วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อู่กรุงเทพ Bangkok Dock ไทยกำลังดำเนินการเสนอสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV ให้ศรีลังกา

Model of Royal Thai Navy OPV-551 HTMS Krabi the first Krabi class Offshore Patrol Vessel at 3rd Ship Technology for the Next Decade 3-4 March 2016 (My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html

Thailand Shipbulider's  Bangkok Dock Company(State owned company) in progressing to offer new 3 Offshore Patrol Vessels for Sri Lanka Navy
as Company's Managing Director and Executive Director was attended to meetting event between Cabinet of Deputy Minister of Defence of Sri Lanka and Minister of Defence of Thailand, 9 October 2018

Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction and painting at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, October 2018
https://www.facebook.com/NavyForLifePage

กก.ผจก.และผู้บริหาร บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ไปร่วมงานต้อนรับคณะผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหม ศรีลังกา เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย .. สืบเนื่องจากโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ให้กับ ทร.ศรีลังกา ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ... ภาพข่าว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2014546418606618&id=206569599404318

การเข้าพบกันระหว่างคณะผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมศรีลังกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ให้การต้อนรับการเยือนประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ได้มีประเด็นการหารือความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยและศรีลังกาหลายหัวข้อ
โดยกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารของ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock Company) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของไทยยังได้เข้าร่วมงาน ตามนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในของไทยโดยรัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ทั้งนี้ บริษัท อู่กรุงเทพ ไทยกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) จำนวน ๓ลำ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ล้านบาท($362.61 million) ให้กับกองทัพเรือศรีลังกา(Sri Lanka Navy) ด้วย

บริษัท อู่กรุงเทพ Bangkok Dock ไทยได้จัดซื้อสิทธิบัตรแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 90m OPV จากบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร(BVT Surface Fleet เดิม) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) โดยมีสัญญาระบุการสร้างเรือสำหรับใช้งานภายในไทยเองและส่งออกต่างประเทศเป็นระยะเวลา ๑๐ปี
ด้วยการถ่ายทอด Technology อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้สร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำแรกคือ ร.ล.กระบี่ แล้วเสร็จเข้าประจำการเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖(2013)
และปัจจุบัน อู่มหิดลฯ กำลังอยู่ระหว่างการสร้างเรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ลำที่สองคือ ร.ล.ตรัง ซึ่งมีการปรับปรุงไปจากเรือลำแรกคือ ร.ล.กระบี่ หลายประการ เช่นมีดาดฟ้าบินท้ายเรือรองรองเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10tons และติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing Harpoon สหรัฐฯ เป็นต้น

ด้านกองทัพเรือศรีลังกาในปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการขยายกำลังทางเรือเพื่อให้มีขีดความสามารถเป็นกองเรือทะเลลึก(Blue Water Navy) ในการป้องกันประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะกลางมหาสมุทรอินเดีย โดยศรีลังกาได้มีการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งมาหลายลำในช่วงหลายปีมานี้
เช่น เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งสมรรถนะสูงชั้น Saryu สองลำที่ต่อโดยอู่เรือ Goa Shipyard Limited(GSL) อินเดียคือ P623 SLNS Sayurala และ P624 SLNS Sindurala รวมถึงเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่เคยประจำการในกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) หน่วยยามฝั่งอินเดีย(Indian Coast Guard) และหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(US Coast Guard) มาก่อน
คือ เรือ ตกก.ชั้น Sukanya อินเดีย คือ P620 SLNS Sayura(P54 INS Sarayu เดิม), เรือ ตกก.ชั้น Vikram อินเดียคือ P622 SLNS Sagara(41 ICGS Varaha เดิม) และเรือตัดน้ำแข็งขนาดกลาง Medium Endurance Cutter สหรัฐฯ SLNS Samudura(WMEC-622 USCGC Courageous เดิม)

แม้จะไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆในขณะนี้ แต่เป็นที่เข้าใจว่า บริษัท อู่กรุงเทพ Bangkok Dock ไทยน่าจะเสนอแบบเรือ 90m OPV ของ BAE Systems แก่ศรีลังกา ซึ่งการต่อเรือโดยอู่เรือของไทยเพื่อส่งออกเพื่อส่งออกมิตรประเทศนั้นน่าจะมีราคาถูกกว่าที่ประเทศนั้นจะสั่งต่อเรือที่อู่เรืออังกฤษ
และอาจรวมถึงความร่วมมือกับอู่เรือ Colombo Dockyard ศรีลังกาที่มีขีดความสามารถในการต่อเรือให้กองทัพเรือศรีลังกาและหน่วยยามฝั่งศรีลังกา(Sri Lanka Coast Guard) มาแล้วหลายชั้น เช่น แบบเรือ VARD 7 085 ทีมีพื้นฐานจากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Protector กองทัพเรือนิวซีเแลนด์(Royal New Zealand Navy)
ทั้งนี้ บริษัท อู่กรุงเทพ ยังได้มีการเสนอแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแก่ฟิลิปปินส์อีกประเทศแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานความสนใจที่จะสั่งจัดหาในขณะนี้ แต่ก็เป็นการแสดงถึงความเชื่อมั่นของมิตรประเทศและการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมที่มีต่ออุตสาหกรมความมั่นคงภายในของไทยของรัฐบาลไทยครับ