The next exercise Cobra Gold 2020 in Thailand during February to March 2020, US Navy and US Marine Corps to be involved with LHA-6 USS America amphibious assault ship and F-35B Marine Fighter Attack Squadron 122 (VMFA-122).
พล.ท.ธิติชัย เทียนทอง จก.ยก.ทหาร /ผอ.กฝ. คอบร้าโกลด์ 2020 และ MG Pete Johnson Deputy USARPAC Commander เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการประชุมวางแผนขั้นสุดท้าย การฝึกคอบร้าโกลด์ 2020
ร่วมกับผู้แทนฝ่ายไทย ฝ่ายสหรัฐฯ และมิตรประเทศ รวม 9 ชาติ เมื่อ 4 ต.ค.62 ณ ห้องเพชรไพลิน รร.วินเซอร์ สวีท กทม. โดยในการฝึกคอบร้าโกลด์ 2020 ห้วง ก.พ.- มี.ค.63 ฝ่ายสหรัฐจะนำ USS America และ F-35 เข้าร่วมการฝึกด้วย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=105390657573734&id=105371567575643
https://www.facebook.com/Cobra-Gold-Exercises-105371567575643/
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่าการฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2020 ที่ไทยที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) นั้นเป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือสหรัฐฯจะส่งเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจม LHA-6 USS America เข้าร่วมการฝึกด้วย
โดย USS America ซึ่งเป็นเรือลำแรกของเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั้น America ที่เข้าประจำการเมื่อปี 2014 นั้นได้วางกำลังเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off and Vertical Landing) มากับเรือด้วย
เครื่องบินขับไล่ F-35B ฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธิน VMFA-122 'Flying Letherneck' เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอากาศยานนาวิกโยธินที่13 (Marine Aircraft Group 13, MAG-13), กองบินอากาศยานนาวิกโยธินที่3(3rd Marine Aircraft Wing,3rd MAW) ครับ
Admiral Luechai Rutdit Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy was presided over the Keel laying ceremony of new 2 Coastal Patrol Craft T.997-class (T.997 and T.998) from Thailand's shipyard company Marsun Public Company Limited., 14 November 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/997-998.html
พิธีวางกระดูงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 ที่ประกอบด้วยเรือ ต.997 และเรือ ต.998 เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นโครงการล่าสุดที่ที่ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) ได้รับสัญญาจากกองทัพเรือไทย
โดยเมื่อรวมกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำประกอบด้วยเรือ ต.114 และ ต.115 ที่ Marsun กำลังสร้างอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/114.html) กองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ลำ
เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ที่ปลดประจำการแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/91-94-95.html) และเสริมเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.81 ๓ลำ, ชุดเรือ ต.991 ๓ลำ, ชุดเรือ ต.994 ๓ลำ และชุดเรือ ต.111 ๓ลำ รวมเป็น ๑๒ลำครับ
Schiebel Camcopter S-100 rotary-wing Unmanned Aerial System (UAS) win contract with Royal Thai Navy.
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/schiebel-camcopter-s-100.html
การลงนามสัญญาจัดหาอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน(rotary-wing UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Camcopter S-100 ๑ ระบบที่ไม่ทราบจำนวนแก่กองทัพเรือไทย วงเงิน ๒๖๖,๖๐๒,๔๙๐บาท($8,726,832.61) วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒
นับเป็นครั้งแรกที่บริษัท Schiebel ออสเตรีย ได้รับสัญญาจัดหาจากกองทัพเรือไทย โดยอากาศยานไร้คนขับ Camcopter S-100 จะเข้าปนะจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) โดยจะวางกำลังที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางภาคใต้ของประเทศไทย
กองทัพเรือไทยมีความต้องการ UAV ปีกหมุนที่ขึ้นลงจากพื้นที่จำกัดเช่นดาดฟ้าเรือผิวน้ำได้มานานแล้ว แต่ระบบที่พัฒนาเองในไทยอย่าง DTI RTN KSM150 ที่พัฒนาโดยบริษัท กษมา เฮลิคอปเตอร์ จำกัด นั้นไม่ได้รับเลือกให้ใช้งานจริงเนื่องจากมีเสียงดังและสมรรถนะทางการบินต่ำเกินไปครับ
Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy's Orbiter 3 Small Tactical UAS (Unmanned Aerial System) products of Israeli company Aeronautics Defense Systems.
พล.ร.ต.วรพล ทองปรีชา ผอ.สวพ.ทร. นำคณะข้าราชการ สวพ.ทร. เดินทางไปปฏิบัติราชการ ระหว่างวันที่ ๖ - ๗ พ.ย.๖๒ ณ พล.นย. อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี และ กบร.กร. อ.บ้านฉาง จว.ระยอง
ภาพคณะนายทหาร สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร เยี่ยมชม กองการบินทหาร กองเรือยุทธการ กบร.กร ระหว่างวันที่ ๖-๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ ได้เปิดเผยถึงอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Orbiter 3 ว่ามีปรจำการในกองทัพเรือไทย
Orbiter 3 เป็นระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิถีขนาดเล็ก พัฒนาโดยบริษัท Aeronautics Defense Systems อิสราเอล ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) บริษัทก็ได้เคยนำระบบ UAV หลายแบบของตนมาสาธิตให้กองทัพเรือไทยชม
ระบบอากาศยานไร้คนขับ UAV จาก Aeronautics อิสราเอลได้รับการจัดหาเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยก่อนหน้านี้แล้ว เช่น อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar, อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Orbiter II และอากาศยานไร้คนขับพิสัยกลาง Dominator ในฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ครับ
Royal Thai Air Force commissioned ceremony two F-5TH Super Tigris and 17 RTAF U1 domestic Tacticl Tactical UAS(Unmanned Aerial System) by Thailand company RV Connex in 14 November 2019.
พล.อ.อ. มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ข/ค หรือเครื่องบินแบบ F-5TH และอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง
โดย F-5TH จำนวน 2 เครื่องได้ปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ยังเหลือที่ต้องปรับอีก 12 เครื่อง ซึ่งปี 2565 จะเสร็จทั้งหมด ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อีเล็กทรอนิคส์และเอวิโอนิคที่ทันสมัย พร้อมระบบป้องกันตนเอง และเรดาร์ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมาย
รวมถึงการใช้อาวุธที่ทันสมัยมีความแม่นยำสูงระยะยิงไกลขึ้น และระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี LINK-T เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ GRIPEN C/D ซึ่งเป็นเครื่องบินในยุคที่ 4.5 สามารถที่จะใช้ประจำการต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 15 ปี ...Photo Sompong Nondhasa
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1989140634522371
เครื่องพร้อมทำงานจริง "Ready to protect"
เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการรับมอบเข้าประจำการของอากาศยานแบบ F-5 TH ณ ท่าอากาศยานทหารที่ 2 ดอนเมือง เขี้ยวเล็บใหม่ทั้งสองลำได้บินเดินทางกลับที่ตั้งที่กองบิน21 จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพร้อมปฏิบัติภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศทันที
โดยทำการขึ้นบินพร้อมกัน 2 ลำ (Formation take off) อันเป็นการขึ้นบินตามแบบยุทธวิธี ที่ใช้เวลาเพียง 35 นาทีในการบินเดินทางกลับที่ตั้ง
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2954012801294957
Thailand to modernise ageing F-5 and Alpha Jet fleets
https://www.janes.com/article/92570/thailand-to-modernise-ageing-f-5-and-alpha-jet-fleets
ตามที่กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่ F-5TH Super Tigris ๒เครื่องแรกและอากาศยานไร้คนขับ RTAF U1 UAV ที่พัฒนาร่วมกับบริษัท RV Connex ไทยจำนวน ๑๗เครื่องที่กองบิน ๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)
นอกจากที่ F-5E/F จะมีขีดความสามารถในการรบเป็นเครือข่ายผ่าน Link-T และการใช้อาวุธอากาศสู่อากาศนอกระยะสายตา(BVR: Beyond Visual-Range missile) เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.5 เช่นเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี
การให้ข้อมูลจากแหล่งข่าวนายทหารกองทัพอากาศไทยที่ไม่ระบุตัวตามกฎ Chatham House Rule ยังระบุถึงการปรับปรุงโครงการ , Avionic และอาวุธของเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ๑๔เครื่องโดย RV Connex ตามที่เคยรายงานไปด้วยครับ
Thailand's Defence Technology Institute demonstrated test firing domestic DTI-2 122mm wheeled self-propelled Multiple Launch Rocket System for 10 round at Royal Thai Army Artillery Center Range, Lopburi province, 13 November 2019.
Royal Thai Army's DTI-1G 302mm Guided Multiple Launch Rocket System at Royal Thai Army Artillery Center Range.
Royal Thai Army's M758 Autonomous Truck-Mounted Gun (ATMG) 155mm/52 calibre self-propelled howitzer on Tatra 6x6 10 tonne truck Czech Republic.(My own Photos)
สทป. ร่วมการแสดงยุทโธปกรณ์ และทำการยิงสาธิตจรวดหลายลำกล้อง DTI-2
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้รับเชิญจากศูนย์การทหารปืนใหญ่ (ศป.) ให้เข้าร่วมการสาธิตอำนาจการยิง เหล่า ป. ประจำปี 62 เพื่อแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสาธิตอำนาจการยิงของเหล่า ป. ให้กับคณะนักศึกษาหลักสูตร วปอ.
คณะนักศึกษาหลักสูตร วทบ., วทร., วทอ. และ วสท. คณะนายทหารนักเรียน รร.สธ.ทบ., รร.สธ.ทอ. และหลักสูตรชั้นนายพัน รวมทั้งผู้บังคับบัญชา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ และสื่อมวลชน ซึ่งเป็นนักศึกษาและนายทหารนักเรียนจากหลักสูตรต่าง ๆ ของกองทัพ
โดยทีมนักวิจัย สทป. ได้นำระบบหลายลำกล้องแบบ DTI-1G และ DTI-2 เข้าร่วมการแสดงยุทโธปกรณ์ และทำการยิงสาธิตจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 แบบต่อเนื่องจำนวน 10 นัด
ณ สนามยิงปืนใหญ่ เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ผลการยิงสาธิตจรวดหลายลำกล้อง DTI2 ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
โดยมี น.อ.คมสันต์ ประพันธ์กาญจน์ รอง ผอ.สทป. เป็นผู้แทน ผอ.สทป. เข้าร่วมชมการยิงสาธิตและเป็นกำลังใจให้กับทีมนักวิจัย และได้บรรยายแนะนำสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พร้อมด้วยคุณลักษณะของจรวดที่นำมาใช้สาธิตในครั้งนี้
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/1384308175062512
การสาธิตการยิงเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง DTI-2 ขนาด122mm ๒๐ท่อยิง แบบต่อเนื่องจำนวน ๑๐นัด ณ สนามยิงปืนใหญ่ เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสาธิตอำนาจการยิงเหล่าทหารปืนใหญ่กองทัพบกไทย
เป็นความสำเร็จใของโครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122mm ระยะยิง 40km อีกครั้งหลังที่ได้ทำการทดสอบยิง ๑๐นัดลงทะเลอันดามัน ณ สนามทดสอบอาวุธ เขาหน้ายักษ์ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่๓ กองทัพเรือไทยไปเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/dti-dti-2-122mm.html)
ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการทดสอบยิง DTI-2 แบบแท่นยิงหกเหลี่ยม ๒๐ท่อยิงบนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 กองทัพบกไทย ที่สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศป.มาแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2016/11/first-win-dti-2-type-85.html)
Model of DTI's D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher base-on Elbit Systems Land PULS.
เช่นเดียวกับเครื่องจรวดนำวิถีหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ DTI-1G ขนาด 302mm ที่ DTI ไทยร่วมมือในการพัฒนากับจีนที่เข้าประจำการใน ณ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กองพลทหารปืนใหญ่ ไปแล้ว DTI ไทยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี และพัฒนาต้นแบบระบบฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ ระยะที่๑ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ กับบริษัท Elbit อิสราเอล วงเงิน ๗๙,๗๑๖,๐๐๐บาท($2,614,724.66) ว่าเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher ที่มีพื้นฐานจาก คจลก.อัตตาจร PULS
จะใช้รถแคร่ฐานรถยนต์บรรทุก TATRA 6x6 สาธารณรัฐเช็กเช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG สามารถใช้จรวดนำวิถีสามแบบคือ Accular 122mm ระยะยิง 45km ชุดยิงละ ๑๘นัด และ EXTRA 300mm ระยะยิง 150km ชุดยิงละ ๔นัด และ Predator Hawk ระยะยิง 300km ชุดยิง ๒นัดครับ
Royal Thai Army's VN1 8x8 wheeled armored vehicle with UW4B Remote-Controlled Weapon Station (RCWS).
เผยโฉม VN 1 และกำลังเดินทางมาไทยแล้ว ! ข่าวความคีบหน้าของการส่งมอบรถเกราะลำเลียงพลล้อย่ง 8 X 8 VN 1 ล็อตแรกที่กองทัพบกไทยสั่งซื้อจาก NORINCO ประเทศจีน ขณะนี้ได้ลำเลียงมาทางเรือ กำหนดมาถึงไทยในสัปดาห์หน้าต้นเดือนธันวาคมนี้ จำนวน 34 คัน
โดยสีเป็นลายพรางเขียวสวยงาม ทั้งนี้จะมาพร้อมกับกับรถถัง VT-4 อีก 10 คัน ... VN 1 เป็นรถเกราะลำเลียงพลที่ทันสมัยรุ่นล่าสุด มีน้ำหนักรถพร้อมรบ 23 ตัน
ใช้เครื่องยนต์ดีเซลของ DEUTZ รุ่น BF6M1015CP (ผลิตในประเทศจีน) ให้กำลัง 448 แรงม้า ความเร็วบนถนน 100 กม./ ชม. ระยะปฏิบัติการบนท้องถนน 800 กม. พลประจำรถ 2+11 คน
อาวุธหลักเป็นปืนอัตโนมัติ ขนาด 30 มม. ติดตั้งอยู่บนป้อมปืนแบบควบคุมจากภายในตัวรถหมุนได้รอบตัว มีปืนกล ขนาด 7.62 มม. เป็นปืนกลร่วมแกน อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง Red Arrow 73D เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ ขนาด 40 มม. และเครื่องยิงลูกระเบิดควันขนาด 76 มม.
…มีคุณลักษณะเป็นรถสะเทินน้ำสะเทินบก ความเร็วเคลื่อนที่ในน้ำ 8 กม./ชม. ตัวรถสามารถดัดแปลงให้เป็นรถใช้งานแบบต่างๆเช่น รถบังคับการ รถพยาบาล รถเครื่องยิงลูกระเบิด รถกู้ซ่อม ฯลฯ...
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/2018144498288651
กองทัพบกไทยได้จัดหายานเกราะล้อยาง VN1 ระยะที่๑ วงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ประกอบด้วยยานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 APC(Armored Personal Carrier) ๓๔คัน, ยานเกราะกู้ซ่อม VS27 ๒คัน, รถซ่อมบำรุง ๒คัน
และสั่งจัดหาระยะที่๒ ที่น่าจะรับมอบราวปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ประกอบด้วย VN1 APC ๓คัน, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง SM4A 120mm ๑๒คัน, VS27 ๙คัน, ยานเกราะล้อยางลาดตระเวนและที่บังคับการ VE36 ๑๒คัน, รถเกราะพยาบาล VN1 ๓คัน และรถซ่อมบำรุง ๒คัน
พร้อมกระสุนต่างๆ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/vn1.html) แต่ไม่มีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง คาดว่ายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 จะถูกนำเข้าประจำการ ณ กองพันทหารม้าที่๑๐ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เป็นหน่วยแรกครับ
Royal Thai Army (RTA) and British Army personals include The Royal Gurkha Rifles (RGR) was participation for joint exercise Panther Gold 2019 in closing ceremony at Nakhon Ratchasima province, Thailand, 28 November 2019
พิธีปิดการฝึกผสม Panther Gold 2019
วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา พลโท ธิติชัย เทียนทอง เจ้ากรมยุทธการทหาร และ พันเอก Roger Lewis ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารสหราชอาณาจักร ประจำกรุงเทพฯ เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกผสม Panther Gold 2019 ณ โรงเรียนบ้านซับสะเดา อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
กองทัพไทย ร่วมกับกองทัพสหราชอาณาจักร จัดการฝึกผสมร่วมกัน ภายใต้รหัสการฝึกแพนเธอร์โกลด์ (Panther Gold 2019) ระหว่างวันที่ ๔ พฤศจิกายน ถึง ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ จังหวัดนครราชสีมา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การฝึกทางทหาร ตามหลักนิยมของทั้ง ๒ ประเทศ รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ระหว่าง ๒ กองทัพ
รวมถึงเพื่อกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านความมั่งคงระหว่างกองทัพไทย และกองทัพสหราชอาณาจักร มีผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน ๒๘๐ นาย ประกอบด้วย ฝ่ายไทย จำนวน ๑๖๐ นาย
และฝ่ายสหราชอาณาจักร จำนวน ๑๒๐ นาย จาก กองพัน Gurkha ซึ่งเป็นหน่วยทหารที่มีศักยภาพสูงหน่วยหนึ่งของโลก เช่น ทักษะการปฏิบัติการทางทหารตามยุทธวิธีของหน่วยทหารราบ ด้านการปฏิบัติการในพื้นที่ป่าภูเขา การปฏิบัติการรบในพื้นที่ตะวันออกกลาง และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
การฝึกผสมฯ ในครั้งนี้ถือเป็นการฝึกครั้งที่ ๒ ที่ดำเนินการต่อเนื่องระหว่างกองทัพไทย และ กองทัพสหราชอาณาจักร โดยถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางทหารระดับยุทธวิธีร่วมกันทั้งสองกองทัพ
และทั้งสองกองทัพจะได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อการปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับความร่วมมือในการฝึกผสมฯ ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ในด้านการสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศในการพัฒนาการฝึกผสมฯ กับมิตรประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกองทัพไทย รวมถึงเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกองทัพให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นต่อไป
https://www.facebook.com/panthergoldthailand/posts/555480918332247
พิธีปิดการฝึกผสม Panther Gold 2019
วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา พลโท ธิติชัย เทียนทอง เจ้ากรมยุทธการทหาร และ พันเอก Roger Lewis ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารสหราชอาณาจักร ประจำกรุงเทพฯ เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกผสม Panther Gold 2019 ณ โรงเรียนบ้านซับสะเดา อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
กองทัพไทย ร่วมกับกองทัพสหราชอาณาจักร จัดการฝึกผสมร่วมกัน ภายใต้รหัสการฝึกแพนเธอร์โกลด์ (Panther Gold 2019) ระหว่างวันที่ ๔ พฤศจิกายน ถึง ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ จังหวัดนครราชสีมา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การฝึกทางทหาร ตามหลักนิยมของทั้ง ๒ ประเทศ รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ระหว่าง ๒ กองทัพ
รวมถึงเพื่อกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านความมั่งคงระหว่างกองทัพไทย และกองทัพสหราชอาณาจักร มีผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน ๒๘๐ นาย ประกอบด้วย ฝ่ายไทย จำนวน ๑๖๐ นาย
และฝ่ายสหราชอาณาจักร จำนวน ๑๒๐ นาย จาก กองพัน Gurkha ซึ่งเป็นหน่วยทหารที่มีศักยภาพสูงหน่วยหนึ่งของโลก เช่น ทักษะการปฏิบัติการทางทหารตามยุทธวิธีของหน่วยทหารราบ ด้านการปฏิบัติการในพื้นที่ป่าภูเขา การปฏิบัติการรบในพื้นที่ตะวันออกกลาง และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
การฝึกผสมฯ ในครั้งนี้ถือเป็นการฝึกครั้งที่ ๒ ที่ดำเนินการต่อเนื่องระหว่างกองทัพไทย และ กองทัพสหราชอาณาจักร โดยถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางทหารระดับยุทธวิธีร่วมกันทั้งสองกองทัพ
และทั้งสองกองทัพจะได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อการปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับความร่วมมือในการฝึกผสมฯ ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ในด้านการสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศในการพัฒนาการฝึกผสมฯ กับมิตรประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกองทัพไทย รวมถึงเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกองทัพให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นต่อไป
https://www.facebook.com/panthergoldthailand/posts/555480918332247
The largest land counter-terrorism exercise held by the ASEAN Defense Ministers' Meeting (ADMM)-Plus Experts' Working Group (EWG) on Counter-Terrorism commenced in Guilin, Guangxi Zhuang Autonomous Region on Nov 13.
การฝึกผสม Panther Gold 2019 ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๔ พฤศจิกายน-๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ จังหวัดนครราชสีมา(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/panther-gold-2019.html) ซึ่งเป็นการฝึกครั้งที่๒ จากการฝึก Panther Gold 2017
รวมถึงการฝึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการต่อต้านการก่อการร้ายของกลุ่มชาติ ASEAN และประเทศคู่เจรจา ASEAN Defence Ministers Meeting-Plus (ADMM–Plus) ที่ Guilin เขตปกครองตนเอง Guangxi Zhuang สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
ก็เป็นการฝึกผสมรวมกับมิตรประเทศล่าสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมาของกองทัพไทย เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางทหารกับมิตรประเทศทั่วโลก และเสริมสร้างศักยภาพองค์ความรู้ด้านความมั่นคงของไทยครับ
รวมถึงการฝึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญการต่อต้านการก่อการร้ายของกลุ่มชาติ ASEAN และประเทศคู่เจรจา ASEAN Defence Ministers Meeting-Plus (ADMM–Plus) ที่ Guilin เขตปกครองตนเอง Guangxi Zhuang สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
ก็เป็นการฝึกผสมรวมกับมิตรประเทศล่าสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมาของกองทัพไทย เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางทหารกับมิตรประเทศทั่วโลก และเสริมสร้างศักยภาพองค์ความรู้ด้านความมั่นคงของไทยครับ
Thailand outlines technology-transfer priority
https://www.janes.com/article/92353/thailand-outlines-technology-transfer-priority
ไทยได้ร่างเค้าโครงความมุ่งมั่นเพื่อให้มั่นใจว่าการถ่ายทอดวิทยาการได้รับความสำคัญในทุกโครงการจัดหาหลัก นโยบายนี้มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการอุตสาหกรรมภายในประเทศในภาคความมั่นคงและภาคพาณิชย์
พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมไทยยืนยันในการบรรยายสรุปต่อสื่อเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมาว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหมได้ให้ความสำคัญยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยี
เพื่อให้มั่นใจว่ายุทโธปกรณ์จะถูกผลิตในไทย พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีไทยต้องการให้การจัดหาอาวุธจากต่างประเทศทั้งหมดมาพร้อมกับชุดการถ่ายทอดวิทยาการเพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตและโครงการการวิจัยและพัฒนา(R&D: Research and Development) เพิ่มเติมในไทย
การวิจัยและพัฒนาการการผลิตทางการป้องกันประเทศควรจะยังถูกสนับสนุนผ่านโครงการความร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมไทยด้วยครับ
The first prototype of DTI with Ukrainian Ukroboronprom, French Thales and Thai company Datagate wheeled armoured command post carrier (ACPC) or BTR-3CS 8x8 for Royal Thai Army to displayed at Defense and Security 2019.
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/1393052414188088
Defense & Security 2019:
Chaiseri ไทยเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win 4x4 รุ่นใหม่หลายแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-chaiseri-first.html)
DTI ไทยเปิดตัวยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Black Widow Spider กับยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ติดป้อมปืนใหม่ และยานเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-3CS ACPC 8x8(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-dti-black-widow.html)
Panus ไทยเปิดตัวยานเกราะล้อยาง R600 8x8 และ AFV-420P 4x4(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-panus-r600-8x8.html)
DTI ไทยเปิดตัวยานยนต์ไร้คนขับ D-Iron UGV ที่พัฒนาร่วมกับเอสโตเนียและออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-dti-d-iron-ugv.html)
RV Connex ไทยเปิดตัวอากาศยานรบไร้คนขับ Sky Scout-X UCAV สำหรับกองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-rv-connex-sky.html)
หลายประเทศสนใจเสนอเครื่องบินฝึกใหม่แก่กองทัพอากาศไทยทดแทน PC-9(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-pc-9.html)
Lockheed Martin สหรัฐฯแสดงเครื่องบินขับไล่ F-16V ฝูงบิน๑๐๒ กองทัพอากาศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html)
Marsun ไทย CSSC-CSOC จีน และ DSME เกาหลีใต้แสดงแบบเรือของตนแก่กองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-marsun-cssc-csoc.html)
NORINCO จีนแสดงยานเกราะล้อยาง VN1 หลายรุ่น และกองทัพบกไทยแสดง Stryker RTA ICV(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-norinco-vn1.html)
ไทยพัฒนาปืนเล็กยาว 5.56mm กับปืนยาวซุ่มยิง .338 และพม่าแสดงอาวุธที่ตนผลิตเอง(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-556mm-338.html)
งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ผ่านมา นับเป็นปีที่มีความน่าสนใจในหลายๆด้าน
ทั้งนโยบายของกระทรวงกลาโหมและกองทัพไทยที่เปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมง่ายได้ง่าย นอกจากพิธีเปิดที่มีการสาธิตการปฏิบัติการทางทหารแล้ว ในงานยังมีผลงานวิจัยและพัฒนาด้านความมั่นคงของไทยเอง และการนำเสนอของบริษัทจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
ทว่าเนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยงานปีนี้จึงอนุญาตให้ผู้เข้าชมทั่วไปนำกล้องถ่ายรูปคุณภาพสูงเข้างานได้ รวมถึงแม้ว่าจะมีบริษัทและหน่วยงานต่างๆมามากขึ้นในพื้นที่จัดแสดงใหญ่ขึ้น แต่ก็แบ่งพื้นที่ของแต่ละส่วนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น Saab ที่ต้องแบ่งพื้นที่กับ WB Group โปแลนด์
อีกทั้งการรายงานข่าวสารของงาน D&S 2019 จากสื่อด้านความมั่นคงต่างประเทศก็ลดลงไปมากกว่าครั้งก่อนๆเนื่องจากจัดชนกับงานแสดงอาวุธนานาชาติใหญ่อื่นๆ เช่น Dubai Airshow 2019 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, DSEI Japan 2019 ที่ญี่ปุ่น และ Milipol Paris 2019 ที่ฝรั่งเศสครับ