วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562

กองทัพเรือพม่าได้รับมอบเรือดำน้ำชั้น Kilo จากอินเดียแล้ว




Indian Naval Ship Sindhuvir, the fourth of the Sindhughosh class submarines, was commissioned into the Indian Navy on 11 June 1988.(https://www.facebook.com/IndianNavy)

India delivers Kilo class submarine to Myanmar Navy
https://www.defseca.com/regional/india-delivers-kilo-class-submarine-to-myanmar-navy/

Website Defseca.com บังคลาเทศได้รายงานว่าตัวแทนของอินเดียได้ส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Sindhughosh(Project 877EKM รัสเซีย NATO กำหนดรหัสชั้น Kilo) ที่เคยประจำการในกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ซึ่งผ่านการปรับปรุงคืนสภาพ(refurbished) แล้ว
คือเรือดำน้ำ S58 INS Sindhuvir แก่กองทัพเรือพม่า(MN: Myanmar Navy, Tatmadaw Yei) ตามที่ได้บรรลุผลข้อตกลงก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/kilo.html)

คาดว่าเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ลำแรกของพม่านี้จะมีพิธีเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ธันวาคม 2019 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 72ปีการก่อตั้งกองทัพเรือพม่า ที่น่าจะรวมถึงเรืออู่ยกพลขึ้นบก (LPD: Landing Platform Dock) ใหม่ลำแรกของกองทัพเรือพม่า
คือเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD-1501 UMS Moattama ถูกสร้างโดยอู่เรือบริษัท Daesun Shipbuilding & Engineering ใน Busan สาธารณรัฐเกาหลี ที่เพิ่งเดินทางมาถึงพม่าเมื่อเร็วนี้ๆด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/lpd-ums-moattama-vladivostok.html)

INS Sindhuvir เป็นเรือดำน้ำชั้น Sindhughosh ลำที่สี่ ที่เข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดียเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1988 มีระวางขับน้ำ 3,000tonnes ความยาวเรือ 73m ความกว้างเรือ 10m มีระยะปฏิบัติการใต้น้ำราว 400nmi ดำน้ำได้ลึกสุด 300m สามารถปฏิบัติการใต้น้ำได้ราว 45วัน
กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 11นาย และกลาสี 52นาย มีท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm หกท่อยิง รองรับ Torpedo หนักต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Type 53, อาวุธปล่อยนำวิถียิงจากเรือดำน้ำใต้น้ำ 3M-54 Kalibr และทุ่นระเบิดแบบ DM-1

อย่างไรก็ตามกองทัพเรือไม่น่าจะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีสำหรับยิงจากเรือดำน้ำจากรัสเซียแต่อย่างใด โดยแหล่งข้อมูลข่าวกรองทางเรือยังระบุด้วยว่ากองทัพเรือพม่ามีความต้องการจะใช้ Torpedo หนักเช่นแบบ Varunastra ที่อินเดียผลิตและพัฒนาเองในประเทศเพื่อลดค่าใช้จ่าย
โดยก่อนหน้านี้อินเดียได้ส่งมอบ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Shyena ขนาด 324mm แก่กองทัพเรือพม่าที่ถูกนำมาติดตั้งกับเรือฟริเกตชั้น Kyan Sitthar ทั้งสองลำที่พม่าสร้างเองในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/torpedo-shyena.html)

กองทัพเรือพม่ามีจุดประสงค์ในการจัดหาเรือดำน้ำมือสองจากอินเดียเพื่อใช้สำหรับการฝึกเพื่อจัดตั้งบขีดความสามารถสงครามใต้น้ำของตน ซึ่งตามแผนที่วางไว้คาดว่ากองทัพเรือพม่ามีความต้องการเรือดำน้ำอย่างน้อย 4ลำ
ที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะจัดหาเรือดำน้ำชั้น Project 877 มือสองจากรัสเซียเพิ่มเติม หรืออาจจะสั่งจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น Project 636(NATO กำหนดรหัสชั้น Improved Kilo) สร้างใหม่จากรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)

ปัจจุบันกองทัพเรือพม่ามีขีดความสามารถจำกัดการปฏิบัติการเขตชายฝั่งเป็นส่วนใหญ่(Green-water Navy) นอกจากเรือฟริเกตชั้น Kyan Sitthar สองลำคือ F12 UMS Kyan Sitthar(พระเจ้าจานสิตา) และ F14 UMS Sin Phyushin(พระเจ้ามังระ)
และเรือฟริเกต F11 UMS Aung Zeya(พระเจ้าอลองพญา) ที่ต่อเองในพม่า 3ลำ ยังมีเรือฟริเกตชั้น Type 053H1 จีนมือสองที่ได้รับการปรับปรุง 2ลำคือ F22 UMS Mahar Bandoola(มหาพันธุละ) และ F23 UMS Mahar Thiha Thura(มหาสีหสุระ หรือ อะแซหวุ่นกี้) รวม 5ลำ

รวมถึงเรือคอร์เวตชั้น Anawratha คือ 771 UMS Anawratha(พระเจ้าอโนรธา), 772 UMS Bayinnaung(พระเจ้าบุเรงนอง) และ 773 UMS Tabinshwehti(พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้) ที่ต่อเองในประเทศ 3ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2016/12/stealth.html)
กับเรือเร็วโจมตีชั้น5 จำนวนมาก เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) 54 UMS Inlay(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/ums-inlay-opv.html) เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง และเรือระบายพลขนาดต่างๆที่ต่อเองในพม่าเป็นจำนวนมาก

ประเทศเพื่อนบ้านที่มีน่านน้ำติดกับพม่านอกจากอินเดียคือ กองทัพเรือบังคลาเทศ(Bangladesh Navy) ได้รับมอบเรือดำน้ำชั้น Type 035G (NATO กำหนดรหัสชั้น Ming) มือสองจากจีน 2ลำเข้าปะจำการแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/type-035-2.html)
ขณะที่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) กำลังอยู่ระหว่างจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จีน ๑ลำที่ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) คาดว่าจะถูกส่งมอบเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

แต่ทว่าการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่ ๒ และลำที่๓ เพิ่มเติมของกองทัพเรือไทยกำลังเผชิญความพยายามในการยกเลิกโครงการจากขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายผ่านทางฝ่ายการเมืองในรัฐสภาไทย โดย พลเรือโท ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือและโฆษกกองทัพเรือ ได้เผยว่า
กองทัพเรือภาคที่๓ กองทัพเรือไทย จะต้องเร่งหาวิธีการรับมือกับสถานการณ์ใหม่ต่อไป เมื่อพม่าได้เพิ่มและขยายขีดความสามารถทางสงครามใต้น้ำของตนซึ่งยังคงมีข้อพิพาทด้านพรมแดนทางฝั่งทะเลอันดามันกับไทยอยู่ เช่นที่จังหวัดระนองครับ