Sweden Submits Gripen Proposal to Bulgaria
https://saabgroup.com/media/news-press/news/2018-10/sweden-submits-gripen-proposal-to-bulgaria/
Bulgaria details proposals for MiG-29 fighter jets replacement
Bulgarian Air Force MiG-29A and MiG-29UB fighter jets
http://www.airrecognition.com/index.php/archive-world-worldwide-news-air-force-aviation-aerospace-air-military-defence-industry/global-defense-security-news/global-news-2018/october/4541-bulgaria-details-proposals-for-mig-29-fighter-jets-replacement.html
สำนักงานการจัดหายุทธภัณฑ์กลาโหมสวีเดน(FMV) ได้ส่งข้อเสนอของเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D จำนวน 8เครื่องที่มีความเข้ากันได้เต็มรูปแบบกับมาตรฐาน NATO แก่กระทรวงกลาโหมบัลแกเรียเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา
โดยรวมถึงชุดคำสั่งมาตรฐาน MS20(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/gripen-cd-ms20.html) ซึ่งสามารถส่งมอบเครื่องให้บัลแกเรียได้ในเวลาอันสั้น โดยเครื่องชุดแรกจะส่งมอบให้กองทัพอากาศบัลแกเรียได้หลังลงนามสัญญาจัดหา 24เดือน
การฝึกนักบินและช่างเครื่องสำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen ยังถูกรวมในขีดความสามารถการบินขึ้นสกัดกั้นฉับพลัน(QRA: Quick Reaction Alert) ที่จะประสบผลสำเร็จภายในกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้
"Gripen เป็นเครื่องบินขับไล่พุภารกิจขั้นก้าวหน้าตั้งแต่เริ่มต้นการพัฒนาตลอดอายุของมัน ข้อเสนอของสวีเดนตรงความต้องการของรัฐบาลบัลแกเรียตามงบประมาณ กำหนดการส่งมอบ และขีดความสามารถของเครื่องบินใหม่" Joakim Wallin ผู้อำนวยการส่งออกและความสัมพันธ์ต่างประเทศ FMV สวีเดนกล่าว
"เมื่อบัลแกเรียเลือก Gripen Saab และสวีเดนพร้อมที่จะร่วมือกับภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงบัลแกเรียในส่วนเช่น การซ่อมบำรุงอากาศยาน, การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญต่อประเทศที่จะช่วยให้ดำรงและสร้างทักษะการทำงาน" Jonas Hjelm รองประธานอาวุโสและหัวหน้าภาคธุรกิจอากาศยาน Saab กล่าว
"ความสัมพันธ์ระหว่างสวีเดนและบัลแกเรียนั่นยอดเยี่ยม ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจขยายตัวโดยการเติบโตของการค้าทวิภาคีและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของบริษัทสวีเดนในบัลแกเรีย ซึ่งมีการจ้างงานเกือบ 9,000คนในบัลแกเรีย" H. E. Louise Bergholm ทูตสวีเดนประจำบัลแกเรียกล่าว
Gripen C/D เป็นระบบเครื่องบินขับไล่ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วโดยประจำการในสวีเดน, แอฟริกาใต้, ฮังการี, สาธารณรัฐเช็ก และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) รวมถึงโรงเรียนนักบินลองเครื่อง UK Empire Test Pilots’ School(UK ETPS) สหราชอาณาจักร
โดย Gripen C/D ที่ประจำการในกองทัพอากาศฮังการีและกองทัพอากาศเช็กซึ่งเป็นสมาชิก NATO เช่นเดียวกับบัลแกเรียได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจและร่วมการฝึกผสมกับ NATO แล้ว ซึ่งจะเป็นระบบเครื่องบินขับไล่ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องและยังประจำการไปอีกไม่ต่ำกว่า 30ปีข้างหน้า
สหรัฐฯ, สวีเดน และอิตาลี ได้เสนอการขายเครื่องบินขับไล่ของตนเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29 รัสเซีย(NATO กำหนดรหัส Fulcrum) ของกองทัพอากาศบัลแกเรีย(Bulgarian Air Force) ตามที่กระทรวงกลาโหมบัลแกเรียแถลงใน Website ของตนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2018
โดยสหรัฐฯเสนอเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Fighting Falcon ที่สร้างใหม่จากโรงงาน เช่นเดียวกับสวีเดนเสนอเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D ที่จะเปิดสายการผลิตใหม่
ขณะที่อิตาลีเสนอเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศอิตาลี กระทรวงกลาโหมบัลแกเรียยังได้ส่งข้อเสนอแก่ฝรั่งเศสสำหรับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ทั้งสร้างใหม่และที่เคยประจำการในกองทัพอากาศฝรั่งเศส,
เยอรมนีสำหรับเครื่องบินขับไล่ Typhoon ทั้งใหม่และที่เคยประจำการในกองทัพอากาศเยอรมนี, อิสราเอลและโปรตุเกสสำหรับ F-16 มือสองที่เคยประจำการในกองทัพอากาศตน แต่ทั้งฝรั่งเศส, เยอรมนี, โปรตุเกส และอิสราเอลยังไม่ได้ตอบรับการร้องขอของบัลแกเรียในขณะนี้
คณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีบัลแกเรีย Boyko Borisov จะทำการวิเคราะห์ข้อเสนอที่ถูกส่งมาและดำเนินการเจรจากับตัวแทนของแต่ละประเทศดังกล่าวตามกรอบระยะเวลาที่ยังไม่มีการประกาศ
โดยรัฐมนตรีกลาโหมบัลแกเรีย Krassimir Karakachanov กล่าวต่อสื่อวิทยุท้องถิ่นว่า เขาต้องการจะให้กระบวนการประเมินค่าและคัดเลือกแบบเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตามที่ก่อนหน้าเคยมีการเลือก Gripen C/D แต่ยังไม่ตัดสินใจจัดหา(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/gripen.html)
หลังจากนั้นรัฐบาลบัลแกเรียจะดำเนินการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำให้โครงการมีผลเป็นรูปธรรม ภายใต้โครงการดังกล่าวกองทัพอากาศบัลแกเรียจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน 16เครื่องที่แบ่งการจัดหาเป็นสองระยะ
ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ระยะที่1 ซึ่งจะมีงบประมาณที่วงเงิน 1.8 billion Bulgarian lev($1.1 billion) จะมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวนไม่ต่ำกว่า 8เครื่อง รวมถึงอาวุธ อุปกรณ์ภาคพื้นดิน, การฝึก และการบูรณาการส่งกำลังบำรุงและสนับสนุนขั้นต้นในระยะเวลา 3ปี
บัลแกเรียได้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิก NATO ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งก่อนหน้านั้นบัลแกเรียเคยเป็นประเทศในกลุ่มกติกาสัญญา Warsaw Pact ซึ่งกองทัพบัลแกเรียยังคงมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จัดหาจากรัสเซียในสมัยอดีตสหภาพโซเวียตที่เก่าล้าสมัยรอการปลดประจำการเพื่อทดแทนด้วยระบบใหม่อีกมาก
ปัจจุบันกองทัพอากาศบัลแกเรียมีเครื่องบินขับไล่ MiG-29A เหลืออยู่ 12เครื่องที่จัดหาจากรัสเซียตั้งแต่ปี 1988 ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่ามีเพียงราว 4เครื่องเท่านั้นที่อยู่ในสภาพใช้ปฏิบัติการได้ครับ