วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑-๙

Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy has Sea Testing of Defence Technology Institute(DTI) Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle at Assault Amphibian Battalion, Royal Thai Marine Corps Division
http://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc.html

Defence Technology Institute(DTI) and Naval Research & Development Office was handed over ceremony of AAPC 8x8 prototype and D-Eyes Mark I Mini UAV to Royal Thai Marine Corps Division Headquarters for trial evaluation, 20 September 2018
http://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc_22.html


Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd was unveiled HMV-420 (High Mobility Vehicle) All New Bulid 4x4 vehicle 
http://aagth1.blogspot.com/2018/09/hmv-420.html

การทดสอบสมรรถนะและส่งมอบยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 สำหรับภารกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยให้ทดลองใช้งาน ที่ดำเนินการพัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. หรือ DTI ร่วมภาคเอกชนไทยและที่ปรึกษาต่างประเทศคือบริษัท ST Kinetics สิงคโปร์นั้น
ก็เป็นหนึ่งในความพยายามในการพัฒนาการพึ่งพาตนเองของภาคอุตสาหกรรมความั่นคงไทย โดยหลังจากที่ส่งมอบรถต้นแบบให้นาวิกโยธินไทยทดลองใช้งานระยะเวลาประมาณ ๑ปี ก็หวังว่าจะมีการสั่งจัดหาไปใช้งานจริงจำนวนหนึ่งเพื่อจะเปิดสายการผลิตได้
อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบอาวุธเองย่อมจะมีค่าใช้จ่ายและราคาต่อหน่วยที่สูงกว่าการจัดจากต่างประเทศ อย่างยานเกราะล้อยางต้นแบบ DTI AAPC เฉพาะป้อมปืนก็ราคา ๖๙.๓ล้านบาทแล้ว รวมถึงส่วนประกอบหลักเช่นเครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar สหรัฐฯที่อย่างไรก็ต้องหาจัดจากต่างประเทศ

ตัวอย่างของรถเกราะล้อยาง HMV-420 4x4 ของบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ที่สร้างใหม่หมดทั้งคัน ซึ่งพัฒนามาจาก HMV-150 4x4 ที่เปิดตัวในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)โดยได้มอบรถต้นแบบให้นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยไปทดลองใช้งานที่ชายแดนภาคใต้นั้น(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/hmv-150-first-win-ii.html)
ก็เป็นรถที่มีพื้นฐานจากการปรับปรุงทางวิศกรรมใหม่จากรถหุ้มเกราะล้อยาง Cadillac Gage V-150 Commando 4x4 สหรัฐฯที่ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1960s ซึ่งปัจจุบันรถเกราะตระกูลนี้เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Textron สหรัฐฯ ทำให้มีข้อสงสัยว่าจะสามารถส่งออกได้โดยไม่ติดปัญหาสิทธิบัตรหรือไม่
อีกทั้งแม้ว่า HMV-420 จะเป็นมีการออกแบบปรับปรุงความทันสมัยหลายส่วนโดยบริษัทพนัส ไทยเองที่ราคาคันละ ๒๕ล้านบาท($770,000) แต่ระบบหลักๆ เช่น เครื่องยนต์ดีเซล Cummins 420HP สหรัฐฯ และระบบส่งกำลัง Allison 4500SP สหรัฐฯ ก็ต่างยังคงต้องจัดหามาจากต่างประเทศอยู่ดีครับ

DTI Black Widow Spider 8x8 Prototype for Royal Thai Army at Defense & Security 2015 (My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2015/11/defense-security-2015.html

การพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยนั้นจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือ แม้แต่ระบบย่อยเช่นที่ DTI จับมือกับ Thales ยุโรปในระบบสื่อสาร Digital(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-thales-digital-indra-lanza-3d-radar.html)
โครงการแรกที่ทำคือที่จะเริ่มจากการพัฒนาระบบสื่อสาร C5I และระบบบริหารจัดการสนามรบ BMS สำหรับยานเกราะลำเลียงพลที่มีอยู่ของกองทัพบกไทย โดยการถ่ายทอด Technology แก่บริษัท Datagate ไทยที่เป็นหุ้นส่วนอุตสาหกรรมหลักของ Thales ในไทยร่วมกับ DTI
ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องอะไรกับยานเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider 8x8 สำหรับกองทัพบกไทย หรือจะเป็นยานเกราะลำเลียงพลแบบอื่นๆ เช่น ระบบรถสายพานลำเลียงพลอย่าง รสพ.M113 และ รสพ.๓๐ Type 85

ทั้งได้เห็นเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของ DTI ฉบับหนึ่ง "โครงการจ้างเหมาสร้างชิ้นส่วนระบบย่อยยานเกราะล้อยางพร้อมประกอบรวมและทดสอบสมรรถภาพการทำงานเบื้องต้นของยานเกราะล้อยาง 8x8 สำหรับ โครงการวิจัยและพัฒนาร่วมยานเกราะล้อยาง ระยะที่๒" วงเงิน ๗๗,๙๗๐,๐๐๐บาท
มีใบเสนอราคาจากผู้ประกอบการรายเดียวคือ บริษัท Datagate ถ้าโครงการดังกล่าวข้างต้นจะเป็นโครงการที่ต่อเนื่องจากยานเกราะล้อยางต้นแบบ DTI Black Widow Spider 8x8 สำหรับกองทัพบกไทย จริงๆได้ก็ดีถ้ามีโอกาสได้รับการสั่งจัดหาจนเปิดสายการผลิตเข้าประจำการได้
แต่ทว่าถ้าดูจากโครงการ Black Widow Spider 8x8 และ AAPC 8x8 สำหรับนาวิกโยธินไทยเอง ราคารถต่อคันรวมกับระบบที่สำคัญ เช่น ป้อมปืน ราคาโดยรวมจะแพงกว่ายานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ยูเครน หรือยานเกราะล้อยาง VN1 จีนที่ระบบทุกอย่างครบทั้งคันมากทีเดียวครับ

Clip: Royal Thai Army was testing last batch of 6 Oplot-T Main Battle Tank at firing range in Sa Kaeo province, 13 September 2018

รถถังหลัก Oplot-M ชุดสุดท้ายจำนวน 6 คัน ได้ทำการทดสอบขีดความสามารถและสมรรถนะ ที่สนามทดสอบบ้านภักดีแผ่นดิน จ.สระแก้วแล้วเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา 
โดยได้มีการทดสอบวิ่งในภูมิประเทศ การทดสอบยิงอาวุธปืน 12.7 มม. และการยิงปืนใหญ่รถถัง 125 มม. ทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีคณะกรรมการของกองทัพบกเป็นผู้ตรวจสอบ...
หลังจากนี้รถถัง Oplot-M ทั้ง 6 คัน ก็จะเข้าประจำการครบตามจำนวน 49 คัน ที่กองทัพบกสั่งซื้อในกองพันทหารม้าที่ 2 รอ

การทดสอบรถถังหลัก Oplot-T ชุดสุดท้ายจำนวน ๖คันจากยูเครนตามรับปากว่าจะเสร็จสิ้นสัญญาที่จะส่งมอบให้กองทัพบกไทยครบตามจำนวน ๔๙คัน พร้อมรถเกราะกู้ซ่อม Atlet ๒คัน(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/oplot-t.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/04/atlet.html)
หลังจากที่หน่วยผู้ใช้งานหลักคือ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และหน่วยฝึกศึกษาคือ กองพันทหารม้าที่๒๒ โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า ได้รับมอบรถแล้วก็จะเป็นการจบโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T ที่ยาวนานถึง ๗ปีเสียที
ทั้งนี้กองทัพบกไทยยังมีโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 จีนที่จะเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๖ และ กองพันทหารม้าที่๒๑ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ แต่ด้วยข้อจำการด้านงบประมาณจำนวนรถที่จัดหามาจึงจัดตั้งได้ในลักษณะอัตราจัดหย่อนกำลังครับ


ECA Group awarded a new contract with the Royal Thai Armed Forces for the supply of several units of Cobra MK2 E Unmanned Ground Vehicle for Counter IED/EOD.

Army Military Intelligence, Royal Thai Army Mini UAV(Unmanned Aerial Vehicle)(My Own Photos)

การจัดหา UGV แบบ Cobra MK2 E สำหรับภารกิจเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิดของกองทัพไทย และโครงการจัดหา MALE UAV สำหรับ ศบบ. Mini UAV สำหรับ ศร. เป็นการแสดงถึงการให้ความสำคัญของกองทัพบกไทยในการจัดหาระบบ UAV ที่มีความทันสมัยสูงมาใช้งานสนับสนุนหน่วยปฏิบัติงาน
แต่ทว่าโครงการจัดหาเล็กๆเช่นนี้กลับถูกโจมตีจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองที่คอยจ้องโจมตีกองทัพไทยว่าจัดซื้อของจากต่างประเทศราคาแพงไม่สนับสนุนหุ่นยนต์ของเด็กนักเรียนไทยที่สร้างเองในประเทศเพราะจะเอาเงินทอนค่านายหน้า โดยไม่ดูความจริงที่ผ่านมาเป็นสิบปีเลยว่า 
หุ่นยนต์กู้ระเบิดแบบต่างๆที่สร้างโดยนักเรียน-นักศึกษาของไทยนั้นเป็นระบบที่สร้างจากวัสดุที่มีในตลาด(off-the-shelf) ซึ่งไม่มีมาตรฐาน พอมีปัญหาการใช้งานพวกคนทำก็จบไปหมดตามตัวไม่ได้แล้ว ส่งมาให้ทหาร-ตำรวจใช้แต่ละแบบสุดท้ายก็ไปกองทิ้งที่ห้องเก็บของเพราะเอาไปใช้งานไม่ได้จริง

ฉะนั้นถ้าให้ทหารไทย-ตำรวจไทยเลือกก็ควรต้องเลือกระบบหุ่นยนต์ UGV ของบริษัทต่างประเทศที่ผ่านการพิสูจน์การใช้งานจริงมาแล้วจากกองทัพชาติตะวันตกชั้นนำ มีมาตรฐานการผลิต และมีการบริการหลังการจัดหาที่ครอบคลุมจะไม่ดีกว่าของจากโครงการนักเรียน-นักศึกษาหรือ 
เพราะเป็นระบบที่สามารถใช้งานได้จริงๆและใช้งานได้ในระยะยาว(ก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น) ไม่ใช่บอกว่าไม่สนับสนุนผลงานโครงการพัฒนาของเด็กไทย แต่สร้างอะไรส่งมาให้ทหาร-ตำรวจใช้แล้วไม่มีอะไรเป็นมาตรฐานเหมือนกันสักแบบ สุดท้ายใช้งานจริงไม่ได้หรือเสียก็ซ่อมไม่ได้กลายเป็นขยะไป 
การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ในส่วนการป้องกันประเทศเป็นเรื่องที่ดีและควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องดูความเป็นจริงด้วยว่าทำได้ถึงขั้นไหนและเอาไปใช้งานจริงได้หรือไม่ ซึ่งก็มีกรณีตัวอย่างที่หน่วยงานราชการเคยได้รับความเสียหายจากระบบที่ส่งมาจากบางแห่งแต่ใช้งานจริงไม่ได้มาแล้วครับ

Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction and painting at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, September 2018
Bangkok Dock Company has offered Offshore Patrol Vessel based on 90m OPV design licenese from British's BAE Systems to Sri Lanka and Phillippine

One step closer HTMS Trang
เรือหลวงตรัง เริ่มทำสีตัวเรือแล้วครับ เพื่อเตรียมที่จะนำมาเรือออกจากอู่แห้ง เพื่อติดตั้งระบบต่างๆ ต่อไป โดยคาดว่าจะประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ในช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. ปี 62 ครับ หลังจากนั้นอาจจะรับมอบเพื่อขึ้นระวางประจำการในเดือน ก.ค.62
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1882038495167369

บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด ไทยได้มีขยายโอกาสของตนโดยการนำเสนอแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแก่ศรีลังกาและฟิลิปปินส์ ซึ่งตามวัตถุประสงค์ของซื้อสิทธิบัตรแบบเรือ 90m OPV จากบริษัท BAE Systems ก็ตั้งความหวังไว้ว่านอกจากจะต่อเองในไทยแล้วจะสามารถต่อส่งออกต่างประเทศได้ด้วย
จากประสบการณ์ในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น ร.ล.กระบี่ ทั้ง ๒ลำ(ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ตรัง) แก่กองทัพเรือไทย ก็ได้ทราบข้อมูลมาว่านายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้การสนับสนุนบริษัทอู่กรุงเทพในเสนอแบบเรือ OPV ที่สามารถต่อในไทยแก่ต่างประเทศที่สนใจ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการต่อเรือ 90m OPV ในอู่เรือของไทยเพื่อส่งออกมิตรประเทศนั้นจะมีราคาถูกกว่าการสั่งต่อเรือที่อู่เรืออังกฤษก็จริง แต่ตามสภาพข้อเท็จจริงอู่กรุงเทพฯและอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชยังขาดความพร้อมต่างๆที่ต้องพัฒนาอีกมากถ้าจะต่อเรือขนาดใหญ่ส่งออกต่างประเทศ

ทุกวันนี้อู่เรือของ กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทยเองมีงานสร้างงานซ่อมเรือตลอดไม่ขาด จะต้องมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือและอุปกรณ์อีกมากถ้าจะสร้างเรือรบขนาดใหญ่หรือเรือดำน้ำ รวมถึงให้เอกชนหรือรัฐวิสาหกิจมาใช้พื้นที่สร้างเรือใช้ในไทยหรือส่งออกต่างประเทศ
เช่นการจัดหาปั้นจั่น Crane ยกขนาดใหญ่กว่าที่มีอยู่ การจัดหาอู่แห้งลอย Floating Dry Dock อู่ที่ยกเรือ Shiplift Dock รวมทั้งการขยายพื้นที่ทั้งในส่วนของกรมอู่ทหารเรือเช่นที่อู่มหิดล และของอู่เรือเอกชน ซึ่งต้องค่อยๆทำไปตามงบประมาณและเงินลงทุนที่อำนวย
เพราะการทำงานใหญ่อะไรก็ตาม ถ้าเร่งรีบร้อนทำอะไรเกินตัวมากเกินไป สุดท้ายมันจะไปไม่ถึงจุดหมายเอาเสียก่อน ซึ่งในด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงก็เห็นตัวอย่างของความล้มเหลวจากการที่ทำอะไรเกินศักยภาพตนเองมาหลายประเทศอยู่ครับ
(ทุกวันนี้กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมื่อกำลังใช้โฆษณาชวนเชื่อตามสื่อต่างๆทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสังคม Online ทั้ง Youtube และ Facebook เพื่อใส่ร้ายทำลายความน่าเชื่อถือทหารไทย-ตำรวจไทยให้ได้มากที่สุด จนนำไปสู่การยุบกองทัพ-ตำรวจจะเข้ามายึดครองหรือแบ่งประเทศได้ง่ายขึ้น
อย่างงบประมาณกลาโหมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) เพิ่มขึ้นมาเพียงร้อยละ๒ แต่กลุ่มผู้ไม่หวังดีก็บิดเบือนหลอกว่าไปเพิ่มเป็นร้อยละ๒๑ โดยลด งป.กระทรวงศึกษาธิการ พอมีผู้รู้ชี้แจงก็ทำเป็นเฉไฉไปว่าทหาร-ตำรวจทำตัวเป็นวัวสันหลังหวะกลบเกลือนความผิด คือคุยด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงไม่ได้แล้ว
ทุกวันนี้กองทัพจัดซื้่ออาวุธยุโธปกรณ์ที่ทันสมัยจากต่างประเทศก็หาว่าโกงภาษีประชาชน พอกองทัพสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในพัฒนาเองในประเทศก็ว่าทำได้แต่ต้นแบบทำนี่ทำนั่นไม่ได้สุดท้ายก็ไปจูบก้นต่างชาติเอาเงินค่านายหน้า สรุปด่าเอาสนุกเพื่อทำลายคนทำงานอย่างเดียว)

Wuchang Shipbuilding has held Royal Thai Navy's first S26T Submarine first steel plate cutting ceremony at Wuhan, China, 4 September 2018 (http://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)
China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photos) (http://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html)

พิธีตัดแผ่นเหล็กแผ่นแรกของของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีตามแบบ S26T ลำแรกของกองทัพเรือไทย ที่อู่เรือ Wuchang Shipbuilding ใน Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย' นั้น
นับเป็นหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพไทยที่มีมาอย่างยาวนานและมีอุปสรรคขัดขวางมาตลอดจากกลุ่มเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องการให้กองทัพเรือไทยมีเรือดำน้ำประจำการแม้แต่ลำเดียวไปชั่วกัลปาวสาน
อย่างไรก็ตามช่วงระยะเวลาการสร้างเรือจนถึงการฝึกกำลังชุดรับเรืออีก ๕ปีข้างหน้านั้นคือ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ยังเป็นระยะเวลาที่นานพอที่จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงได้อีกมาก ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะมีการอนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และลำที่๓ หรือรับมอบเรือดำน้ำ S26T ลำแรกที่ตัดเหล็กแล้วนี้

ลองมาแจกแจงรายละเอียดการใช้งบประมาณโครงการเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยดังนี้
๑.กองทัพเรือไทยขออนุมัติงบประมาณผูกพันโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ๓ลำวงเงิน ๓๖,๐๐๐ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ๑๑ปี ซึ่งเป็นงบประมาณกลาโหมในส่วนกองทัพเรือไทยเอง
๒.กองทัพเรือไทยลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำ S26T จากจีนลำแรกวงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาท งบประมาณผูกพันระยะเวลาดำเนินการ ๖ปี ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ โดยคณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยในขณะนั้นอนุมัติ
๓.ฉะนั้นจึงเหลืองบประมาณอีก ๒๒,๕๐๐ล้านบาทที่รอการจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และลำที่๓ ภายใน ๑๐ปีข้างหน้า(นับจากปี พ.ศ.๒๕๖๑) ที่ยังไม่ได้มีการจัดตั้งโครงการในตอนนี้ ซึ่งต้องมีการเริ่มขั้นตอน กระบวนการทำร่างสัญญา และเสนอให้รัฐบาลอนุมัติใหม่
๔.เท่าที่ทราบไทยและจีนไม่ได้มีสัญญาที่ลงนามบังคับไว้ว่า หลังจากสั่งสร้างเรือดำน้ำ S26T ลำที่๑ แล้วจะต้องมีการสั่งสร้างเรือลำที่๒ และลำที่๓ ตามมาแต่อย่างใด 
๕.นั่นหมายความว่ารัฐบาลใหม่ในอนาคตอาจจะไม่อนุมัติโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ จนถึงลำที่๓ แก่กองทัพเรือก็ได้ เช่นเดียวกันถ้ากองทัพเรือจะตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบใหม่หรือโครงการอื่น ก็ต้องไปจัดทำตามขั้นตอนใหม่ ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่อาจจะไม่อนุมัติเช่นกัน
สรุปกองทัพเรือไทยได้สั่งจัดหาเรือดำน้ำ S26T ๑ลำ งบประมาณผูกพันวงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาท ซึ่งมีพันธะต้องจ่ายเงินให้ครบตามสัญญาในแต่ละปีงบประมาณ แล้วจะได้รับมอบเรือดำน้ำลำแรก ซึ่งการจัดหาเรือลำที่๒ และลำที่๓ วงเงินรวม ๒๒,๕๐๐ล้านบาท อาจจะไม่เกิดขึ้นถ้ารัฐบาลใหม่ไม่อนุมัติ

กองทัพเรือไทยเคยมีประสบการณ์สั่งต่อเรือลาดตระเวนเบาชุด ร.ล.นเรศวร(ลำที่๑) จากอิตาลี ที่ปล่อยเรือลงน้ำแล้วแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอิตาลีผู้สร้างเรือยึดเรือที่กำลังสร้างไปใช้เองและต่อมาถูกทำลายในลง จนพอจบสงครามโลกครั้งที่สองอิตาลีจึงมีการจ่ายค่าเสียหายคืนให้ไทย
แต่ในกรณีเรือดำน้ำ S26T จากจีนนั้น ถ้าในอนาคตจะมีนโยบายใหม่ว่าจะยกเลิกโครงการไม่รับมอบเรือหรือหรือสั่งซื้อเรือให้ครบ ๓ลำแล้ว ไทยเราคงเป็นฝ่ายที่ต้องจ่ายค่าปรับให้กับจีนซึ่งน่าจะสร้างความเสียหายด้านความน่าเชื่อถือของกองทัพเรือไทยต่อนานาชาติอย่างมาก
ถ้ามองในแง่ร้ายอย่างน้อย เรือดำน้ำ S26T ที่ตัดแผ่นเหล็กไปแล้วนั้น ถ้ามีการส่งมอบได้จะเป็นเรือดำน้ำลำเดียวของกองทัพเรือไทยซึ่งจะสร้างปัญหาในแง่ความคุ้มค่าในการใช้งานและการบำรุงรักษาอย่างมาก เหมือเรือดำน้ำชั้น Kilo จากรัสเซียของโปแลนด์และโรมาเนียที่เคยกล่าวไปครับ

Royal Thai Army has retired all 6 Boeing CH-47D Chinook 41st Aviation Battalion(former General Support Aviation Battalion), Aviation Regiment, Army Aviation Center(https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion)

US National Guard Sikorsky UH-60 BlackHawk Helicopters Bambi Buckets Fire Support

ตามที่กองทัพบกไทยมีโครงการแลกเปลี่ยนซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook ๖เครื่อง กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60A Black Hawk(Refurbished) ๓เครื่อง ที่ได้รับการปรับปรุงตามมาตรฐานกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) นั้น
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) กรมการขนส่งทหารบก ได้ประกาศเลือกบริษัท Unical Aviation Inc. สหรัฐฯ เป็นผู้สัญญาแลกเปลี่ยนซาก ฮ.ล.๔๗ CH-47D ทั้ง ๖เครื่อง ที่เคยประจำการในอดีตกองบินสนับสนุนทั่วไป(ปัจจุบันคือ กองพันบินที่๔๑) ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย
โดย ฮ.ท.๖๐ UH-60A(Refurbished) ๓เครื่อง ที่จะแลกนี้ได้รับการติดตั้งระบบเครื่องวัดใหม่ พร้อมการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา ๓๖๐ชั่วโมง และ ๗๒๐ชั่วโมง(PM1 and PM2) และติดตั้งถังดับเพลิงชนิดพับได้แบบ Bambi Bucket ขนาด 1,500liter พร้อมอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องครับ

Weapons of Dornier Alpha Jet light attack aircraft 231 Squadron, Wing 23 Udorn, Royal Thai Air Force(https://www.facebook.com/Wing23.rtaf/posts/2168703380068742)

กองทัพอากาศไทยมีโครงการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน และระบบ Avionics รวมทั้งระบบอาวุธของเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet จำนวน ๑๔เครื่องพร้อมอะไหล่ขั้นต้น เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น การฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง วงเงินงบประมาณ ๓,๓๘๘,๖๓๗,๘๐๐บาท
กองทัพอากาศไทยได้จัดหาเครื่องบินโจมตี Alpha Jet จำนวน ๒๕เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓(2000)
แม้ว่า บ.จ.๗ Alpha Jet จะเป็นเครื่องที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว โดยโครงสร้างถูกออกแบบให้มีอายุการใช้งาน ๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบิน ซึ่งเครื่องผ่านการใช้งานในกองทัพอากาศเยอรมนีเฉลี่ยเพียง ๒,๐๐๐ชั่วโมงบิน ทำให้เมื่อรับมอบเข้าประจำการเครื่องยังเหลืออายุการใช้งานถึง ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน

ตั้งแต่ประจำการมา ๑๘ปี บ.จ.๗ Alpha Jet มีอุบัติเหตุรายแรงที่เครื่องตกและนักบินเสียชีวิตเพียงครั้งเดียวในปี พ.ศ.๒๕๔๖(2003) และมีอุบัติเหตุเก้าอี้ดีตัวทำงานเองระหว่างทำการบินจนมีนักบินได้รับบาดเจ็บ ซึ่งปัจจุบันเครื่องบางส่วนได้รับการเปลี่ยนติดตั้งเก้าอี้ดีตัว Martin-Braker รุ่นใหม่ไปแล้ว
โดยนอกจากภารกิจหลักในการใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินด้วยจรวดไม่นำวิถีอากาศสู่พื้นและลูกระเบิดทำลายทางอากาศ เครื่องบินโจมตี Alpha Jetยังได้รับการดัดแปลงให้สามารถยิง Silver iodide เพื่อทำฝนเทียมและทำลายลูกเห็บในโครงการฝนหลวงด้วย
แผนการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ๑๔เครื่องจึงเป็นการยืดอายุการใช้งานเครื่องออกไปแทนการจัดหาอากาศยานใหม่ตามข้อจำกัดด้านงบประมาณที่กองทัพอากาศไทยได้รับ แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงออกมาครับ


Royal Thai Air Force F-16AM/BM EMLU(Enhance Mid-Life Upgrade) Final Aircraft Roll-out Ceremony at 403 Squadron,Wing 4 Takhli, 24 September 2018(https://www.facebook.com/thaiarmedforce/posts/10156865422649612)

โครงการการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี กองทัพอากาศไทย ที่ดำเนินการโดยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯรวมกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries) ประเทศไทยนั้น
การดำเนินโครงการปรับปรุงระยะที่๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๖(2011-2013), ระยะที่๒ พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๕๘(2013-2015) และระยะที่๓ พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๐(2015-2017) ระยะละ ๖เครื่อง รวม ๑๘เครื่องก็ได้มีพิธีส่งมอบเครื่องชุดสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ครบทั้งหมดแล้ว
ซึ่งกองทัพอากาศไทยยังมีเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ที่อาจจะยืดระยะเวลาประจำการได้อีกไม่นานนัก และ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช ที่น่าจะมีการพิจารณาประเมินค่าการใช้งานในอนาคตต่อไปว่าควรจะมีการปรับปรุงความทันสมัยหรือไม่ครับ

Airbus Helicopters EC725(H225M) 203rd Squadron, Wing 2, Royal Thai Air Force with with Electro-Optical/Infrared Electro-Optical/Infrared at nose has spotted over Marseille Provence Airport, Marignane, France

โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ Airbus Helicopters EC725(H225M) นั้นก็ได้มีการสั่งจัดหาแล้วรวม ๑๒เครื่อง ซึ่งภายในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ มี ฮ.๑๑ EC725 จะประจำการ ๘เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html)
ตามที่มีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ๑๖เครื่องเข้าประจำการในฝูงบิน๒๐๓ เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ ฮ.๖ Bell UH-1H สหรัฐฯที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑(1968) และปัจจุบันยังคงประจำการอยู่
การจัดหา ฮ.๑๑ EC725 เพิ่มเติมในโครงการในระยะที่๑ พ.ศ.๒๕๕๕(2012) ๔เครื่อง, ระยะที่๒ พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ๒เครื่อง, ระยะที่๓ พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ๒เครื่อง และล่าสุดระยะที่๔ พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ๑๒เครื่อง ยังเหลือการจัดหาเครื่องอีก ๔เครื่องให้ครบฝูงบิน ๑๖เครื่องครับ

J-10A Fighter People's Liberation Army Air Force(PLAAF) and Royal Thai Air Force's Alpha Jet 231 Squadron Wing 23 and Gripen C 701 Squadron Wing7 in Falcon Strike 2018 exercise at Wing 23 Royal Thai Air Force Base

Mission Completed, Falcon Strike 2018
สิ้นสุดลงแล้วกับการฝึกภาคสนาม Falcon Strike 2018 โดยนาวาอากาศเอก วัชรพล นวลเป็นใย และพลอากาศตรี หวัง กัง (Major General Wang Gang) ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม Falcon Strike 2018 กองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีนและกองทัพอากาศไทย 
ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึก ณ กองบิน ๒๓

การฝึกผสม Falcon Strike 2018
เป็นการฝึกผสมระหว่างกองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและกองทัพอากาศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๔-๒๑ ก.ย.๖๑ ณ กองบิน ๒๓ จว.อุดรธานี โดยในปีนี้ Gripen และ Alpha Jet จากกองทัพอากาศไทย และ J-10A จากกองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าร่วมการฝึกฯ

การฝึกผสม Falcon Strike 2018 นี้เป็นปีที่สองแล้วที่กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Chengdu J-10A ของตนมาทำการฝึกในประเทศไทย ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี กองทัพอากาศไทย ระหว่างวันที่ ๔-๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
โดยกองทัพอากาศไทยก็ได้นำเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี โดยรายละเอียดข้อมูลการฝึกยังเป็นข้อมูลปกปิดไม่พึงเปิดเผยต่อสาธารณะเช่นเดียวกับครั้งก่อนหน้า
เท่าที่มีข้อมูลกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนมีความต้องการที่ฝึกแลกเปลี่ยนกับมิตรประเทศมีอาวุธยุทโธปกรณ์และหลักนิยมในการฝึกแบบตะวันตกเช่นกองทัพไทยอย่างมาก เพื่อที่จะเรียนรู้เทคนิคและข้อมูลเชิงลึกต่างๆให้ได้มากที่สุดครับ