Royal Thai Navy's guided missile frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej was formal commissioning ceremony at Sattahip naval base, Chonburi province, Thailand in 16 October 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/10/blog-post_18.html
พิธีเจิมเรือและขึ้นระวางประจำการเรือเรือฟริเกตสมรรถนะสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเจิมเรือ นับเป็นสิริมงคลแก่กำลังพลประจำเรือและกองทัพเรือไทยอย่างหาที่สุดมิได้
โดยนับตั้งแต่ที่เรือเดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้เข้าร่วมการฝึกทางเรือทั้งภายในกองทัพเรือไทย และร่วมกับกองทัพเรือมิตรประเทศมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด เป็นพัฒนาขีดความสามารถของเรือที่คุ้มค่ามาก
เป็นที่เข้าใจว่า กองเรือฟริเกตที่๑ กองเรือยุทธการ ยังมีความต้องการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่อีก ๑ลำ ตามความต้องการทดแทนเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและและเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ที่ปลดประจำการไปแล้ว ที่น่าจจะมองการสร้างภายในประเทศไทยด้วยครับ
Republic of Korea Navy's Chief of Naval Operations (CNO) Admiral Sim Seung-seob held meeting with Royal Thai Navy Vice Admiral Sucha Kiamthongkum and Thai contingent at MADEX 2019
พลเรือโท สุชา เคี่ยมทองคํา เสนาธิการกองเรือยุทธการ และคณะนายทหารตัวแทนกองทัพเรือไทยได้เข้าพบ พลเรือเอก Sim Seung-seob ผู้บัญชาการกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี( Chief of Naval Operations of the Republic of Korea Navy)
ระหว่างการเข้าร่วมงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเลนานาชาติ International Maritime Defense Industry Exhibition 2019 (MADEX 2019) ณ Busan สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมา
สื่อภายในเกาหลีใต้รายงานว่านอกจากการพูดคุยเรื่องความร่วมมือระหว่างกันของกองทัพเรือทั้งสองประเทศแล่ว อาจจะรวมถึงการหารือความเป็นไปได้ในการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงระยะที่สองจากสาธารณรัฐเกาหลีหรือเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่๒ ครับ
Royal Thai Navy's guided missile corvette FS-441 HTMS Rattanakosin conduct PASSEX (Passing Exercise) with Russian Navy Pacific Fleet's Varyag Project 1164 Slava-class cruiser and Admiral Panteleyev Project 1155 Udaloy-class destroyer during port visit at Sattahip naval base, Chonburi province, Thailand in 17-20 October 2019.
PASSEX (Passing Exercise) ระหว่างหมู่เรือรัสเซีย ประกอบด้วย เรือ Varyag และ เรือ Admiral Panteleyev กับ เรือจากทัพเรือภาคที่ 1 คือ ร.ล.รัตนโกสินทร์
เก็บตกภาพการอำลาหมู่เรือรัสเซียในการเยี่ยมประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 16-20 ต.ค.62 โดยประกอบด้วยเรือจำนวน 3 ลำ ได้แก่
- เรือลาดตระเวน Varyag
- เรือพิฆาต Admiral Panteleyev
- เรือสนับสนุน Pechenga
โดยในระหว่างการเยือนประเทศไทย ได้มีการจัดให้มีเยี่ยมคำนับ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่หนึ่ง เพื่อพบปะพูดคุยระหว่างกัน ในการแสวงหาความร่วมมือต่างๆ ในอนาคต
มีการจัดงานเลี้ยงรับรอง โดยฐานทัพเรือสัตหีบ และจัดงานเลี้ยงรับรองบนเรือ (Reception Party) และมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างกัน
ในการเดินทางออกจากประเทศไทย ได้มีการจัดการฝึก PASSEX (Passing Exercise) โดย จัด ร.ล.รัตนโกสินทร์ ที่ปฏิบัติราชการอยู่กับ ทัพเรือภาคที่หนึ่ง เข้าร่วมการฝึก โดยเน้นความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างกัน และแปรกระบวน
การมาเยือนไทยของหมู่เรือจาก กองเรือแปซิฟิก กองทัพเรือรัสเซีย ที่ประกอบด้วยเรือลาดตระเวนติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Project 1164 Slava ชื่อ Varyag, เรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Project 1155 Udaloy ชื่อ Admiral Panteleyev และเรือสนับสนุน Pachenga
ซึ่งได้เข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ โดยนอกจากการเปิดให้เยี่ยมชมเรือเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๒ แล้วยังมีการฝึก PASSEX กับเรือคอร์เวตชั้นเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ร.ล.รัตนโกสินทร์ กองเรือฟริเกตที่๑ และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๔ Sikorsky S-76B ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทยด้วย
ซึ่งในช่วงปี ๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมากองทัพเรือไทยได้ทำการฝึก PASSEX กับเรือจากกองทัพเรือมิตรประเทศที่เดินทางมาเยือนไทยมาแล้วหลายครั้ง เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกองทัพเรือมิตรประเทศทั่วโลกกับกองทัพเรือไทยครับ
Admiral Luechai Rutdit Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy and Admiral Nikolai Yevmenov commander in chief of the Russian Navy signed Memorandum of Understanding for defence cooperation between both Navies in 24 October 2019
“เปิดฉากความสัมพันธ์ ทร.ไทย – ทร.รัสเซีย พันธมิตรความมั่นคงทางทะเล”
วันที่ 24 ตุลาคม 2562 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ Adm. Nikolai EVMENOV ผู้บัญชาการทหารเรือรัสเซีย ร่วมกันลงนาม MOU ในบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงกลาโหมทั้งสองประเทศ ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ
โดยจะเป็นการขยายความร่วมมือตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐรัสเซีย ว่าด้วยความร่วมมือทางการทหารและการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงทางทหารระหว่าง 2 รัฐบาลซึ่งจะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือ
ที่จะร่วมพัฒนาในด้านการฝึกทางทะเล การยกระดับการศึกษา การเยี่ยมเยือนระหว่างผู้บังคับบัญชา และหน่วยกำลังทางเรือ ตลอดจนร่วมกันสร้างพันธมิตรความมั่นคงทางทะเล ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดระหว่าง ทร. ทั้งสองประเทศต่อไป
มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางรัสเซียได้เสนอเรือฟริเกตชั้น Project 11356 แก่กองทัพเรือไทยโดยพร้อมยินดีที่จะถ่ายทอดวิทยาการต่อเรือในไทย เช่นเดียวกับอินเดียที่จะต่อเรือชั้นนี้ ๒ลำโดยอู่เรือ Goa ในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/project-11356-4-igla-s.html)
ปัจจุบันกองทัพเรือรัสเซียประจำการเรือฟริเกตชั้น Project 11356 แล้ว ๓ลำคือ Admiral Grigorovich, Admiral Essen และ Admiral Makarov ส่วนอีก ๒ลำที่กำลังสร้างคือ Admiral Butakov และ Admiral Istomin ได้ถูกขายต่อให้อินเดียรวมกับที่จะสร้างในอินเดียอีก ๒ลำรวมเป็น ๔ลำ
และอีกลำคือ Admiral Kornilov กำลังสร้างที่อู่เรือ Yantar ใน Kaliningrad แต่ยังไม่ชัดเจนว่าไทยจะตอบรับข้อเสนอของรัสเซียหรือไม่ หลังจากที่จะมีการจัดหาปืนกล AK-306 สำหรับติดตั้งกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจำนวน ๒ลำที่จะสร้างโดย MARSUN ไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html)
Delegation lead by commander 2nd Infantry Division Royal Guard, Royal Thai Army visited Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd its newest product R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV) prototype in 17 September 2019.
ทหารบกก็สนใจ R 600 …พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เยี่ยมชมรถเกราะล้อยาง R 600 แบบ 8X8 ที่บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ พร้อมฟังบรรยายสรุปข้อมูลต่างๆของ R 600 และ AFV-420P เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 ...
R 600 เป็นรถยานเกราะล้อยาง 8x8 ชนิดลำเลียงพล ใช้สำหรับบรรทุกกำลังพลได้ถึง 23 นาย ใช้สำหรับบรรทุกกำลังพลไปยังพื้นที่ทำการรบได้ อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
สามารถติดตั้งปืนใหญ่อัตโนมัติ ขนาด 30 มิลลิเมตร, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ ขนาด 40 มิลลิเมตร, ปืนกล ขนาด 12.7 มิลลิเมตร. และ 7.62 มิลลิเมตร, ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน และเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มิลลิเมตร หรืออาวุธอื่นๆตามมาตรฐานของทางทหาร…
สำหรับรุ่น R 600A เป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบกอย่างแท้จริง ติดตั้งวอเตอร์เจ็ท เพื่อการขับเคลื่อนในน้ำ มีน้ำหนักเพียง 18 ตัน เท่านั้น ...การสร้างในประเทศทำให้มีราคาถูกและการบริการสนับสนุนซ่อมบำรุงที่รวดเร็ว ...
ช่วยกันสนับสนุนผลงานของคนไทยที่ออกแบบและสร้างเอง 100 % …จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในงาน Defense & Security 2019 ที่เมืองทองธานีในเดือนพฤจิกายนนี้แน่นอน …Photo Sompong Nondhasa
ยานเกราะล้อยาง R600 8x8 รถต้นแบบที่พัฒนาโดย บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co Ltd.) ประเทศไทย ก็ได้รับการเยี่ยมชมโดยคณะของ พลตรี ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ กองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ให้หลังไม่กี่วันจากที่ บริษัทพนัส ได้นำยานเกราะล้อยาง R600 8x8 ต้นแบบไปสาธิตให้ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย. กองทัพเรือไทย ชมเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/panus-r600-8x8.html)
ตามข้อมูลจาก บก.สมพงษ์ บริษัท Panus จะนำยานเกราะล้อยาง R600 ของตนมาจัดแสดงในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense & Security 2019 ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤจิกายน ๒๕๖๒ ที่ IMPACT เมืองทองธานี รอการรายงานจากที่นี่ได้ครับ(ถ้าอนุญาตให้นำกล้องถ่ายรูปเข้าได้)
Hanoman 4x4 Mine Resistant Ambush Protected (MRAP) vehicle base on Thailand's company Chaiseri First Win II MPV(Multipurpose Vehicle) 4x4 at 74th Anniversary of Indonesian National Armed Forces Day parade in 5 October 2019.
รถหุ้มเกราะล้อยาง Hanoman 4x4('หนุมาน' ในภาษาอินโดนีเซีย) ที่มีพื้นฐานจากรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win II 4x4 ของบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทย
โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่สองในกลุ่มชาติ ASEAN ที่จัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 ไทยไปใช้งาน ต่อจากประเทศแรกมาเลเซียในชื่อรถหุ้มเกราะล้อยาง AV4 Lipan Bara 4x4 พร้อมสิทธิบัตรการผลิตโดย DEFTECH(DRB-HICOM Defence Technologies Sdn. Bhd) มาเลเซีย
บริษัท Chaiseri ไทยยังมีหลายผลิตภัณฑ์ที่จะมานำเสนอในงานแสดงอาวุธ Defense & Security 2019 ซึ่งมีข้อมูลว่าจะรวมการเปิดตัวต้นแบบยานเกราะสายพานแบบใหม่ที่ Chaiseri ออกแบบและลงทุนพัฒนาด้วยตนเองด้วย ซึ่งก็โปรดรอการรายงานจากที่นี่เช่นกันครับ
AAV7A1 Assault Amphibious Vehicle of Marine Assault Amphibious Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy have been upgraded and tested by Thailand company's Chaiseri.
AAV7A1 RAM/RS ใหม่ของนย. ชัยเสรีทำได้! ...
ยานจู่โจมสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย 3 คันแรกของนาวิกโยธินไทย เสร็จเรียบร้อยแล้ว การปรับปรุงทำในประเทศไทยทั้งหมดโดยบริษัทชัยเสรี ซึ่งมีประสบการณ์ในการปรับปรุงซ่อมคืนสภาพ AAV7A1 ให้กับนาวิกโยธินไทยมาก่อนหน้านี้แล้ว
ชนะการประมูลในการปรับปรุง AAV7A1 ให้เป็น AAV7A1 RAM/RS(Reliability, Availability, and Maintainability/rebuilt to standard) โดยได้รับ Order ในปี 2560 จำนวน 3 คันราคาคันละ 100 ล้านบาท
หลังจากปรับปรุงใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้วได้ทำการทดสอบและส่งมอบให้กองทัพเรือไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการปรับปรุงครั้งนี้ได้มีการรื้อทำใหม่ทั้งหมด เหลือไว้เพียงโครงสร้างตัวรถเท่านั้น
มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เป็น Cummins VTA-903 T525 ขนาด 525 แรงม้า สามารถทำความเร็วบนถนนได้ 72 กม./ชม. และวิ่งในน้ำได้ 13.2 กม./ชม. เปลี่ยน ระบบส่งกำลัง Twin Disc HS 255 Transmission เปลี่ยนระบบช่างล่างใหม่ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ใช้ในรถ M2
เพิ่ม ล้อรับสายพาน เพื่อให้สายพานไม่หย่อน เปลี่ยนขนาดสายพาน ติด Track shoes ที่ทำโดยชัยเสรี ทำให้รถมีความนุ่มนวลขึ้นขณะวิ่ง ติดตั้งแผ่นกันคลื่นที่ด้านหน้าทำให้รักษาเสถียรภาพของรถเมื่อเคลื่อนที่ในน้ำ
ระบบอาวุธได้มีการเปลี่ยนป้อมปืนใหม่ ติดปืน 12.7 มม. พร้อมเครื่องยิงลูกระเบิด Mk 19 ขนาด 40 มม. ติดตั้งระบบเครื่องควบคุมการยิงใหม่พร้อม Thermal sight ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการรบและยิงอาวุธในเวลากลางคืนได้ มีการติดตั้งระบบสื่อสารใหม่ของ Thales
ด้านเกราะป้องกันนั้น ปกติตัวรถจะสามารถป้องกันกระสุนได้ตามมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 1 เมื่อติดเกราะเสริมจะป้องกันได้ในระดับ NATO STANAG 4569 Level 3 (Option) AAV7A1 RAM/RSที่สมบูรณ์แบบ มีน้ำหนักพร้อมรบ 28.5 ตัน ...
นาวิกโยธินไทยมี AAV7A1 ประจำการรวม 18 คัน ...ชัยเสรี ได้เชิญและทำการ Presents ให้กับประเทศในอาเชี่ยนที่มี AAV7A1 ไว้ประจำการ ให้เข้ามาดูการปรับปรุง AAV7A1เป็น AAV7A1 RAM/RS ในครั้งนี้
ด้วยความสำเร็จ ผลงานที่ได้มาตรฐานและมีราคาถูก ชัยเสรีคาดหวังว่าจะได้รับความสนใจจากต่างประเทศด้วยในอนาคต...Story and Photo …Sompong Nondhasa
โครงการปรับปรุงความทันสมัยของรถเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ของ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย. จำนวน ๓คันวงเงินประมาณ ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($9.8 million) ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ารุ่น AAV7A1 RAM/RS
โดยบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ประเทศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/aav7a1-chaiseri.html) ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าปัจจุบันนาวิกโยธินไทยมี AAV7A1 ประจำการ ๑๘คันจากเดิม ๒๔คัน ไม่รวมLVTP7 รุ่นเก่า ๑๒คัน
ปัจจุบันในกลุ่มชาติ ASEAN มีนาวิกโยธินอินโดนีเซียที่มี AAV7A1 อยู่ ๑๕คันที่เดิมเคยประจำการในนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี และนาวิกโยธินฟิลิปปินส์ที่จัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก KAAV ใหม่ ๘คันจากสาธารณรัฐเกาหลีครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/kaav-ssv-tarlac.html)
Formation flight of Lockheed Martin F-16A/B Block 15 ADF (Air Defense Fighter) 102nd Squadron, Wing 1 Korat, Royal Thai Air Force.
ตามที่ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ให้สัมภาษณ์สื่อว่ากองทัพอากาศไทยจะยังไม่มีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในเร็วๆนี้ จนกว่าแนวคิดความต้องการโครงการ(COPR: Concept of Project Requirements) จะได้รับการพัฒนาในอีกสองปีข้างหน้า
รวมถึงนำนโยบาย 'จัดหาและพัฒนา' มาใช้ในโครงการจัดหาของกองทัพอากาศไทย ทำให้การจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่จะมีในอนาคตจะให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดวิทยาการ(Technology Transfer) โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดคำสั่ง(Software) ของเครื่องบินขับไล่
สอดคล้องที่ในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ จำนวน ๑๔เครื่อง ที่จัดหามาในโครงการ Peace Naresuan IV เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕(2002) ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯใกล้จะหมดอายุการใช้งานพอดีครับ
F-5F SUPER TIGRIS 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani, Royal Thai Air Force with Israeli company Elbit Systems's LIZARD laser guided bomb
RTAF's F-5E SUPER TIGRIS tested dropping flare
RTAF's F-5ST SUPER TIGRIS upgraded cockpit
Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli, Royal Thai Air Force with Mk82 practice bomb
SMART AIR FORCE 2020 แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนสู่การเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/453365841966722/
วิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศไทยชุด SMART AIR FORCE 2020 ได้แสดงวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้าในหลายๆด้านเกี่ยวการพัฒนากำลังรบทางอากาศที่น่าสนใจ เช่น แนวทางจัดหาอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ที่พัฒนาเองในไทยเช่น U1
รวมถึงความคืบหน้าในโครงการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F Tiger II ให้เป็น F-5ST SUPER TIGRIS โดยบริษัท Elbit System อิสราเอล และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย ซึ่งมีความคืบหน้าอย่างมาก
เช่น การติดตั้งระเบิดนำวิถี Laser แบบ LIZARD, การปล่อยเป้าลวงพลุไฟ(Flare) และห้องนักบินที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ทั้ง ๔เครื่องที่คาดว่ากำลังจะได้รับมอบเครื่องชุดที่สองอีก ๘เครื่องครับ
Operator Team include Counter Terrorist Operations Center (CTOC) Royal Thai Armed Forces Headquarters, Special Operations Regiment Royal Thai Air Force Security Force and Naresuan 261 Border Patrol Police Police Aerial Reinforcement Unit Royal Thai Police
joint conduct demonstration security operation during 35th ASEAN Summit and Related Summits in Thailand in 29 October 2019.
รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงตรวจความพร้อมซักซ้อม รปภ.ประชุมสุดยอดอาเซียน
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2562 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายความมั่นคง) เป็นประธานตรวจความพร้อมการรักษาความปลอดภัยสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
โดยมี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ชัยชนะ นาคเกิด รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รองผบ.ทสส.) คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ผู้แทนกระทรวงต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมซ้อมโดยพร้อมเพรียงกัน
ในการซ้อมได้มีการบรรยายสรุปแผนปฏิบัติการในพื้นที่ของกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สาธิตการรักษาความปลอดภัยวีไอพีในภาวะปกติโดยตำรวจสันติบาล สาธิตการรักษาความปลอดภัยวีไอพี กรณีมีสิ่งบอกเหตุมีแนวโน้มว่าจะเกิดภัยคุกคาม โดยตำรวจสันติบาลและอริยทราช 26 /สาธิตการสกัดกั้นและจับกุมผู้ก่อเหตุ-วัตถุต้องสงสัย โดยตำรวจนเรศวร 261 และตำรวจนครบาล การสาธิตช่วยเหลือบุคคลสำคัญออกจากพื้นที่การประชุม โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล หรือ ศตก. กองทัพไทย
ซึ่งการรักษาความปลอดภัยงานประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ประมาณ 10,000 นาย (ภาพโดย ส.ท.ณัฐสิฏฐ์ เพ็ชรเกลี้ยง)
https://www.facebook.com/opsd.pr/posts/713127462538349
การสาธิตความพร้อมการรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดการประชุมสุดยอด ASEAN ครั้งที่๓๕ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องที่มีขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม-๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ เมืองทองธานี กรุงเทพฯ นั้น
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก. กองบัญชาการกองทัพไทย ได้สนธิกำลังร่วมกับอีกหลายหน่วยเช่น หน่วยปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย, อรินทราช๒๖ ตำรวจนครบาล และนเรศวร๒๖๑ ตำรวจพลร่ม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60L Black Hawk กองพันบินที่๙ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก แสดงถึงขัดความสามารถของหน่วยรบพิเศษกองทัพ-ตำรวจไทยที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยสูงชั้นนำระดับโลกในภารกิจการปฏิบัติการพิเศษในเขตเมืองครับ
F-5F SUPER TIGRIS 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani, Royal Thai Air Force with Israeli company Elbit Systems's LIZARD laser guided bomb
RTAF's F-5E SUPER TIGRIS tested dropping flare
RTAF's F-5ST SUPER TIGRIS upgraded cockpit
Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli, Royal Thai Air Force with Mk82 practice bomb
SMART AIR FORCE 2020 แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนสู่การเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/453365841966722/
วิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศไทยชุด SMART AIR FORCE 2020 ได้แสดงวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้าในหลายๆด้านเกี่ยวการพัฒนากำลังรบทางอากาศที่น่าสนใจ เช่น แนวทางจัดหาอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ที่พัฒนาเองในไทยเช่น U1
รวมถึงความคืบหน้าในโครงการปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F Tiger II ให้เป็น F-5ST SUPER TIGRIS โดยบริษัท Elbit System อิสราเอล และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย ซึ่งมีความคืบหน้าอย่างมาก
เช่น การติดตั้งระเบิดนำวิถี Laser แบบ LIZARD, การปล่อยเป้าลวงพลุไฟ(Flare) และห้องนักบินที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ทั้ง ๔เครื่องที่คาดว่ากำลังจะได้รับมอบเครื่องชุดที่สองอีก ๘เครื่องครับ
Operator Team include Counter Terrorist Operations Center (CTOC) Royal Thai Armed Forces Headquarters, Special Operations Regiment Royal Thai Air Force Security Force and Naresuan 261 Border Patrol Police Police Aerial Reinforcement Unit Royal Thai Police
joint conduct demonstration security operation during 35th ASEAN Summit and Related Summits in Thailand in 29 October 2019.
รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงตรวจความพร้อมซักซ้อม รปภ.ประชุมสุดยอดอาเซียน
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2562 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายความมั่นคง) เป็นประธานตรวจความพร้อมการรักษาความปลอดภัยสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
โดยมี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ชัยชนะ นาคเกิด รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รองผบ.ทสส.) คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ผู้แทนกระทรวงต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมซ้อมโดยพร้อมเพรียงกัน
ในการซ้อมได้มีการบรรยายสรุปแผนปฏิบัติการในพื้นที่ของกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สาธิตการรักษาความปลอดภัยวีไอพีในภาวะปกติโดยตำรวจสันติบาล สาธิตการรักษาความปลอดภัยวีไอพี กรณีมีสิ่งบอกเหตุมีแนวโน้มว่าจะเกิดภัยคุกคาม โดยตำรวจสันติบาลและอริยทราช 26 /สาธิตการสกัดกั้นและจับกุมผู้ก่อเหตุ-วัตถุต้องสงสัย โดยตำรวจนเรศวร 261 และตำรวจนครบาล การสาธิตช่วยเหลือบุคคลสำคัญออกจากพื้นที่การประชุม โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล หรือ ศตก. กองทัพไทย
ซึ่งการรักษาความปลอดภัยงานประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ประมาณ 10,000 นาย (ภาพโดย ส.ท.ณัฐสิฏฐ์ เพ็ชรเกลี้ยง)
https://www.facebook.com/opsd.pr/posts/713127462538349
การสาธิตความพร้อมการรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดการประชุมสุดยอด ASEAN ครั้งที่๓๕ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องที่มีขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม-๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ เมืองทองธานี กรุงเทพฯ นั้น
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก. กองบัญชาการกองทัพไทย ได้สนธิกำลังร่วมกับอีกหลายหน่วยเช่น หน่วยปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย, อรินทราช๒๖ ตำรวจนครบาล และนเรศวร๒๖๑ ตำรวจพลร่ม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60L Black Hawk กองพันบินที่๙ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก แสดงถึงขัดความสามารถของหน่วยรบพิเศษกองทัพ-ตำรวจไทยที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยสูงชั้นนำระดับโลกในภารกิจการปฏิบัติการพิเศษในเขตเมืองครับ