วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อินเดียส่งมอบ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Shyena แก่กองทัพเรือพม่า

India delivers first batch of indigenous lightweight torpedoes to Myanmar
India has delivered the first batch of Shyena advanced lightweight torpedoes to Myanmar as part of a USD37.9 million deal that New Delhi signed with Naypyitaw in early 2017.
https://www.janes.com/article/89865/india-delivers-first-batch-of-indigenous-lightweight-torpedoes-to-myanmar



triple-tube launchers for lightweight torpedoes on Myanmar Navy's frigates F12 UMS King Kyan Sitthar and F14 UMS King Sin Phyu Shin at IMDEX 2019, Changi Naval Base, Singapore.


อินเดียได้ส่งมอบ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำขั้นก้าวหน้า Shyena ชุดแรกแก่พม่าในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงวงเงิน $37.9 million ที่รัฐบาลอินเดียลงนามกับรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในต้นปี 2017(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/torpedo-shyena.html)
แหล่งข่าวทางการกล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2019 ว่า Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Shyena อินเดียได้ถูกส่งมอบให้กับกองทัพเรือพม่า(MN: Myanmar Navy, Tatmadaw Yei) เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2019

Torpedo เบา Shyena ซึ่งถูกออกแบบโดยห้องทดลองวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยีอินเดีย(NSTL: Naval Science and Technological Laboratory), องค์การวิจัยและพัฒนาทางกลาโหมอินเดีย(DRDO: Defence Research and Development Organisation)
ภายใต้ชื่อโครงการ Advanced Light Torpedo(TAL) ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1990s และมีสายการผลิตที่โรงงานใน Visakhapatnam โดยบริษัท Bharat Dynamics Limited(BDL) และบริษัท Larsen & Toubro อินเดีย

Shyena ที่ได้ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ในต้นปี 2012 เป็น Torpedo เบานำวิถีด้วยตนเอง ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า มีความยาว 2.75m มีน้ำหนัก 220kg โดยมีส่วนเป็นหัวรบระเบิดหนัก 50kg
Torpedo เบา Shyena สามารถทำการยิงได้จากแท่นยิง Torpedo เบาแบบแฝดสามที่ติดตั้งบนเรือผิวน้ำ และจากเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำได้ ตามข้อมูลจาก DRDO อินเดีย

เป็นที่เข้าใจว่า Torpedo เบา Shyena อินเดียจะถูกนำมาติดตั้งใช้กับเรือฟริเกตชั้น Kyan Sitthar กองทัพเรือพม่าที่สร้างเองในประเทศทั้งสองลำคือ F12 UMS Kyan Sitthar (พระเจ้าจานสิตา) และ F14 UMS Sin Phyushin (พระเจ้ามังระ)
โดยเรือฟริเกตชั้น Kyan Sitthar พม่าติดตั้งแท่นยิง Topedo เบาแฝดสามสองแท่น ที่น่าจะใช้งานร่วมกับ Sonar ที่ตัวเรือแบบ HMS-X ที่พัฒนาโดยบริษัท Bharat Electronics Limited(BEL) อินเดีย

เรือฟริเกตชั้น Kyansittha เป็นเรือฟริเกตที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth ที่พัฒนาต่อจากเรือฟริเกตชั้น F11 UMS Aung Zeya (พระเจ้าอลองพญา) ซึ่งเป็นเรือฟริเกตลำแรกที่พม่าต่อเองในประเทศที่เข้าประจำการในปี 2010
กองทัพเรือพม่าได้นำเรือฟริเกต F12 UMS Kyan Sitthar และ F14 UMS Sin Phyushin เข้าประจำการในปี 2014(https://aagth1.blogspot.com/2014/12/ums-kyansittha-f12-stealth.html) และปี 2015 ตามลำดับ(https://aagth1.blogspot.com/2015/12/ums-sinbyushin-f14-stealth.html)

เรือฟริเกตชั้น Kyansittha มีระวางขับน้ำประมาณ 3,000tons ติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบ CODAD(Combined Diesel and Diesel) เครื่องยนต์ดีเซลสี่เครื่อง ทำความเร็วได้ประมาณ 30knots ระบบอาวุธมีปืนใหญ่เรือ 76mm ทรง Stealth ที่น่าจะลอกแบบจาก Oto Melara 76/62 Super Rapid อิตาลี,
ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน AK-630 30mm รัสเซีย 4กระบอก, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802A จีน 8นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Igla ในแท่นยิง 6นัด รัสเซีย และแท่นยิงจรวดปราบเรือดำน้ำ 5ท่อยิง 2แท่นครับ