วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๖-๑๑






Thai Defense Industry (TDI) by Chaiseri displayed its First Win ARV (Armoured Reconnaissance Vehicle) 4x4, First Win AFV (Armoured Fighting Vehicle) 4x4 and First Win ATV (Armoured Tactical Vehicle) 4x4 at the Defense & Security show in Bangkok. 
(My Own Photos)


Advance Defence Technology & Innovation Co., Ltd. (ADTI) unveiled Defence Technology Institute (DTI) Black Widow Spider 8x8 for Royal Thai Army (RTA). (My Own Photos)



MOD2020 rifle and carbine, NIN9 submachine gun, .45ACP pistol and KOCHA SINGHA 20 rifle by Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC), Ministry of Defence of Thailand. (My Own Photos)

Weapons Manufacture Industries Co., Ltd. (WMI) and Israeli firearms firm EMTAN at the Defense & Security show in Bangkok. (My Own Photo)


BAE Systems Inc. shown model of its M777 155mm howitzer at the Defense & Security show in Bangkok. (My Own Photos)


The modernized Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] (TYPE A upgraded) by Thailand's company Armisys Supply Co.,Ltd. for Royal Thai Army. (My Own Photos)


Marsun's M58 Patrol Gun Boat, PGB-561 HTMS Laemsing of Royal Thai Navy (RTN). (My Own Photos)


Catamaran vessel for Special Operation support by RTN's Naval Research & Development Office (NRDO). (My Own Photos)




CSSC displayed models of its products include 1100 ton submarine, Lightweight Anti-Submarine Torpedo and Multi-Purpose Heavyweight Torpedo, 68m Littoral Combat Ship (LSM) and 2000 ton High-Speed Patrol Vessel at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)

Royal Thai Navy (RTN) commander-in-chief latest said to media on China S26T Submarine issue in 117th annversary of Royal Thai Navy's Day on 20 November 2023 that 16V 396 SE84-GB31L diesel generator engine is German MTU 396 license bulit in China. 
CSTC (China Shipbuilding Trading Co., Ltd.) told RTN about this issue for change engine to CHD 620 on 2019, RTN Naval Dockyard committee has inspected accepted it in June 2023. 
Thailand-China Government-to-Government agreement on S26T submarines programme to be expired on 30 December 2023, RTN will issueed warning letter to China within 15 days before for the fine.
CSSC (China State Shipbuilding Corporation) still DISAGREEs to change S26T Submarine deal to Frigate or Offshore Patrol Vessel (OPV) due it bulid RTN's Submarine hull for more than 50%. 
However RTN now has been forced by Ministry of Defence led by civilian government to give up and abandon its Submarine programme and hope to rely on sacred things to resolve this issues.
It might be end up by Royal Thai Navy will get nothing neither S26T nor new Frigate.




RTN NRDO MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System-Type B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) and NAX series Seaplan. (My Own Photos)


Textron Aviation Defense displayed model of its Beechcraft AT-6TH Wolverine for Royal Thai Air Force (RTAF) at the Defense & Security show in Bangkok. (My Own Photos)


China National Aero-Technology Import & Export Corporation (CATIC) displayed models of Aviation Industry Corporation of China (AVIC)'s J-31 stealth fighter and J-10CE fighter at the Defense & Security show in Bangkok. (My Own Photos)









The Defense & Security 2023 show in Bangkok during 6-9 November 2023 has Conclusion, next Defense & Security 2025 show to be held on 10-13 November 2025.

Defense & Security 2023:
DTI และ Rafael อิสราเอลจะร่วมผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Spike ในไทย
Norinco จีนจะส่งมอบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Sky Saker FX80 VTOL UAV แก่กองทัพบกไทย
กองทัพบกไทยใกล้จะจัดหายานยนต์รบไร้คนขับ DTI D-Iron ไทย
Norinco จีนเสร็จสิ้นการส่งมอบรถถังหลัก VT4 แก่กองทัพบกไทย
RV Connex ไทยเปิดตัวอากาศยานไร้คนขับ Sky Scout-M UAV
กองทัพอากาศไทยได้รับมอบระเบิดร่อนนำวิถีดาวเทียม KGGB เกาหลีใต้แล้ว
DTI ไทยมีความก้าวหน้าการพัฒนารถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A
ATIL ไทยเปิดตัวอากาศยานรบไร้คนขับ DP18A UCAV
Chaiseri ไทยเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ใหม่สำหรับนาวิกโยธินไทย
DTI ไทยและ ST Engineering สิงคโปร์ร่วมมือพัฒนารถยนต์บรรทุกเบา 4x4 ใหม่
Marsun ไทย และ TKMS เยอรมนีเสนอเรือฟริเกตเบา MEKO A-100 สำหรับกองทัพเรือไทย
Babcock อังกฤษ และ Damen เนเธอร์แลนด์มองจะเสนอเรือฟริเกตของตนแก่กองทัพเรือไทย
ไทยขยายสายการผลิตปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง M758 ATMG 155mm
โอกาสของเครื่องบินขับไล่ KF-21 เกาหลีใต้กับกองทัพอากาศไทย

งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2023 ที่อาคาร Challenger Hall 9-12 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ก็ได้เห็นหน่วยงานและบริษัทต่างๆของไทยและต่างประเทศมาร่วมแสดง
จะเห็นได้ชัดว่าแม้จะเปลี่ยนกลับมาจัดที่ Hall 9-12 เหมือนงานปี 2017 แต่ในขนาดพื้นที่จัดงานเท่าเดิมกลับมีหน่วยงานและบริษัทจากประเทศต่างๆร่วมงานลดลงไปจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่ยูเครนที่เกิดสงครามจนจากประเทศผู้ส่งออกอาวุธต้องกลายเป็นประเทศที่ต้องขอรับบริจาคอาวุธเพื่อปกป้องตนเอง
รัสเซียที่เป็นผู้รุกรานยูเครนได้ถูกห้ามเข้าร่วมงานแสดงอาวุธนานาชาติ อิสราเอลซึ่งกำลังทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย Hamas ก็มีบริษัทที่เข้าร่วมงานลดลง อิตาลีเช่น Leonardo โปแลนด์เช่น WB Group และบางบริษัทของสาธารณรัฐเกาหลีเช่น Hyundai HHI และ SNT Motiv ก็ไม่ได้ร่วมงานปีนี้
อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมงานของบริษัทหน่วยงานและกิจการบริษัทต่างประเทศในงาน Defense & Security 2023 ได้เปลี่ยนมาในรูปแบบความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหม กองทัพไทย และรัฐบาลไทยอยู่

นี่รวมถึงบริษัท Thai Defense Industry(TDI) ไทย กิจการร่วมค้าที่จัดตั้งขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ DTI ไทยและบริษัท Chaiseri ไทย ที่ร่วมมือกับบริษัท Leonardo DRS สหรัฐฯ-อิตาลีในการบูรณาการระบบจัดการบัญชาการภารกิจการรบ(Integarted Mission Command Battle Mangement System) และติดตั้งป้อมปืน remote(RWS: Remote Weapon Station) ขนาด 12.7mm และ 30mm จากบริษัท EM&E สเปน 
เข้ากับผลิตภัณฑ์รถหุ้มเกราะล้อยางของ Chaiseri เช่น รถเกราะล้อยางลาดตระเวน First Win ARV(Armoured Reconnaissance Vehicle) 4x4 ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามความต้องการของกองทัพบกไทยสำหรับการตรวจการณ์ของเหล่าทหารปืนใหญ่ แต่ยังไม่ได้รับงบประมาณจัดหาจนถึงตอนนี้
ซึ่งบริษัท TDI ไทยที่ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ยังมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการส่งออกของผลิตภัณฑ์ของไทยเช่นรถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger 4x4 โดยนำการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานรัฐมาใช้สนับสนุนเอกชนไทยในการทำสัญญากับลูกค้าทั้งของไทยและต่างประเทศ

บริษัท Advance Defence Technology & Innovation(ADTI) ไทยก็เป็นอีกหนึ่งกิจการร่วมค้าที่ DTI มีส่วนร่วมกับหลายบริษัทเอกชนไทยเช่น บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม(Preecha Thavorn Industry) ไทย ในการผลิตยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Black Widow Spider 8x8 สำหรับกองทัพบกไทย
ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BWS 8x8 ที่นำมาจัดแสดงในงานได้รับการปรับปรุงติดตั้งป้อมปืน Remote Controlled Weapon Station(RCWS) แบบ EOS R800  ของออสเตรเลีย พร้อมปืนใหญ่กล 30mm เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm และเสริมแท่นยิงปืนกล 7.62mm สองแท่นท้ายรถ 
แม้ว่ายานเกราะล้อยางลำเลียงพล DTI Black Widow Spider 8x8 จะผ่านการรับรองมาตรฐานโดยคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกไทยแล้ว แต่ก็ยังไม่มีงบประมาณจัดหา เหมือนที่ยังไม่มีงบประมาณจัดหายานเกราะล้อยาง Stryker 8x8 และยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 เพิ่มเติม

โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ รง.ตวพ.ศอว.ศอพท.(WRDP: Weapon Research and Development Plant) ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.(WPC, DIEC: Weapon Production Center, Defence Industry and Energy Center)
ได้ให้ข้อมูลกับผู้เขียนในงาน Defense & Security 2023 ว่า สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม(Office of The Permanent Secretary for Defence, Ministry of Defence of Thailand) ได้มีการสั่งจัดหาปืนเล็กยาว MOD2020 rifle และปืนเล็กสั้น MOD2020 carbine แล้วจำนวน ๒๐๐กระบอก
ซึ่งภายในสามปีมองที่จะมีการผลิตให้ได้ถึง ๑,๕๐๐กระบอก สำหรับทดแทนปืนเก่าอย่างปืนเล็กยาว ปลย.๑๑ HK33 อาจรวมถึงปืนเล็กยาว ปลย.๕๐ Tavor ที่มีรายงานปัญหาการใช้งาน โดยยังนำเสนอปืนกลมือ ปกม.NIN9 ขนาด 9x19mm และปืนพก ปพ.WPC ขนาด .45ACP ทดแทนปืนเก่า
บริษัท MILTECH ไทยผู้ออกแบบปืนเล็กยาวจู่โจม MOD2020 ยังมีแผนที่จะวิจัยและพัฒนาปืนกลเบาซึ่งคาดว่าจะสร้างต้นแบบได้ ๑-๒ปีข้างหน้า อีกด้านคือบริษัท อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ จำกัด(WMI: Weapons Manufacture Industries) ไทยที่รวมกับบริษัท EMTAN อิสราเอล ก็แสดงมีความพร้อมในการผลิตอาวุธปืนในไทยตั้งแต่ปืนพก ปืนกลมือ ปืนเล็กยาว และเสื้อเกราะกันกระสุนแก่หน่วยงานของรัฐ

ในงาน Defense & Security 2023 บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรยังได้กล่าวถึงปืนใหญ่วิถีโค้งลากจูง M777 ขนาด 155mm ของ BAE Systems Inc. สหรัฐฯในเครือของตนว่ากองทัพบกไทยแสดงความสนใจจะจัดหามานานแล้วแต่ก็เหมือนกับโครงการอื่นๆคือยังไม่ได้รับงบประมาณจัดหา
กองทัพบกไทยยังมีโครงการปรับปรุงระบบควบคุมการยิงปืนใหญ่ต่อสู่อากาศยาน Bofors 40mm L/70 OES ร่วมกับภาคเอกชนซึ่งก็ได้ส่งมอบให้กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานไปแล้ว รวมถึงโครงการวิจัยพัฒนาเพื่อยืดอายุการใช้งานและทดแทนการนำเข้าสำหรับระบบปืนใหญ่ที่มีใช้งานอยู่
เช่น แหวนยางกันซึมสำหรับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๙๕ M101A1 ขนาด 105mm และปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ปนร.๓๗ GHN-45A1 155mm ที่ไม่มีการผลิตอะไหล่แล้ว และ Li-Ion Battery และ Charger สำหรับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๔๙ M119 ขนาด 105mm ด้วยเป็นต้น

นอกจากการเสนอแบบเรือฟริเกตเบา MEKO A-100 ร่วมกับบริษัท TKMS เยอรมนี บริษัท Marsun ไทยยังกล่าวกับผู้เขียนในงาน Defense & Security 2023 เกี่ยวกับโอกาสกับโครงการจัดหาต่างๆของตนกับกองทัพเรือไทยหลังเสร็จสิ้นการส่งมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 สองลำแล้ว
อย่างการสั่งจัดหาเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์เพิ่มเติม ๒ลำที่ควรจะมีในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาตามที่กองทัพเรือไทยเปิดเผยในปี ๒๕๖๕ เพื่อทดแทนเรือเก่าที่ใช้มานานอย่างเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบ ๖ลำที่ลำแรก ร.ล.สัตหีบ ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983)
แต่ก็เหมือนกับโครงการอื่นๆที่ควรจะมีในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วทั้งโครงการจัดหาเรือตรวจการไกลฝั่งใหม่ ๑ลำ และโครงการปรับปรุงเรือตรวจการไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานีทั้ง ๒ลำที่ไม่ได้รับการอนุมัติงบประมาณให้ ซึ่งก็เหมือนกับโครงการอื่นๆที่ถ้าไม่มี งป.ก็ทำอะไรไม่ได้

ขณะเดียวกันแม้ว่ากระทรวงกลาโหมไทยจะมีความพยายามในการเจรจากับจีนทั้ง CSTC(China Shipbuilding Trading Co., Ltd.) ส่วนกิจการส่งออกเรือต่างประเทศของ CSSC(China State Shipbuilding Corporation) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน 
ระหว่างงาน Defense & Security 2023 ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ การเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมบวกชาติหุ้นส่วน ADMM-Plus(ASEAN Defence Ministers' Meeting) กับตัวแทนจากสาธารณรัฐประชานจีน ที่อินโดนีเซียวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามจากคำสัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกลาโหมไทย นาย สุทิน คลังแสง ที่มองจะยกเลิกการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีนและเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตจีนแทน ดูจะมีข้อขัดแย้งกับข้อมูลจากกองทัพเรือไทยที่ยังคงมีความพยายามผลักดันโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ดำเนินการต่อไปให้ได้อยู่

ด้วยการยืนยันกับกระทรวงกลาโหมที่จะไม่เปลี่ยนโครงการจากการจัดหาเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกตจีน อย่างน้อยกองทัพเรือไทยยังหวังที่จะได้รับมอบเรือดำน้ำ S26T จีน ระยะที่๑ หนึ่งลำที่มีการจัดหาแล้วโดยการยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 แทน MTU 396 เยอรมนี ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา
แต่ดูเหมือนว่ากระทรวงกลาโหมที่นำโดยรัฐบาลพลเรือนต้องการจะยกเลิกโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือให้ได้ ซึ่งนั่นดูจะมีที่มาจากแรงผลักดันทางการเมืองจากภาคประชาชนที่เป็นฐานเสียงของตนที่ไม่ต้องการให้กองทัพเรือมีเรือดำน้ำไว้ใช้แม้แต่ลำเดียวเพราะมองว่าค่าใช้จ่ายสูงสิ้นเปลือง
โดยบีบบังคับให้กองทัพเรือต้องเลือกที่จะนำงบประมาณสำหรับเรือดำน้ำเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตจีนแทน กองทัพเรือไทยมองที่จะขออนุมัติงบประมาณสำหรับการจัดหาโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะที่ควรจะเป็นเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุยเดชลำที่สองในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗(2024) 

โครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงวงเงินราว ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($470,653,500) นี้เป็นคนละโครงการจัดหาเรือฟริเกตจีนที่จะใช้งบประมาณจากการยกเลิกโครงการเรือดำน้ำ S26T ราว ๑๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($387,403,800) ที่ได้จ่ายไปแล้วราว ๘,๐๐๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($221,650,113)
เช่นเดียวกับที่เป็นคนละโครงการกับการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ ๔ลำในระยะ ๑๔ปี วงเงิน ๘๐,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($2,207,456,772) ด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากงาน D&S2023 ว่า Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลียังคงหวังที่จะได้รับสัญญาสร้างเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองจากไทยอยู่
และยังมีอีกหลายบริษัทที่สนใจจะเสนอแบบเรือฟริเกตของตนแข่งขันในโครงการเรือฟริเกตใหม่ ๔ลำในอนาคต ทั้งเรือฟริเกต MEKO A-100 ทีม Marsun ไทยและ TKMS เยอรมนีข้างต้น, Babcock สหราชอาณาจักรที่เสนอเรือฟริเกต Arrowhead และ Damen เนเธอร์แลนด์ที่เสนอเรือฟริเกต SIGMA 

อย่างไรก็ตามทาง CSSC จีนผู้สร้างเรือดูจะไม่พอใจที่จะเปลี่ยนการจัดหาเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต ตามที่ตนสร้างตัวเรือของไทยไปแล้วมากกว่าร้อยละ๕๐ ซึ่งการยกเลิกสัญญาจะทำให้ตนขาดทุนเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ซึ่งแบบเรือฟริเกตต่างๆที่จีนนำเสนอในงาน D&S 2023 ก็ไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติม
กระทรวงกลาโหมและรัฐบาลไทยจึงอาจจะไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติกับจีนได้ และไม่มีฝ่ายไหนอยากจะมีปัญหาทางกฎหมายจนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีด้วย อย่างไรก็ตามทั้งหมดเป็นเรื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามที่มีสื่อไร้จรรยาบรรณชี้นำประชาชนว่า "กองทัพเรือไม่สมควรได้อะไรทั้งนั้น!"
ผลสรุปจึงอาจจะเลวร้ายกว่าที่คิดคือนอกจากกองทัพเรือไทยจะไม่ได้เรือดำน้ำ S26T ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามในการจัดหาเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือไทยแล้ว กองทัพเรือไทยยังอาจจะไม่ได้เรือฟริเกตใหม่แม้แต่ลำเดียวทั้งจากจีน, สาธารณรัฐเกาหลี หรือประเทศอื่นด้วย

กองทัพเรือไทยยังมีอีกหลายๆโครงการวิจัยพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเองที่นำเสนอในงาน Defense & Security 2023 ในส่วนของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research & Development Office) ที่ร่วมกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนไทยก็เช่น
โครงการพัฒนาสร้างยาน Catamaran สนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษความยาว 8.8m ความเร็วสูงสุด 36knots รัศมีทำการ 50nmi พลประจำเรือ ๒นาย+เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ ๖นาย, การหล่อใบจักร Nickel Aluminum ใช้กับเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง และเครื่องบินทะเลตระกูล NAX
ในส่วนโครงการเครื่องบินทะเล NAX-4 นั้นได้เลือกบริษัทอู่กรุงเทพ Bangkok Dock ไทยดำเนินสายการผลิต ๑เครื่องซึ่งตัวแทนของ Bangkok Dock กล่าวผู้เขียนในงานว่าเป็นทดลองความเป็นไปได้ในการเปิดสานการผลิตสร้างเครื่องบินของตนแม้บริษัทจะดำเนินธุรกิจสร้างและซ่อมเรือเป็นหลัก 

อีกโครงการคืออากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-B VTOL UAV นายทหารโครงการกล่าวกับผู้เขียนในงานว่า โครงการได้รับอนุมัติวงเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ เพื่อการสร้าง ๑ระบบประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับ UAV จำนวน ๔เครื่อง และสถานีควบคุมภาคพื้นดิน  ๑ระบบแล้ว
โดยอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนแบบที่๒ MARCUS-B มีจุดประสงค์ที่จะนำมาใช้วางกำลังในหน่วยปฏิบัติการของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอรฝ.(ACDC: Naval Air and Coastal Defence Command) บนเกาะต่างๆ เพื่อเป็นระบบชี้เป้าหมายให้ปืนใหญ่รักษาฝั่ง
นายทหารโครงการยังกล่าวว่า MARCUS-B สามารถที่จะเชื่อมโยงระบบเข้ากับ datalink ของกองทัพเรือไทย ขณะที่อากาศยานไร้คนขับปีกหมุน Schiebel Camcopter S-100 ของกองการบินทหารเรือ กบร.(RTND: Royal Thai Naval Air Division) ที่จัดหามาก่อนหน้าเชื่อมโยงกับ Link RTN ไม่ได้ 
แต่ยังไม่มีแผนที่จะติดอาวุธให้ MARCUS-B ตามที่สำรวจความเป็นไปได้กับระเบิดนำวิถีความแม่นยำสูง FFLMM(Free Fall Lightweight Multi-role Missile) ของบริษัท Thales ยุโรปไปก่อนหน้าในงาน Defense & Security 2022 เมื่อปีที่แล้ว โดยมองที่จะใช้ในการลาดตระเวนตรวจการณ์เป็นหลัก

บริษัท Textron Aviation Defense กล่าวกับผู้เขียนในงาน Defense & Security 2023 ว่าตามที่กองทัพอากาศไทยได้เสร็จสิ้นการรับมอบเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ T-6TH Texan II ครบ ๑๒เครื่องเข้าประจำการในโรงเรียนการบินกำแพงแสนไปเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๖ แล้วนั้น
เครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ AT-6TH Wolverine ที่มีกำหนดจะเริ่มการส่งมอบให้ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทยในปี พ.ศ.๒๕๖๗ ขณะนี้ ๒เครื่องแรกได้สร้างเสร็จจากโรงงานของ Beechcraft แล้ว แต่ไม่มีพิธีเปิดตัว(roll out) และจะถูกจัดส่งทางเรือไม่ได้บินมา
ความคืบหน้าในการอุ่นเครื่องโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองบิน๑ โคราช บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯยังคงมั่นใจว่าเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 รวมถึงเครื่องบินลำเลียง C-130J ของตนเหมาะสมกับกองทัพอากาศไทยที่สุด

บริษัท Saab สวีเดนนอกจากเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ของตนว่าเหมาะสมกับกองทัพอากาศไทยแล้ว ยังมองที่จะเสนอระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ RBS 70NG แบบติดตั้งบนรถหุ้มเกราะ 8x8 ในโครงการจัดหาระบบป้องกันฐานบินของกองทัพอากาศไทยที่ถูกเลื่อนมาหลายปี
Saab สวีเดนยังจะส่งมอบระบบ radar ค้นหาที่ตั้งเป้าหมาย Arthur weapon locating system(WLS) ที่กองทัพเรือไทยลงนามจัดหาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ในเร็วๆนี้ และเปิดเผยว่ากองทัพบกไทยสนใจจะจัดหาปืนไร้แรงสะท้อน Carl Gustaf M4 รุ่นใหม่ซึ่งเพิ่งจะมีลูกค้าล่าสุดที่ไม่เปิดเผยไปในเดือนพฤศจิกายน 2023(https://www.saab.com/newsroom/press-releases/2023/saab-receives-carl-gustaf-order)
อีกด้านที่บริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีได้แสดงความสนใจที่จะเสนอเครื่องบินขับไล่ KF-21 ของตนแก่กองทัพอากาศไทยแล้ว ทาง CATIC(China National Aero-Technology Import & Export Corporation) จีนยังนำเสนอผลิตภัณฑ์อากาศยานสำหรับส่งออกแบบหลายแบบในงานด้วยเช่นกัน

อากาศยานที่ผลิตโดย AVIC(Aviation Industry Corporation of China) จีนนำเสนอในงาน Defense & Security 2023 รวมถึงเครื่องบินขับไล่ J-10CE ซึ่งส่งออกให้ปากีสถานเป็นลูกค้ารายแรกไปแล้ว และเครื่องบินไล่ J-31(FC-31) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ Stealth สำหรับส่งออก
อย่างไรก็ตามโอกาสของเครื่องบินขับไล่จีนในโครงการทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ดูจะน้อยกว่าผู้มีรายชื่อตามคำให้สัมภาษณ์สื่อของผู้บัญชาการทหารอากาศและรัฐมนตรีกลาโหมอย่าง F-16 Block 70/72 สหรัฐฯ และ Gripen E/F สวีเดน แม้แต่ KF-21 สาธารณรัฐเกาหลีที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา
CATIC ที่เป็นกิจการนำเข้าและส่งออกอากาศยานของจีนมักจะเน้นการนำเสนอให้เห็นตัวอย่างจากเครื่องบินขับไล่ FC-1/JF-17 และ J-10CE และส่งออกให้ปากีสถานและหลายประเทศว่านอกจากจะใช้อาวุธจีนที่ทันสมัยเทียบเท่าตะวันตกแล้วยังสามารถใช้อาวุธมาตรฐาน NATO ได้หลายแบบด้วย

แต่โอกาสของอากาศยานจีนแบบอื่นๆเช่นเครื่องบินลำเลียง Y-9E กับไทยยังคงน้อยกว่าเครื่องบินลำเลียง KC-390 บราซิลอยู่ดี รวมถึงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10ME ที่กองทัพบกไทยตั้งใจจะจัดหาจากสหรัฐฯคือเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z อยู่แล้วถ้าได้รับงบประมาณ
นอกจากบริษัท Boeing สหรัฐฯสำหรับเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ AH-6i ที่กองทัพบกไทยสั่งจัดหา ๘เครื่องและเครื่องบินขับไล่ F-15EX Eagle II และบริษัท Dassualt ฝรั่งเศสสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale ที่ไม่เคยมาร่วมงานแสดง Defense & Security ในไทยเลยมาหลายปี 
ทางบริษัท Airbus ยุโรปก็ไม่ได้แสดงตัวเป็นตัวแทนกลุ่มกิจการค้าร่วม Eurofighter GmbH เสนอเครื่องบินขับไล่ Typhoon ในไทย แต่แสดงความร่วมมือกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทยในการซ่อมบำรุงเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ของตนในไทย 
และล่าสุดบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปและ TAI ไทยได้ร่วมนำเสนอเฮลิคอปเตอร์ H125 สำหรับสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการพิเศษ Commandos แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย แล้วพบกันอีกครั้งในงาน Defense & Security 2025 ที่จะมีขึ้นในวันที่ ๑๐-๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ครับ
(เป็นการเดินทางที่ยาวนานมาแล้วสิบปีตั้งแต่ที่ลงบทความงาน Defense & Security 2013 ครั้งแรกเมื่อสิบปีที่แล้ว กับ Blog ที่โดนช่องบน Youtube ที่คนติดตามเป็นแสนเป็นล้าน และต่อมาบน TikTok "ขโมย" บทความและรูปภาพจากที่นี่ไปอ่านบทอาขยานรับเงินจากค่าชมโฆษณาบ่อยที่สุดแห่งหนึ่ง)












105 Royal Thai Army (RTA) soldiers who participated in Joint Pacific Multinational Readiness Center 24-01 (JPMRC 24-01) at Scholfield Barracks, Hawaii, USA returned to Thailand on November 15, 2023, after effectively completing their training. 
They’re prepared to utilize their expanded expertise to the fullest extent to serve RTA and the country. (Royal Thai Army)

กองทัพบกไทยได้เสร็จสิ้นการฝึกผสม Joint Pacific Multinational Readiness Center(JPMRC) 24-01 ระหว่างวันที่ ๒๗ ตุลาคม-๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ ณ ค่าย Schofield มลรัฐฮาวาย สหรัฐฯ ซึ่งกองทัพบกไทยได้ส่งกำลังพลเข้าร่วมการฝึกนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
กำลังพลจำนวน ๑๐๕นายรวมถึงทหารหญิง ๒ นายที่สำเร็จหลักสูตรส่งทางอากาศ(Airborne) ส่วนใหญ่ในปีนี้จัดกำลังจาก กองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๖ กองพลทหารราบที่๖(3rd Infantry Battalion, 6th Infantry Regiment, 6th Infantry Division)
ได้ทำการฝึกพร้อมด้วยเครื่องแบบสนามและอาวุธที่ทันสมัย ร่วมกับกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) และกรมทหารราบหลวงสกอตแลนด์(Royal Regiment of Scotland) กองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army) นับเป็นอีกหนึ่งความสัมพันธ์ทางทหารที่แข็งแกร่งระหว่างไทยและมิตรประเทศครับ







General Songwit Noonpackdee, Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed Forces, and delegation participated in the Field Training Exercise (FTX) and the closing ceremony of the joint/combined exercise AMAN YOUYI 2023.
On 22 November 2023, at 0805 hours, the Chief of Defence Forces and delegation departed from the Sheraton Zhanjiang Hotel and arrived at the Malong Training Centre at 0930 hours to receive a briefing and observe the FTX. 
This Exercise involved counter-terrorism and the transition of Maritime Security training among Chinese, Cambodian, Lao, Malaysian, Thai, and Vietnamese armed forces. 
The Chief of Defence Forces later attended the closing ceremony of the Exercise and expresssed gratitude to the Chinese People's Liberation Army for their hospitality. 
General Songwit Noonpackdee admired the colllaborative training, emphasizing its importance in strengthening relationships across various dimensions and fostering future goodwill among the participating nations. 
The Exercise, codenamed AMAN YOUYI, means "friendship that builds peace." Later, at 1740 hours, the Chief of Defence Forces and delegation left the hotel for Maxie Pier, an approximate 20-minute journey, to attend a reception on a Chinese landing craft where Lieutenant General Yang Zhi Liang, Political Commissar of the South Sea Fleet, hosted the reception.

พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ เดินทางเข้าร่วมชมการสาธิตการฝึกภาคสนาม (FTX) และพิธีปิดการฝึกร่วม/ผสม AMAN YOUYI 2023
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.05 น.  พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะออกเดินทางจากโรงแรมเชอราตัน จ้านเจียง ถึงยัง Malong Training Center ในเวลา 09.30 น. 
โดยรับฟังการบรรยายสรุป และรับชมการสาธิตการฝึก FTX ซึ่งเป็นการฝึกร่วมผสม การต่อต้านการก่อการร้าย และการถ่ายทอดการฝึก Maritime Security ระหว่างกองกำลังจีน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ไทยและเวียดนาม 
จากนั้นเข้าร่วมพิธีปิดการฝึก โดยได้กล่าวขอบคุณกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่ได้ให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง และยินดีที่ได้มีการฝึกร่วมผสมกับชาติที่เข้าร่วม ในอันที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์กันในทุกมิติ รวมทั้งจะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในอนาคต 
ตามชื่อรหัสการฝึก Aman Youyi ซึ่งแปลว่า “ความเป็นเพื่อนที่ร่วมกันสร้างสันติภาพ” ต่อไป จากนั้นในเวลา 17.40 น.  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ ออกจากโรงแรมที่พักไปยัง ท่าเรือ Maxie ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที เพื่อเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองบนเรือระบายพลของจีน 
โดยมี พลโท หยาง จื้อ เลี่ยง กรรมาธิการการเมืองของกองเรือภาคใต้ (South Sea Fleet) เป็นประธานงานเลี้ยงรับรอง

กองทัพไทยร่วมกับร่วมกับกองทัพมาเลเซีย(MAF: Malaysian Armed Forces), กองทัพกัมพูชา(Royal Cambodian Armed Forces), กองทัพประชาชนลาว(Lao People’s Army) และกองทัพประชาชนเวียดนาม(VPA: Vietnam People's Army) ได้เสร็จสิ้นการฝึกร่มผสม AMAN YOUYI 2023
ที่จัดโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ณ นคร Zhanjiang, มณฑล Guangdong สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๑๓-๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ โดยการฝึกเน้นไปที่การต่อต้านการก่อนการร้ายสากลและการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด
กองทัพไทยได้จัดกำลังจากสามเหล่าทัพรวมถึง หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ บก.รพศ. กองทัพบกไทย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.กองทัพเรือไทย และ กรมปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน ปพ.อย.กองทัพอากาศไทย ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางทหารอันดีระหว่ามิตรประเทศครับ