD-792 HTMS Chang has arrived in Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base,
Chonburi Province, Thailand on 25 April 2023 at local time 1200h.
Commander-in-chief of Royal Thai Navy (RTN) Admiral Choengchai Chomchoengpaet
was attended to Welcoming Ceremony for LPD-792 HTMS Chang(III) at local time
1545h. (Panwasin Seemala/Royal Thai Navy)
Royal Thai Navy commander also answered questions from the media that It was requested
in the draft budget for fiscal year 2024 to fitting HTMS Chang LPD with one
76/62 main gun (likely Leonardo 76/62), two 30mm naval gun, four M2 .50cal
heavy machinegun and Combat Information Center (CIC) and air/surface radar for 950 million Baht
($27,600,236), This depends on the decision of Thailand's new government after
the general election in May 2023.
Live ถ่ายทอดสด กองทัพเรือ จัดพิธีต้อนรับ เรือหลวงช้าง ณ ท่าเรือจุกเสม็ด
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี วันอังคารที่ 25 เม.ย.2566
Live ถ่ายทอดสด บรรยากาศกำลังพลเรือหลวงช้างพบญาติ เรือหลวงช้าง
Welcome to Thailand ร.ล.ช้าง LPD 792
Jirawat Sill
ยินดีต้อนรับเรือหลวงช้างกลับสู่ประเทศไทย อย่างเป็นทางการครับ
ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีต้อนรับเรือหลวงช้าง ณ ท่าเรือจุกเสม็ด
ฐานทัพเรือสัตหีบ
วันที่ 25 เมษายน 2566 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในพิธีต้อนรับ เรือหลวงช้าง
เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกลำใหม่ของกองทัพเรือ
ที่สั่งต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและเดินทางถึงประเทศไทย
ณ ท่าเรือจุกเสม็ดฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี
คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการกองทัพเรือในพื้นที่
ตลอดจนครอบครัวของกำลังพลประจำเรือ รวมถึงครอบครัวของทหารกองประจำการ (พลทหาร)
ที่เดินทางไปรับเรือ ร่วมในพิธี
เรือหลวงช้าง เป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ที่กองทัพเรือได้ว่าจ้าง
บริษัท Chaina Shipbuilding Trading จำกัด ให้ต่อขึ้น ณ อู่ต่อเรือหูตงจงหัว
เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแบบมาจากเรือ
LPD Type 071 ที่ประจำการในกองทัพเรือจีน
และมีระยะเวลาในการสร้างเรือ ประมาณ 4 ปี โดยผู้บัญชาการทหารเรือ
ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีรับมอบ เรือหลวงช้าง ณ อู่ ต่อเรือหูตงจงหัว
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566
เรือหลวงช้างได้ออกเดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566
และเดินทางถึงประเทศไทย ในวันนี้ (25 เมษายน 2566)
ในเวลา 15.45 น. เมื่อผู้บัญชาการทหารเรือเดินทางถึงบริเวณพิธี พลเรือเอก
อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
ได้เรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือขึ้นแท่นรับคำเคารพจากกองทหารเกียรติยศ จากนั้น
ผู้บัญชาการทหาร
ได้เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
ต่อมาในเวลา 16.00 น. ผู้บัญชาการทหารเรือ
ได้ขึ้นแท่นรับความเคารพจากกำลังพลประจำเรือ โดย ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
ได้กล่าวรายงานถึงความเป็นมาในการจัดหาเรือหลวงช้างเข้าประจำการ
โอกาสนี้ผู้บัญชาการทหารเรือได้กล่าวต้อนรับ กำลังพลประจำเรือ
จากนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือ แขกผู้มีเกียรติ
ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย ได้เยี่ยมขึ้นชมเรือ
พร้อมทั้งลงนามในสมุดเยี่ยมก่อนเดินทางกลับ
ปัจจุบันกองทัพเรือ มีจำนวนเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่
ไม่เพียงพอตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเพิ่มเติม
เพื่อให้มีขีดความสามารถเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด
ตั้งแต่ในภาวะปกติโดยมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก
การขนส่งลำเลียงอีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ
พร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล
รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือ กู้ภัยเรือดำน้ำ
และการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน
สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเล และท่าเรือ
ทั้งนี้ ตามระเบียบของกองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ
ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือยกพลขึ้นบก กำหนดให้ตั้งชื่อตามเกาะต่าง ๆ
ในประเทศไทย โดยเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เรือหลวงช้าง” (เกาะช้าง จ.ตราด)
ทั้งนี้ เรือหลวงช้าง
เป็นเรือประเภทอเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ
มีกำลังพลประจำเรือจำนวนทั้งสิ้น 196 นาย ปัจจุบันมี นาวาเอก ธีรสาร คงมั่น
เป็นผู้บังคับการเรือ
คุณลักษณะที่สำคัญ
- มีความยาวตลอดลำ 210 เมตร ความกว้าง 28 เมตร กินน้ำลึก 7 เมตร ระวางขับน้ำ
25,000 ตัน
ทำความเร็วสูงสุดได้ 25 นอต
- ดาดฟ้ายานพาหนะที่ 1 สามารถบรรทุก รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ได้ 8 คัน หรือ
ยานเกราะล้อยาง (MBT) 11 คัน
- ดาดฟ้ายานพาหนะที่ 2 สามารถบรรทุก รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ได้ 8 คัน หรือ
ยานเกราะล้อยาง (MBT) 9 คัน
- อู่ลอย สามารถบรรทุกเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM) 6 ลำ หรือ เรือระบายพลขนาดเล็ก
(LCVP) 9 ลำ หรือรถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) 57 ลำ หรือ ยานเบาะอากาศ (LCAC)
จำนวน 2 ลำ
นอกจากนั้นยังสามารถบรรทุกกำลังรบยกพลขึ้นบกได้ถึง 600 นาย
เมื่อเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการแล้ว
เรือหลวงช้าง จะมีภารกิจหลักในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก
การขนส่งและลำเลียง อีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ
โดยมี ภารกิจรองในการสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ อาทิ
การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) การอพยพประชาชน
การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ เป็นต้น
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai
Navy) ได้เดินทางมาถึงท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ประเทศไทยในเวลาราว ๑๒๐๐น. วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
และมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการในเวลา ๑๖๐๐น. ในวันเดียวกัน
นับเป็นการสิ้นสุดการเดินทางเป็นระยะเวลา ๗วัน หลังจากได้ออกเรือจากอู่เรือ
Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) ใกล้มหานคร Shanghai สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/type-071et-lpd-shanghai.html)
เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ
ร.ล.ช้าง(ลำที่๓)
ได้เดินเรือมาถึงจุดนัดพบกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี
เรือหลวงนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓๐๐น. บริเวณใกล้เกาะ Hainan
สาธารณรัฐประชาชนจีนในทะเลจีนใต้
โดย ร.ล.นราธิวาส ออกเรือจากฐานทัพเรือสงขลา กองทัพเรือภาคที่๒ ทรภ.๒(2nd NAC:
Second Naval Area Command) ทางใต้ของอ่าวไทยตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖
โดยเดินเรือเป็นระยะทาง 1,273nmi(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/type-071et-lpd-hainan.html)
ร.ล.นราธิวาส ได้ส่งมอบการคุ้มกันเรือยกพลขึ้นบกอู่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓)
ให้แก่กองทัพเรือภาคที่๑ ทรภ.๑(1st NAC: First Naval Area Command)
เมื่อเข้าสู่อ่าวไทยในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ โดยมีเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา
เรือหลวงบางปะกง ให้การคุ้มกันร่วมกับเรือในทัพเรือภาคที่๑
ประกอบด้วยเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือยกพลขึ้นบกอู่
เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ,เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร,
เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ร.ล.รัตนโกสินทร์, เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
ร.ล.ปัตตานี และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ เรือหลวงสิมิลัน
เรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง(ลำที่๓)
ได้ถูกนำร่องโดยเรือลากจูงมาจอดท่าเรือจุกเสม็ดใกล้กับเรือฟริเกต
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
ไกลออกไปเป็นเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสองลำที่ปลดประจำการแล้วสองลำคือ
ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย
เรือยกพลขึ้นบกอเนกประสงค์
เรือหลวงช้างจะถูกนำเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS:
Amphibious and Combat Support Service Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal
Thai Fleet) เสริมกับ ร.ล.อ่างทองที่มีอยู่ตามความต้องการเรือประเภทนี้ ๒ลำ
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071ET LPD(Landing Platform Dock)
เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) มีพื้นฐานแบบเรือจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071
ที่ประจำการกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)
โดยมีกองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรก
ด้วยความยาวเรือ 210m กว้าง 28m กินน้ำลึก 7m ระวางขับน้ำ 25,000tonnes
ความเร็วสูงสุด 25knots กำลังประจำเรือ ๑๙๖นาย ประกอบด้วยนายทหาร ๒๖นาย พันจ่า
๓๙นาย จ่า ๙๖นาย และพลทหาร 35นาย รองรับกำลังยกพลขึ้นบก ๖๐๐นาย จะเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือไทย
ผู้บัญชาการทหารเรือไทย พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์
ยังได้ตอบถามจากสื่อในหลายประเด็น
เช่นความสิ้นเปลืองในการปฏิบัติการของเรือยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง
ลำใหม่ว่าเมื่อทำความเร็วมัธยัสถ์ที่ 18knots จะใช้เชื้อเพลิงเท่า
ร.ล.จักรีนฤเบศร หรือ ร.ล.อ่างทอง และจะประหยัดกว่าที่ความเร็วเดินทาง 12knots
ผบ.ทร.ยังให้ข้อมูลว่ากองทัพเรือไทยได้ร้องของบประมาณในร่างงบประมาณปี
พ.ศ.๒๕๖๗(2024) สำหรับการติดตั้งอาวุธปืนเรือ 76/62(น่าจะเป็น Leonardo 76/62),
ปืนกล 30mm สองแท่น, ศูนย์ยุทธการ(CIC: Combat Information Center) และ radar
ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แก่ ร.ล.ช้าง
โดยที่เบื้องต้นเรือยกพลขึ้นบกอเนกประสงค์ ร.ล.ช้าง(ลำที่๓)
จะได้รับการติดตั้งปืนกลหนัก M2 .50cal สี่แท่นยิง การขออนุมัติงบประมาณวงเงินราว
๙๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($27.6 million)
สำหรับอาวุธหลักและระบบอำนวยการรบจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๖
ผู้บัญชาการทหารเรือไทยยังได้ตอบคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ
S26T ระยะที่๑ ซึ่งมีปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396
ที่เยอรมนีปฏิเสธที่จะส่งมอบให้จีนมาติดตั้งให้เรือของไทยและกองทัพเรือปากีสถาน
ที่จีนเสนอเครื่องยนต์ CHD 620 ทดแทนนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/s26t-mtu.html)
กองทัพเรือไทยยังคงยืนยันเงื่อนไขหลักสามข้อที่ว่า
เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 จีนจะต้อง
๑.ต้องมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ
๒.กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนต้องรับรองและรับประกัน
สนับสนุอะไหล่และบริการตลอดอายุการใช้งาน ๓.จีนต้องทดแทนค่าเสียโอกาสให้ไทย
ผบ.ทร.ยังกล่าวว่าจีนใช้เครื่องยนต์ CHD 620 ในเรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนสร้างแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/pentagon.html) และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่จีนสร้างตอนนี้กำลังเปลี่ยนมาใช้ ย.CHD 620 แทน ย.MTU
396
ตามมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปที่เข้มงวดขึ้น
อย่างไรก็ตามถ้ากองทัพเรือไทยตัดสินใจที่จะยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620
จีนที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖
การสร้างเรือดำน้ำ S26T ลำแรกจะล่าช้าออกไปไม่ต่ำกว่า ๔๐เดือนหรือราว
พ.ศ.๒๕๖๘(2025)
และการชดเชยจากจีนจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยชุดใหม่หลังเลือกตั้ง
ตามการชะลอการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๒ และระยะที่๓ ลำที่สองและลำที่สาม
กองทัพเรือไทยได้ผลักดันโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่สองขึ้นมาแทนโดยจะเป็นเรือฟริเกตที่สร้างในไทยโดยการถ่ายทอดวิทยาการครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html)